เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (26 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ ก่อนเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ว่า การประชุมสภากลาโหม เป็นการประชุมตามวาระปกติ และเป็นการชี้แจงการทำงานในรอบ 1 เดือนของกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ
ส่วนการตั้งกองสงครามไซเบอร์ ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องทั่วไป ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งในกองทัพที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม และกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์
สำหรับในการประชุม ตนไม่มีความจำเป็นต้องฝากอะไรเป็นพิเศษ กับผู้บัญชาการเหล่าทัพ เพราะมีการพูดคุยร่วมกันทุกวัน ซึ่งทุกอย่างมีความเรียบร้อยดี ทั้งนี้อย่ามาสร้างให้เป็นประเด็น หรือเป็นเรื่อง เมื่อเจอหน้ากันก็มีการทักทายกัน ยืนยันว่า ไม่ได้มีเรื่องร้อนที่ต้องพูดคุยเป็นพิเศษ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้เกิดความสงบสุข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น รวมทั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย
พล.ต.คงชีพ ตันตระวานิช โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมสภากลาโหม ว่า ในที่ประชุมได้พูดถึงการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ( Cyber Attack ) เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของประเทศในปัจจุบัน โดยมีการเจาะระบบข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการรบกวนไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์ ของหน่วยงานราชการ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อน และส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นอย่างยิ่ง และอาจขยายตัวนำมาซึ่งความเสียหายในระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน และ การบิน ความมั่นคง และ ผลประโยชน์ของชาติในอนาคต โดยมีการหยิบยกผลเสียหายดังกล่าว ไปพูดในเวทีหลายประเทศ โดยผู้แทน 10 ประเทศอาเซียน รวมถึงจีน ก็เห็นว่าเรื่องดังกล่าวกระทบต่อความมั่นคง เชื่อมโยงไปยังปัญหาอื่นๆ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ และ ก่อการร้าย
พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า รมว.กลาโหมได้ เน้นย้ำให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เพิ่มความเข้มข้นในระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางราชการ พร้อมกับกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อเว็บไซต์ในส่วนที่หน่วยรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับข้อมูลที่สำคัญต่อการปฏิบัติของหน่วย รวมถึงข้อมูลที่เป็นการบริการประชาชนด้วย ตั้งแต่รับตำแหน่ง รมว.กลาโหม ยังให้บรรจุเรื่องนี้อยู่ในแผนปฏิรูปกระทรวงกลาโหมและกองทัพ ซึ่งเดิมก็มีหน่วยงานในกองทัพดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันให้เข้มข้น และบูรณาการร่วมกันในหน่วยงานภายในและภายนอกมากขึ้น โดยการพัฒนาและจัดทำแผนท่านต้องการให้ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ และจริงจังมากขึ้น แต่ยืนยันว่าเราไม่ได้ทำสงครามกับใคร และไม่ได้ไปรุกรานใคร เป็นมาตรการป้องกัน และ ระมัดระวัง ไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังผู้ไม่หวังดี ทั้งนี้ ต้องการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนให้ระมัดระวัง และใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล ช่วยกันตรวจสอบการกระทำของผู้ไม่หวังดี ช่วยโต้กลับ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐให้ทราบด้วย
พล.ต.คงชีพ ยังกล่าวว่า รมว.กลาโหม เน้นย้ำ ให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ในเรื่องความรุนแรงและความขัดแย้งในสังคมโลก โดยเฉพาะทางด้านศาสนาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงให้ติดตามข่าวสาร วิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ เพราะเรื่องดังกล่าวเชื่อมโยงทั้งใน และนอกประเทศ พร้อมทำความเข้าใจให้กับกำลังพล ในฐานะที่เป็นหน่วยงานความมั่นคง
ส่วนการตั้งกองสงครามไซเบอร์ ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องทั่วไป ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งในกองทัพที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม และกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์
สำหรับในการประชุม ตนไม่มีความจำเป็นต้องฝากอะไรเป็นพิเศษ กับผู้บัญชาการเหล่าทัพ เพราะมีการพูดคุยร่วมกันทุกวัน ซึ่งทุกอย่างมีความเรียบร้อยดี ทั้งนี้อย่ามาสร้างให้เป็นประเด็น หรือเป็นเรื่อง เมื่อเจอหน้ากันก็มีการทักทายกัน ยืนยันว่า ไม่ได้มีเรื่องร้อนที่ต้องพูดคุยเป็นพิเศษ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้เกิดความสงบสุข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น รวมทั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย
พล.ต.คงชีพ ตันตระวานิช โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมสภากลาโหม ว่า ในที่ประชุมได้พูดถึงการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ( Cyber Attack ) เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของประเทศในปัจจุบัน โดยมีการเจาะระบบข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการรบกวนไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์ ของหน่วยงานราชการ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อน และส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นอย่างยิ่ง และอาจขยายตัวนำมาซึ่งความเสียหายในระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน และ การบิน ความมั่นคง และ ผลประโยชน์ของชาติในอนาคต โดยมีการหยิบยกผลเสียหายดังกล่าว ไปพูดในเวทีหลายประเทศ โดยผู้แทน 10 ประเทศอาเซียน รวมถึงจีน ก็เห็นว่าเรื่องดังกล่าวกระทบต่อความมั่นคง เชื่อมโยงไปยังปัญหาอื่นๆ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ และ ก่อการร้าย
พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า รมว.กลาโหมได้ เน้นย้ำให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เพิ่มความเข้มข้นในระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางราชการ พร้อมกับกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อเว็บไซต์ในส่วนที่หน่วยรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับข้อมูลที่สำคัญต่อการปฏิบัติของหน่วย รวมถึงข้อมูลที่เป็นการบริการประชาชนด้วย ตั้งแต่รับตำแหน่ง รมว.กลาโหม ยังให้บรรจุเรื่องนี้อยู่ในแผนปฏิรูปกระทรวงกลาโหมและกองทัพ ซึ่งเดิมก็มีหน่วยงานในกองทัพดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันให้เข้มข้น และบูรณาการร่วมกันในหน่วยงานภายในและภายนอกมากขึ้น โดยการพัฒนาและจัดทำแผนท่านต้องการให้ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ และจริงจังมากขึ้น แต่ยืนยันว่าเราไม่ได้ทำสงครามกับใคร และไม่ได้ไปรุกรานใคร เป็นมาตรการป้องกัน และ ระมัดระวัง ไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังผู้ไม่หวังดี ทั้งนี้ ต้องการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนให้ระมัดระวัง และใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล ช่วยกันตรวจสอบการกระทำของผู้ไม่หวังดี ช่วยโต้กลับ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐให้ทราบด้วย
พล.ต.คงชีพ ยังกล่าวว่า รมว.กลาโหม เน้นย้ำ ให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ในเรื่องความรุนแรงและความขัดแย้งในสังคมโลก โดยเฉพาะทางด้านศาสนาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงให้ติดตามข่าวสาร วิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ เพราะเรื่องดังกล่าวเชื่อมโยงทั้งใน และนอกประเทศ พร้อมทำความเข้าใจให้กับกำลังพล ในฐานะที่เป็นหน่วยงานความมั่นคง