ASTV ผู้จัดการรายวัน-"ยิ่งลักษณ์"ยื่นคำร้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ค้านอัยการสูงสุดขอเพิ่มพยานบุคคลและเอกสาร 6 หมื่นหน้าในคดีจำนำข้าว โวยอยู่นอกสำนวน ป.ป.ช. ยกกฎหมายค้าน ทำไม่ได้ โอดโดนเอาเปรียบทางคดีและไม่เป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 ส.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความรับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะจำเลยคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบโครงการรับจำนำข้าว ยื่นหนังสือต่อศาล เพื่อคัดค้านบัญชีพยานที่อัยการสูงสุด (อสส.) ในฐานะโจทก์ ได้ขอเพิ่มเติมพยานบุคคลจำนวน 23 ปาก และพยานเอกสารอีกเกือบ 70,000 แผ่น ซึ่งเป็นพยานนอกเหนือจากสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
โดยก่อนหน้านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการยื่นบัญชีระบุพยานของฝ่ายอัยการโจทก์ในคดีรับจำนำข้าว เพื่อคัดค้านพยานบุคคลและพยานเอกสารของอัยการสูงสุด (อสส.) ที่ได้มีการเพิ่มเติมมากกว่า 60,000 หน้า ซึ่งอยู่นอกสำนวน และไม่ได้ไต่สวนมาก่อนในคดีนี้ และจำเลยไม่มีโอกาสตรวจสอบและคัดค้านมาก่อน
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2552 มาตรา 5 ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าในการพิจารณาคดีให้ศาลยึดรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณา
"ตามกฎหมายและหลักของความเป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเพิ่มพยานเอกสารและพยานบุคคลนอกเหนือจากสำนวนของ ป.ป.ช. ในชั้นนี้ได้ ถือเป็นการเอาเปรียบทางคดีอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อตัวดิฉันเป็นอย่างยิ่ง จึงยื่นคำร้องโต้แย้งไม่ให้ศาลรับพยานหลักฐานดังกล่าว” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ
ด้านนายนรวิชญ์ กล่าวว่า ในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. เราเคยร้องขอให้ไต่สวนพยานหลายปาก ซึ่งเป็นพยานสำคัญและเกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการรับจำนำข้าวทั้งสิ้น แต่ ป.ป.ช.ได้รีบเร่งทำสำนวนและชี้มูลความผิดทางอาญาโดยไม่ไต่สวนพยานตามที่ขอ ต่อมาอัยการสูงสุดรับสำนวนและมีความเห็นชี้ข้อไม่สมบูรณ์ 4 ประเด็น เพื่อให้มีการสอบเพิ่มเติม แต่ยังไม่ทันได้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามข้อที่ไม่สมบูรณ์ อัยการก็มีคำสั่งฟ้องคดี
ดังนั้น ถ้า ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด เห็นว่าพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงสมบูรณ์เพียงพอจนมีคำสั่งฟ้องแล้ว ก็ไม่ควรเพิ่มพยานบุคคลและเอกสารที่ไม่ได้ไต่สวนไว้ในชั้น ป.ป.ช. และชั้นอัยการสูงสุด ซึ่งทราบว่า พยานดังกล่าวประกอบด้วย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และพนักงาน ป.ป.ช.ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ส่วนเอกสารเป็นเอกสารเกี่ยวกับการระบายข้าวและจีทูจี ซึ่งก็ไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้เช่นกัน
“ผมมีข้อสงสัยว่า ในวันที่ สนช. ลงมติถอดถอนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ตามกฎหมายให้ยึดสำนวน ป.ป.ช.เป็นหลัก ดังนั้นรายงานสำนวนถอดถอนของ ป.ป.ช. มีความสมบูรณ์จนเป็นเหตุให้ถอดถอนจริงหรือไม่ และในวันที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องนั้น รายงานสำนวนชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. สมบูรณ์จนเป็นเหตุให้มีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ เราจึงขอให้ศาลไม่รับพยานบุคคลและพยานหลักฐานที่อัยการสูงสุดขอเพิ่มเข้ามา โดยศาลรับเรื่องไว้ และนัดฟังคำสั่งวันที่ 31 ส.ค.นี้” นายนรวิชญ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยคดีจำนำข้าวนั้น ศาลฎีกาฯ ได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 31 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องเดินทางมาศาลตามนัด โดยวันดังกล่าวตรงกับวันที่ศาลนัดฟังคำสั่งเรื่องการคัดค้านบัญชีพยานของอัยการสูงสุดด้วย5.