อัยการสูงสุดแจงเหตุไม่ดำเนินคดี"พานทองแท้"พร้อมพวกอีก 3 คน ฐานรับของโจร คดีแบงก์กรุงไทยปล่อยกู้มิชอบ ระบุไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่อยู่ในอำนาจ ป.ป.ช. จึงต้องแยกฟ้องต่อศาลอาญาต่างหาก ที่ประชุมร่วม ป.ป.ช.-อัยการมีความเห็นร่วมกันตั้งแต่ปี 52 คาดคดียังไม่ยุติ อยู่ระหว่างดีเอสไอสืบสวนสอบสวน ไม่ฟันธงแจ้งข้อกล่าวหาแล้วหรือไม่
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (31 ส.ค.) ที่ห้องประชุม 201 สำนักงานอัยการสูงสุด นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล ผู้ตรวจราชการอัยการ อดีตอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย และ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวชี้แจง กรณีเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2558 ศาลฎีกาฯได้มีคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 27 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ ซึ่งต่อมาปรากฏว่าสื่อมวลชนได้เสนอข่าว ประเด็นการไม่ดำเนินคดีกับ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ, นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ,นายวันชัย หงส์เหิน สามีนางกาญจนา และนายมานพ ทิวารี บิดา น.ต. ศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.เพื่อไทย ในความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น
นายวินัย กล่าวว่า คดีนี้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้เคยมีหนังสือลงวันที่ 16 มิ.ย. 2551 ขอให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 27 คน ฐานร่วมกันหรือสนับสนุนในการกระทำความผิดอันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารกรุงไทยฯ ผู้ถือหุ้นและประชาชน ผู้หนึ่งผู้ใด และ/หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทยฯ กระทำความผิดหน้าที่ของตนโดยกระทำการและหรือไม่กระทำการโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทยฯ ผู้ถือหุ้นและประชาชน ผู้ฝากเงิน หรือให้ความช่วยเหลือ ให้ความสะดวกในการกระทำความผิด
นอกจากนี้ยังขอให้ดำเนินคดีกับ นายพานทองแท้ ชินวัตร,นางกาญจนาภา หงษ์เหิน , นายวันชัย หงษ์เหิน นายมานพ ทิวารี ผู้ถูกกล่าวหาอีก 4 คน ในความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ซึ่งนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดในขณะนั้นมีการพิจารณาแล้ว เห็นว่า การที่ คตส. ให้ดำเนินคดีกับนายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกอีก 4 คน ฐานรับของโจร นั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นหลังการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 27 คน เสร็จสิ้นไปแล้ว และผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน มิได้เป็นผู้ดำรงทางการเมืองจึงต้องแยกฟ้องต่อศาลอาญาที่มีเขตอำนาจต่อไป
ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมิได้เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิด จึงไม่อาจเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คตส.จึงไม่มีอำนาจไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน และไม่อาจมีความเห็นในความผิดฐานรับของโจร โดยหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน ก็ควรที่จะต้องร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแยกต่างหากจากคดีนี้
อย่างไรก็ดี ในการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คนฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น ในสำนวนการตรวจสอบไต่สวน ไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ในฐานความผิดดังกล่าว
ซึ่งในที่ประชุมคณะทำงานผู้แทนทั้งฝ่ายอัยการและ ป.ป.ช.เคยได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2552 แล้วมีมติว่า กรณีข้อไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหา และอำนาจการไต่สวนของ คตส. ในประเด็นรับของโจร ของ นายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกรวม 4 คน เห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช และเมื่อมีข้อยุติในการฟ้องคดีเฉพาะผู้ถูกกล่าวหา 27 ราย อัยการสูงสุดจึงไม่อาจดำเนินคดี กับนายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกรวม 4 คน ในข้อหารับของโจรได้ โดยเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการแยกการสอบสวนไปดำเนินคดีต่างหาก ซึ่งคดีในส่วนนี้ยังไม่ได้ยุติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดีเอสไอได้แจ้งความคืบเกี่ยวกับการดำเนินคดีในส่วนของนายพานทองแท้ บ้างหรือไม่ นายวินัยกล่าวว่า ทางดีเอสไอมีการประสานเพื่อขอเอกสารไปประกอบการพิจารณา แต่ก็ไม่ทราบความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว เบื้องต้นคาดว่ามีผู้เสียหายไปร้องให้ดีเอสไอดำเนินการสอบสวน นายพานทองแท้กับพวก 2 ข้อหาคือข้อหารับของโจร และข้อหาฟอกเงิน โดยข้อหารับของโจรนั้นมีอายุความ 10 ปี อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ส่วนข้อหาฟอกเงินมีอายุความ 15 ปี อัตราโทษจำคุกตั้งแต่1-10 ปี
