นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลคสช. ดำเนินการกับผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ว่า เนื่องจากในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 4 รัฐบาลยังให้การยืนยันว่า บรรดาสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค หมายความว่า เสรีภาพแสดงความเห็นต่าง หรือเสรีภาพของสื่อ ยังได้รับการคุ้มครองอยู่ โดยเฉพาะอนุสัญญาต่างๆ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องทำให้เห็นจริงจัง ในเรื่องการคงไว้เรื่องของการปกครองประชาธิปไตย
สิ่งที่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องทำให้เห็นว่า เมื่อเป็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นแล้ว แต่ถ้าคาบเกี่ยวกับการละเมิด หรือสิ่งที่เกินขอบเขต ทำให้ความเสื่อมเสียต่อบุคคล ต่อส่วนรวม ก็ควรให้กระบวนการยุติธรรม หรือศาลเป็นคนตัดสิน ทำให้กระบวนการตรงนี้ดำเนินการไปตามกฎหมาย โดยในเรื่องคนที่มีความเห็นต่าง ถ้าคิดว่าเลยขอบเขต ก็ใช้การกระบวนการกฎหมายได้อยู่แล้ว ไม่ว่าศาลอาญา ศาลแพ่ง ตัวบุคคล องค์กร ที่สามารถฟ้องศาลยุติธรรมได้ ตรงนี้เป็นกระบวนการให้ศาลตัดสิน หากมีการละเมิดความสงบเรียบร้อย ก็ต้องว่ากันไปตามหลักฐาน เพราะเรื่องของกฎหมาย มีมาตรฐานดำเนินการอยู่แล้ว แต่ตรงกันข้ามถ้าใช้อำนาจเผด็จการ ทำให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลายมากขึ้น
"การใช้อำนาจต้องทำให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไม่ควรใช้อำนาจตัดสินเด็ดขาด แต่การเชิญไปในสถานที่ จำกัดเสรีภาพ พูดคุยปรับทัศนคติ ผลออกมาจะใช้ได้จริงหรือไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ทำให้เขาสิ้นอิสรภาพไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งการทำให้สังคมยอมรับการทำงานของรัฐบาลตรงนี้ จะดีมากกว่า และจะทำให้สังคมรู้ว่า สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำ ทั้งนี้รัฐบาลควรใช้เวลาช่วงนี้ทำความเข้าใจ เพราะการใช้อำนาจเด็ดขาด แก้ไขปัญหาไม่ได้หมด แต่ต้องใช้ธรรมะ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชน ซึ่งตรงนี้จะทำให้รัฐบาลได้ชัยชนะ" นพ.นิรันดร์ กล่าว
ด้านพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) กล่าวว่า การเชิญบุคคลต่างๆ มาปรับทัศนคติในช่วงนี้ ไม่ได้ใช้อำนาจพิเศษเบียดเบียนเสรีภาพ และไม่ควรใช้เรื่องดังกล่าวมา สร้างเงื่อนไขในเรื่องสิทธิเสรีภาพแบบเหมารวม เพราะคสช.มั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ยังคงมีเสรีภาพ และไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ถ้าการแสดงออกอยู่ภายใต้กรอบกติกา โดยต้องไม่ไปละเมิด หรือหมิ่นประมาทบุคคล หรือองค์กรอื่นใด โดยเฉพาะที่ผ่านมาการการแสดงออกที่ไม่ระมัดระวัง เคยพัฒนานำไปสู่การสร้างความขัดแย้งของสังคม
สำหรับการดำเนินการต่อผู้ฝ่าฝืนผิดเงื่อนไข เจ้าหน้าที่ยังคงใช้กรอบแนวทางเดิม ไม่ใช่ดำเนินการต่อเฉพาะบางกลุ่ม บางพรรค หรืออาชีพ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่พฤติกรรมของแต่ละบุคคลนั้นๆ โดยแนวทางปฏิบัติเริ่มจากการสร้างความเข้าใจ และการขอความร่วมมือเป็นหลัก ถ้าไม่เป็นผล ก็ต้องเพิ่มระดับตามขั้นตอนของกฎหมาย ขอให้เข้าใจว่า มีเหตุผลไม่กี่ประการ ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเชิญบางท่านมาพูดคุย เช่น ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยขอความร่วมมือไว้ อีกทั้งยังคงดำเนินการซ้ำๆ โดยเฉพาะต่อบางบุคคลเท่านั้น ที่มีการเสนอข้อมูลความคิดเห็นในลักษณะเชิงพาดพิงกล่าวหา บุคคล หรือองค์กร ในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงและพิสูจน์ไม่ได้ ที่อาจนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นหรือการทำให้สังคมเข้าใจผิดได้
