หมอกควันไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่พัดปกคลุมอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าขั้นวิกฤต ฝุ่นละอองเกิน 300 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ถือว่าเลวร้ายที่สุด แถมยังมีกลุ่มควันใหม่จากเกาะบอร์เนียวที่อาจพัดเข้ามาเสริม ทำให้หนักมากขึ้น ประธานสภาอุตฯท่องเที่ยวเมืองตรัง เรียกร้องรัฐบาลไทยจี้อินโดนีเซีย จัดการปัญหาให้จบโดยเร็วก่อนกระทบท่องเที่ยว
วานนี้ (22 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.สงขลา ว่าหมอกควันจากไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย พัดเข้าปกคลุมอ.หาดใหญ่ จนอยู่ในระดับที่อันตราย และเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยค่าฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอนเฉลี่ย 24 ชั่วโมง โดยช่วงเช้าตรวจวัดได้ 350 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ซึ่งเป็นมลพิษที่เกินค่ามาตรฐานสูงสุดเป็นครั้งแรก และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ส่งผลให้ชาวอ.หาดใหญ่ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โดยที่สนามกีฬาจิระนครหาดใหญ่ ถึงขั้นเงียบเหงา ประชาชนงดออกกำลังกาย โรงเรียนทุกแห่งประกาศให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัย และจังหวัดออกประกาศเตือนให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ เที่ยวบินช่วงเช้าต้องล่าช้า 2 เที่ยวบิน ทั้งนกแอร์ และไทย ไลออน แอร์ เนื่องจากระยะการมองเห็นบนรันเวย์เพียง 500 เมตร เช่นเดียวกับการสัญจรทั้งทางบก และทางทะเล ทัศนวิสัยต่ำเช่นกัน
ช่วงบ่าย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)เขต12 สงขลา นำรถบันไดท่อน้ำและรถต่อต้านวินาศกรรม ซึ่งดัดแปลงเป็นรถฉีดพ่นละอองน้ำ ฉีดพ่นละอองน้ำในอากาศ สลายกลุ่มหมอกควันที่ปกคลุมอย่างหนาแน่นในตัวเมืองหาดใหญ่ ที่หน้าโรงเรียนแสงทองวิทยาและถนนเสน่หานุสรณ์ และหน้าห้างสรรพสินค้าลี การ์เด้น พลาซ่าจุดละ 1 ชั่วโมง ใช้น้ำประมาณ 6 แสนลิตรต่อจุด เนื่องจากค่าฝุ่นละอองตั้งแต่ช่วงเที่ยงพุ่งสูงถึง 371 ไมโครกรัมต่ลบ.ม.แล้ว ซึ่งวิกฤตที่สุดในภาคใต้
นายฮาเล็ม เจะมาริกัน ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สงขลา เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบดาวเทียมพบว่ากลุ่มควันไฟบนเกาะบอร์เนียว และกระแสลม มีแนวโน้มพัดเข้ามาในร่องเดียวกับกลุ่มควันจากไฟจากเกาะสุมาตรา ซึ่งจะงทำให้ปริมาณหมอกควันที่พัดเข้ามาในประเทศไทยมีมากขึ้น และต่อเนื่องอีกหลายวัน เนื่องจากจุดที่เกิดไฟไหม้บนเกาะบอร์เนียว มีมากกว่าบนเกาะสุมาตรา แต่หากกลุ่มควันจากเกาะบอร์เนียวเปลี่ยนทิศไปทางอื่น ปัญหาจะคลี่คลายใน 2-3 วัน
ที่จ.สตูล หมอกควันไฟป่าแผ่เข้าปกคลุมหนาขึ้น ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุที่ชอบมาออกกำลังกายยามเช้าที่สนามกีฬากลางจังหวัดไม่มีถึง 10 คน และยังต้องสวมหน้ากากอนามัยปิดจมูก และฝากให้จังหวัดติดป้ายประกาศเตือนคุณภาพอากาศ เพื่อประชาชนจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ว่าจะดูแลตนเองอย่างไร
นายกิติศักดิ์ แก้งบรรจง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูล กล่าวว่า ล่าสุดค่าฝุ่นะอองอยู่ที่ 276 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ทำให้ท้องทะเลมีหมอกควันหนาแน่น จึงประกาศเตือนที่เกาะหลีเป๊ะ หมู่ 7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง ย้ำผู้ขับเรือหางยาวพานักท่องเที่ยวไปตามเกาะแก่ง ระวังชนกับเรือสปีดโบ๊ท รวมทั้งเรือประมงพื้นบ้านควรสังเกตเส้นทางเดินเรือให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันเหตุชนกัน
ขณะที่นักเที่ยวต่างชาติยังคงหลั่งไหลลงท่องเที่ยวตามหมู่เกาะในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา แม้สภาพหมอกควันจะปกคลุมหนาแน่น ส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก ซึ่งนายสุเมธ หมันเหตุ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจ.สตูล กล่าวว่า ขณะที่ผู้ประกอบการยืนยันความปลอดภัยในการท่องเที่ยวทางทะเลท่ามกลางหมอกควัน แต่ก็ไม่ประมาท จะเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษมากขึ้น อีกทั้งเรือส่วนใหญ่จะมีเรดาร์บอกทิศทางในการเดินเรืออยู่แล้ว เพียงแต่นักท่องเที่ยวอาจไม่เห็นความงดงามของเกาะแก่งได้ชัดเจน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง
ด้านชาวประมงพื้นบ้านในอ.ท่าศาลา และอำเภอใกล้เคียงแถบชายฝั่งอ่าวไทยของจ.นครศรีธรรมราช ต้องหยุดทำประมง เนื่องจากทัศนวิสัยการมองเห็นไม่เกิน 500 เมตร ทำให้เรือที่ออกไปทำประมงห่างจากชายฝั่งมากกว่า 10 กิโลเมตร ประสบกับปัญหาไม่สามารถกลับเข้าฝั่งหน้าบ้านของตัวเองได้ หลายคนมีอาการหลงทะเล โดยเฉพาะในช่วงที่มีเมฆฝนปิดบังแสงอาทิตย์ ขณะที่ชาวประมงบางรายพยายามออกจากฝั่งเพื่อหารายได้ แต่ไม่สามารถทำได้ โดยออกจากฝั่งไปได้เพียงเล็กน้อยต้องกลับเข้าฝั่ง เนื่องจากไม่สามารถมองหาจุดหมายบนฝั่งได้
ส่วนที่จ.นราธิวาส หมอกควันปกคลุมขยายวงกว้างในทุกพื้นที่ ซึ่งที่ต.บางนาค อ.เมือง วัดค่าฝุ่นละอองได้ 122 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่จ.นราธิวาส ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน และปริมาณฝุ่นละอองที่วัดได้ครั้งนี้ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงแจ้งเตือนให้ดูแลสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องทำงานกลางแจ้ง และผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
ขณะที่ ปภ.จังหวัดนราธิวาส ได้เปิดศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันจากประเทศอินโดนีเซีย เตรียมลงพื้นที่แจกจ่ายหน้ากากอนามัย โดยแจ้งให้ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารเป็นระยะ ซึ่งหมอกควันที่เข้าปกคลุมพื้นที่ครั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดจากตอนล่างเข้าสู่ประเทศไทยด้านตะวันตก ทำให้หมอกควันจากเกาะสุมาตรา ปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมากขึ้น
ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส น.ต.นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แจกหน้ากากอนามัยให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน( อสม.) และผู้แทนชุมชนทั้ง 13 อำเภอในจ.นราธิวาส รวม 107,500 ชิ้นเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.แนะนำประชาชนดูแลสุขภาพช่วงที่มีหมอกควันปกคลุม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง รวมถึงโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือใช้ผ้าปิดจมูก หากเกิดอาการเจ็บป่วยควรรีบพบแพทย์ทันที
จ.ปัตตานี ที่ต.รูสะมิแล อ.เมือง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด วัดค่าฝุ่นละอองได้สูงถึง 214 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ขณะที่นายวีรพงค์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัด นพ.บรรเจิด สุขพิพัฒน์ปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พร้อมทีมงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล แจกจ่ายหน้ากากอนามัยแก่ประชาชน พร้อมให้คำแนะนำด้านสุขภาพเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ
สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ผู้ที่มีอาการโรคปอดเรื้อรัง โรคไซนัส ภูมิแพ้ ควรพักผ่อนอยู่ในบ้าน หลีกเลี่ยงกิจกรรมในพื้นที่มีหมอกควัน หรือควรสวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ป่วยควรเตรียมยาและอุปกรณ์ให้พร้อม ปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันหมอกควัน หากมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที ส่วนผู้ที่มีอาการจาม น้ำมูกไหล คอแห้ง และไอ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม งดเว้นการสูบบุหรี่ และควรดื่มน้ำบ่อยๆช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน ควรงดกิจกรรมนอกบ้านเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่ต้องออกแรงมาก ในบริเวณที่มีฝุ่นควัน โดยสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาในที่โล่งแจ้งทุกชนิด เพื่อลดความรุนแรงของหมอกควันด้วย
จ.ตรัง พระสงฆ์และสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประสิทธิชัย ต.ทับเที่ยง อ.เมือง อาพาธด้วยโรคภูมิแพ้ มีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้วกว่า 10 รูป จากประมาณ 70 รูป โดยพระปิยวิทย์ วิสุทธิญาโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประสิทธิชัย กล่าวว่า พระภิกษุ สามเณรที่มาบวชเรียนช่วงเข้าพรรษาตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน และล้มป่วยแล้วกว่า 20 รูป โดยอาการหนักบ้างน้อยบ้างตามสภาพร่างกาย ทำให้ต้องเสียเวลาเล่าเรียน อีกทั้งระหว่างนี้อยู่ในช่วงสอบนักธรรมชั้นตรี ซึ่งปีหนึ่งจะสอบได้แค่ครั้งเดียว หากไม่สามารถไปสอบได้ หรือเจ็บป่วย ก็ต้องรอสอบใหม่ในปีถัดไป ทำให้พระภิกษุ สามเณรที่ตั้งใจเรียน รู้สึกกังวลเป็นอย่างมากหากต้องเจ็บป่วยในช่วงนี้
สำหรับสถานการณ์หมอกควันยังคงปกคลุมอย่างหนาแน่นทั้ง 10 อำเภอ ระยะการมองเห็นแค่ 200-300 เมตรเท่านั้น ขณะที่จ.ตรัง เป็นจังหวัดเดียว ในกลุ่มจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหมอกควัน แต่ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ
ด้านนายแพทย์สมชัย เจียรนัยศิลป์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง และรองประธานหอการค้าจังหวัดตรัง กล่าวว่า เป็นห่วงหมอกควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย ที่พัดปกคลุมจ.ตรัง เป็นระลอกที่ 5 ของปีนี้แล้ว เพราะหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว หรือไฮ ซีซันของภาคใต้ฝั่งอันดามัน จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทันที โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม จะรู้สึกกังวลต่อสถานการณ์แบบนี้ และอาจเปลี่ยนไปท่องเที่ยวยังจุดอื่นแทน
ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวไทยเอง ปัจจุบันก็มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ยิ่งขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางภาคเหนือหรือภาคอีสาน ได้รับความนิยมสูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากภาคใต้ยังคงเกิดมีปัญหาหมอกควันยาวนาน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยบางส่วนหันไปท่องเที่ยวภาคอื่นแทน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้เร่งจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่าให้จบสิ้นโดยเร็วที่สุด ก่อนที่ภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
น.ส.พะเยา เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก กล่าวว่า วิกฤติหมอกควันจะเริ่มคลี่คลายลงตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.เนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ โดยพบว่าความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่จะลงมาจากประเทศจีน มาถึงจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าวันที่ 23 ต.ค.ถึงประเทศไทยตอนบน แล้วจะส่งผลกับภาคใต้วันที่ 24 ตุ.ค.ซึ่งลมก็จะเริ่มเปลี่ยนทิศ
"หมอกควันปกคลุมอยู่ขณะนี้เพราะลมตะวันตกเฉียงใต้ และตั้งแต่วันที่24 ต.ค.จะเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ คือ พัดจากทะเลจีนใต้เข้ามาทางอ่าวไทย และภาคใต้ จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกเพิ่มขึ้น แล้วลมก็จะเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปัญหาหมอกควันคลี่คลายลงได้"
*** นายกฯ ห่วงปัญหาหมอกควันภาคใต้
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเป็นห่วงประชาชนในหลายพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.สงขลา, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และสตูล ที่ได้รับผลกระทบปัญหาหมอกควันจากไฟป่าในประเทศเพื่อนบ้านที่กลับมาสร้างผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในหลายพื้นที่อีกครั้ง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทีมหมอครอบครัวของกระทรวงสาธารณสุขเร่งออกเยี่ยมประชาชนและใช้สื่อทุกช่องทางในการประชาสัมพันธ์วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงจากหมอกควัน รวมทั้งได้เตรียมแนวทางการใช้ฝนเทียมเพื่อลดปริมาณฝุ่นควันในอากาศด้วย ส่วนประชาชนที่ต้องเดินทางสัญจรก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เนื่องจากทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะลดลงอย่างมาก
สำหรับแนวทางในการดูแลตัวเอง เบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นก็ควรปิดปากและจมูกด้วยหน้ากากอนามัย รวมทั้ง งดการทำกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดควันพิษมากขึ้น เช่น เผาขยะ เผาหญ้า และควรดื่มน้ำบ่อยๆ หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบ ควรรีบพบแพทย์
*** แนะเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง-ระวังการขับขี่
ด้านนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวเริ่มมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งมีผลต่อสุขภาพจากกลิ่นควันไฟ อาการระคายเคืองตา แสบตา หายใจอึดอัด จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หมออนามัย ทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ออกให้คำแนะนำประชาชนในการปฏิบัติตัว พร้อมแจกหน้ากากอนามัยในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหอบหืดและโรคระบบทางเดินหายใจ ขณะนี้แจกไปแล้ว 55,700 ชิ้น อยู่ระหว่างจัดส่งอีก 40,000 ชิ้น
นพ.โสภณ กล่าวว่า ขอให้ประชาชน ติดตามรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศและปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ ระวังการสูดดมหมอกควันเข้าไปในร่างการ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคหอบหืด ในขณะที่ผู้สูงอายุและเด็กเล็กต้องระวังเป็นพิเศษ หากต้องออกจากบ้านควรใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก หรือใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ฝุ่นเข้ามาในบ้านเรือน หรืออาคาร ดื่มน้ำมากๆ หรือใช้น้ำเกลือกลั้วคอป้องกันการเจ็บคอ งดการสูบบุหรี่ งดเผาขยะ หากมีโรคประจำตัว ควรเตรียมยา และอุปกรณ์ที่จำเป็น หรือถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที ในส่วนของการใช้พาหนะควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
"ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ในภาคใต้ 7 จังหวัด วันที่ 22 ตุลาคม เวลา 09.00 น.คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่จังหวัดสงขลา พบปริมาณฝุ่นละอองสูงสุด 360 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่งผลกระทบสุขภาพมาก รองลงมาส่วนที่สตูล ปัตตานี สุราษฏร์ธานี ยะลา ก็ส่งผลกระทบด้านสุขภาพเช่นกัน มีเพียงภูเก็ตที่คุณภาพอากาศปานกลาง โดยค่าฝุ่นละออง หากเกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยโรคทางเดินหายใจ และในเด็กจะมีอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ระคายเคือง แสบตา แสบจมูก น้ำมูกไหล ไอ คอแห้ง เจ็บคอ หายใจลำบาก อึดอัดแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน" ปลัด สธ. กล่าว
