xs
xsm
sm
md
lg

ตามดู“จังหวัดทหารบก”พื้นที่ใดแปรสภาพ! รองรับตำแหน่ง“ผบ.มณฑลทหารบก”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - วันก่อนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง ที่เกี่ยวกับทหารออกมา 3 ฉบับ มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกอบด้วย พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลมณฑลทหารบก พ.ศ. 2558 และ กฎกระทรวงกำหนดหน้าที่และเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบก พ.ศ. 2558

หลังจากที่ประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 1/2558 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมได้เห็นชอบการแปรสภาพจังหวัดทหารบกทุกหน่วยเป็นมณฑลทหารบก และปรับการบังคับบัญชาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาครวมถึง ครม. ได้เห็นชอบ เมื่อ 18 พ.ย. 2557

พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงจะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ให้ รมว.กลาโหมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงนี้

ฉบับแรกรายละเอียดมีใน “มาตรา ๕ ๘ และ ๒๙ กำหนด หน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับงานนโยบาย ในส่วนของกรมกำลังพลทหารบก กรมส่งกำลัง และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ดูในเว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน ๒๕๕๘)

ขณะที่ “มาตรา ๓๑ ๓๒ ๓๓ และ ๓๔” ให้กองทัพภาคที่ ๑ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ กำกับการ และปฏิบัติหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศการพัฒนาประเทศตามที่ได้รับมอบหมายการถวายความปลอดภัยแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการปฏิบัติทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม รวมทั้งปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ ๑๑ มณฑลทหารบกที่ ๑๒ มณฑลทหารบกที่ ๑๓ มณฑลทหารบกที่ ๑๔ มณฑลทหารบกที่ ๑๕ มณฑลทหารบกที่ ๑๖ มณฑลทหารบกที่ ๑๗ มณฑลทหารบกที่ ๑๘ มณฑลทหารบกที่ ๑๙ และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

เช่นเดียวกัน กองทัพภาคที่ ๒ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ ๒๑ มณฑลทหารบกที่ ๒๒ มณฑลทหารบกที่ ๒๓ มณฑลทหารบกที่ ๒๔ มณฑลทหารบกที่ ๒๕ มณฑลทหารบกที่ ๒๖ มณฑลทหารบกที่ ๒๗ มณฑลทหารบกที่ ๒๘ มณฑลทหารบกที่ ๒๙ มณฑลทหารบกที่ ๒๑๐ และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพ ภาคที่ ๒ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

มาตรา ๓๓ กองทัพภาคที่ ๓ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ ๓๑ มณฑลทหารบกที่ ๓๒ มณฑลทหารบกที่ ๓๓ มณฑลทหารบกที่ ๓๔ มณฑลทหารบกที่ ๓๕ มณฑลทหารบกที่ ๓๖ มณฑลทหารบกที่ ๓๗ มณฑลทหารบกที่ ๓๘ มณฑลทหารบกที่ ๓๙ มณฑลทหารบกที่ ๓๑๐ และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๓ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

มาตรา ๓๔ กองทัพภาคที่ ๔ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ ๔๑ มณฑลทหารบกที่ ๔๒ มณฑลทหารบกที่ ๔๓ มณฑลทหารบกที่ ๔๔ มณฑลทหารบกที่ ๔๕ มณฑลทหารบกที่ ๔๖ และหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ”

ส่วนฉบับที่ 2 มีสาระสำคัญในรายละเอียด มาตรา ๔ “ศาลมณฑลทหาร” มีเขตอำนาจ ดังต่อไปนี้ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๒ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ จ.ปราจีนบุรี จ.นครนายก และ จ.ฉะเชิงเทรา ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๓ (ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๔ (ชลบุรี และระยอง) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๕ (เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๖ (ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๗(กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๘ (สระบุรีและพระนครศรีอยุธยา) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๙ (สระแก้ว จันทบุรี และตราด)

ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑ (นครราชสีมา และชัยภูมิ) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๒ (อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๓ (ขอนแก่น และกาฬสินธุ์) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๔ (อุดรธานี และหนองคาย) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๕ (สุรินทร์ และศรีสะเกษ) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๖ (บุรีรัมย์ และมหาสารคาม) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๗ (ร้อยเอ็ด และยโสธร) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๘ (เลย และหนองบัวลำภู) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๙ (สกลนคร และบึงกาฬ) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑๐ (นครพนม และมุกดาหาร) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๑ (นครสวรรค์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๒ (ลำปาง) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๓ (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและลำพูน) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๔ (พะเยา) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๕ (อุตรดิตถ์ และแพร่) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๖ (เพชรบูรณ์ และพิจิตร) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๗ (เชียงราย) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๘ (น่าน) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๙ (พิษณุโลก และสุโขทัย)ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๑๐ (ตาก)

ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๑ (นครศรีธรรมราช นอกจาก อ.ทุ่งสง และภูเก็ต) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๒ (สงขลา พัทลุง และสตูล) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๓ (อ.ทุ่งสง นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๔ (ชุมพร และระนอง) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๕ (สุราษฎร์ธานี และพังงา) และ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๖ (ปัตตานี นราธิวาส และยะลา)

นอกจากนี้ ในมาตรา ๕ และ ๖ ยังระบุถึงบรรดาคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลมณฑลทหารบกใดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงพิจารณาพิพากษาในศาลมณฑลทหารบกนั้น

ส่วน มาตรา ๗ ๘ ๙ ๑๐ และ ๑๑ ได้กำหนดขั้นตอนในระหว่าง ที่ยังไม่เปิดทำการศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๖ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๘ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๙ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑๐ ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๘ ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับต่อศาลมณฑลทหารบกที่มีเขตอำนาจตลอดถึงเขตท้องที่จังหวัดและศาลมณฑลทหารบกที่มีเขตอำนาจตลอดถึงเขตท้องที่จังหวัด

ส่วนบรรดาคดีของเขตท้องที่ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลมณฑลทหารบก ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลมณฑลทหารบกมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับ การขังระหว่างสอบสวนนั้น แล้วแต่กรณี ส่วนการฟ้องคดีให้ยื่นฟ้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่กำหนด

มาตรา ๑๒ บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่อ้างถึงศาลจังหวัดทหารบกตามพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือว่ากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงศาลมณฑลทหารบกตามพระราชกฤษฎีกานี้(ดูในเว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก ราชกิจจา-นุเบกษา ๘ กันยายน ๒๕๕๘) มาตรา ๑๓ ให้ รมว.กลาโหมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

สุดท้ายฉบับที่ 3 รายละเอียดของ “มณฑลทหารบก” ตั้งแต่ ข้อ ๓ มณฑลทหารบก มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ผู้บังคับบัญชากำลังประจำถิ่นของกองทัพบก ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด รักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ รวมทั้งการศาลทหาร การคดี การช่วยดำเนินการคุ้มครองพยานในคดีอาญา และการเรือนจำ ดำเนินการสัสดี การเกณฑ์ช่วยราชการทหาร และการระดมสรรพกำลังในเขตพื้นที่สนับสนุนหน่วยทหารที่อยู่ในเขตพื้นที่ ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ เพื่อรักษาความสงบภายใน และการป้องกันประเทศ

ข้อ ๔ มณฑลทหารบก มีหน้าที่ในแต่ละเขตพื้นที่ ดังต่อไปนี้ มณฑลทหารบกที่ ๑๑ มีหน้าที่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มณฑลทหารบกที่ ๑๒ (ปราจีนบุรี นครนายก และ ฉะเชิงเทรา) มณฑลทหารบกที่ ๑๓ (ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง) มณฑลทหารบกที่ ๑๔ (ชลบุรี และระยอง) มณฑลทหารบกที่ ๑๕ (เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) มณฑลทหารบกที่ ๑๖ (ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร) มณฑลทหารบกที่ ๑๗ (กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี) มณฑลทหารบกที่ ๑๘ (สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา) มณฑลทหารบกที่ ๑๙ (สระแก้ว จันทบุรี และตราด)

