1.กล่าวนำ
1.1 ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 สรุปเป็นหมวดต่างๆ
ร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2559 สรุปเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้
หมวด 1 ทั่วไป มาตรา 1 – 5
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 6 – 24
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 25 – 46
หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 47
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 48 – 59
หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 60 – 73
หมวด 7 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 74 – 77
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 78 – 101
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 102 – 108
ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 109 – 150
ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา 151 – 152
หมวด 8 คณะรัฐมนตรี มาตรา 153 – 178
หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ มาตรา 179 – 182
หมวด 10 ศาล
ส่วนที่ 1 ทั่วไป มาตรา 183 – 188
ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม มาตรา 189 – 191
ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง มาตรา 192 – 193
ส่วนที่ 4 ศาลทหาร มาตรา 194
หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 195 – 210
หมวด 12 องค์กรอิสระ
ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 211 – 217
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 218 – 223
ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 224 – 227
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 228 – 233
ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 234 – 241
ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 242 – 244
หมวด 13 องค์กรอัยการ มาตรา 245
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 246 – 251
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 252 – 253
บทเฉพาะกาล มาตรา 254 – 270
1.2 กำหนดเวลาในการดำเนินการเพื่อจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559*
16 ก.พ. –20 มี.ค. 59 กรธ.ปรับปรุงร่าง รธน. (รัฐธรรมนูญ) ตามข้อเสนอแนะ
29 มี.ค. 59 ร่าง รธน.แล้วเสร็จ
30 มี.ค. 59 กรธ.ส่งร่าง รธน.ให้ ครม.
เม.ย. 59 ครม.แจ้ง กกต.เพื่อดำเนินการเรื่องการจัดทำประชามติ
27 เม.ย. 59 เริ่มส่งร่าง รธน.ให้แก่ประชาชน (ครัวเรือน)
พ.ค. 59 (จนถึงก่อนวันออกเสียง) กกต.ดำเนินการให้มีการแสดงความคิดเห็น
22 มิ.ย. 59 ประกาศวันออกเสียงประชามติ
ก.ค. 59 (ก่อนออกเสียง 15 วัน) กกต.ส่งเอกสารชี้แจงรูปแบบการออกเสียงให้ครัวเรือน และรณรงค์ให้ประชาชนศึกษาสาระสำคัญของรธน.
ก.ค. –ส.ค. 59 (คาดว่า) วันออกเสียงประชามติ
*สรุปจากเอกสารร่าง รธน. 2559 ของ กรธ.(คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2559)
ความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับการจัดทำประชามติร่าง รธน. 2559
หลังจากที่ได้ติดตามการดำเนินการร่าง รธน.ของ กรธ.ชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ แล้วผู้เขียนมีความเห็นว่า คสช.และรัฐบาลไม่ควรจัดทำประชามติร่าง รธน. 2559 เพราะในเมื่อ คสช.เข้ามายึดอำนาจและบริหารประเทศโดยไม่ได้ขอประชามติจากประชาชนแต่ได้อ้างเหตุผลว่า ต้องการรักษาความสงบของบ้านเมือง ต้องการขจัดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนไทยและกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ ในสังคม และต้องการที่จะปฏิรูปประเทศไทยไม่ให้กลับไปสู่ความขัดแย้งเช่นในอดีตที่ผ่านมาอีกในเมื่อ คสช.ได้เสี่ยงชีวิตเข้ามาดำเนินการให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบเป็นปกติโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์อย่างใดทั้งสิ้น แล้วทำไม คสช.จะต้องไปใช้วิธีการขอประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 อีกเล่า
ในกรณีนี้ขอให้ดูที่มาของรัฐธรรมนูญในประเทศอื่นๆ เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเองก็ร่างหรือเขียนขึ้นโดยคนไม่กี่คน และไม่ได้มีการจัดทำประชามติแต่อย่างใด รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาก็ร่างหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้ญี่ปุ่นนำมาใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน (ดูภาพที่ 1) ก็ไม่เคยได้จัดทำประชามติก่อนที่จะนำมาใช้ ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยและไม่เข้าใจว่าคสช.