วานนี้ (22 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.สงขลา ว่าหมอกควันจากไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย พัดเข้าปกคลุมอ.หาดใหญ่ จนอยู่ในระดับที่อันตราย และเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยค่าฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอนเฉลี่ย 24 ชั่วโมง โดยช่วงเช้าตรวจวัดได้ 350 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ซึ่งเป็นมลพิษที่เกินค่ามาตรฐานสูงสุดเป็นครั้งแรก และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ส่งผลให้ชาวอ.หาดใหญ่ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โดยที่สนามกีฬาจิระนครหาดใหญ่ ถึงขั้นเงียบเหงา ประชาชนงดออกกำลังกาย โรงเรียนทุกแห่งประกาศให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัย และจังหวัดออกประกาศเตือนให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ เที่ยวบินช่วงเช้าต้องล่าช้า 2 เที่ยวบิน ทั้งนกแอร์ และไทย ไลออน แอร์ เนื่องจากระยะการมองเห็นบนรันเวย์เพียง 500 เมตร เช่นเดียวกับการสัญจรทั้งทางบก และทางทะเล ทัศนวิสัยต่ำเช่นกัน
ช่วงบ่าย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)เขต12 สงขลา นำรถบันไดท่อน้ำและรถต่อต้านวินาศกรรม ซึ่งดัดแปลงเป็นรถฉีดพ่นละอองน้ำ ฉีดพ่นละอองน้ำในอากาศ สลายกลุ่มหมอกควันที่ปกคลุมอย่างหนาแน่นในตัวเมืองหาดใหญ่ ที่หน้าโรงเรียนแสงทองวิทยาและถนนเสน่หานุสรณ์ และหน้าห้างสรรพสินค้าลี การ์เด้น พลาซ่าจุดละ 1 ชั่วโมง ใช้น้ำประมาณ 6 แสนลิตรต่อจุด เนื่องจากค่าฝุ่นละอองตั้งแต่ช่วงเที่ยงพุ่งสูงถึง 371 ไมโครกรัมต่ลบ.ม.แล้ว ซึ่งวิกฤตที่สุดในภาคใต้
นายฮาเล็ม เจะมาริกัน ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สงขลา เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบดาวเทียมพบว่ากลุ่มควันไฟบนเกาะบอร์เนียว และกระแสลม มีแนวโน้มพัดเข้ามาในร่องเดียวกับกลุ่มควันจากไฟจากเกาะสุมาตรา ซึ่งจะงทำให้ปริมาณหมอกควันที่พัดเข้ามาในประเทศไทยมีมากขึ้น และต่อเนื่องอีกหลายวัน เนื่องจากจุดที่เกิดไฟไหม้บนเกาะบอร์เนียว มีมากกว่าบนเกาะสุมาตรา แต่หากกลุ่มควันจากเกาะบอร์เนียวเปลี่ยนทิศไปทางอื่น ปัญหาจะคลี่คลายใน 2-3 วัน
ที่จ.สตูล หมอกควันไฟป่าแผ่เข้าปกคลุมหนาขึ้น ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุที่ชอบมาออกกำลังกายยามเช้าที่สนามกีฬากลางจังหวัดไม่มีถึง 10 คน และยังต้องสวมหน้ากากอนามัยปิดจมูก และฝากให้จังหวัดติดป้ายประกาศเตือนคุณภาพอากาศ เพื่อประชาชนจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ว่าจะดูแลตนเองอย่างไร
นายกิติศักดิ์ แก้งบรรจง นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูล กล่าวว่า ล่าสุดค่าฝุ่นะอองอยู่ที่ 276 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ทำให้ท้องทะเลมีหมอกควันหนาแน่น จึงประกาศเตือนที่เกาะหลีเป๊ะ หมู่ 7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง ย้ำผู้ขับเรือหางยาวพานักท่องเที่ยวไปตามเกาะแก่ง ระวังชนกับเรือสปีดโบ๊ท รวมทั้งเรือประมงพื้นบ้านควรสังเกตเส้นทางเดินเรือให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันเหตุชนกัน
