วานนี้ (24 พ.ย.) องค์กรและเครือข่ายผู้หญิงด้านสิทธิมนุษยชน 30 องค์กร นำโดยน.ส.อุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิผู้หญิง เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ต่อว่าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม) ชุดใหม่ เรียกร้องต่อ กสม.ชุดใหม่ ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง โดยแยกประเด็นจากสิทธิเด็ก ที่มีแนวทาง และหลักปฏิบัติที่แตกต่างกัน เพื่อให้คณะอนุกรรมการสามารถดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อนำไปสู่การส่งเสริม คุ้มครองหญิงที่ถูกละเมิดสิทธิในด้านต่างๆได้ รวมถึงผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมุนษยชน เพื่อสามารถทำงานเชื่อมโยงกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิด้านต่างๆ ที่กระทบต่อผู้หญิง
ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในไทย รูปแบบการละเมิด มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติในแต่ละชุมชน ขณะที่นโยบายและมาตรการของรัฐยังขาดความตระหนักในปัญหาของผู้หญิงเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการที่แตกต่าง รวมถึงสิทธิของหญิงพิการ
นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ที่ผ่านมาไทยจะได้แก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา แต่ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศที่มีผลบังคับใช้แล้วก็ยังมาระบุข้อยกเว้นไว้ใน มาตรา 17 ว่า หากเป็นการปฏิบัติตามหลักศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายยังมีช่องว่างจากบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่มีทัศนคติที่ถูกต้อง ขาดแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้หญิงเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน ผู้หญิงที่ทำงานด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ มักจะต้องเผชิญกับการถูกข่มขู่ คุกคาม ลวนลามทางวาจา และใช้ประเด็นเรื่องเพศเป็นเครื่องลดทอนความน่าเชื่อถือ และถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านรัฐ หรือศัตรูของรัฐ จึงเห็นว่า เมื่อ กสม.ชุดใหม่มีผู้หญิงร่วมเป็นกรรมการถึง 4 คน จึงควรให้ความสำคัญต่อกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในไทย รูปแบบการละเมิด มีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติในแต่ละชุมชน ขณะที่นโยบายและมาตรการของรัฐยังขาดความตระหนักในปัญหาของผู้หญิงเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการที่แตกต่าง รวมถึงสิทธิของหญิงพิการ
นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ที่ผ่านมาไทยจะได้แก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา แต่ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศที่มีผลบังคับใช้แล้วก็ยังมาระบุข้อยกเว้นไว้ใน มาตรา 17 ว่า หากเป็นการปฏิบัติตามหลักศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายยังมีช่องว่างจากบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่มีทัศนคติที่ถูกต้อง ขาดแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้หญิงเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน ผู้หญิงที่ทำงานด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ มักจะต้องเผชิญกับการถูกข่มขู่ คุกคาม ลวนลามทางวาจา และใช้ประเด็นเรื่องเพศเป็นเครื่องลดทอนความน่าเชื่อถือ และถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านรัฐ หรือศัตรูของรัฐ จึงเห็นว่า เมื่อ กสม.ชุดใหม่มีผู้หญิงร่วมเป็นกรรมการถึง 4 คน จึงควรให้ความสำคัญต่อกรณีดังกล่าว