โดย...วีระศักดิ์ นาทะสิริ
1. กล่าวนำ
เนื่องจากได้มีเพื่อนๆ หลายท่านสอบถามผู้เขียนว่า มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 (ดูภาพที่ 1) ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ผู้เขียนได้มีโอกาสรับฟังนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีการวางระเบิดที่ราชประสงค์ทางสถานีโทรทัศน์ และหลังจากนั้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกลุ่มนิสิต นักศึกษา (ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา บริเวณสามย่าน) ที่มักใช้เส้นทางผ่านบริเวณสี่แยกราชประสงค์กันเป็นประจำซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ดีและมีประโยชน์มาก
ภาพที่ 1 สภาพศาลพระพรหม ในเช้าวันที่ 18 สิงหาคม 2558*
นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้รับฟังข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมจากทั้งสื่อในประเทศ และสื่อต่างประเทศ (โดยเฉพาะจากสำนักข่าว BBC, CNN, หนังสือพิมพ์ The Mirror, The Telegraph, ไทยรัฐออนไลน์, เดลินิวส์ออนไลน์ และ Manager ASTV online) ซึ่งได้ให้รายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวางระเบิดในครั้งนี้ไว้ค่อนข้างมากจนน่าเชื่อว่า ข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษารูปแบบและวิธีการวางระเบิดในครั้งนี้เท่านั้น แต่ยังอาจมีส่วนช่วยให้หน่วยงานของรัฐ (ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) สามารถสืบสวนหาตัวบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันวางระเบิดในครั้งนี้ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และต้องใช้ถนนสุขุมวิทผ่านสี่แยกราชประสงค์อยู่เป็นประจำเกือบทุกวัน ผู้เขียนจึงขออนุญาตมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นบางประการต่อกรณีการวางระเบิดศาลพระพรหมที่สี่แยกราชประสงค์ เพื่อตอบคำถามตามที่เพื่อนๆ และผู้อ่านได้สอบถามกันมา ดังนี้
2. อะไรเป็นมูลเหตุจูงใจของการวางระเบิดสังหารกลุ่มคนที่มาที่ศาลพระพรหม
สำหรับการวางระเบิดสังหารบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ขัดแย้งกับกลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดนั้น ผู้เขียนเชื่อว่า น่าจะมาจากความต้องการของกลุ่มผู้วางระเบิด ดังนี้
2.1 เนื่องจากได้มีความขัดแย้งในด้านต่างๆ ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเกิดขึ้น และไม่สามารถหาข้อยุติจากความขัดแย้งดังกล่าว ที่ทำให้ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกพึงพอใจได้ เช่น ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ความขัดแย้งที่มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองหรือความแตกต่างด้านความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งความขัดแย้งจากเรื่องส่วนตัวต่างๆ เป็นต้น
2.2 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความขัดแย้งกัน มีทรัพยากรหรือมีกำลังคนหรือกำลังอาวุธหรือมีขีดความสามารถไม่เท่าเทียมกัน (Asymmetric) ในกรณีนี้ บุคคลและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันวางระเบิดอาจมีขีดความสามารถ มีกำลัง และมีทรัพยากรที่ด้อยกว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นที่มีความขัดแย้งกันซึ่งมีขีดความสามารถ มีกำลังอาวุธ มีกำลังคน ที่เหนือกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอำนาจรัฐ จึงไม่สามารถใช้วิธีที่จะต่อสู้โดยตรงหรือการต่อสู้ซึ่งๆ หน้ากับกลุ่มบุคคลที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าได้
2.3 บุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีขีดความสามารถหรือมีกำลังที่ด้อยกว่า มักจะเลือกใช้วิธีการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่จำกัดวิธีการ ไม่จำกัดขอบเขต ไม่จำกัดพื้นที่ การต่อสู้ในรูปแบบนี้มักจะเรียกกันว่า การต่อสู้ (การรบ) ที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบปกติ หรือการรบหรือสงครามนอกแบบ (Irregular Warfare) เพื่อแก้แค้นหรือตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อต้องการทำให้ฝ่ายที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าหรือฝ่ายรัฐไม่สามารถดำรงรักษาความเป็นระเบียบของสังคมและความเป็นรัฐได้อีกต่อไป (ดูภาพที่ 2 ประกอบ)โดยหวังให้องค์การระหว่างประเทศหรือประเทศมหาอำนาจต่างๆ เข้ามาแทรกแซงหรือเข้ามาเปลี่ยนแปลงหรือเข้ามาจัดระเบียบการบริหาร และการปกครองประเทศขึ้นใหม่ในประเทศ ตัวอย่างเช่น ยูโกสลาเวียในอดีตที่ถูกแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระย่อยๆ อิรัก และลิเบียที่ถูกแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจ จนทำให้เกิดกลุ่มการเมืองติดอาวุธขึ้นมาหลายกลุ่ม ต่อสู้ทำสงครามกลางเมืองกันจนถึงทุกวันนี้ (ส.ค. 58) ดังแสดงในภาพที่ 3
ภาพที่ 2 การก่อเหตุรุนแรงเพื่อสร้างความไร้ระเบียบไร้กฎเกณฑ์ในสังคม
