นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด กระทรวงการคลัง ขอเพิ่มพยานเข้าให้ถ้อยคำในคดีโครงการรับจำนำข้าวอีก 18 ปาก หลังครบกำหนดการขยายเวลาไปแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 58 ว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯไม่ได้ขยายเวลาเพิ่มให้ เนื่องจากต้องใช้เวลาที่เหลือทำการปิดสำนวน โดยคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ จะมีการประชุมกันเองอีก 4 ครั้ง ซึ่งแปลว่า ต้องให้เวลาคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯได้ทำงาน โดยไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม แต่เปิดให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่งถ้อยคำชี้แจงมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ จนถึงสิ้นเดือนม.ค.นี้ และที่ให้ส่งมาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่เป็นการขยายเวลา แต่หมายความว่า ถ้ามีอะไร ก็ให้ชี้แจงมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เท่าที่ดูรายชื่อพยานที่ขอเพิ่มทั้ง 18 คน ไม่ได้เป็นผู้ที่แจ้งชื่อไว้แต่ต้น ในช่วงที่เปิดให้พยานเข้าให้ถ้อยคำทั้ง 3 ครั้ง ก็มาครบหมดแล้ว ดังนั้นหากเปิดให้พยานบุคคลเข้าชี้แจงอีก ก็ต้องขยายเวลาออกไปอีกเรื่อยๆ และจากหนังสือที่ยื่นมา มีการระบุว่า ใครจะมาวันไหนบ้าง โดยคนสุดท้าย มาในช่วงปลายเดือนมี.ค.-เม.ย. ดังนั้นคณะกรรมการฯ มองเห็นว่าเป็นการยืดเวลา ที่เดี๋ยวดีไม่ดี อาจจะเลื่อนอีก ดังนั้นก็ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรส่งมา ส่งมาสัปดาห์หน้าเลยก็ได้
เมื่อถามว่า การที่ระบุวัน เวลา มาด้วยว่าจะมาวันไหนบ้างนั้น มองว่าเป็นเจตนาเตะถ่วงใช่หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า รัฐบาลไม่กล้าพูดอย่างนั้น ส่วนผลสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด กระทรวงพาณิชย์ ที่ส่งให้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานพิจารณาแล้วนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า โดยคณะกรรมการฯ ก็ต้องใช้เวลาเท่าที่ทราบมีการประชุมกันทุกวัน
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบัญชีรายชื่อข้าราชการที่พัวพันการการทุจริตลอตใหม่ว่า อีก 1-2 วัน คาดว่าจะมีความชัดเจน ซึ่งในรอบนี้ ยังติดอยู่กลุ่มหนึ่งที่ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องไปเช็คอะไรบางอย่าง เมื่อมีความชัดเจนจะส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 มีคำสั่งต่อไป
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า บางคนเสียชีวิตไปแล้ว ลาออกไปแล้วก็มี ซึ่งพวกนี้เราไปทำอะไรไม่ได้ จากรายชื่อส่วนใหญ่เป็นข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ที่น่าแปลกใจ มันมีอะไรที่แปลกประหลาด คือบางจังหวัดมีข้าราชการทั้งส่วนของอบต. อบจ. พัวพันการทุจริต
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้ที่ลาออกจากราชการแล้ว สมมุติเป็นนายกเทศมนตรี แล้วลาออก สอบวินัยไม่ได้ เรื่องจะไปอยู่ที่ ป.ป.ช. พิจารณาสอบสวนต่อไป ส่วนที่ยังเป็นข้าราชการ ก็ให้พักงาน เพื่อประโยชน์ต่อการสอบสวนทางวินัย อำนาจรัฐบาลมีอยู่แค่นี้ และการพิจารณาสมมุติเป็นข้าราชการ แล้วได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ และทำความผิดในฐานะคณะกรรมการ ก็ต้องพิจารณาความผิดในการเป็นคณะกรรมการ ไม่สามารถไปเอาผิดในตำแหน่งหลักได้ เพราะไม่ได้เป็นทำโดยตำแหน่ง ซึ่งส่วนนี้ จะต้องดูว่า จะพักงานอย่างไร
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เท่าที่ดูรายชื่อพยานที่ขอเพิ่มทั้ง 18 คน ไม่ได้เป็นผู้ที่แจ้งชื่อไว้แต่ต้น ในช่วงที่เปิดให้พยานเข้าให้ถ้อยคำทั้ง 3 ครั้ง ก็มาครบหมดแล้ว ดังนั้นหากเปิดให้พยานบุคคลเข้าชี้แจงอีก ก็ต้องขยายเวลาออกไปอีกเรื่อยๆ และจากหนังสือที่ยื่นมา มีการระบุว่า ใครจะมาวันไหนบ้าง โดยคนสุดท้าย มาในช่วงปลายเดือนมี.ค.-เม.ย. ดังนั้นคณะกรรมการฯ มองเห็นว่าเป็นการยืดเวลา ที่เดี๋ยวดีไม่ดี อาจจะเลื่อนอีก ดังนั้นก็ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรส่งมา ส่งมาสัปดาห์หน้าเลยก็ได้
เมื่อถามว่า การที่ระบุวัน เวลา มาด้วยว่าจะมาวันไหนบ้างนั้น มองว่าเป็นเจตนาเตะถ่วงใช่หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า รัฐบาลไม่กล้าพูดอย่างนั้น ส่วนผลสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด กระทรวงพาณิชย์ ที่ส่งให้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานพิจารณาแล้วนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า โดยคณะกรรมการฯ ก็ต้องใช้เวลาเท่าที่ทราบมีการประชุมกันทุกวัน
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบัญชีรายชื่อข้าราชการที่พัวพันการการทุจริตลอตใหม่ว่า อีก 1-2 วัน คาดว่าจะมีความชัดเจน ซึ่งในรอบนี้ ยังติดอยู่กลุ่มหนึ่งที่ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องไปเช็คอะไรบางอย่าง เมื่อมีความชัดเจนจะส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 มีคำสั่งต่อไป
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า บางคนเสียชีวิตไปแล้ว ลาออกไปแล้วก็มี ซึ่งพวกนี้เราไปทำอะไรไม่ได้ จากรายชื่อส่วนใหญ่เป็นข้าราชการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ที่น่าแปลกใจ มันมีอะไรที่แปลกประหลาด คือบางจังหวัดมีข้าราชการทั้งส่วนของอบต. อบจ. พัวพันการทุจริต
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้ที่ลาออกจากราชการแล้ว สมมุติเป็นนายกเทศมนตรี แล้วลาออก สอบวินัยไม่ได้ เรื่องจะไปอยู่ที่ ป.ป.ช. พิจารณาสอบสวนต่อไป ส่วนที่ยังเป็นข้าราชการ ก็ให้พักงาน เพื่อประโยชน์ต่อการสอบสวนทางวินัย อำนาจรัฐบาลมีอยู่แค่นี้ และการพิจารณาสมมุติเป็นข้าราชการ แล้วได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ และทำความผิดในฐานะคณะกรรมการ ก็ต้องพิจารณาความผิดในการเป็นคณะกรรมการ ไม่สามารถไปเอาผิดในตำแหน่งหลักได้ เพราะไม่ได้เป็นทำโดยตำแหน่ง ซึ่งส่วนนี้ จะต้องดูว่า จะพักงานอย่างไร