ภาพที่ 1 รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่เขียนตามเงื่อนไขของสหรัฐอเมริกา
*มาจาก http://www.digilibraries.com/ebook/117877/The_Constitution_of_Japan_1946/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
มีเหตุผลอย่างไร จึงได้ไฟเขียวให้มีการจัดทำประชามติซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นอีก และกรณีนี้ไม่เพียงอาจถูกนำไปใช้เป็นเหตุผลในการปลุกปั่นประชาชนให้คัดค้านร่าง รธน. 2559 เท่านั้น แต่ยังอาจถูกนำไปขยายผลเพื่อโจมตี คสช.และรัฐบาล (ชุดปัจจุบัน) ต่อไปในอนาคต จนอาจทำให้เกิดผลด้านลบต่อผลงานของ คสช.และรัฐบาลที่ได้พยายามทำมาหลายปีจนสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศเริ่มดีขึ้นอีกด้วย (คาดว่า อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต-ผู้เขียน)
2. ข้อเสนอและความคิดเห็นบางประการของผู้เขียนต่อ ร่าง รธน. 2559
ข้อเสนอให้เพิ่มเติมและแก้ไขข้อความในร่าง รธน. 2559 มีดังนี้
(1) หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 (10)
ข้อความเดิม : ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ จะต้องแจ้งและให้ข้อมูลการทุจริตที่รับทราบแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยไม่ชักช้า
เหตุผลของผู้เขียนในการเพิ่มเติมข้อความในมาตรา 47 (10)
คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้รู้เห็นการกระทำการทุจริตในเรื่องใดๆ มักจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง จึงไม่ต้องการยุ่งเกี่ยว ไม่สนใจ และไม่แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ซึ่งถ้าปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปโดยไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงตามมาในอนาคต ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เพิ่มข้อความที่ระบุถึง หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 63 วรรคแรก และวรรคสอง
ข้อความเดิม : รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าว
แก้ไขข้อความใหม่ : รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาเป็นเวลานาน โดยรัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และต้องส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าว
รัฐพึงคุ้มครองศาสนาอื่นๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐไทยและต่อความสงบสุขในการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยในสังคมด้วย
เหตุผลของผู้เขียนในการแก้ไขข้อความใหม่มาตรา 63 วรรคแรก และวรรคสอง
เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาการคมนาคมสื่อสารที่ไร้พรมแดนจึงทำให้อาจมีการนำลัทธิ ความเชื่อ ศาสนา และนิกายต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ในสังคมไทยผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ หน่วยงานของรัฐ(ไทย)และประชาชนชาวไทย จึงต้องร่วมมือกันในการติดตามและตรวจสอบคำสอน และการปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของลัทธิ ความเชื่อ ศาสนา และนิกายต่างๆ ว่า จะมีผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามต่อจารีตประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทย และความมั่นคงของชาติไทยมากน้อยเพียงใด หรือไม่ เพื่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะได้ช่วยกันยับยั้ง และขจัดการกระทำที่เป็นไปภัยต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยให้หมดไป ก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติของเราตัวอย่างเช่น การนำเอาตุ๊กตามาให้พระภิกษุปลุกเสก (ดูภาพที่ 2)* เป็นการนำความเชื่อส่วนบุคคลที่มีต่อตุ๊กตามาผสมปนเป
ภาพที่ 2 ภาพผู้ที่คล้ายพระภิกษุปลุกเสกตุ๊กตา
*จาก http://tnews.teenee.com/etc/130495.html และ www.springnews.co.th ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
กับศาสนาพุทธ จนทำให้ประชาชนชาวไทยบางกลุ่มเข้าใจผิดว่า ตุ๊กตาปลุกเสกเป็นผลมาจากศาสนาพุทธหรือได้รับการยอมรับจากศาสนาพุทธ และอาจทำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม (ที่ไม่เข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ) หันเหไปนิยมนับถือตุ๊กตามากกว่าที่จะเชื่อถือในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นผลให้คนไทยบางส่วนละเลย และทอดทิ้งบทบัญญัติต่างๆ ซึ่งเป็นแก่นแท้ของศาสนาพุทธ และในที่สุดก็จะเป็นผลให้ศาสนาพุทธเสื่อมถอยลงและสูญสลายไปในที่สุด ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรดำเนินการสอบสวนและจับพระภิกษุที่ทำพิธีกรรม (เช่นในภาพที่ 2) สึกโดยด่วน และควรลงโทษอย่างรุนแรงในฐานะที่เป็นผู้ทำลายศาสนาพุทธทางอ้อมด้วยอัตราโทษสูงสุดที่พึงมี (มีบางท่านเสนอว่า ควรกำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่มีเจตนาทำลายศาสนาพุทธ)
(3) หมวด 7 ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 90
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ข้อความเดิม: (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี
เพิ่มข้อความใหม่ : (4) จบการศึกษาภาคบังคับตามระเบียบและกฎหมายไทย
(4) หมวด 7 ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 92
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และต้องมีบิดามารดาที่ถือสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน
เพิ่มข้อความใหม่ : (4) (จ) ถ้าเป็นชายต้องผ่านการศึกษาวิชาทหารตามระเบียบที่กำหนด หรือผ่านขั้นตอนการคัดเลือกทหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(5) หมวด 7 ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 103
คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา
ข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและต้องมีบิดามารดาที่ถือสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน
เพิ่มข้อความใหม่ : (5) ถ้าเป็นชายต้องผ่านการศึกษาวิชาทหารตามระเบียบที่กำหนด หรือผ่านขั้นตอนการคัดเลือกทหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหตุผลของผู้เขียนในการเพิ่มเติมข้อความในมาตรา 90, 92 และ 103
ประการแรก เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง(ก) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่จะทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ข) และรวมทั้งบุคคลที่เข้ารับการสรรหาและคัดเลือกเป็นวุฒิสมาชิก (ค) ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ในเรื่องนี้ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า บุคคลทั้งสามกลุ่มควรจะต้องมีความผูกพันกับสังคมไทยหรือมีความเป็นไทยมากกว่าที่กำหนดไว้เดิมในร่าง รธน. 2559 ดังนั้น จึงได้กำหนดให้กลุ่มบุคคลทั้งสามกลุ่มมีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากขึ้นดังรายละเอียดที่แสดงในข้อเสนอ (3), (4) และ(5)
ประการที่สอง การกำหนดคุณสมบัติในเรื่องนี้ไว้ตามที่ระบุในข้อ (3), (4) และ (5) แล้วเพราะในอนาคตอาจมีบุคคลที่เป็นบุตรของคนต่างด้าว ซึ่งแม้จะได้อยู่อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แต่อาจยังคงไม่เข้าใจหรือยึดมั่นในค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของไทยอย่างลึกซึ้ง จึงอาจไม่รู้สึกผูกพันต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยแต่อย่างใด และถ้ามีบุตรในประเทศไทย บุตรของบุคคลเหล่านี้ก็จะกลายเป็นบุคคลสองสัญชาติที่ส่วนใหญ่ยังผูกพันและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่บิดามารดาของตนเกิดและเติบโตมา มากกว่าที่จะยึดมั่นในค่านิยมและความเป็นประเทศไทย ดังนั้น ถ้าเราไม่กำหนดคุณสมบัติในเรื่องสัญชาติไว้ให้รัดกุม ในอนาคตประเทศไทยอาจก็มีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างชาติอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นความเป็นไทยก็คงสูญสิ้นไปพร้อมกับชาติไทยในที่สุด
ขอให้ดูกรณีตัวอย่างจากบุตรของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่อพยพเข้ามาทำงานในร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังที่เมืองทองธานี ซึ่งเกิดในประเทศไทย ได้สัญชาติไทยและเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนของไทย ต่อไปอาจเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของไทย และถ้าเข้ารับราชการหรือลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทในการบริหารและปกครองประเทศไทย ซึ่งอาจมีผลทำให้ประเทศไทยมีผู้นำที่มีบิดามารดาเป็นชาวพม่า(คนต่างด้าว) ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในไทยนั่นเอง ความรู้สึกซาบซึ้งในวัฒนธรรมความเป็นคนไทยและความยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยก็ย่อมจะไม่ลึกซึ้งดังเช่นคนไทยโดยทั่วไป กรณีเช่นนี้อาจทำให้ไทยต้องสูญเสียความเป็นชาติไทย ซึ่งเปรียบได้กับการเป็นเมืองขึ้นในอดีตนั่นเอง (มาจากบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย)
(6) หมวด 7 ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 120 วรรคแรก
ข้อความเดิม : ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกหรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
แก้ไขข้อความใหม่ : ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
เหตุผลของผู้เขียนในการแก้ไขข้อความใหม่ในมาตรา 120 วรรคแรก
เนื่องจากร่าง รธน. 2559 หมวด 3 ว่าด้วยเรื่อง สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 วรรคแรก ระบุว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” ดังนั้นไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งข้าราชการฝ่ายต่างๆ บุคคลต่างๆที่กล่าวมาก็ควรได้รับความเสมอเท่าเทียมกันตามกฎหมายเช่นเดียวกันกับบุคคลธรรมดา แต่เนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จึงควรให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตให้มีการจับกุม คุมขัง หรือมีหมายเรียกตัวไปดำเนินการสอบสวนและดำเนินคดีตามหลักเกณฑ์ของวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอภิสิทธิ์อยู่เหนือกฎหมาย และอยู่เหนือประชาชนกลุ่มอื่นๆ นั่นเอง
3. บทสรุป
ภาพที่ 3 อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์*
* http://m.naewna.com/view/highlight/180176
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ผู้เขียนหวังว่า การที่ กรธ.หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ (ในภาพที่ 3) เปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ คงจะทำให้ กรธ.ได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่หลากหลายมาพิจารณา และกลั่นกรองจนสามารถพัฒนาร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้ความเสมอภาคและความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกกลุ่ม และที่สำคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและสังคมไทยได้จริง
หลังจากได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2559 แล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า แม้ร่าง รธน.ฉบับนี้อาจมีบางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือมีบางส่วนที่ยังไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้เขียน แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ของร่าง รธน.ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และต้องขอชื่นชมความคิดริเริ่มและความกล้าของ กรธ. เช่น การเลือกสมาชิกวุฒิสภาจากลุ่มวิชาชีพ และใช้รูปแบบการเลือกที่ไขว้กันระหว่างกลุ่ม เป็นต้น
ท้ายบทความ
เนื่องจากผู้เขียนได้ประสบปัญหาบางประการเกี่ยวกับการใช้มือและแขน (อันเป็นผลมาจากการหักโหมออกกำลังกาย) จึงทำให้การเขียนบทความอาจล่าช้าไปบ้าง อย่างไรก็ดีหวังว่า ผู้อ่านทุกท่านคงจะแสดงความคิดเห็นของท่านมาที่ Email Address: udomdee@gmail.com และ weerasak.nathasiri@gmail.com ดังเช่นที่เคยเป็นมา ขอบคุณครับ – วีระศักดิ์ นาทะสิริ
1.1 ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 สรุปเป็นหมวดต่างๆ
ร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2559 สรุปเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้
หมวด 1 ทั่วไป มาตรา 1 – 5
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 6 – 24
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 25 – 46
หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 47
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 48 – 59
หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 60 – 73
หมวด 7 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 74 – 77
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 78 – 101
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 102 – 108
ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 109 – 150
ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา 151 – 152
หมวด 8 คณะรัฐมนตรี มาตรา 153 – 178
หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ มาตรา 179 – 182
หมวด 10 ศาล
ส่วนที่ 1 ทั่วไป มาตรา 183 – 188
ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม มาตรา 189 – 191
ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง มาตรา 192 – 193
ส่วนที่ 4 ศาลทหาร มาตรา 194
หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 195 – 210
หมวด 12 องค์กรอิสระ
ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 211 – 217
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 218 – 223
ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 224 – 227
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 228 – 233
ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 234 – 241
ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 242 – 244
หมวด 13 องค์กรอัยการ มาตรา 245
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 246 – 251
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 252 – 253
บทเฉพาะกาล มาตรา 254 – 270
1.2 กำหนดเวลาในการดำเนินการเพื่อจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559*
16 ก.พ. –20 มี.ค. 59 กรธ.ปรับปรุงร่าง รธน. (รัฐธรรมนูญ) ตามข้อเสนอแนะ
29 มี.ค. 59 ร่าง รธน.แล้วเสร็จ
30 มี.ค. 59 กรธ.ส่งร่าง รธน.ให้ ครม.
เม.ย. 59 ครม.แจ้ง กกต.เพื่อดำเนินการเรื่องการจัดทำประชามติ
27 เม.ย. 59 เริ่มส่งร่าง รธน.ให้แก่ประชาชน (ครัวเรือน)
พ.ค. 59 (จนถึงก่อนวันออกเสียง) กกต.ดำเนินการให้มีการแสดงความคิดเห็น
22 มิ.ย. 59 ประกาศวันออกเสียงประชามติ
ก.ค. 59 (ก่อนออกเสียง 15 วัน) กกต.ส่งเอกสารชี้แจงรูปแบบการออกเสียงให้ครัวเรือน และรณรงค์ให้ประชาชนศึกษาสาระสำคัญของรธน.
