ในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1-5 ต.ค.58 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมหารือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนความเข้มแข็งของชุมชน ในบริหารจัดการเอสเอ็มอี
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้ ได้รับประโยชน์อย่างมากมาย โดยเฉพาะได้เห็นพัฒนาการของประเทศชั้นนำอย่างญี่ปุ่น ที่เติบโตด้วยความเข้มแข็ง โดยยังคงเอกลักษณ์ของประเทศไว้อย่างมั่นคง ขณะเดียวกันก็มีการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนในทุกมิติเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยได้มีโอกาสเข้าพบและหารือกับ Dr. Sadayuki Sakakibara ประธานของ Japan Business Federation (KEIDANREN)หรือสภาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น การเดินทางมาประชุมหารือในครั้งนี้ เพื่อบอกเล่าถึงนโยบายของรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนเอสเอ็มอีต่างชาติที่จะลงทุนในประเทศไทย โดยได้ปรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี การสนับสนุนกำลังคนด้านวทน. เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนได้ รวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่สามารถสนับสนุน SMEของชาวญี่ปุ่นได้ โดยหวังว่าทาง KEIDANREN จะเป็นผู้ประสานงานภาคเอกชนในญี่ปุ่นให้มาลงทุนในประเทศไทย ในฐานะที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
ขณะเดียวกันได้หารือกับผู้บริหารของ สถาบันบัณฑิตพัฒนานโยบายแห่งชาติ National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยได้อัพเดทถึงการปรับการทำงานของวท. จากกลุ่มกระทรวงสายสังคม ไปอยู่กลุ่มกระทรวงสายเศรษฐกิจ ซึ่งทาง GRIPS ตื่นเต้นกับบทบาทใหม่นี้มาก และได้หารือกันถึงความร่วมมือทางด้านนโยบายวทน. ในอนาคต หลังจากที่เคยมีความร่วมมือในการให้ทุนสนับสนุนทางด้านการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับประเทศไทยจำนวนสองทุนมาแล้ว
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ไปเยือนเมืองโออิตะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ได้พูดคุยกับคุณ Tadashi Uchida ประธานกลุ่ม OVOP (One Village On Product) ซึ่งมีลักษณะเหมือน OTOP ของประเทศไทย โดยท่านอูชิดะ บอกว่าปรัชญาของการพัฒนา OVOP มี 3 ข้อหลัก ๆ คือ ทำให้ประชาคมมีรายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความภูมิใจในความสามารถที่จะสร้างสินค้าแปรรูปได้ด้วยตัวเองซึ่งเป็นรายได้ที่สำคัญ และในระยะยาวความเป็นครอบครัวจะเหนียวแน่น คนรุ่นใหม่ไม่เข้าเมืองมากเกินไป นี่คือความยั่งยืนของสังคมชุมชนที่เนื่องจากชุมชนมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยได้อ้างอิงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ซึ่งเขาเชื่อว่าประเทศไทยเองก็จะสามารถพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในลักษณะเดียวกันได้ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตเหมือน OVOP ที่ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 40 ปี
“ข้อคิดเห็นที่มีความน่าสนใจของท่านประธานฯ OVOP คือ สิ่งที่เขาทำอยู่ขณะนี้ คือประเทศเอง ไม่ควรเน้นเพียงการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นแล้ว โดยเน้นเพียงการเติบโตของรายได้ผ่านการชี้วัดเป็น GNP (Gross National Product) มาเป็นที่ตั้ง แต่แนะนำว่าเราควรจะคิดอีกด้านหนึ่งด้วย GNS (Gross National Satisfaction) คือให้คนเราอยู่อย่างมีความพึงพอใจ และความสุขกับครอบครัว กับชุมชนและสังคมรอบข้าง" รมว.วิทยาศาสตร์ กล่าว
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้ ได้รับประโยชน์อย่างมากมาย โดยเฉพาะได้เห็นพัฒนาการของประเทศชั้นนำอย่างญี่ปุ่น ที่เติบโตด้วยความเข้มแข็ง โดยยังคงเอกลักษณ์ของประเทศไว้อย่างมั่นคง ขณะเดียวกันก็มีการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนในทุกมิติเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยได้มีโอกาสเข้าพบและหารือกับ Dr. Sadayuki Sakakibara ประธานของ Japan Business Federation (KEIDANREN)หรือสภาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น การเดินทางมาประชุมหารือในครั้งนี้ เพื่อบอกเล่าถึงนโยบายของรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนเอสเอ็มอีต่างชาติที่จะลงทุนในประเทศไทย โดยได้ปรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี การสนับสนุนกำลังคนด้านวทน. เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนได้ รวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่สามารถสนับสนุน SMEของชาวญี่ปุ่นได้ โดยหวังว่าทาง KEIDANREN จะเป็นผู้ประสานงานภาคเอกชนในญี่ปุ่นให้มาลงทุนในประเทศไทย ในฐานะที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
ขณะเดียวกันได้หารือกับผู้บริหารของ สถาบันบัณฑิตพัฒนานโยบายแห่งชาติ National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยได้อัพเดทถึงการปรับการทำงานของวท. จากกลุ่มกระทรวงสายสังคม ไปอยู่กลุ่มกระทรวงสายเศรษฐกิจ ซึ่งทาง GRIPS ตื่นเต้นกับบทบาทใหม่นี้มาก และได้หารือกันถึงความร่วมมือทางด้านนโยบายวทน. ในอนาคต หลังจากที่เคยมีความร่วมมือในการให้ทุนสนับสนุนทางด้านการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับประเทศไทยจำนวนสองทุนมาแล้ว
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ไปเยือนเมืองโออิตะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ได้พูดคุยกับคุณ Tadashi Uchida ประธานกลุ่ม OVOP (One Village On Product) ซึ่งมีลักษณะเหมือน OTOP ของประเทศไทย โดยท่านอูชิดะ บอกว่าปรัชญาของการพัฒนา OVOP มี 3 ข้อหลัก ๆ คือ ทำให้ประชาคมมีรายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความภูมิใจในความสามารถที่จะสร้างสินค้าแปรรูปได้ด้วยตัวเองซึ่งเป็นรายได้ที่สำคัญ และในระยะยาวความเป็นครอบครัวจะเหนียวแน่น คนรุ่นใหม่ไม่เข้าเมืองมากเกินไป นี่คือความยั่งยืนของสังคมชุมชนที่เนื่องจากชุมชนมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยได้อ้างอิงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ซึ่งเขาเชื่อว่าประเทศไทยเองก็จะสามารถพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในลักษณะเดียวกันได้ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตเหมือน OVOP ที่ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 40 ปี
“ข้อคิดเห็นที่มีความน่าสนใจของท่านประธานฯ OVOP คือ สิ่งที่เขาทำอยู่ขณะนี้ คือประเทศเอง ไม่ควรเน้นเพียงการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นแล้ว โดยเน้นเพียงการเติบโตของรายได้ผ่านการชี้วัดเป็น GNP (Gross National Product) มาเป็นที่ตั้ง แต่แนะนำว่าเราควรจะคิดอีกด้านหนึ่งด้วย GNS (Gross National Satisfaction) คือให้คนเราอยู่อย่างมีความพึงพอใจ และความสุขกับครอบครัว กับชุมชนและสังคมรอบข้าง" รมว.วิทยาศาสตร์ กล่าว