วานนี้ (18 ก.พ.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีปรากฏชื่อ นพ.กมล พันธุ์ศรีทุม เป็นผู้ทำการผ่าตัดใบหน้าให้นายสุรชัย สมบัติเจริญ นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เข้ารับทำศัลยกรรมใบหน้าแบบเฟซออฟ (Face Off) ผ่านโครงการ ดร.เซปิง ไชยสาส์น เพื่อช่วยลดวัยจาก 60 ปี เหลือ 35 ปี ว่า แพทยสภาจะนำเรื่องน.พ.กมล เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เพื่อตรวจสอบ มีการกระทำที่ผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องห้ามโฆษณาหรือไม่ โดยจะเชิญ นพ.กมลมาให้ข้อมูลด้วย
“ แม้ว่าสถานพยาบาลหรือแพทย์จะไม่ได้รู้เห็นกับการโฆษณาเกินจริงของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ แต่เมื่อรู้แล้วไม่ได้ทักท้วงหรือยับยั้ง แพทยสภาจึงต้องให้อนุกรรมการฯ ตรวจสอบมีมูลหรือไม่ และให้ นพ.กมล ชี้แจง ซึ่งการวินิจฉัยจะมีตั้งแต่ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลา และเพิกถอนใบอนุญาต”
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีคล้ายคลึงกัน คือคลินิกเสริมความงามที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ได้ใช้ศิลปินนักแสดงมาโฆษณาว่าสวยเป๊ะ และเห็นชื่อของคลินิกชัดเจน ซึ่งเข้าข่ายการโฆษณาเกินจริงชัดเจน ผิดตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 หมวด 3 ที่กำหนดว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน และหมวด 7 ที่กำหนดว่า ต้องไม่โฆษณาสถานพยาบาลหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาล ซึ่งแพทยสภาจะดำเนินการความผิดกับแพทย์ที่ระบุชื่อเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลแห่งนั้นตามที่แจ้งชื่อไว้ในการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)
"กรณีคลินิกแห่งนี้แม้แพทย์ที่แจ้งชื่อเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะอ้างว่าไม่รู้เรื่องการโฆษณาเป็นการดำเนินการโดยฝ่ายการตลาดหรือส่วนอื่นๆ ของบริษัท แต่ในฐานะแพทย์ที่รับผิดชอบสถานพยาบาล เมื่อมีการโฆษณาเกินจริง โอ้อวดขึ้นก็จะต้องรับผิดชอบด้วย ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบของแพทยสภา เพราะชัดเจนเรื่องการโฆษณาเกินจริงผ่านสื่อต่างๆ แม้คนพูดจะไม่ใช่แพทย์ก็ตาม แต่ก็ชัดว่าเป็นการโฆษณา ซึ่งยังแตกต่างจากกรณีที่ ดร.เซปิงนำนายสุรชัยมาให้ข่าวว่าทำการผ่าตัดใบหน้า ซึ่งยังไม่มีการปรากฏชัดว่าเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลหรือแพทย์ท่านใดหรือไม่ แต่หากพบว่าเป็นการโฆษณาสถานพยาบาล แพทยสภาก็จะตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับแพทย์ที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่ถูกระบุว่าผ่าตัดให้นายสุรชัยด้วย" ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
“ แม้ว่าสถานพยาบาลหรือแพทย์จะไม่ได้รู้เห็นกับการโฆษณาเกินจริงของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ แต่เมื่อรู้แล้วไม่ได้ทักท้วงหรือยับยั้ง แพทยสภาจึงต้องให้อนุกรรมการฯ ตรวจสอบมีมูลหรือไม่ และให้ นพ.กมล ชี้แจง ซึ่งการวินิจฉัยจะมีตั้งแต่ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลา และเพิกถอนใบอนุญาต”
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีคล้ายคลึงกัน คือคลินิกเสริมความงามที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ได้ใช้ศิลปินนักแสดงมาโฆษณาว่าสวยเป๊ะ และเห็นชื่อของคลินิกชัดเจน ซึ่งเข้าข่ายการโฆษณาเกินจริงชัดเจน ผิดตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 หมวด 3 ที่กำหนดว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน และหมวด 7 ที่กำหนดว่า ต้องไม่โฆษณาสถานพยาบาลหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาล ซึ่งแพทยสภาจะดำเนินการความผิดกับแพทย์ที่ระบุชื่อเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลแห่งนั้นตามที่แจ้งชื่อไว้ในการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)
"กรณีคลินิกแห่งนี้แม้แพทย์ที่แจ้งชื่อเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะอ้างว่าไม่รู้เรื่องการโฆษณาเป็นการดำเนินการโดยฝ่ายการตลาดหรือส่วนอื่นๆ ของบริษัท แต่ในฐานะแพทย์ที่รับผิดชอบสถานพยาบาล เมื่อมีการโฆษณาเกินจริง โอ้อวดขึ้นก็จะต้องรับผิดชอบด้วย ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบของแพทยสภา เพราะชัดเจนเรื่องการโฆษณาเกินจริงผ่านสื่อต่างๆ แม้คนพูดจะไม่ใช่แพทย์ก็ตาม แต่ก็ชัดว่าเป็นการโฆษณา ซึ่งยังแตกต่างจากกรณีที่ ดร.เซปิงนำนายสุรชัยมาให้ข่าวว่าทำการผ่าตัดใบหน้า ซึ่งยังไม่มีการปรากฏชัดว่าเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลหรือแพทย์ท่านใดหรือไม่ แต่หากพบว่าเป็นการโฆษณาสถานพยาบาล แพทยสภาก็จะตรวจสอบเพื่อเอาผิดกับแพทย์ที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่ถูกระบุว่าผ่าตัดให้นายสุรชัยด้วย" ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว