ASTVผู้จัดการรายวัน-ชมรมแพทย์ชนบททำจดหมายเปิดผนึกถึงรมว.สาธารณสุข คัดค้านแก้ พ.ร.บ.สสส. หวั่นตีกรอบสุขภาวะแคบ มุ่งลดวงเงิน สสส. ชี้แก้แค่ระเบียบภายในก็เพียงพอ พร้อมขอให้หยุดสร้างภาพใส่ร้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 พ.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยขอให้ยุติการแก้ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 ด้วยอคติและอวิชชา เพราะการตรวจสอบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ข้อสรุปว่า สสส. ไม่มีการทุจริต เพียงแต่พบการใช้งบประมาณในปี 2553-2557 ไม่เหมาะสม 17 โครงการ เป็นเงิน 109 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.61% ของงบ สสส.ใน 5 ปี และเป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการชี้แจงของ สสส. จึงไม่จำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.สสส. เพียงแค่แก้ไขระเบียบภายในก็เพียงพอ
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นห่วงว่ากรอบมุมมองวิธีคิดของทั้งรมว.สาธารณสุขและทีมที่ปรึกษา เป็นอุปสรรคต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง เพราะสุขภาพจะดีต้องเกี่ยวโยงกับระบบสังคม ไม่ใช่เพียงเรื่องพฤติกรรมและระบบบริการ
ดังนั้น ชมรมแพทย์ชนบทจึงมีความเป็นห่วงต่อการถอยหลังลงคลองของระบบสุขภาพท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิรูปและการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงขอคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.สสส. ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1.การแก้ พ.ร.บ.สสส.ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้กรอบความคิดที่จะทำให้ สสส.เป็นเสมือนกรมกองในระบบราชการ ที่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่ำ และถูกแทรกแซงโดยราชการและนักการเมืองได้ง่าย
2.การแก้ พ.ร.บ.สสส. ในครั้งนี้ เน้นจำกัดกรอบจากสุขภาวะมาเป็นสุขภาพแบบแคบภายใต้ทัศนะด้านสุขภาพแบบเก่าที่เห็นสุขภาพเป็นเพียงเรื่องของหมอ พยาบาล โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่สุขภาพในปัจจุบันทั้งโลกให้ความสำคัญเป็นสุขภาวะ ที่เกี่ยวโยงกับระบบสังคมภายใต้ความหมายของคำว่า สุขภาวะ สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกที่เป็นหลักสากล
3.การแก้ พ.ร.บ.สสส.ในครั้งนี้ มุ่งลดวงเงินงบประมาณของ สสส.ลงไป ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า งบที่ สสส.ได้รับ คือเพียง 2% ของภาษีเหล้าบุหรี่นั้น เหมาะสมแล้ว รัฐบาลยังได้งบอีกถึง 98% ไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น หากคิดสัดส่วนงบประมาณกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ถือว่าต่ำมากที่ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงงบประมาณเพื่อการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสุขภาพตนเอง
ชมรมแพทย์ชนบทขอให้ รมว.สาธารณสุขมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้อง สสส. ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพด้วยการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของประชาชนเช่นเดิม การแก้ปัญหาที่ สตง. คตร. ตรวจพบนั้น แก้ได้ด้วยการแก้ระเบียบภายใน โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.สสส. แต่อย่างใด และหยุดสร้างภาพกล่าวหาใส่ร้ายเกินจริงว่า สสส.ทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ได้ผล จนนำไปสู่การตั้งเงื่อนไขว่าจะยุบ กองทุน สสส.ในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 พ.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยขอให้ยุติการแก้ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 ด้วยอคติและอวิชชา เพราะการตรวจสอบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ข้อสรุปว่า สสส. ไม่มีการทุจริต เพียงแต่พบการใช้งบประมาณในปี 2553-2557 ไม่เหมาะสม 17 โครงการ เป็นเงิน 109 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.61% ของงบ สสส.ใน 5 ปี และเป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการชี้แจงของ สสส. จึงไม่จำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.สสส. เพียงแค่แก้ไขระเบียบภายในก็เพียงพอ
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นห่วงว่ากรอบมุมมองวิธีคิดของทั้งรมว.สาธารณสุขและทีมที่ปรึกษา เป็นอุปสรรคต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง เพราะสุขภาพจะดีต้องเกี่ยวโยงกับระบบสังคม ไม่ใช่เพียงเรื่องพฤติกรรมและระบบบริการ
ดังนั้น ชมรมแพทย์ชนบทจึงมีความเป็นห่วงต่อการถอยหลังลงคลองของระบบสุขภาพท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิรูปและการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงขอคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.สสส. ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1.การแก้ พ.ร.บ.สสส.ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้กรอบความคิดที่จะทำให้ สสส.เป็นเสมือนกรมกองในระบบราชการ ที่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่ำ และถูกแทรกแซงโดยราชการและนักการเมืองได้ง่าย
2.การแก้ พ.ร.บ.สสส. ในครั้งนี้ เน้นจำกัดกรอบจากสุขภาวะมาเป็นสุขภาพแบบแคบภายใต้ทัศนะด้านสุขภาพแบบเก่าที่เห็นสุขภาพเป็นเพียงเรื่องของหมอ พยาบาล โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่สุขภาพในปัจจุบันทั้งโลกให้ความสำคัญเป็นสุขภาวะ ที่เกี่ยวโยงกับระบบสังคมภายใต้ความหมายของคำว่า สุขภาวะ สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกที่เป็นหลักสากล
3.การแก้ พ.ร.บ.สสส.ในครั้งนี้ มุ่งลดวงเงินงบประมาณของ สสส.ลงไป ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า งบที่ สสส.ได้รับ คือเพียง 2% ของภาษีเหล้าบุหรี่นั้น เหมาะสมแล้ว รัฐบาลยังได้งบอีกถึง 98% ไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น หากคิดสัดส่วนงบประมาณกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ถือว่าต่ำมากที่ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงงบประมาณเพื่อการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสุขภาพตนเอง
ชมรมแพทย์ชนบทขอให้ รมว.สาธารณสุขมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้อง สสส. ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพด้วยการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของประชาชนเช่นเดิม การแก้ปัญหาที่ สตง. คตร. ตรวจพบนั้น แก้ได้ด้วยการแก้ระเบียบภายใน โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.สสส. แต่อย่างใด และหยุดสร้างภาพกล่าวหาใส่ร้ายเกินจริงว่า สสส.ทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ได้ผล จนนำไปสู่การตั้งเงื่อนไขว่าจะยุบ กองทุน สสส.ในที่สุด