*การเพิ่มความร้อน (เปรียบได้กับการเพิ่มปริมาณการก่อเหตุร้าย) เพื่อให้น้ำในกา (ซึ่งเปรียบเสมือนสภาพสังคมที่เป็นปกติ) ให้เดือดและแปรสภาพกลายเป็นไอ ซึ่งหมายถึงสังคม (ของไทยหรือของประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มที่วางระเบิด) จะถูกกระทำให้อยู่ในสภาพที่มีความสับสนวุ่นวาย ไร้ระเบียบ เพื่อที่จะได้ถูกกดดันจากนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศ
ภาพที่ 3 ภาพนักรบกลุ่มรัฐอิสลามหรือ IS สังหารหมู่ทหารอิรัก*
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาการรบหรือการต่อสู้ในลักษณะที่ไร้รูปแบบ (Hybrid Warfare) ขึ้น ซึ่งการต่อสู้ในลักษณะนี้ไม่เพียงไม่จำกัดรูปแบบและวิธีการในการต่อสู้เท่านั้น แต่ยังไม่จำกัดและไม่คำนึงถึงในเรื่องคุณธรรม ความถูกต้องชอบธรรม และกฎระเบียบต่างๆ ตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งผู้เขียนขอใช้ชื่อเรียกว่า การรบหรือการต่อสู้ที่ไร้รูปแบบ ซึ่งหมายถึง การต่อสู้หรือการรบที่ไม่จำกัดวิธีการ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องคุณธรรมหรือความถูกต้องใดๆ ขอเพียงให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการของกลุ่มตนเท่านั้น เช่น ปล้นธนาคารเอาเงินมาซื้อหาอาวุธเพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือปล้นรถยนต์และสังหารเจ้าของรถแล้วนำรถยนต์นั้นมาทำ Car Bomb หรือการที่กลุ่ม IS (Islam States) ในตะวันออกกลาง ได้จับตัวประกันชาติต่างๆ มาตัดคอเพื่อแสดงอำนาจของกลุ่ม IS (ดูภาพที่ 4) และเพื่อสร้างความหวาดกลัวหรือยับยั้งไม่ให้บุคคลใดๆ ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้ามมาทำอันตรายกลุ่มของตนได้ เป็นต้น
ภาพที่ 4 นักรบ IS เตรียมสังหารฝ่ายตรงข้ามที่จับได้โดยการตัดคอ
โดยสรุปแล้ว การใช้วิธีการต่างๆ ในการสังหารบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง หรือการสังหารบุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น (ประชาชน) ที่ไม่ได้มีอำนาจรัฐ แต่มีความอ่อนไหวสูง เช่น เด็ก สตรี พระภิกษุ คนสูงอายุ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นต้น ก็เพื่อต้องการที่จะตอบโต้ แก้แค้น กดดัน ต่อต้าน หรือทำลายการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งรวมถึงผลงานต่างๆ ของกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจรัฐในขณะนั้น และมุ่งที่จะทำลายโครงสร้างความเป็นรัฐที่มีกฎระเบียบ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของรัฐนั้นให้ล้มสลายลงไปเพื่อให้ความเป็นรัฐอ่อนแอลงจนไม่สามารถอยู่ในสังคมโลกได้ด้วยตัวเอง โดยมุ่งหวังที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลผู้บริหารประเทศในขณะนั้น หรือเพื่อมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ โดยหวังให้มีการแทรกแซงจากทั้งองค์การระหว่างประเทศ และนานาชาติเพื่อสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั่นเอง
3. เป้าหมายของกลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดหรือกลุ่มก่อการร้าย : ทำไมต้องเป็นศาลพระพรหมสี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ
สำหรับเหตุผลในการคัดเลือกเป้าหมายเพื่อก่อเหตุร้าย (หรือก่อการร้าย) ในรูปแบบต่างๆ นั้น ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มผู้วางระเบิดคงจะให้น้ำหนักไปที่ความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จและเป็นเป้าหมายที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้นำหรือผู้สนับสนุนของกลุ่มผู้วางระเบิดเป็นหลัก โดยมีเรื่องสำคัญอื่นๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการคัดเลือกเป้าหมายดังนี้
เป้าหมาย คือ วัตถุ สิ่งปลูกสร้าง สัญลักษณ์ และสิ่งที่มีชีวิตที่กลุ่มบุคคลผู้วางระเบิด (ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งที่เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ) ต้องการทำลาย อาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
3.1 เป้าหมายประเภทกลุ่มบุคคล (สำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะไม่นำมากล่าวในที่นี้) อาจจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) เป้าหมายประเภทบุคคลสำคัญ คือ มีความสำคัญหรือดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ ในทางราชการ นักธุรกิจ และนักการเมือง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีการระวังป้องกันอย่างเข้มงวด เพราะมีความอ่อนไหวสูงคือ มีผลกระทบต่อจิตใจและต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก (2) เป้าหมายประเภทบุคคลที่อ่อนแอ (Weak Target) คือ เป็นคนไทยทั้งภาครัฐและเอกชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับกลุ่มผู้วางระเบิด และไม่มีขีดความสามารถที่จะปกป้องตนเองได้เช่น ผู้มีอาชีพครู พนักงาน ลูกจ้างของรัฐและเอกชน และรวมทั้งพระภิกษุ เป็นต้น และ (3) เป้าหมายประเภทบุคคลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งเป็นคนไทยที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่มีชื่อเสียงจากการเป็นสื่อมวลชน เป็นนักแสดง นักพูดนักดนตรี ศิลปิน และรวมทั้งคนต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใดๆ แต่ได้เดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือมาเที่ยวที่วัด หรือมาเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นที่เคารพนับถือ เช่น มากราบไหว้ บูชา พระพรหม เป็นต้น