เมื่อถามต่อว่า ทั้งสองข้อหา อายุความเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด นายวินัย ตอบว่า นับอายุความตั้งแต่ช่วงเกิดเหตุ ซึ่งคดีนี้เกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2547 จึงไม่แน่ใจว่าหมดอายุความไปแล้วหรือยัง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดอาจจะมีความต่อเนื่องก็ได้ ให้ไปถามความคืบหน้าคดีกับหน่วยงานดีเอสไอ เพราะทางอัยการไม่มีหน้าที่ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือเร่งรัดหน่วยงานอื่นๆ
เมื่อถามว่า หากคดีหมดอายุความไปแล้ว จะหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบด้านการสอบสวนอีกหรือไม่ นายวินัยกล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่สามารถให้ความเห็นได้ และไม่ทราบว่าเกิดความล่าช้าเพราะอะไร
ผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งศาลฎีกาสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว นั้นมีอายุความกี่ปีและนับอายุความตั้งแต่ตอนไหน นายวินัย กล่าวว่า คดีพ.ต.ท.ทักษิณนั้นมีอายุความ 20 ปี นับจากวันที่กระทำความผิด ขณะนี้คดีจึงยังไม่หมดอายุความ แต่จะมีการหยุดอายุความไว้หรือไม่นั้น ก็ยังเป็นประเด็นข้อกฎหมาย เนื่องจาก กฏหมาย ป.ป.ช.ในปัจจุบันมีการแก้ไขว่า กรณีจำเลยหลบหนี อายุความจะหยุดไว้ชั่วคราวในช่วงระหว่างหลบหนี ซึ่งต้องตีความว่าจะบังคับใช้กับคดีที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือรวมไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนด้วยหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามถ้าสามารถติดตามตัวมาได้ภายในอายุความ 20 ปี ก็สามารถดำเนินคดีได้แน่นอน
เมื่อถามเรื่องการตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลบหนีอยู่นอกประเทศเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีในคดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย นั้นมีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว นายวินัยตอบว่า ตนไม่ทราบ เพราะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคดีต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหาย ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ นั้น ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง นายวินัยกล่าวว่า ในส่วนที่ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายนั้นถือเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ก็จะต้องมีการดำเนินการบังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินมาชดใช้ค่าเสียหาย ก็ทราบว่ามีการนำที่ดินมาเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันขอกู้เงินกับแบงก์กรุงไทยฯอยู่
เมื่อเวลา 12.00 น.วันนี้ (31 ส.ค.) ที่ห้องประชุม 201 สำนักงานอัยการสูงสุด นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล ผู้ตรวจราชการอัยการ อดีตอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย และ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวชี้แจง กรณีเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2558 ศาลฎีกาฯได้มีคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 27 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ ซึ่งต่อมาปรากฏว่าสื่อมวลชนได้เสนอข่าว ประเด็นการไม่ดำเนินคดีกับ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ, นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ,นายวันชัย หงส์เหิน สามีนางกาญจนา และนายมานพ ทิวารี บิดา น.ต. ศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.เพื่อไทย ในความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น
นายวินัย กล่าวว่า คดีนี้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้เคยมีหนังสือลงวันที่ 16 มิ.ย. 2551 ขอให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 27 คน ฐานร่วมกันหรือสนับสนุนในการกระทำความผิดอันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารกรุงไทยฯ ผู้ถือหุ้นและประชาชน ผู้หนึ่งผู้ใด และ/หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นกรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทยฯ กระทำความผิดหน้าที่ของตนโดยกระทำการและหรือไม่กระทำการโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทยฯ ผู้ถือหุ้นและประชาชน ผู้ฝากเงิน หรือให้ความช่วยเหลือ ให้ความสะดวกในการกระทำความผิด
นอกจากนี้ยังขอให้ดำเนินคดีกับ นายพานทองแท้ ชินวัตร,นางกาญจนาภา หงษ์เหิน , นายวันชัย หงษ์เหิน นายมานพ ทิวารี ผู้ถูกกล่าวหาอีก 4 คน ในความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ซึ่งนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดในขณะนั้นมีการพิจารณาแล้ว เห็นว่า การที่ คตส. ให้ดำเนินคดีกับนายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกอีก 4 คน ฐานรับของโจร นั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นหลังการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 27 คน เสร็จสิ้นไปแล้ว และผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน มิได้เป็นผู้ดำรงทางการเมืองจึงต้องแยกฟ้องต่อศาลอาญาที่มีเขตอำนาจต่อไป
ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมิได้เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิด จึงไม่อาจเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คตส.จึงไม่มีอำนาจไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน และไม่อาจมีความเห็นในความผิดฐานรับของโจร โดยหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน ก็ควรที่จะต้องร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแยกต่างหากจากคดีนี้
อย่างไรก็ดี ในการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คนฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น ในสำนวนการตรวจสอบไต่สวน ไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ในฐานความผิดดังกล่าว
ซึ่งในที่ประชุมคณะทำงานผู้แทนทั้งฝ่ายอัยการและ ป.ป.ช.เคยได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2552 แล้วมีมติว่า กรณีข้อไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหา และอำนาจการไต่สวนของ คตส. ในประเด็นรับของโจร ของ นายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกรวม 4 คน เห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช และเมื่อมีข้อยุติในการฟ้องคดีเฉพาะผู้ถูกกล่าวหา 27 ราย อัยการสูงสุดจึงไม่อาจดำเนินคดี กับนายพานทองแท้ ชินวัตร กับพวกรวม 4 คน ในข้อหารับของโจรได้ โดยเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการแยกการสอบสวนไปดำเนินคดีต่างหาก ซึ่งคดีในส่วนนี้ยังไม่ได้ยุติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดีเอสไอได้แจ้งความคืบเกี่ยวกับการดำเนินคดีในส่วนของนายพานทองแท้ บ้างหรือไม่ นายวินัยกล่าวว่า ทางดีเอสไอมีการประสานเพื่อขอเอกสารไปประกอบการพิจารณา แต่ก็ไม่ทราบความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว เบื้องต้นคาดว่ามีผู้เสียหายไปร้องให้ดีเอสไอดำเนินการสอบสวน นายพานทองแท้กับพวก 2 ข้อหาคือข้อหารับของโจร และข้อหาฟอกเงิน โดยข้อหารับของโจรนั้นมีอายุความ 10 ปี อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ส่วนข้อหาฟอกเงินมีอายุความ 15 ปี อัตราโทษจำคุกตั้งแต่1-10 ปี
เมื่อถามต่อว่า ทั้งสองข้อหา อายุความเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด นายวินัย ตอบว่า นับอายุความตั้งแต่ช่วงเกิดเหตุ ซึ่งคดีนี้เกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2547 จึงไม่แน่ใจว่าหมดอายุความไปแล้วหรือยัง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดอาจจะมีความต่อเนื่องก็ได้ ให้ไปถามความคืบหน้าคดีกับหน่วยงานดีเอสไอ เพราะทางอัยการไม่มีหน้าที่ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือเร่งรัดหน่วยงานอื่นๆ
เมื่อถามว่า หากคดีหมดอายุความไปแล้ว จะหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบด้านการสอบสวนอีกหรือไม่ นายวินัยกล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่สามารถให้ความเห็นได้ และไม่ทราบว่าเกิดความล่าช้าเพราะอะไร
ผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งศาลฎีกาสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว นั้นมีอายุความกี่ปีและนับอายุความตั้งแต่ตอนไหน นายวินัย กล่าวว่า คดีพ.ต.ท.ทักษิณนั้นมีอายุความ 20 ปี นับจากวันที่กระทำความผิด ขณะนี้คดีจึงยังไม่หมดอายุความ แต่จะมีการหยุดอายุความไว้หรือไม่นั้น ก็ยังเป็นประเด็นข้อกฎหมาย เนื่องจาก กฏหมาย ป.ป.ช.ในปัจจุบันมีการแก้ไขว่า กรณีจำเลยหลบหนี อายุความจะหยุดไว้ชั่วคราวในช่วงระหว่างหลบหนี ซึ่งต้องตีความว่าจะบังคับใช้กับคดีที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือรวมไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนด้วยหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามถ้าสามารถติดตามตัวมาได้ภายในอายุความ 20 ปี ก็สามารถดำเนินคดีได้แน่นอน
เมื่อถามเรื่องการตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลบหนีอยู่นอกประเทศเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีในคดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย นั้นมีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว นายวินัยตอบว่า ตนไม่ทราบ เพราะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคดีต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหาย ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ นั้น ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง นายวินัยกล่าวว่า ในส่วนที่ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายนั้นถือเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ก็จะต้องมีการดำเนินการบังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินมาชดใช้ค่าเสียหาย ก็ทราบว่ามีการนำที่ดินมาเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันขอกู้เงินกับแบงก์กรุงไทยฯอยู่