ขณะที่นักเที่ยวต่างชาติยังคงหลั่งไหลลงท่องเที่ยวตามหมู่เกาะในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา แม้สภาพหมอกควันจะปกคลุมหนาแน่น ส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก ซึ่งนายสุเมธ หมันเหตุ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจ.สตูล กล่าวว่า ขณะที่ผู้ประกอบการยืนยันความปลอดภัยในการท่องเที่ยวทางทะเลท่ามกลางหมอกควัน แต่ก็ไม่ประมาท จะเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษมากขึ้น อีกทั้งเรือส่วนใหญ่จะมีเรดาร์บอกทิศทางในการเดินเรืออยู่แล้ว เพียงแต่นักท่องเที่ยวอาจไม่เห็นความงดงามของเกาะแก่งได้ชัดเจน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง
ด้านชาวประมงพื้นบ้านในอ.ท่าศาลา และอำเภอใกล้เคียงแถบชายฝั่งอ่าวไทยของจ.นครศรีธรรมราช ต้องหยุดทำประมง เนื่องจากทัศนวิสัยการมองเห็นไม่เกิน 500 เมตร ทำให้เรือที่ออกไปทำประมงห่างจากชายฝั่งมากกว่า 10 กิโลเมตร ประสบกับปัญหาไม่สามารถกลับเข้าฝั่งหน้าบ้านของตัวเองได้ หลายคนมีอาการหลงทะเล โดยเฉพาะในช่วงที่มีเมฆฝนปิดบังแสงอาทิตย์ ขณะที่ชาวประมงบางรายพยายามออกจากฝั่งเพื่อหารายได้ แต่ไม่สามารถทำได้ โดยออกจากฝั่งไปได้เพียงเล็กน้อยต้องกลับเข้าฝั่ง เนื่องจากไม่สามารถมองหาจุดหมายบนฝั่งได้
ส่วนที่จ.นราธิวาส หมอกควันปกคลุมขยายวงกว้างในทุกพื้นที่ ซึ่งที่ต.บางนาค อ.เมือง วัดค่าฝุ่นละอองได้ 122 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่จ.นราธิวาส ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน และปริมาณฝุ่นละอองที่วัดได้ครั้งนี้ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงแจ้งเตือนให้ดูแลสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องทำงานกลางแจ้ง และผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
ขณะที่ ปภ.จังหวัดนราธิวาส ได้เปิดศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันจากประเทศอินโดนีเซีย เตรียมลงพื้นที่แจกจ่ายหน้ากากอนามัย โดยแจ้งให้ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารเป็นระยะ ซึ่งหมอกควันที่เข้าปกคลุมพื้นที่ครั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดจากตอนล่างเข้าสู่ประเทศไทยด้านตะวันตก ทำให้หมอกควันจากเกาะสุมาตรา ปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมากขึ้น
ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส น.ต.นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แจกหน้ากากอนามัยให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน( อสม.) และผู้แทนชุมชนทั้ง 13 อำเภอในจ.นราธิวาส รวม 107,500 ชิ้นเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.แนะนำประชาชนดูแลสุขภาพช่วงที่มีหมอกควันปกคลุม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง รวมถึงโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือใช้ผ้าปิดจมูก หากเกิดอาการเจ็บป่วยควรรีบพบแพทย์ทันที
จ.ปัตตานี ที่ต.รูสะมิแล อ.เมือง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด วัดค่าฝุ่นละอองได้สูงถึง 214 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ขณะที่นายวีรพงค์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัด นพ.บรรเจิด สุขพิพัฒน์ปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พร้อมทีมงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล แจกจ่ายหน้ากากอนามัยแก่ประชาชน พร้อมให้คำแนะนำด้านสุขภาพเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ
สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ผู้ที่มีอาการโรคปอดเรื้อรัง โรคไซนัส ภูมิแพ้ ควรพักผ่อนอยู่ในบ้าน หลีกเลี่ยงกิจกรรมในพื้นที่มีหมอกควัน หรือควรสวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ป่วยควรเตรียมยาและอุปกรณ์ให้พร้อม ปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันหมอกควัน หากมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที ส่วนผู้ที่มีอาการจาม น้ำมูกไหล คอแห้ง และไอ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม งดเว้นการสูบบุหรี่ และควรดื่มน้ำบ่อยๆช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน ควรงดกิจกรรมนอกบ้านเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่ต้องออกแรงมาก ในบริเวณที่มีฝุ่นควัน โดยสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาในที่โล่งแจ้งทุกชนิด เพื่อลดความรุนแรงของหมอกควันด้วย
