สืบเนื่องมาจากกรณีที่ นายอนุมัติ อาหมัด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาเปิดถึงเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบแก้ไขกฎหมายการส่งเสริมกิจการฮัจย์ เพื่อแก้ปัญหาการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของพี่น้องมุสลิมไทย ซึ่งมีปัญหาสะสมต่อเนื่องมาหลายปี
ทั้งนี้ จากการประชุมผู้เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า ให้ย้ายกิจการฮัจย์ ที่ปัจจุบันอยู่ในสังกัดกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม ไปอยู่ในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แทน เพราะที่ผ่านมากิจการฮัจย์มีปัญหามาโดยตลอด 20 ปี และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ไม่สามารถคุ้มครองผู้เดินทางไปแสวงบุญฮัจย์ ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง 150,000-200,000 บาทต่อคน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ศน. รู้เห็นเป็นใจ และมีการทุจริตคอร์รัปชันกันภายในด้วยนั้น
วานนี้ (11ต.ค.) นายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดี ศน. กล่าวว่า ขณะนี้มีการเสนอแก้ไปปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ โดยเห็นควรโอนย้ายกิจการฮัจย์จากเดิมสังกัด ศน. ไปอยู่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจริง ซึ่งเหตุผลการโอนย้าย ไม่ได้เกิดจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันแต่อย่างใด แต่กระทรวงวัฒนธรรม( วธ.) ได้พิจารณาแล้วเห็นถึงความจำเป็นที่ประชาชนควรจะรู้ข่าวสารเท่าทันการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ และที่สำคัญเพื่อให้การบริการเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด จึงได้มีการปฏิรูปการบริหารกิจการฮัจย์ ดังนี้
1.โครงสร้างการบริหารงานกิจการฮัจย์ นั้นให้กรมการปกครองเป็นหน่วยงานบริหารงานแทน ศน. เนื่องจากมีองค์กร และบุคลากรในกำกับอยู่ทุกพื้นที่
2.ให้เพิ่มเติมกรรมการ ซึ่งมาจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทและภารกิจเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ ได้แก่ ผู้แทนจุฬาราชมนตรี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นองค์ประกอบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
นายกฤษศญพงษ์ กล่าวต่อว่า การโอนย้ายครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้การทำงานกิจการฮัจย์เข้าถึงประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการให้ความรู้เรื่องฮัจย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการดำเนินกิจการฮัจย์ปี 2558 นี้ ถือเป็นปีที่มีการทำงานลงพื้นที่ใกล้ชิดกับพี่น้องมุสลิมอย่างมาก โดยได้รับความร่วมมือจาก นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งมีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นประจำมัสยิด ทำให้การกำกับดูแล และส่งเสริมให้การดำเนินกิจการฮัจย์เป็นไปอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ตามหลักศาสนา ตลอดจนประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย มีหลักประกันในการเดินทาง และป้องกันการหาประโยชน์อันมิชอบ จนได้รับการชื่นชมจากนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี และผู้แสวงบุญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
“กรณีระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ ศน. มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น จากการตรวจสอบที่ผ่านมา ยังไม่พบปัญหาการทุจริตแต่อย่างใด หากนายอนุมัติ จะส่งหลักฐานมาให้ ศน. ผมจะเร่งตรวจสอบทันที เพราะจะเป็นประโยชน์และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ส่วนกรณีผู้แสวงบุญต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงนั้น ขอชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายไม่ได้ขึ้นอยู่กับศน. แต่เป็นสิทธิ์ของผู้แสวงบุญแต่ละคนจะเป็นผู้เลือกใช้บริการของบริษัทแห่งใด เพราะแต่ละบริษัทมีราคาค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ” นายกฤษศญพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ จากการประชุมผู้เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า ให้ย้ายกิจการฮัจย์ ที่ปัจจุบันอยู่ในสังกัดกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม ไปอยู่ในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แทน เพราะที่ผ่านมากิจการฮัจย์มีปัญหามาโดยตลอด 20 ปี และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ไม่สามารถคุ้มครองผู้เดินทางไปแสวงบุญฮัจย์ ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง 150,000-200,000 บาทต่อคน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ศน. รู้เห็นเป็นใจ และมีการทุจริตคอร์รัปชันกันภายในด้วยนั้น
วานนี้ (11ต.ค.) นายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดี ศน. กล่าวว่า ขณะนี้มีการเสนอแก้ไปปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ โดยเห็นควรโอนย้ายกิจการฮัจย์จากเดิมสังกัด ศน. ไปอยู่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจริง ซึ่งเหตุผลการโอนย้าย ไม่ได้เกิดจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันแต่อย่างใด แต่กระทรวงวัฒนธรรม( วธ.) ได้พิจารณาแล้วเห็นถึงความจำเป็นที่ประชาชนควรจะรู้ข่าวสารเท่าทันการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ และที่สำคัญเพื่อให้การบริการเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด จึงได้มีการปฏิรูปการบริหารกิจการฮัจย์ ดังนี้
1.โครงสร้างการบริหารงานกิจการฮัจย์ นั้นให้กรมการปกครองเป็นหน่วยงานบริหารงานแทน ศน. เนื่องจากมีองค์กร และบุคลากรในกำกับอยู่ทุกพื้นที่
2.ให้เพิ่มเติมกรรมการ ซึ่งมาจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทและภารกิจเกี่ยวกับกิจการฮัจย์ ได้แก่ ผู้แทนจุฬาราชมนตรี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นองค์ประกอบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
นายกฤษศญพงษ์ กล่าวต่อว่า การโอนย้ายครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้การทำงานกิจการฮัจย์เข้าถึงประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการให้ความรู้เรื่องฮัจย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการดำเนินกิจการฮัจย์ปี 2558 นี้ ถือเป็นปีที่มีการทำงานลงพื้นที่ใกล้ชิดกับพี่น้องมุสลิมอย่างมาก โดยได้รับความร่วมมือจาก นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งมีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นประจำมัสยิด ทำให้การกำกับดูแล และส่งเสริมให้การดำเนินกิจการฮัจย์เป็นไปอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ตามหลักศาสนา ตลอดจนประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย มีหลักประกันในการเดินทาง และป้องกันการหาประโยชน์อันมิชอบ จนได้รับการชื่นชมจากนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี และผู้แสวงบุญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
“กรณีระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ ศน. มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น จากการตรวจสอบที่ผ่านมา ยังไม่พบปัญหาการทุจริตแต่อย่างใด หากนายอนุมัติ จะส่งหลักฐานมาให้ ศน. ผมจะเร่งตรวจสอบทันที เพราะจะเป็นประโยชน์และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ส่วนกรณีผู้แสวงบุญต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงนั้น ขอชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายไม่ได้ขึ้นอยู่กับศน. แต่เป็นสิทธิ์ของผู้แสวงบุญแต่ละคนจะเป็นผู้เลือกใช้บริการของบริษัทแห่งใด เพราะแต่ละบริษัทมีราคาค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ” นายกฤษศญพงษ์ กล่าว