สิ่งที่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องทำให้เห็นว่า เมื่อเป็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นแล้ว แต่ถ้าคาบเกี่ยวกับการละเมิด หรือสิ่งที่เกินขอบเขต ทำให้ความเสื่อมเสียต่อบุคคล ต่อส่วนรวม ก็ควรให้กระบวนการยุติธรรม หรือศาลเป็นคนตัดสิน ทำให้กระบวนการตรงนี้ดำเนินการไปตามกฎหมาย โดยในเรื่องคนที่มีความเห็นต่าง ถ้าคิดว่าเลยขอบเขต ก็ใช้การกระบวนการกฎหมายได้อยู่แล้ว ไม่ว่าศาลอาญา ศาลแพ่ง ตัวบุคคล องค์กร ที่สามารถฟ้องศาลยุติธรรมได้ ตรงนี้เป็นกระบวนการให้ศาลตัดสิน หากมีการละเมิดความสงบเรียบร้อย ก็ต้องว่ากันไปตามหลักฐาน เพราะเรื่องของกฎหมาย มีมาตรฐานดำเนินการอยู่แล้ว แต่ตรงกันข้ามถ้าใช้อำนาจเผด็จการ ทำให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลายมากขึ้น
"การใช้อำนาจต้องทำให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไม่ควรใช้อำนาจตัดสินเด็ดขาด แต่การเชิญไปในสถานที่ จำกัดเสรีภาพ พูดคุยปรับทัศนคติ ผลออกมาจะใช้ได้จริงหรือไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ทำให้เขาสิ้นอิสรภาพไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งการทำให้สังคมยอมรับการทำงานของรัฐบาลตรงนี้ จะดีมากกว่า และจะทำให้สังคมรู้ว่า สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำ ทั้งนี้รัฐบาลควรใช้เวลาช่วงนี้ทำความเข้าใจ เพราะการใช้อำนาจเด็ดขาด แก้ไขปัญหาไม่ได้หมด แต่ต้องใช้ธรรมะ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชน ซึ่งตรงนี้จะทำให้รัฐบาลได้ชัยชนะ" นพ.นิรันดร์ กล่าว
ด้านพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) กล่าวว่า การเชิญบุคคลต่างๆ มาปรับทัศนคติในช่วงนี้ ไม่ได้ใช้อำนาจพิเศษเบียดเบียนเสรีภาพ และไม่ควรใช้เรื่องดังกล่าวมา สร้างเงื่อนไขในเรื่องสิทธิเสรีภาพแบบเหมารวม เพราะคสช.มั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ยังคงมีเสรีภาพ และไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ถ้าการแสดงออกอยู่ภายใต้กรอบกติกา โดยต้องไม่ไปละเมิด หรือหมิ่นประมาทบุคคล หรือองค์กรอื่นใด โดยเฉพาะที่ผ่านมาการการแสดงออกที่ไม่ระมัดระวัง เคยพัฒนานำไปสู่การสร้างความขัดแย้งของสังคม
สำหรับการดำเนินการต่อผู้ฝ่าฝืนผิดเงื่อนไข เจ้าหน้าที่ยังคงใช้กรอบแนวทางเดิม ไม่ใช่ดำเนินการต่อเฉพาะบางกลุ่ม บางพรรค หรืออาชีพ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่พฤติกรรมของแต่ละบุคคลนั้นๆ โดยแนวทางปฏิบัติเริ่มจากการสร้างความเข้าใจ และการขอความร่วมมือเป็นหลัก ถ้าไม่เป็นผล ก็ต้องเพิ่มระดับตามขั้นตอนของกฎหมาย ขอให้เข้าใจว่า มีเหตุผลไม่กี่ประการ ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเชิญบางท่านมาพูดคุย เช่น ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยขอความร่วมมือไว้ อีกทั้งยังคงดำเนินการซ้ำๆ โดยเฉพาะต่อบางบุคคลเท่านั้น ที่มีการเสนอข้อมูลความคิดเห็นในลักษณะเชิงพาดพิงกล่าวหา บุคคล หรือองค์กร ในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงและพิสูจน์ไม่ได้ ที่อาจนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นหรือการทำให้สังคมเข้าใจผิดได้