จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. อาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ให้คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) คณะกรรมการการแพทย์ (บอร์ดแพทย์) สปส. และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน สปส. ยุติการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการที่ปรึกษาบอร์ด สปส. ให้มีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี แทนการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558
วานนี้ (9 พ.ย.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ถือเป็นการปฏิรูประบบประกันสังคม ตามข้อเรียกร้องของแรงงานและผู้ประกันตน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดระบบบริหารงานกองทุนฯ เกิดความโปร่งใส และวางรากฐานการดำเนินงานในอนาคตให้สามารถตรวจสอบได้ เป็นการจัดระบบบริหารงานกองทุน ทั้งด้านการใช้จ่ายงบประมาณ การดูแลด้านการลงทุนในภาพรวม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกันตนทุกคน ยืนยันว่า ไม่กระทบสิทธิของผู้ประกันตนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกรณีการใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ในการเลือกตั้งบอร์ด สปส.ฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้าง หรือไม่ พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า ถือเป็นเหตุผลส่วนหนึ่ง อาจจะไม่เกี่ยวโดยตรง เพราะเหตุผลหลักเป็นเรื่องของความรวดเร็วในการดำเนินงาน ส่วนการเลือกตั้งภายหลังครบกำหนด 2 ปี ตามคำสั่งมาตรา 44 นั้น จะมีการพิจารณาวิธีการ และรายละเอียดในการเลือกตั้งบอร์ด สปส. ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างอีกครั้ง
พล.ท.นพ.กฤษดา ดวงอุไร หนึ่งในผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาบอร์ด สปส. กล่าวเพียงสั้นๆว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว คงต้องรอคำสั่งมาถึงตนอย่างเป็นทางการ แต่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น ประธานคณะอนุกรรมการการแพทย์ของกองทุนเงินทดแทน กล่าวถึง กรณีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการการแพทย์ สปส. ว่า ตนเพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลที่แน่ชัด แม้ตนจะเคยเป็นกรรมการการแพทย์ สปส. เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ไม่ได้ทราบข้อมูลการดำเนินงานในปัจจุบัน การเข้ามาทำหน้าที่ประธานกรรมการการแพทย์ สปส. คงต้องขอดูข้อมูลก่อนว่ามีปัญหาอะไรอย่างไรหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ นายกฯ ได้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วย นายปั้น วรรณพินิจ นายอำพล สิงหโกวินท์ พล.ท.กฤษฎา ดวงอุไร นายถาวร พานิชพันธ์ และ พล.อ.อภิชาติ แสงรุ่งเรือง
แต่งตั้งคณะกรรมการการแพทย์ตามกฎหมายให้ นพ.ชาตรี บานชื่น เป็นประธานกรรมการ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นพ.อำนวย กาจีนะ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา พล.ท.ไตรโรจน์ ครุธเวโช ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี พล.ต.จัดพล วุฑฒกนก ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล รศ.พญ.จุฑาไล ตัณฑเทอดธรรม นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ ศ.พญ.สุนันทา พลปัถพี ศ.นพ.สารเนตน์ ไวคกุล รศ.นพ.ศุภชัย รัตนมณีฉัตร และ ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ
แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน โดยมี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธาน นายศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย นางผจงสิน วรรณโกวิท นางปริศนา ประหารข้าศึก นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายปิยะชาติ ชุณหเวชสกุล นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ นายวารินทร์ ศรีแจ่ม นายบรรจง บุญรัตน์ นางพงษทร คงลือชา และมีผู้แทนสำนักงานประกันสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ
วานนี้ (9 พ.ย.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ถือเป็นการปฏิรูประบบประกันสังคม ตามข้อเรียกร้องของแรงงานและผู้ประกันตน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดระบบบริหารงานกองทุนฯ เกิดความโปร่งใส และวางรากฐานการดำเนินงานในอนาคตให้สามารถตรวจสอบได้ เป็นการจัดระบบบริหารงานกองทุน ทั้งด้านการใช้จ่ายงบประมาณ การดูแลด้านการลงทุนในภาพรวม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกันตนทุกคน ยืนยันว่า ไม่กระทบสิทธิของผู้ประกันตนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกรณีการใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ในการเลือกตั้งบอร์ด สปส.ฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้าง หรือไม่ พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า ถือเป็นเหตุผลส่วนหนึ่ง อาจจะไม่เกี่ยวโดยตรง เพราะเหตุผลหลักเป็นเรื่องของความรวดเร็วในการดำเนินงาน ส่วนการเลือกตั้งภายหลังครบกำหนด 2 ปี ตามคำสั่งมาตรา 44 นั้น จะมีการพิจารณาวิธีการ และรายละเอียดในการเลือกตั้งบอร์ด สปส. ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างอีกครั้ง
พล.ท.นพ.กฤษดา ดวงอุไร หนึ่งในผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาบอร์ด สปส. กล่าวเพียงสั้นๆว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว คงต้องรอคำสั่งมาถึงตนอย่างเป็นทางการ แต่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น ประธานคณะอนุกรรมการการแพทย์ของกองทุนเงินทดแทน กล่าวถึง กรณีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการการแพทย์ สปส. ว่า ตนเพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลที่แน่ชัด แม้ตนจะเคยเป็นกรรมการการแพทย์ สปส. เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ไม่ได้ทราบข้อมูลการดำเนินงานในปัจจุบัน การเข้ามาทำหน้าที่ประธานกรรมการการแพทย์ สปส. คงต้องขอดูข้อมูลก่อนว่ามีปัญหาอะไรอย่างไรหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ นายกฯ ได้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วย นายปั้น วรรณพินิจ นายอำพล สิงหโกวินท์ พล.ท.กฤษฎา ดวงอุไร นายถาวร พานิชพันธ์ และ พล.อ.อภิชาติ แสงรุ่งเรือง
แต่งตั้งคณะกรรมการการแพทย์ตามกฎหมายให้ นพ.ชาตรี บานชื่น เป็นประธานกรรมการ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นพ.อำนวย กาจีนะ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา พล.ท.ไตรโรจน์ ครุธเวโช ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี พล.ต.จัดพล วุฑฒกนก ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล รศ.พญ.จุฑาไล ตัณฑเทอดธรรม นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ ศ.พญ.สุนันทา พลปัถพี ศ.นพ.สารเนตน์ ไวคกุล รศ.นพ.ศุภชัย รัตนมณีฉัตร และ ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ
แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน โดยมี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธาน นายศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย นางผจงสิน วรรณโกวิท นางปริศนา ประหารข้าศึก นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายปิยะชาติ ชุณหเวชสกุล นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ นายวารินทร์ ศรีแจ่ม นายบรรจง บุญรัตน์ นางพงษทร คงลือชา และมีผู้แทนสำนักงานประกันสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