3.2 เป้าหมายประเภทสิ่งของ วัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน แหล่งชุมชน ศูนย์รวมทางธุรกิจหรือศูนย์การค้า ศูนย์กลางและเส้นทางการคมนาคมขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน สถานีรถโดยสารระหว่างจังหวัด ป้ายรถประจำทาง สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจหรือสถานที่ที่เป็นที่เคารพนับถือตามความเชื่อต่างๆ หรือวัตถุที่เป็นศูนย์รวมความเชื่อของคนจำนวนมาก เช่น รูปปั้นหรือรูปจำลอง อนุสาวรีย์ และศาลพระพรหม เป็นต้น
สำหรับเป้าหมายประเภทสิ่งของ วัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจหรือเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป จะเป็นเป้าหมายที่มีความอ่อนไหวที่มีผลกระทบต่อจิตใจของสาธารณชนด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าถูกทำร้ายหรือถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อความรู้สึกและจิตใจของสาธารณชน และอาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วไป และภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงอาจรู้สึกไม่เชื่อมั่นในมาตรการรักษาความปลอดภัยของไทย จึงได้ประกาศระงับการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นสิงหาคม 2558 โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ (ข่าวจาก THAI PBS News - 19/8/2015) เป็นต้น
ในกรณีนี้ผู้เขียนคาดว่า กลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดคงหวังว่า การวางระเบิดครั้งนี้ไม่เพียงจะได้ทำลายหรือได้สังหารกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายที่อ่อนแอเพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่คนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังจะทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนส่วนใหญ่ (ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ) เคารพนับถือ ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบในด้านลบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทยอีกด้วย และถ้าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สามารถจับตัวกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดมาดำเนินคดีให้ได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว ประกอบกับได้มีกลุ่มแนวร่วมต่างๆ ออกมาวางระเบิดปลอมในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดในเวลาต่อมา ก็ยิ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่กล้าเดินทางไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในแหล่งค้าขายหรือศูนย์กลางธุรกิจต่างๆ เพราะอาจรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและบุตรหลาน
ดังนั้น การวางระเบิดในครั้งนี้จึงไม่เพียงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางของคนไทยส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ และตามเมืองต่างๆ เท่านั้น แต่ยังอาจทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความหวาดกลัวไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายแหล่งรายได้สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยให้เกิดความเสียหายไปด้วยนั่นเอง
ดังนั้น ถ้าตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ของไทยยังไม่สามารถจับกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว กรณีนี้ก็อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยทั้งระบบในระยะยาว เพราะชาวต่างชาติอาจขาดความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยของไทยและอาจไม่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีก ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยต้องสูญเสียรายได้สำคัญไป จนมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต้องลดต่ำลง นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจของไทยไม่เพียงจะไม่ขยายตัวหรือไม่เจริญเติบโตเท่านั้น แต่ยังอาจถดถอยลดต่ำลง