จ.ตรัง พระสงฆ์และสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประสิทธิชัย ต.ทับเที่ยง อ.เมือง อาพาธด้วยโรคภูมิแพ้ มีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้วกว่า 10 รูป จากประมาณ 70 รูป โดยพระปิยวิทย์ วิสุทธิญาโณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประสิทธิชัย กล่าวว่า พระภิกษุ สามเณรที่มาบวชเรียนช่วงเข้าพรรษาตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน และล้มป่วยแล้วกว่า 20 รูป โดยอาการหนักบ้างน้อยบ้างตามสภาพร่างกาย ทำให้ต้องเสียเวลาเล่าเรียน อีกทั้งระหว่างนี้อยู่ในช่วงสอบนักธรรมชั้นตรี ซึ่งปีหนึ่งจะสอบได้แค่ครั้งเดียว หากไม่สามารถไปสอบได้ หรือเจ็บป่วย ก็ต้องรอสอบใหม่ในปีถัดไป ทำให้พระภิกษุ สามเณรที่ตั้งใจเรียน รู้สึกกังวลเป็นอย่างมากหากต้องเจ็บป่วยในช่วงนี้
สำหรับสถานการณ์หมอกควันยังคงปกคลุมอย่างหนาแน่นทั้ง 10 อำเภอ ระยะการมองเห็นแค่ 200-300 เมตรเท่านั้น ขณะที่จ.ตรัง เป็นจังหวัดเดียว ในกลุ่มจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหมอกควัน แต่ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ
ด้านนายแพทย์สมชัย เจียรนัยศิลป์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง และรองประธานหอการค้าจังหวัดตรัง กล่าวว่า เป็นห่วงหมอกควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย ที่พัดปกคลุมจ.ตรัง เป็นระลอกที่ 5 ของปีนี้แล้ว เพราะหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว หรือไฮ ซีซันของภาคใต้ฝั่งอันดามัน จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทันที โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องสิ่งแวดล้อม จะรู้สึกกังวลต่อสถานการณ์แบบนี้ และอาจเปลี่ยนไปท่องเที่ยวยังจุดอื่นแทน
ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวไทยเอง ปัจจุบันก็มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ยิ่งขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางภาคเหนือหรือภาคอีสาน ได้รับความนิยมสูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากภาคใต้ยังคงเกิดมีปัญหาหมอกควันยาวนาน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยบางส่วนหันไปท่องเที่ยวภาคอื่นแทน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้เร่งจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่าให้จบสิ้นโดยเร็วที่สุด ก่อนที่ภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
น.ส.พะเยา เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก กล่าวว่า วิกฤติหมอกควันจะเริ่มคลี่คลายลงตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.เนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ โดยพบว่าความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่จะลงมาจากประเทศจีน มาถึงจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าวันที่ 23 ต.ค.ถึงประเทศไทยตอนบน แล้วจะส่งผลกับภาคใต้วันที่ 24 ตุ.ค.ซึ่งลมก็จะเริ่มเปลี่ยนทิศ
"หมอกควันปกคลุมอยู่ขณะนี้เพราะลมตะวันตกเฉียงใต้ และตั้งแต่วันที่24 ต.ค.จะเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ คือ พัดจากทะเลจีนใต้เข้ามาทางอ่าวไทย และภาคใต้ จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกเพิ่มขึ้น แล้วลมก็จะเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปัญหาหมอกควันคลี่คลายลงได้"
