ตามที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล มีธรรมเนียมปฏิบัติในการตั้งฉายาของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในช่วงปลายปี เพื่อสะท้อนการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรอบปีที่ผ่านมา โดยปฏิบัติสืบเนื่องกันมากว่า 20 ปี
แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยวิธีพิเศษ ไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งตามกลไกปกติในระบอบประชาธิปไตย ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐมนตรี จึงมีมติว่าจะ“งด”ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี 2558 เนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลยืดถือสืบเนื่องกันมาว่า จะไม่ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ใน 3 กรณีคือ 1. กรณีรัฐบาลรักษาการ ภายหลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา หรือกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนรัฐบาลยังทำงานไม่ครบปี 2. กรณีรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ หรือรัฐประหาร และ 3. กรณีสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ
ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ยังมีความเห็นร่วมกันว่าไม่ต้องการให้การงดตั้งฉายาของรัฐบาลและรัฐมนตรี ประจำปี 2558 ครั้งนี้ ถูกนำไปใช้ขยายความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย หรือถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
อนึ่ง การงดตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง อาทิ ในปี 2549-2550 รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มาจากการรัฐประหาร ในปี 2551 รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในปี 2556 รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากมีการประกาศยุบสภา ในปี 2557 รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มาจากการรัฐประหาร เป็นต้น
แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้วยวิธีพิเศษ ไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งตามกลไกปกติในระบอบประชาธิปไตย ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐมนตรี จึงมีมติว่าจะ“งด”ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี 2558 เนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลยืดถือสืบเนื่องกันมาว่า จะไม่ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ใน 3 กรณีคือ 1. กรณีรัฐบาลรักษาการ ภายหลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา หรือกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนรัฐบาลยังทำงานไม่ครบปี 2. กรณีรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ หรือรัฐประหาร และ 3. กรณีสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ
ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ยังมีความเห็นร่วมกันว่าไม่ต้องการให้การงดตั้งฉายาของรัฐบาลและรัฐมนตรี ประจำปี 2558 ครั้งนี้ ถูกนำไปใช้ขยายความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย หรือถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
อนึ่ง การงดตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง อาทิ ในปี 2549-2550 รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มาจากการรัฐประหาร ในปี 2551 รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในปี 2556 รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากมีการประกาศยุบสภา ในปี 2557 รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มาจากการรัฐประหาร เป็นต้น