ผลกระทบจากการถดถอยทางเศรษฐกิจอาจทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่พอใจและไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจรัฐหรือรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งอาจกลายเป็นโอกาสหรือช่องทางให้กลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ นำมากล่าวหาและวิจารณ์การบริหารประเทศของรัฐบาลขณะนี้ในเชิงลบ ซึ่งอาจมีผลทำให้ประชาชนบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และอาจกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การบริหารประเทศไม่บรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้
สรุปแล้ว ศาลพระพรหม เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดที่จะวางระเบิด ด้วยเหตุผลดังนี้
(1) ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ซึ่งมีการจราจรที่ค่อนข้างแออัดทั้งวัน มีคน (โดยเฉพาะชาว Asian) มาเยี่ยมชมและมาไหว้พระพรหมเป็นจำนวนมากตลอดเวลาทุกวัน ทำให้ผู้วางระเบิดสามารถปะปนกับคนจำนวนมาก และสามารถเข้าไปวางระเบิดในพื้นที่เป้าหมายได้โดยไม่เป็นที่สังเกตของเจ้าหน้าที่ดูแลศาลพระพรหม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในบริเวณนั้น
(2) ติดถนนสองด้าน คือ ถนนสุขุมวิทกับถนนราชดำริ สามารถเข้าหรือออกจากพื้นที่เป้าหมายได้โดยใช้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ หรือรถ Taxi ทำให้การหลบหนีของกลุ่มผู้วางระเบิดเป็นไปได้โดยง่ายและสะดวกรวดเร็ว
(3) มีทางเดิน Sky Walk (ดูภาพที่ 5) ที่เชื่อมระหว่างสยาม สี่แยกราชประสงค์ ผ่านหน้าศาลพระพรหมต่อมาจนถึงสี่แยกชิดลม มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่สังเกตการณ์ จุดชนวนระเบิด หรือสั่งการบุคคลในทีมที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายให้ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นไปตามสถานการณ์ในขณะนั้นๆ
(4) การติดตามตัวกลุ่มผู้วางระเบิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความยากลำบาก เนื่องจากบริเวณโดยรอบสี่แยกใช้สัญญาณไฟ จึงทำให้มีรถมาจอดรอสัญญาณไฟเป็นจำนวนมากทำให้การจราจรติดขัดมากทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าก่อนเวลาทำงานตั้งแต่ 06.30 - 10.00 น. และช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 - 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถเดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว
จากเหตุผลและความเหมาะสมต่างๆ ดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลปัจจุบันตั้งใจที่จะเลือกศาลพระพรหมเป็นเป้าหมายเพื่อวางระเบิดสังหารกลุ่มคนชาติต่างๆ และยังมุ่งหวังที่จะทำลายองค์พระพรหมในครั้งนี้อีกด้วย
ภาพที่ 5 Sky Walk บริเวณสี่แยกราชประสงค์
4. ทำไมต้องเลือกใช้วิธีการวางระเบิด (Bombing) ที่ศาลพระพรหมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558
การก่อเหตุร้ายมีหลายวิธี เช่น การวางเพลิง การใช้ยาพิษ การลอบยิงหรือลอบสังหาร การวางระเบิด การซุ่มโจมตี และการจัดกองกำลังเข้าโจมตี เป็นต้น จึงมีผู้อ่านหลายท่านสงสัยว่า แล้วทำไมกลุ่มก่อการร้ายส่วนใหญ่มักนิยมใช้วิธีการวางระเบิดมากกว่าที่จะใช้วิธีการก่อเหตุร้ายอื่น
สำหรับในเรื่องการเลือกใช้วิธีการก่อเหตุร้าย (หรือการก่อการร้าย) นี้ ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดคงจะคำนึงความยากง่าย ความสะดวกรวดเร็ว และขีดสามารถในการสร้างความเสียหายต่อกลุ่มคนและสังคมให้ได้มากที่สุดจึงได้เลือกใช้วิธีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม ดูการเปรียบเทียบวิธีการก่อเหตุร้ายแบบต่างๆ ในตารางที่ 1
จากตารางที่ 1 จะพบว่า การวางเพลิง จะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ง่าย และสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวคนเดียว แต่เป้าหมายส่วนใหญ่มักจะเป็นวัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นกลุ่มคน ในขณะที่การใช้กำลัง (หรือกองกำลัง) เข้าโจมตี จะต้องใช้ทั้งกำลังคนที่มีความชำนาญ และกำลังอาวุธเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาเตรียมการนาน
ส่วน การวางระเบิดจะใช้บุคคลดำเนินการไม่มาก สามารถปฏิบัติการได้โดยลำพังหรือโดยกลุ่มบุคคลจำนวนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมาก การประกอบวัตถุระเบิดก็ไม่ยาก (สามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ภายใน 2 - 4 สัปดาห์จาก Internet) สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้โดยง่าย และยังสามารถสร้างความเสียหายต่อเป้าหมายบุคคลและเป้าหมายที่เป็นวัตถุ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้อย่างรุนแรงพร้อมกันตามขนาดของวัตถุระเบิดที่ประกอบขึ้นมาสรุปแล้วในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า การวางระเบิดได้กลายมาเป็นทางเลือกยอดนิยมของกลุ่มก่อการร้ายหรือกลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาลในทุกภูมิภาคของโลกไปแล้ว
