ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ขณะนี้มีการเผยแพร่เอกสารร้องขอความเป็นธรรมของพนักงานกกต. ต่อกกต.ในไลน์ของผู้บริหารสำนักงาน และผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรณีที่ทางสำนักงานมีแนวความคิดที่จะตัดเงินค่าตอบแทนต่างๆ ของพนักงาน ทั้งเงินค่าครองชีพ เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งของผู้บริหาร เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะการเงินการคลังของสำนักงาน ที่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาด้านการบริหาร โดยงบประมาณอาจไม่พอใช้จ่ายสำหรับการปฏิบัติ งานของสำนักงานว่า เป็นการบั่นทอน ทำลายขวัญและกำลังใจ ของพนักงาน หากมีการตัดหรือปรับลด จะกระทบการดำรงชีวิตของพนักงานที่ส่วนใหญ่ได้นำไปก่อหนี้ยืมสิน หักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือเพียงพอใช้จ่ายในแต่ละวันเท่านั้น รวมถึงอาจกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และความภักดีต่อองค์กร
นอกจากนี้ ยังขอให้ กกต.พิจารณาย้าย น.ส.สุรณี ผลทวี ผอ.สำนักนโยบายและแผน สำนักงานกกต. ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณ
ทั้งนี้ หนังสือร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ยังตั้งคำถามต่อผู้บริหาร ถึงสาเหตุที่ทำให้สำนักงานต้องประสบกับปัญหาด้านการเงินว่า มาจากการบริหารงานเกี่ยวกับโครงสร้างของสำนักงานที่ผิดพลาดหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศอยู่ภายใต้ประกาศคสช. ซึ่งภารกิจส่วนใหญ่ของกกต. ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งหยุดชะงัก แต่สำนักงานกลับมีการแต่งตั้งผู้บริหารเพิ่ม มีการยกฐานะผู้บริหารทุกจังหวัด เป็นระดับสูง มีการสอบผู้บริหารระดับกลางเพิ่มทดแทนผู้บริหาระดับกลางเดิม ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารระดับสูงเพิ่มขึ้น จังหวัดหนึ่งมีผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด รองผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด โดยทั้ง 2 ตำแหน่ง ภารกิจงานคลุมเครือ และซ้ำซ้อน สร้างภาระงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่ข้อเท็จจริงระดับจังหวัดขาดแคลนพนักงานระดับปฏิบัติหลายตำแหน่ง แต่กลับไม่มีการเปิดสอบทดแทนในส่วนนี้เลย รวมทั้งก่อนที่จะมีการเสนอลดค่าตอบแทนของพนักงานทั้งองค์กรนั้น มีการนำเสนอเกี่ยวกับการเสียสละค่าตอบแทนของผู้บริหารบางส่วน เพื่อไม่ให้กระทบต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง หรือไม่
" หากมีการตัดเงินส่งเสริมประสิทธิภาพ หรือลดเงินสำรองเลี้ยงชีพออกไป ขอให้ออกระเบียบให้พนักงานกกต.ที่ไม่ได้รับบำนาญ และมีสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐอื่นอยู่แล้ว มีสิทธิได้รับบำนาญ และสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลด้วย หรือทำเรื่องถึง นายกฯ ครม. ผู้มีอำนาจอื่น ให้ยกเลิกบำนาญ และ สิทธิในการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของพนักงานในสำนักงานกกต. ที่มีสิทธิดังกล่าวอยู่แล้ว และเป็นผู้ที่รับเงินจากรัฐ 2 ทาง คือ บำนาญ และเงินเดือน จากกกต.ก่อนแล้ว เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิดังเช่นพนักงานที่ไม่เคยได้รับสิทธิดังกล่าว จะได้เข้าใจว่า การเสื่อมเสียขวัญกำลังใจในการทำงานเป็นอย่างไร เพราะถึงแม้สำนักงานจะให้ค่าตอบแทนต่างๆ ในจำนวนที่สูงก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับส่วนราชการ ก็ได้รับสวัสดิการหลายๆ อย่างดีกว่าหน่วยงานของเรามาก ยิ่งเมื่อเทียบกับองค์กรอื่น อัตราค่าตอบแทนในปัจจุบันใกล้เคียงกัน บางหน่วยงานได้รับค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ เยอะกว่าด้วยซ้ำ " หนังสือร้องเรียน ระบุ