*** นายกฯ ห่วงปัญหาหมอกควันภาคใต้
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเป็นห่วงประชาชนในหลายพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.สงขลา, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และสตูล ที่ได้รับผลกระทบปัญหาหมอกควันจากไฟป่าในประเทศเพื่อนบ้านที่กลับมาสร้างผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในหลายพื้นที่อีกครั้ง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ทีมหมอครอบครัวของกระทรวงสาธารณสุขเร่งออกเยี่ยมประชาชนและใช้สื่อทุกช่องทางในการประชาสัมพันธ์วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงจากหมอกควัน รวมทั้งได้เตรียมแนวทางการใช้ฝนเทียมเพื่อลดปริมาณฝุ่นควันในอากาศด้วย ส่วนประชาชนที่ต้องเดินทางสัญจรก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เนื่องจากทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะลดลงอย่างมาก
สำหรับแนวทางในการดูแลตัวเอง เบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นก็ควรปิดปากและจมูกด้วยหน้ากากอนามัย รวมทั้ง งดการทำกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดควันพิษมากขึ้น เช่น เผาขยะ เผาหญ้า และควรดื่มน้ำบ่อยๆ หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบ ควรรีบพบแพทย์
*** แนะเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง-ระวังการขับขี่
ด้านนพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวเริ่มมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งมีผลต่อสุขภาพจากกลิ่นควันไฟ อาการระคายเคืองตา แสบตา หายใจอึดอัด จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หมออนามัย ทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ออกให้คำแนะนำประชาชนในการปฏิบัติตัว พร้อมแจกหน้ากากอนามัยในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหอบหืดและโรคระบบทางเดินหายใจ ขณะนี้แจกไปแล้ว 55,700 ชิ้น อยู่ระหว่างจัดส่งอีก 40,000 ชิ้น
นพ.โสภณ กล่าวว่า ขอให้ประชาชน ติดตามรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศและปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ ระวังการสูดดมหมอกควันเข้าไปในร่างการ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคหอบหืด ในขณะที่ผู้สูงอายุและเด็กเล็กต้องระวังเป็นพิเศษ หากต้องออกจากบ้านควรใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก หรือใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ฝุ่นเข้ามาในบ้านเรือน หรืออาคาร ดื่มน้ำมากๆ หรือใช้น้ำเกลือกลั้วคอป้องกันการเจ็บคอ งดการสูบบุหรี่ งดเผาขยะ หากมีโรคประจำตัว ควรเตรียมยา และอุปกรณ์ที่จำเป็น หรือถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที ในส่วนของการใช้พาหนะควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
"ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ในภาคใต้ 7 จังหวัด วันที่ 22 ตุลาคม เวลา 09.00 น.คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่จังหวัดสงขลา พบปริมาณฝุ่นละอองสูงสุด 360 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่งผลกระทบสุขภาพมาก รองลงมาส่วนที่สตูล ปัตตานี สุราษฏร์ธานี ยะลา ก็ส่งผลกระทบด้านสุขภาพเช่นกัน มีเพียงภูเก็ตที่คุณภาพอากาศปานกลาง โดยค่าฝุ่นละออง หากเกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยโรคทางเดินหายใจ และในเด็กจะมีอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ระคายเคือง แสบตา แสบจมูก น้ำมูกไหล ไอ คอแห้ง เจ็บคอ หายใจลำบาก อึดอัดแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน" ปลัด สธ. กล่าว