สำหรับการวางระเบิดในครั้งนี้คาดว่า น่าจะเป็นระเบิดที่ควบคุมการทำงานที่ใช้คลื่นวิทยุโดยใช้ Mobile Phone หรือใช้ Remote Sensing เพราะมีความแน่นอนกว่าระเบิดที่ควบคุมการทำงานโดยการตั้งเวลาและระเบิดที่ทำงานโดยเป้าหมายหรือตัวเหยื่อเอง ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้จากความไม่แน่นอนของอุปกรณ์ตั้งเวลา และตัวเป้าหมายเอง
5. การจัดกลุ่มบุคคลหรือการจัดทีมวางระเบิดที่ศาลพระพรหม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558
ในเรื่องนี้คาดว่า กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดศาลพระพรหมในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 นี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ (กลุ่ม) คือ
5.1 ระดับแรก คือ กลุ่มผู้นำหรือเจ้าของหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของร่วมขององค์กรธุรกิจการเมืองในประเทศ หรือ CEO ขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการก่อการร้ายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย (หรือในประเทศต่างๆ) อาจเปรียบได้กับกลุ่มเจ้าของทีมฟุตบอล ดังแสดงในภาพที่ 6 จะเป็นผู้จัดหาเงินทุนงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุนในการดำเนินการก่อการร้ายต่างๆ เช่น การวางระเบิด ที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ เป็นต้น
5.2 ระดับที่สอง คือ กลุ่มผู้สั่งการหรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจการเมืองในประเทศ หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการทีมฟุตบอล ดูภาพที่ 6 ประกอบ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งจะกำหนดเป้าหมาย รูปแบบการก่อการร้ายที่จะใช้ และจะมอบเป้าหมายและรูปแบบการก่อการร้ายให้ฝ่ายปฏิบัติการรับไปดำเนินการต่อไป
ภาพที่ 6 กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม
5.3 ระดับที่สาม คือ ฝ่ายปฏิบัติการ จะมีหน้าที่ในการดำเนินการก่อการร้ายตามเป้าหมาย และรูปแบบที่ได้รับมอบหมายมาจากผู้สั่งการในกลุ่มที่สอง โดยฝ่ายปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการประกอบระเบิด และวางระเบิดที่ศาลพระพรหมให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายมา สำหรับฝ่ายปฏิบัติการคงจะมีการจัดบุคลากรเป็นทีม มีจำนวนตั้งแต่ 2 - 10 คน โดยแบ่งหน้าที่กันดังนี้
(1) หัวหน้าทีม ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการสนาม และในบางกรณีถ้าไม่ได้ทำหน้าที่ในการประกอบระเบิดเอง ก็อาจทำหน้าที่ในการจุดชนวนระเบิดด้วยตนเองซึ่งคาดว่า ในขณะปฏิบัติการคงสังเกตการณ์อยู่บน Sky Walk เพื่อตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลในทีม
(2) ผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้หัวหน้าทีม 1- 2 คนคาดว่า อยู่บน Sky Walk และอยู่ไม่ห่างจากหัวหน้าทีมมากนัก เพื่อดูแลความปลอดภัยให้หัวหน้าทีม
(3) ผู้ประกอบระเบิด 1 คนอาจไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่เป้าหมายหรือบริเวณใกล้เคียง เพราะอาจเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ(เพราะอาจเคยเป็นตำรวจ หรือทหาร หรืออาจเป็นคนต่างชาติที่เคยปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัยในอดีต)
(4) ผู้วางระเบิด 1 คน (ผู้ต้องสงสัยตามที่ปรากฏเป็นข่าวในภาพที่ 7)
(5) ผู้ชี้เป้าหมายหรือกำหนดจุดให้ผู้วางระเบิด คอยดูต้นทาง และกำหนดพื้นที่เป้าหมาย (หรือบุคคลเป้าหมาย) ที่จะวางระเบิด และจะทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้วางระเบิดในกรณีที่เกิดความผิดพลาดใดๆ คาดว่ามี 1 - 2 คน
(6) ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้วางระเบิดในการหลบหนีออกจากพื้นที่เป้าหมาย อาจไปจอดรถรอผู้วางระเบิดในที่ใดที่หนึ่งที่ห่างจากพื้นที่เป้าหมายพอสมควร (ประมาณ 2-5 กม.จากพื้นที่เป้าหมาย) และไม่เป็นที่สังเกตของเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลโดยทั่วไปคาดว่ามี 1-2 คน
(7) ผู้ดูแลบ้านปลอดภัย (Safe House) เป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวของผู้วางระเบิด ก่อนที่จะหลบหนีไปยังสถานที่อื่นที่มีความปลอดภัยจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้าม คาดว่ามี 1-2 คน
ภาพที่ 7 ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดที่ศาลพระพรหม*
6. บทสรุป: ความคิดเห็นของผู้เขียนสำหรับตอนที่ 1
6.1 โดยสรุปแล้วคาดว่า การวางระเบิดศาลพระพรหมครั้งนี้คงเป็นการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้ร่วมทีมตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป สำหรับผู้ประกอบระเบิดคงได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีความชำนาญไม่น้อยทีเดียว
6.2 หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ควรนำเทปจากกล้อง CCTV บน Sky Walkและบันทึกเทปการสนทนาทางโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายในช่วงเวลา 17.30- 20.30 น. ของวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน เขตวัฒนา เขตบางรัก และเขตใกล้เคียงมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