ทั้งมีรายงานว่า ปัจจุบันสำนักงานกกต.มีปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณค่อนข้างมาก เนื่องจากมีพนักงานทั้งประเทศ 2,500 คน งบฯ ประจำปีที่ขอไปทุกปีๆ ละประมาณ 5,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ก็จะได้รับเพียง 1700-1800 ล้านบาท โดยสำนักงบฯ จะแจ้งให้กกต.ใช้เงินเหลือจ่ายสะสมของกกต. ที่เหลือจากการจัดการเลือกตั้ง แล้วไม่ได้นำส่งคืนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับแต่ก่อตั้งกกต. มีเงินเหลือจ่ายสะสมประมาณ 5,000 ล้านบาทเศษ แต่นับแต่ปี 49 จนถึงปี 59 กกต. ใช้เงินเหลือจ่ายสะสมที่มีไปกว่า 4,00 ล้านบาท ในกิจการ อาทิ การก่อสร้างสำนักงานกกต.ประจำจังหวัด การเลือกตั้งทั่วไป บางส่วน การเลือกตั้งซ่อมส.ส.ในทุกครั้ง และที่สำคัญคือ ค่าตอบแทนต่างๆของพนักงาน กระทั่งปัจจุบัน กกต.เหลือเงินสะสมดังกล่าวอยู่เพียง 72 ล้านบาทเท่านั้น
ทางสำนักงานฯ จึงเห็นว่า การเงินของสำนักงานอยู่ในภาวะวิกฤต จำเป็นที่จะต้องมีการปรับลดรายจ่ายลง ประกอบกับในส่วนของเงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดี ที่จ่ายให้พนักงานทุกระดับและลูกจ้าง ในอัตรา 2000-17,500 บาท ต่อคนต่อเดือน และ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ กกต.จะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยกกต. ในการออกระเบียบดังกล่าวในปี 55 แต่ก็มีข้อท้วงติงจากสำนักงบฯ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในทำนองว่า การใช้จ่ายเงินดังกล่าว อาจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากระเบียบการใช้จ่ายเงินไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของครม. แต่ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานประเมินว่า ภาวะวิกฤตงบประมาณของสำนักงานที่จะถึงขั้นทำให้สำนักงานจำเป็นต้องปรับลด หรือตัดเงินส่งเสริมประสิทธิภาพพนักงาน หรือ ลดการจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจจะมีขึ้นในปีงบประมาณ 60 หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ จากสำนักงบฯ โดยในปีงบประมาณ 59 นี้ กกต.ยังคาดว่าจะสามารถจัดสรรค่าตอบแทนให้กับพนักงานได้
นอกจากนี้ ยังขอให้ กกต.พิจารณาย้าย น.ส.สุรณี ผลทวี ผอ.สำนักนโยบายและแผน สำนักงานกกต. ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณ
ทั้งนี้ หนังสือร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว ยังตั้งคำถามต่อผู้บริหาร ถึงสาเหตุที่ทำให้สำนักงานต้องประสบกับปัญหาด้านการเงินว่า มาจากการบริหารงานเกี่ยวกับโครงสร้างของสำนักงานที่ผิดพลาดหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศอยู่ภายใต้ประกาศคสช. ซึ่งภารกิจส่วนใหญ่ของกกต. ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งหยุดชะงัก แต่สำนักงานกลับมีการแต่งตั้งผู้บริหารเพิ่ม มีการยกฐานะผู้บริหารทุกจังหวัด เป็นระดับสูง มีการสอบผู้บริหารระดับกลางเพิ่มทดแทนผู้บริหาระดับกลางเดิม ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารระดับสูงเพิ่มขึ้น จังหวัดหนึ่งมีผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด รองผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด โดยทั้ง 2 ตำแหน่ง ภารกิจงานคลุมเครือ และซ้ำซ้อน สร้างภาระงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่ข้อเท็จจริงระดับจังหวัดขาดแคลนพนักงานระดับปฏิบัติหลายตำแหน่ง แต่กลับไม่มีการเปิดสอบทดแทนในส่วนนี้เลย รวมทั้งก่อนที่จะมีการเสนอลดค่าตอบแทนของพนักงานทั้งองค์กรนั้น มีการนำเสนอเกี่ยวกับการเสียสละค่าตอบแทนของผู้บริหารบางส่วน เพื่อไม่ให้กระทบต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง หรือไม่