มณฑลทหารบกที่ ๒๑ (นครราชสีมา และชัยภูมิ) มณฑลทหารบกที่ ๒๒ (อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ) มณฑลทหารบกที่ ๒๓ (ขอนแก่น และกาฬสินธุ์) มณฑลทหารบกที่ ๒๔ (อุดรธานี และหนองคาย) มณฑลทหารบกที่ ๒๕ (สุรินทร์ และศรีสะเกษ) มณฑลทหารบกที่ ๒๖(บุรีรัมย์ และมหาสารคาม) มณฑลทหารบกที่ ๒๗ (ร้อยเอ็ด และยโสธร) มณฑลทหารบกที่ ๒๘ (เลย และหนองบัวลำภู) มณฑลทหารบกที่ ๒๙ (สกลนคร และบึงกาฬ) มณฑลทหารบกที่ ๒๑๐ (นครพนม และมุกดาหาร)

มณฑลทหารบกที่ ๓๑ (นครสวรรค์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี) มณฑลทหารบกที่ ๓๒ (ลำปาง) มณฑลทหารบกที่ ๓๓ (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำพูน) มณฑลทหารบกที่ ๓๔ (พะเยา) มณฑลทหารบกที่ ๓๕ (อุตรดิตถ์ และแพร่) มณฑลทหารบกที่ ๓๖ (เพชรบูรณ์ และพิจิตร) มณฑลทหารบกที่ ๓๗ (เชียงราย) มณฑลทหารบกที่ ๓๘ (น่าน) มณฑลทหารบกที่ ๓๙ (พิษณุโลก และสุโขทัย) มณฑลทหารบกที่ ๓๑๐ (ตาก)

มณฑลทหารบกที่ ๔๑ (นครศรีธรรมราช นอกจาก อ.ทุ่งสงและภูเก็ต) มณฑลทหารบกที่ ๔๒ (สงขลา พัทลุง และสตูล) มณฑลทหารบกที่ ๔๓ (อ.ทุ่งสง นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง) มณฑลทหารบกที่ ๔๔ (ชุมพร และระนอง) มณฑลทหารบกที่ ๔๕ (สุราษฎร์ธานี และพังงา) มณฑลทหารบกที่ ๔๖ (ปัตตานี นราธิวาส และยะลา)

นอกจากนี้ ยังกำหนด ข้อ ๕ ให้บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่อ้างถึงจังหวัดทหารบกตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ถือว่ากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงมณฑลทหารบกตามกฎกระทรวง (ดูในเว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน ๒๕๕๘)

โดยพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ และ 1 กฎกระทรวงจะมีผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ที่เพิ่งรับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 เป็นผู้บังคับบัญชารองจากแม่ทัพภาคจากรายชื่อก็จะประกอบด้วย

พลตรี ชวลิต พงษ์พิทักษ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๖ พลตรี สุริยา ปาวรีย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๙ พลตรี เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๑ พลตรี มนัส หนูวัฒนา ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๕ พลตรี เดชอุดม นิชรัตน์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๖ พลตรี สถาภรณ์ ใบพลูทองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๗ พลตรี ชัยวิน ผูกพันธ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๘ พลตรี กนก ภู่ม่วง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๙ พลตรี สมพงษ์ แจ้งจำรัส ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๕ พลตรี พิศาล นาคผจญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๗ พลตรี ชัยณรงค์ แกล้วกล้า ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๘

พลตรี ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๑๐ พลตรี ปริยารณ มัชฌิมวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๓พลตรี อุดมวิทย์ อโนวัลย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๔ พลตรี วิชัย ทัศนมณเฑียร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๕ พลตรี โภชน์ นวลบุญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๖

พันเอก สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๑ พันเอก อภิชาติ สุขแจ่ม เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๗ พันเอก อัศวิน บุญธรรมเจริญ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๘ พันเอก อชิร์ฉัตร โรจนะภิรมย์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๒ พันเอก อำนวย จุลโนนยาง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๔

พันเอก อรรถ สิงหัษฐิต เป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๑๐ พันเอก บุญยืน อินกว่าง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๑ พันเอก วิรัช ปัญจานนท์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๔ พันเอก สุพจน์ บูรณจารี เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๖ และพันเอก เกียรติศักดิ์ ดวงแดง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๙

เป็นการจัดกำลังพลใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงของทหารที่ออกมาทั้ง 3 ฉบับ



กำลังโหลดความคิดเห็น