6.3 ควรเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และพลเรือน รวมทั้งชาวต่างประเทศที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในการประกอบระเบิด และวางระเบิดทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยมาให้ความคิดเห็นในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการวางระเบิดในครั้งนี้
6.4 มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ ซิมโทรศัพท์ประเภทเติมเงินที่อาจนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของระเบิดนั้น แม้จะหมดกำหนดเวลาที่ผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนภายในกรกฎาคม 2558 นี้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้จนถึงในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้อยู่ คือ วันที่ 26 สิงหาคม 2558)
ท้ายบทความ
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ห่างหายจากผู้อ่านไปเสียนาน และสำหรับเรื่อง การวางระเบิดศาลพระพรหม ยังมีตอนต่อไปอีก จึงแจ้งมายังทุกท่านที่สนใจได้กรุณาติดตาม และแสดงความคิดเห็นได้เช่นเดิมที่ udomdee@gmail.com และสำหรับท่านใดที่ต้องการนำบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ของผู้เขียนไปเผยแพร่ต่อ ก็ขอความกรุณาได้โปรดแจ้งความประสงค์มายังผู้เขียนก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ด้วยเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะมีบางท่านนำบทความของผู้เขียนไปเผยแพร่ แต่ไม่ใส่ชื่อของผู้เขียนไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ เข้าใจผิดว่า ผู้เขียนไปลอกบทความของคนอื่นมา
สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อผู้เขียนได้ที่ FB : วีระศักดิ์ นาทะสิริ และที่ Email Address: weerasak.nathasiri@gmail.com
ขอบคุณครับ-วีระศักดิ์ นาทะสิริ 26 ส.ค. 58
1. กล่าวนำ
เนื่องจากได้มีเพื่อนๆ หลายท่านสอบถามผู้เขียนว่า มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 (ดูภาพที่ 1) ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ผู้เขียนได้มีโอกาสรับฟังนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีการวางระเบิดที่ราชประสงค์ทางสถานีโทรทัศน์ และหลังจากนั้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกลุ่มนิสิต นักศึกษา (ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา บริเวณสามย่าน) ที่มักใช้เส้นทางผ่านบริเวณสี่แยกราชประสงค์กันเป็นประจำซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ดีและมีประโยชน์มาก
ภาพที่ 1 สภาพศาลพระพรหม ในเช้าวันที่ 18 สิงหาคม 2558*
นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้รับฟังข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมจากทั้งสื่อในประเทศ และสื่อต่างประเทศ (โดยเฉพาะจากสำนักข่าว BBC, CNN, หนังสือพิมพ์ The Mirror, The Telegraph, ไทยรัฐออนไลน์, เดลินิวส์ออนไลน์ และ Manager ASTV online) ซึ่งได้ให้รายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวางระเบิดในครั้งนี้ไว้ค่อนข้างมากจนน่าเชื่อว่า ข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษารูปแบบและวิธีการวางระเบิดในครั้งนี้เท่านั้น แต่ยังอาจมีส่วนช่วยให้หน่วยงานของรัฐ (ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) สามารถสืบสวนหาตัวบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันวางระเบิดในครั้งนี้ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ และต้องใช้ถนนสุขุมวิทผ่านสี่แยกราชประสงค์อยู่เป็นประจำเกือบทุกวัน ผู้เขียนจึงขออนุญาตมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นบางประการต่อกรณีการวางระเบิดศาลพระพรหมที่สี่แยกราชประสงค์ เพื่อตอบคำถามตามที่เพื่อนๆ และผู้อ่านได้สอบถามกันมา ดังนี้
2. อะไรเป็นมูลเหตุจูงใจของการวางระเบิดสังหารกลุ่มคนที่มาที่ศาลพระพรหม
สำหรับการวางระเบิดสังหารบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ขัดแย้งกับกลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดนั้น ผู้เขียนเชื่อว่า น่าจะมาจากความต้องการของกลุ่มผู้วางระเบิด ดังนี้
2.1 เนื่องจากได้มีความขัดแย้งในด้านต่างๆ ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเกิดขึ้น และไม่สามารถหาข้อยุติจากความขัดแย้งดังกล่าว ที่ทำให้ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกพึงพอใจได้ เช่น ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ความขัดแย้งที่มาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองหรือความแตกต่างด้านความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งความขัดแย้งจากเรื่องส่วนตัวต่างๆ เป็นต้น
