นายปิยวัฒน์ คงอินทร์ หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า เครือข่ายการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ซึ่งมีตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษากว่า 90 สถาบัน มีมติออกแถลงการณ์ร่วมกัน ดังนี้
1. เครือข่ายฯ สนับสนุนรัฐบาลในการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา โดยใช้หลักบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ กำหนดโซนนิ่งของแต่ละสถาบัน ซึ่งขณะนี้หลายสถาบันกำหนดรัศมีแล้ว เช่น ม.นเรศวร กำหนด 500 เมตร แต่บางแห่งหากกำหนดเช่นนี้ไม่ได้ อาจยึดตามมติคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ 300 เมตร
2. เครือข่ายฯ สนับสนุนการจัดโซนนิ่งปลอดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลักษณะจุดเสี่ยง และพฤติกรรมการเข้าถึงของนักศึกษา รอบสถานที่ใกล้เคียงสถานศึกษา
3. เครือข่ายฯ สนับสนุนการกระตุ้นเตือน ประชาสัมพันธ์ ผลกระทบการบริโภค การรู้เท่าทันกลยุทธ์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา และพื้นที่สร้างสรรค์
4.เครือข่ายฯ สนับสนุนการศึกษาวิจัย การป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพื้นที่เสี่ยงรอบสถาบันการศึกษา
“ควรนำเอาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดห้ามขายสุราในรัศมี 300 เมตร มาใช้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีบริบทการจัดโซนนิ่งแตกต่างกัน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ควรจะกำหนดมากกว่า 300 เมตร ซึ่งการกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง ต้องเป็นการกำหนดร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ถือเป็นมติของจังหวัด เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างคนทำงาน มหาวิทยาลัย และเจ้าของธุรกิจสถานประกอบการ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล ซึ่งเท่าที่คุยกัน มีหลายมหาวิทยาลัย ถูกข่มขู่ คุกคาม การอาศัยมติของจังหวัด จึงถือ เป็นประเด็นสำคัญ ที่จะทำงานได้ในพื้นที่” นายปิยวัฒน์ กล่าว และว่า ที่ผ่านมามีหลายมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ โดยไม่มีตัวช่วย ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยจึงขอร่วมกันประสานเสียงไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการเรื่องนี้ให้เด็ดขาด เพราะถ้าจัดการไม่ได้ในยุครัฐบาล คสช. ก็คงหมดหวัง
น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา กล่าวว่า การจัดระเบียบสังคมปลอดภัยรอบสถานศึกษานั้นมีความแตกต่างกันของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นและดุลพินิจของสถานศึกษานั้นๆ ว่าจะห่างเท่าไร ภายใต้การร่วมมือของ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิใช่แค่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการเพียงลำพัง ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากแนวคิดการใช้มาตรการทางกฎหมาย ต้องอาศัยมาตรการอื่นๆด้วย เช่น การพูดคุยกับผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของส่วนรวม และมาตรการการดูแลให้เข้มแข็งรู้จักป้องกันตนเอง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ต้องทำควบคู่กันไป
1. เครือข่ายฯ สนับสนุนรัฐบาลในการควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา โดยใช้หลักบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ กำหนดโซนนิ่งของแต่ละสถาบัน ซึ่งขณะนี้หลายสถาบันกำหนดรัศมีแล้ว เช่น ม.นเรศวร กำหนด 500 เมตร แต่บางแห่งหากกำหนดเช่นนี้ไม่ได้ อาจยึดตามมติคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ 300 เมตร
2. เครือข่ายฯ สนับสนุนการจัดโซนนิ่งปลอดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลักษณะจุดเสี่ยง และพฤติกรรมการเข้าถึงของนักศึกษา รอบสถานที่ใกล้เคียงสถานศึกษา
3. เครือข่ายฯ สนับสนุนการกระตุ้นเตือน ประชาสัมพันธ์ ผลกระทบการบริโภค การรู้เท่าทันกลยุทธ์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา และพื้นที่สร้างสรรค์
4.เครือข่ายฯ สนับสนุนการศึกษาวิจัย การป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพื้นที่เสี่ยงรอบสถาบันการศึกษา
“ควรนำเอาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดห้ามขายสุราในรัศมี 300 เมตร มาใช้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีบริบทการจัดโซนนิ่งแตกต่างกัน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ควรจะกำหนดมากกว่า 300 เมตร ซึ่งการกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง ต้องเป็นการกำหนดร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ถือเป็นมติของจังหวัด เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างคนทำงาน มหาวิทยาลัย และเจ้าของธุรกิจสถานประกอบการ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล ซึ่งเท่าที่คุยกัน มีหลายมหาวิทยาลัย ถูกข่มขู่ คุกคาม การอาศัยมติของจังหวัด จึงถือ เป็นประเด็นสำคัญ ที่จะทำงานได้ในพื้นที่” นายปิยวัฒน์ กล่าว และว่า ที่ผ่านมามีหลายมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ โดยไม่มีตัวช่วย ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยจึงขอร่วมกันประสานเสียงไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการเรื่องนี้ให้เด็ดขาด เพราะถ้าจัดการไม่ได้ในยุครัฐบาล คสช. ก็คงหมดหวัง
น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา กล่าวว่า การจัดระเบียบสังคมปลอดภัยรอบสถานศึกษานั้นมีความแตกต่างกันของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นและดุลพินิจของสถานศึกษานั้นๆ ว่าจะห่างเท่าไร ภายใต้การร่วมมือของ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิใช่แค่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการเพียงลำพัง ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากแนวคิดการใช้มาตรการทางกฎหมาย ต้องอาศัยมาตรการอื่นๆด้วย เช่น การพูดคุยกับผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของส่วนรวม และมาตรการการดูแลให้เข้มแข็งรู้จักป้องกันตนเอง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ต้องทำควบคู่กันไป