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 ส.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความรับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะจำเลยคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบโครงการรับจำนำข้าว ยื่นหนังสือต่อศาล เพื่อคัดค้านบัญชีพยานที่อัยการสูงสุด (อสส.) ในฐานะโจทก์ ได้ขอเพิ่มเติมพยานบุคคลจำนวน 23 ปาก และพยานเอกสารอีกเกือบ 70,000 แผ่น ซึ่งเป็นพยานนอกเหนือจากสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
โดยก่อนหน้านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการยื่นบัญชีระบุพยานของฝ่ายอัยการโจทก์ในคดีรับจำนำข้าว เพื่อคัดค้านพยานบุคคลและพยานเอกสารของอัยการสูงสุด (อสส.) ที่ได้มีการเพิ่มเติมมากกว่า 60,000 หน้า ซึ่งอยู่นอกสำนวน และไม่ได้ไต่สวนมาก่อนในคดีนี้ และจำเลยไม่มีโอกาสตรวจสอบและคัดค้านมาก่อน
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2552 มาตรา 5 ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าในการพิจารณาคดีให้ศาลยึดรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณา
"ตามกฎหมายและหลักของความเป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเพิ่มพยานเอกสารและพยานบุคคลนอกเหนือจากสำนวนของ ป.ป.ช. ในชั้นนี้ได้ ถือเป็นการเอาเปรียบทางคดีอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อตัวดิฉันเป็นอย่างยิ่ง จึงยื่นคำร้องโต้แย้งไม่ให้ศาลรับพยานหลักฐานดังกล่าว” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ
ด้านนายนรวิชญ์ กล่าวว่า ในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. เราเคยร้องขอให้ไต่สวนพยานหลายปาก ซึ่งเป็นพยานสำคัญและเกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการรับจำนำข้าวทั้งสิ้น แต่ ป.ป.ช.ได้รีบเร่งทำสำนวนและชี้มูลความผิดทางอาญาโดยไม่ไต่สวนพยานตามที่ขอ ต่อมาอัยการสูงสุดรับสำนวนและมีความเห็นชี้ข้อไม่สมบูรณ์ 4 ประเด็น เพื่อให้มีการสอบเพิ่มเติม แต่ยังไม่ทันได้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามข้อที่ไม่สมบูรณ์ อัยการก็มีคำสั่งฟ้องคดี
ดังนั้น ถ้า ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด เห็นว่าพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงสมบูรณ์เพียงพอจนมีคำสั่งฟ้องแล้ว ก็ไม่ควรเพิ่มพยานบุคคลและเอกสารที่ไม่ได้ไต่สวนไว้ในชั้น ป.ป.ช. และชั้นอัยการสูงสุด ซึ่งทราบว่า พยานดังกล่าวประกอบด้วย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และพนักงาน ป.ป.ช.ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ส่วนเอกสารเป็นเอกสารเกี่ยวกับการระบายข้าวและจีทูจี ซึ่งก็ไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้เช่นกัน
“ผมมีข้อสงสัยว่า ในวันที่ สนช. ลงมติถอดถอนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ตามกฎหมายให้ยึดสำนวน ป.ป.ช.เป็นหลัก ดังนั้นรายงานสำนวนถอดถอนของ ป.ป.ช. มีความสมบูรณ์จนเป็นเหตุให้ถอดถอนจริงหรือไม่ และในวันที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องนั้น รายงานสำนวนชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. สมบูรณ์จนเป็นเหตุให้มีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ เราจึงขอให้ศาลไม่รับพยานบุคคลและพยานหลักฐานที่อัยการสูงสุดขอเพิ่มเข้ามา โดยศาลรับเรื่องไว้ และนัดฟังคำสั่งวันที่ 31 ส.ค.นี้” นายนรวิชญ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยคดีจำนำข้าวนั้น ศาลฎีกาฯ ได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 31 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องเดินทางมาศาลตามนัด โดยวันดังกล่าวตรงกับวันที่ศาลนัดฟังคำสั่งเรื่องการคัดค้านบัญชีพยานของอัยการสูงสุดด้วย5.