ก.ค. –ส.ค. 59 (คาดว่า) วันออกเสียงประชามติ
*สรุปจากเอกสารร่าง รธน. 2559 ของ กรธ.(คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2559)
ความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับการจัดทำประชามติร่าง รธน. 2559
หลังจากที่ได้ติดตามการดำเนินการร่าง รธน.ของ กรธ.ชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ แล้วผู้เขียนมีความเห็นว่า คสช.และรัฐบาลไม่ควรจัดทำประชามติร่าง รธน. 2559 เพราะในเมื่อ คสช.เข้ามายึดอำนาจและบริหารประเทศโดยไม่ได้ขอประชามติจากประชาชนแต่ได้อ้างเหตุผลว่า ต้องการรักษาความสงบของบ้านเมือง ต้องการขจัดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนไทยและกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ ในสังคม และต้องการที่จะปฏิรูปประเทศไทยไม่ให้กลับไปสู่ความขัดแย้งเช่นในอดีตที่ผ่านมาอีกในเมื่อ คสช.ได้เสี่ยงชีวิตเข้ามาดำเนินการให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบเป็นปกติโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์อย่างใดทั้งสิ้น แล้วทำไม คสช.จะต้องไปใช้วิธีการขอประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 อีกเล่า
ในกรณีนี้ขอให้ดูที่มาของรัฐธรรมนูญในประเทศอื่นๆ เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเองก็ร่างหรือเขียนขึ้นโดยคนไม่กี่คน และไม่ได้มีการจัดทำประชามติแต่อย่างใด รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาก็ร่างหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้ญี่ปุ่นนำมาใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน (ดูภาพที่ 1) ก็ไม่เคยได้จัดทำประชามติก่อนที่จะนำมาใช้ ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยและไม่เข้าใจว่าคสช.
ภาพที่ 1 รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่เขียนตามเงื่อนไขของสหรัฐอเมริกา
*มาจาก http://www.digilibraries.com/ebook/117877/The_Constitution_of_Japan_1946/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
มีเหตุผลอย่างไร จึงได้ไฟเขียวให้มีการจัดทำประชามติซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นอีก และกรณีนี้ไม่เพียงอาจถูกนำไปใช้เป็นเหตุผลในการปลุกปั่นประชาชนให้คัดค้านร่าง รธน. 2559 เท่านั้น แต่ยังอาจถูกนำไปขยายผลเพื่อโจมตี คสช.และรัฐบาล (ชุดปัจจุบัน) ต่อไปในอนาคต จนอาจทำให้เกิดผลด้านลบต่อผลงานของ คสช.และรัฐบาลที่ได้พยายามทำมาหลายปีจนสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศเริ่มดีขึ้นอีกด้วย (คาดว่า อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต-ผู้เขียน)
2. ข้อเสนอและความคิดเห็นบางประการของผู้เขียนต่อ ร่าง รธน. 2559
ข้อเสนอให้เพิ่มเติมและแก้ไขข้อความในร่าง รธน. 2559 มีดังนี้
(1) หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 (10)
ข้อความเดิม : ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ จะต้องแจ้งและให้ข้อมูลการทุจริตที่รับทราบแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยไม่ชักช้า
เหตุผลของผู้เขียนในการเพิ่มเติมข้อความในมาตรา 47 (10)
คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้รู้เห็นการกระทำการทุจริตในเรื่องใดๆ มักจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง จึงไม่ต้องการยุ่งเกี่ยว ไม่สนใจ และไม่แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ซึ่งถ้าปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปโดยไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงตามมาในอนาคต ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เพิ่มข้อความที่ระบุถึง หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 63 วรรคแรก และวรรคสอง
ข้อความเดิม : รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าว
แก้ไขข้อความใหม่ : รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาเป็นเวลานาน โดยรัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และต้องส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าว
รัฐพึงคุ้มครองศาสนาอื่นๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐไทยและต่อความสงบสุขในการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยในสังคมด้วย
เหตุผลของผู้เขียนในการแก้ไขข้อความใหม่มาตรา 63 วรรคแรก และวรรคสอง
เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาการคมนาคมสื่อสารที่ไร้พรมแดนจึงทำให้อาจมีการนำลัทธิ ความเชื่อ ศาสนา และนิกายต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ในสังคมไทยผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ หน่วยงานของรัฐ(ไทย)และประชาชนชาวไทย จึงต้องร่วมมือกันในการติดตามและตรวจสอบคำสอน และการปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของลัทธิ ความเชื่อ ศาสนา และนิกายต่างๆ ว่า จะมีผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามต่อจารีตประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทย และความมั่นคงของชาติไทยมากน้อยเพียงใด หรือไม่ เพื่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะได้ช่วยกันยับยั้ง และขจัดการกระทำที่เป็นไปภัยต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยให้หมดไป ก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติของเราตัวอย่างเช่น การนำเอาตุ๊กตามาให้พระภิกษุปลุกเสก (ดูภาพที่ 2)* เป็นการนำความเชื่อส่วนบุคคลที่มีต่อตุ๊กตามาผสมปนเป
ภาพที่ 2 ภาพผู้ที่คล้ายพระภิกษุปลุกเสกตุ๊กตา
*จาก http://tnews.teenee.com/etc/130495.html และ www.springnews.co.th ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
กับศาสนาพุทธ จนทำให้ประชาชนชาวไทยบางกลุ่มเข้าใจผิดว่า ตุ๊กตาปลุกเสกเป็นผลมาจากศาสนาพุทธหรือได้รับการยอมรับจากศาสนาพุทธ และอาจทำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม (ที่ไม่เข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ) หันเหไปนิยมนับถือตุ๊กตามากกว่าที่จะเชื่อถือในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นผลให้คนไทยบางส่วนละเลย และทอดทิ้งบทบัญญัติต่างๆ ซึ่งเป็นแก่นแท้ของศาสนาพุทธ และในที่สุดก็จะเป็นผลให้ศาสนาพุทธเสื่อมถอยลงและสูญสลายไปในที่สุด ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ควรดำเนินการสอบสวนและจับพระภิกษุที่ทำพิธีกรรม (เช่นในภาพที่ 2) สึกโดยด่วน และควรลงโทษอย่างรุนแรงในฐานะที่เป็นผู้ทำลายศาสนาพุทธทางอ้อมด้วยอัตราโทษสูงสุดที่พึงมี (มีบางท่านเสนอว่า ควรกำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่มีเจตนาทำลายศาสนาพุทธ)
(3) หมวด 7 ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 90
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ข้อความเดิม: (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี
เพิ่มข้อความใหม่ : (4) จบการศึกษาภาคบังคับตามระเบียบและกฎหมายไทย
(4) หมวด 7 ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 92
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และต้องมีบิดามารดาที่ถือสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน
เพิ่มข้อความใหม่ : (4) (จ) ถ้าเป็นชายต้องผ่านการศึกษาวิชาทหารตามระเบียบที่กำหนด หรือผ่านขั้นตอนการคัดเลือกทหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(5) หมวด 7 ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 103
คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา
ข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
เพิ่มเติมจากข้อความเดิม : (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและต้องมีบิดามารดาที่ถือสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน
เพิ่มข้อความใหม่ : (5) ถ้าเป็นชายต้องผ่านการศึกษาวิชาทหารตามระเบียบที่กำหนด หรือผ่านขั้นตอนการคัดเลือกทหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหตุผลของผู้เขียนในการเพิ่มเติมข้อความในมาตรา 90, 92 และ 103
ประการแรก เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง(ก) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่จะทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ข) และรวมทั้งบุคคลที่เข้ารับการสรรหาและคัดเลือกเป็นวุฒิสมาชิก (ค) ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย และตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ในเรื่องนี้ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า บุคคลทั้งสามกลุ่มควรจะต้องมีความผูกพันกับสังคมไทยหรือมีความเป็นไทยมากกว่าที่กำหนดไว้เดิมในร่าง รธน. 2559 ดังนั้น จึงได้กำหนดให้กลุ่มบุคคลทั้งสามกลุ่มมีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากขึ้นดังรายละเอียดที่แสดงในข้อเสนอ (3), (4) และ(5)