2.2 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความขัดแย้งกัน มีทรัพยากรหรือมีกำลังคนหรือกำลังอาวุธหรือมีขีดความสามารถไม่เท่าเทียมกัน (Asymmetric) ในกรณีนี้ บุคคลและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันวางระเบิดอาจมีขีดความสามารถ มีกำลัง และมีทรัพยากรที่ด้อยกว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นที่มีความขัดแย้งกันซึ่งมีขีดความสามารถ มีกำลังอาวุธ มีกำลังคน ที่เหนือกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอำนาจรัฐ จึงไม่สามารถใช้วิธีที่จะต่อสู้โดยตรงหรือการต่อสู้ซึ่งๆ หน้ากับกลุ่มบุคคลที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าได้
2.3 บุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีขีดความสามารถหรือมีกำลังที่ด้อยกว่า มักจะเลือกใช้วิธีการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่จำกัดวิธีการ ไม่จำกัดขอบเขต ไม่จำกัดพื้นที่ การต่อสู้ในรูปแบบนี้มักจะเรียกกันว่า การต่อสู้ (การรบ) ที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบปกติ หรือการรบหรือสงครามนอกแบบ (Irregular Warfare) เพื่อแก้แค้นหรือตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อต้องการทำให้ฝ่ายที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าหรือฝ่ายรัฐไม่สามารถดำรงรักษาความเป็นระเบียบของสังคมและความเป็นรัฐได้อีกต่อไป (ดูภาพที่ 2 ประกอบ)โดยหวังให้องค์การระหว่างประเทศหรือประเทศมหาอำนาจต่างๆ เข้ามาแทรกแซงหรือเข้ามาเปลี่ยนแปลงหรือเข้ามาจัดระเบียบการบริหาร และการปกครองประเทศขึ้นใหม่ในประเทศ ตัวอย่างเช่น ยูโกสลาเวียในอดีตที่ถูกแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระย่อยๆ อิรัก และลิเบียที่ถูกแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจ จนทำให้เกิดกลุ่มการเมืองติดอาวุธขึ้นมาหลายกลุ่ม ต่อสู้ทำสงครามกลางเมืองกันจนถึงทุกวันนี้ (ส.ค. 58) ดังแสดงในภาพที่ 3
ภาพที่ 2 การก่อเหตุรุนแรงเพื่อสร้างความไร้ระเบียบไร้กฎเกณฑ์ในสังคม
*การเพิ่มความร้อน (เปรียบได้กับการเพิ่มปริมาณการก่อเหตุร้าย) เพื่อให้น้ำในกา (ซึ่งเปรียบเสมือนสภาพสังคมที่เป็นปกติ) ให้เดือดและแปรสภาพกลายเป็นไอ ซึ่งหมายถึงสังคม (ของไทยหรือของประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มที่วางระเบิด) จะถูกกระทำให้อยู่ในสภาพที่มีความสับสนวุ่นวาย ไร้ระเบียบ เพื่อที่จะได้ถูกกดดันจากนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศ
ภาพที่ 3 ภาพนักรบกลุ่มรัฐอิสลามหรือ IS สังหารหมู่ทหารอิรัก*
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาการรบหรือการต่อสู้ในลักษณะที่ไร้รูปแบบ (Hybrid Warfare) ขึ้น ซึ่งการต่อสู้ในลักษณะนี้ไม่เพียงไม่จำกัดรูปแบบและวิธีการในการต่อสู้เท่านั้น แต่ยังไม่จำกัดและไม่คำนึงถึงในเรื่องคุณธรรม ความถูกต้องชอบธรรม และกฎระเบียบต่างๆ ตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งผู้เขียนขอใช้ชื่อเรียกว่า การรบหรือการต่อสู้ที่ไร้รูปแบบ ซึ่งหมายถึง การต่อสู้หรือการรบที่ไม่จำกัดวิธีการ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องคุณธรรมหรือความถูกต้องใดๆ ขอเพียงให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการของกลุ่มตนเท่านั้น เช่น ปล้นธนาคารเอาเงินมาซื้อหาอาวุธเพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือปล้นรถยนต์และสังหารเจ้าของรถแล้วนำรถยนต์นั้นมาทำ Car Bomb หรือการที่กลุ่ม IS (Islam States) ในตะวันออกกลาง ได้จับตัวประกันชาติต่างๆ มาตัดคอเพื่อแสดงอำนาจของกลุ่ม IS (ดูภาพที่ 4) และเพื่อสร้างความหวาดกลัวหรือยับยั้งไม่ให้บุคคลใดๆ ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้ามมาทำอันตรายกลุ่มของตนได้ เป็นต้น
ภาพที่ 4 นักรบ IS เตรียมสังหารฝ่ายตรงข้ามที่จับได้โดยการตัดคอ
โดยสรุปแล้ว การใช้วิธีการต่างๆ ในการสังหารบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง หรือการสังหารบุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น (ประชาชน) ที่ไม่ได้มีอำนาจรัฐ แต่มีความอ่อนไหวสูง เช่น เด็ก สตรี พระภิกษุ คนสูงอายุ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นต้น ก็เพื่อต้องการที่จะตอบโต้ แก้แค้น กดดัน ต่อต้าน หรือทำลายการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งรวมถึงผลงานต่างๆ ของกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจรัฐในขณะนั้น และมุ่งที่จะทำลายโครงสร้างความเป็นรัฐที่มีกฎระเบียบ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของรัฐนั้นให้ล้มสลายลงไปเพื่อให้ความเป็นรัฐอ่อนแอลงจนไม่สามารถอยู่ในสังคมโลกได้ด้วยตัวเอง โดยมุ่งหวังที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลผู้บริหารประเทศในขณะนั้น หรือเพื่อมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ โดยหวังให้มีการแทรกแซงจากทั้งองค์การระหว่างประเทศ และนานาชาติเพื่อสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั่นเอง
