xs
xsm
sm
md
lg

ศาลฎีกายกฟ้องสมยศ คดีโอนหุ้นชัจจ์,สุริยาปี52

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน 360 - ศาลแพ่งอ่านฎีกา ให้ยกฟ้อง คดีชัจจ์ฟ้องพล.ต.อ.สมยศ เรื่อง คดีโอนหุ้น ไม่ต้องชดใช้เงิน 400 ล.

ศาลแพ่ง รัชดา อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ที่นางวิมลรัตน์ กุลดิลก ภรรยา พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก อดีตรมช.มหาดไทย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน อดีต รมช.พาณิชย์ ยุครัฐบาล พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. , กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลย ในความผิดเรื่อง เพิกถอนการโอนกรณีเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2551 นายสุริยา จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของบริษัทแอสเซ็ทฯ จำเลยที่ 4 รวม 10,199,600 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ให้กับนางวิมลรัตน์ โจทก์ เพื่อชำระหนี้บางส่วน โดยนายธรรมนูญ ทองลือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนถือหุ้นของนายสุริยา จำเลยที่ 1 ได้โอนหุ้นผ่านตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกคนหนึ่งเพื่อโอนหุ้นให้โจทก์ แต่ต่อมานายสุริยา จำเลยที่ 1 หลบหนีไปต่างประเทศ ซึ่งปี 2552 ก.ล.ต.มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของนายสุริยา จำเลยที่ 1 , นายธรรมนูญ จำเลยที่ 2 และบริษัทแอสเซ็ทฯ จำเลยที่ 4 โจทก์จึงยังไม่ได้จดทะเบียนแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งนายธรรมนูญ จำเลยที่ 2 ได้นำหุ้นนั้นไปขายให้กับ พล.ต.อ.สมยศ จำเลยที่ 3 ในราคา 900,000 บาท ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่แท้จริงที่มีราคาถึง 101,996,000 บาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทั่งพวกจำเลยได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นแล้วตั้งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศ จำเลยที่ 3 ได้มีการโอนหุ้นบางส่วนให้ จำเลยที่ 5-10 รายละ 2,000 หุ้น ดังนั้น โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนหุ้นของบริษัทแอสเซ็ทฯ จำเลยที่ 4 ระหว่างกลุ่มจำเลย และให้พิพากษาว่าหุ้นจำนวน 10 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และห้ามจำเลยทั้งสิบเกี่ยวข้อง รวมทั้งให้จำเลยทั้งสิบรวมกันชำระค่าเสียหายทดแทนกับโจทก์ด้วย จำนวน กว่า 407 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2554 ให้เพิกถอนการโอนหุ้นของบริษัท แอสเซ็ทฯ ระหว่างนายธรรมนูญ จำเลยที่ 2 กับ พล.ต.อ.สมยศ จำเลยที่ 3 รวม 10 ล้านหุ้น และเพิกถอนการโอนหุ้นระหว่าง พล.ต.อ.สมยศ จำเลยที่ 3 กับ จำเลยที่ 5 -10 โดยให้หุ้นจำนวนดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของนางวิมลรัตน์ โจทก์ และห้ามจำเลยที่ 2-3 , จำเลยที่ 5-10 เกี่ยวข้องกับหุ้นดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2-3 และจำเลยที่ 5-10 ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจประชุมหารือตรวจสำนวนกันแล้ว พิพากษา ยืนให้ยกฟ้อง
กำลังโหลดความคิดเห็น