ประการที่สอง การกำหนดคุณสมบัติในเรื่องนี้ไว้ตามที่ระบุในข้อ (3), (4) และ (5) แล้วเพราะในอนาคตอาจมีบุคคลที่เป็นบุตรของคนต่างด้าว ซึ่งแม้จะได้อยู่อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แต่อาจยังคงไม่เข้าใจหรือยึดมั่นในค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของไทยอย่างลึกซึ้ง จึงอาจไม่รู้สึกผูกพันต่อการดำรงอยู่ของชาติไทยแต่อย่างใด และถ้ามีบุตรในประเทศไทย บุตรของบุคคลเหล่านี้ก็จะกลายเป็นบุคคลสองสัญชาติที่ส่วนใหญ่ยังผูกพันและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่บิดามารดาของตนเกิดและเติบโตมา มากกว่าที่จะยึดมั่นในค่านิยมและความเป็นประเทศไทย ดังนั้น ถ้าเราไม่กำหนดคุณสมบัติในเรื่องสัญชาติไว้ให้รัดกุม ในอนาคตประเทศไทยอาจก็มีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างชาติอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นความเป็นไทยก็คงสูญสิ้นไปพร้อมกับชาติไทยในที่สุด
ขอให้ดูกรณีตัวอย่างจากบุตรของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่อพยพเข้ามาทำงานในร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังที่เมืองทองธานี ซึ่งเกิดในประเทศไทย ได้สัญชาติไทยและเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนของไทย ต่อไปอาจเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของไทย และถ้าเข้ารับราชการหรือลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทในการบริหารและปกครองประเทศไทย ซึ่งอาจมีผลทำให้ประเทศไทยมีผู้นำที่มีบิดามารดาเป็นชาวพม่า(คนต่างด้าว) ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในไทยนั่นเอง ความรู้สึกซาบซึ้งในวัฒนธรรมความเป็นคนไทยและความยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยก็ย่อมจะไม่ลึกซึ้งดังเช่นคนไทยโดยทั่วไป กรณีเช่นนี้อาจทำให้ไทยต้องสูญเสียความเป็นชาติไทย ซึ่งเปรียบได้กับการเป็นเมืองขึ้นในอดีตนั่นเอง (มาจากบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย)
(6) หมวด 7 ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 120 วรรคแรก
ข้อความเดิม : ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกหรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
แก้ไขข้อความใหม่ : ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
เหตุผลของผู้เขียนในการแก้ไขข้อความใหม่ในมาตรา 120 วรรคแรก
เนื่องจากร่าง รธน. 2559 หมวด 3 ว่าด้วยเรื่อง สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 วรรคแรก ระบุว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” ดังนั้นไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งข้าราชการฝ่ายต่างๆ บุคคลต่างๆที่กล่าวมาก็ควรได้รับความเสมอเท่าเทียมกันตามกฎหมายเช่นเดียวกันกับบุคคลธรรมดา แต่เนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จึงควรให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตให้มีการจับกุม คุมขัง หรือมีหมายเรียกตัวไปดำเนินการสอบสวนและดำเนินคดีตามหลักเกณฑ์ของวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอภิสิทธิ์อยู่เหนือกฎหมาย และอยู่เหนือประชาชนกลุ่มอื่นๆ นั่นเอง
3. บทสรุป
ภาพที่ 3 อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์*
* http://m.naewna.com/view/highlight/180176
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ผู้เขียนหวังว่า การที่ กรธ.หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ (ในภาพที่ 3) เปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ คงจะทำให้ กรธ.ได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่หลากหลายมาพิจารณา และกลั่นกรองจนสามารถพัฒนาร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้ความเสมอภาคและความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกกลุ่ม และที่สำคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและสังคมไทยได้จริง
หลังจากได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2559 แล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า แม้ร่าง รธน.ฉบับนี้อาจมีบางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือมีบางส่วนที่ยังไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้เขียน แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ของร่าง รธน.ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และต้องขอชื่นชมความคิดริเริ่มและความกล้าของ กรธ. เช่น การเลือกสมาชิกวุฒิสภาจากลุ่มวิชาชีพ และใช้รูปแบบการเลือกที่ไขว้กันระหว่างกลุ่ม เป็นต้น
ท้ายบทความ
เนื่องจากผู้เขียนได้ประสบปัญหาบางประการเกี่ยวกับการใช้มือและแขน (อันเป็นผลมาจากการหักโหมออกกำลังกาย) จึงทำให้การเขียนบทความอาจล่าช้าไปบ้าง อย่างไรก็ดีหวังว่า ผู้อ่านทุกท่านคงจะแสดงความคิดเห็นของท่านมาที่ Email Address: udomdee@gmail.com และ weerasak.nathasiri@gmail.com ดังเช่นที่เคยเป็นมา ขอบคุณครับ – วีระศักดิ์ นาทะสิริ