" หากมีการตัดเงินส่งเสริมประสิทธิภาพ หรือลดเงินสำรองเลี้ยงชีพออกไป ขอให้ออกระเบียบให้พนักงานกกต.ที่ไม่ได้รับบำนาญ และมีสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐอื่นอยู่แล้ว มีสิทธิได้รับบำนาญ และสิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลด้วย หรือทำเรื่องถึง นายกฯ ครม. ผู้มีอำนาจอื่น ให้ยกเลิกบำนาญ และ สิทธิในการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของพนักงานในสำนักงานกกต. ที่มีสิทธิดังกล่าวอยู่แล้ว และเป็นผู้ที่รับเงินจากรัฐ 2 ทาง คือ บำนาญ และเงินเดือน จากกกต.ก่อนแล้ว เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิดังเช่นพนักงานที่ไม่เคยได้รับสิทธิดังกล่าว จะได้เข้าใจว่า การเสื่อมเสียขวัญกำลังใจในการทำงานเป็นอย่างไร เพราะถึงแม้สำนักงานจะให้ค่าตอบแทนต่างๆ ในจำนวนที่สูงก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับส่วนราชการ ก็ได้รับสวัสดิการหลายๆ อย่างดีกว่าหน่วยงานของเรามาก ยิ่งเมื่อเทียบกับองค์กรอื่น อัตราค่าตอบแทนในปัจจุบันใกล้เคียงกัน บางหน่วยงานได้รับค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ เยอะกว่าด้วยซ้ำ " หนังสือร้องเรียน ระบุ
ทั้งมีรายงานว่า ปัจจุบันสำนักงานกกต.มีปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณค่อนข้างมาก เนื่องจากมีพนักงานทั้งประเทศ 2,500 คน งบฯ ประจำปีที่ขอไปทุกปีๆ ละประมาณ 5,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ก็จะได้รับเพียง 1700-1800 ล้านบาท โดยสำนักงบฯ จะแจ้งให้กกต.ใช้เงินเหลือจ่ายสะสมของกกต. ที่เหลือจากการจัดการเลือกตั้ง แล้วไม่ได้นำส่งคืนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับแต่ก่อตั้งกกต. มีเงินเหลือจ่ายสะสมประมาณ 5,000 ล้านบาทเศษ แต่นับแต่ปี 49 จนถึงปี 59 กกต. ใช้เงินเหลือจ่ายสะสมที่มีไปกว่า 4,00 ล้านบาท ในกิจการ อาทิ การก่อสร้างสำนักงานกกต.ประจำจังหวัด การเลือกตั้งทั่วไป บางส่วน การเลือกตั้งซ่อมส.ส.ในทุกครั้ง และที่สำคัญคือ ค่าตอบแทนต่างๆของพนักงาน กระทั่งปัจจุบัน กกต.เหลือเงินสะสมดังกล่าวอยู่เพียง 72 ล้านบาทเท่านั้น
ทางสำนักงานฯ จึงเห็นว่า การเงินของสำนักงานอยู่ในภาวะวิกฤต จำเป็นที่จะต้องมีการปรับลดรายจ่ายลง ประกอบกับในส่วนของเงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดี ที่จ่ายให้พนักงานทุกระดับและลูกจ้าง ในอัตรา 2000-17,500 บาท ต่อคนต่อเดือน และ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ กกต.จะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยกกต. ในการออกระเบียบดังกล่าวในปี 55 แต่ก็มีข้อท้วงติงจากสำนักงบฯ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในทำนองว่า การใช้จ่ายเงินดังกล่าว อาจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากระเบียบการใช้จ่ายเงินไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของครม. แต่ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานประเมินว่า ภาวะวิกฤตงบประมาณของสำนักงานที่จะถึงขั้นทำให้สำนักงานจำเป็นต้องปรับลด หรือตัดเงินส่งเสริมประสิทธิภาพพนักงาน หรือ ลดการจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจจะมีขึ้นในปีงบประมาณ 60 หากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ จากสำนักงบฯ โดยในปีงบประมาณ 59 นี้ กกต.ยังคาดว่าจะสามารถจัดสรรค่าตอบแทนให้กับพนักงานได้