3. เป้าหมายของกลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดหรือกลุ่มก่อการร้าย : ทำไมต้องเป็นศาลพระพรหมสี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ
สำหรับเหตุผลในการคัดเลือกเป้าหมายเพื่อก่อเหตุร้าย (หรือก่อการร้าย) ในรูปแบบต่างๆ นั้น ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มผู้วางระเบิดคงจะให้น้ำหนักไปที่ความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จและเป็นเป้าหมายที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้นำหรือผู้สนับสนุนของกลุ่มผู้วางระเบิดเป็นหลัก โดยมีเรื่องสำคัญอื่นๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการคัดเลือกเป้าหมายดังนี้
เป้าหมาย คือ วัตถุ สิ่งปลูกสร้าง สัญลักษณ์ และสิ่งที่มีชีวิตที่กลุ่มบุคคลผู้วางระเบิด (ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งที่เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ) ต้องการทำลาย อาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
3.1 เป้าหมายประเภทกลุ่มบุคคล (สำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะไม่นำมากล่าวในที่นี้) อาจจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) เป้าหมายประเภทบุคคลสำคัญ คือ มีความสำคัญหรือดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ ในทางราชการ นักธุรกิจ และนักการเมือง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีการระวังป้องกันอย่างเข้มงวด เพราะมีความอ่อนไหวสูงคือ มีผลกระทบต่อจิตใจและต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก (2) เป้าหมายประเภทบุคคลที่อ่อนแอ (Weak Target) คือ เป็นคนไทยทั้งภาครัฐและเอกชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับกลุ่มผู้วางระเบิด และไม่มีขีดความสามารถที่จะปกป้องตนเองได้เช่น ผู้มีอาชีพครู พนักงาน ลูกจ้างของรัฐและเอกชน และรวมทั้งพระภิกษุ เป็นต้น และ (3) เป้าหมายประเภทบุคคลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งเป็นคนไทยที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่มีชื่อเสียงจากการเป็นสื่อมวลชน เป็นนักแสดง นักพูดนักดนตรี ศิลปิน และรวมทั้งคนต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใดๆ แต่ได้เดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือมาเที่ยวที่วัด หรือมาเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นที่เคารพนับถือ เช่น มากราบไหว้ บูชา พระพรหม เป็นต้น
3.2 เป้าหมายประเภทสิ่งของ วัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน แหล่งชุมชน ศูนย์รวมทางธุรกิจหรือศูนย์การค้า ศูนย์กลางและเส้นทางการคมนาคมขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน สถานีรถโดยสารระหว่างจังหวัด ป้ายรถประจำทาง สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจหรือสถานที่ที่เป็นที่เคารพนับถือตามความเชื่อต่างๆ หรือวัตถุที่เป็นศูนย์รวมความเชื่อของคนจำนวนมาก เช่น รูปปั้นหรือรูปจำลอง อนุสาวรีย์ และศาลพระพรหม เป็นต้น
สำหรับเป้าหมายประเภทสิ่งของ วัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจหรือเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป จะเป็นเป้าหมายที่มีความอ่อนไหวที่มีผลกระทบต่อจิตใจของสาธารณชนด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าถูกทำร้ายหรือถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อความรู้สึกและจิตใจของสาธารณชน และอาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วไป และภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงอาจรู้สึกไม่เชื่อมั่นในมาตรการรักษาความปลอดภัยของไทย จึงได้ประกาศระงับการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นสิงหาคม 2558 โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ โดยข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ข่าวล่าสุดจาก THAI PBS News (19/8/2015) ได้รายงานว่า สภาการท่องเที่ยวฮ่องกงได้ยกเลิกการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ (ข่าวจาก THAI PBS News - 19/8/2015) เป็นต้น
ในกรณีนี้ผู้เขียนคาดว่า กลุ่มบุคคลผู้วางระเบิดคงหวังว่า การวางระเบิดครั้งนี้ไม่เพียงจะได้ทำลายหรือได้สังหารกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายที่อ่อนแอเพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่คนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังจะทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนส่วนใหญ่ (ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ) เคารพนับถือ ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบในด้านลบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทยอีกด้วย และถ้าเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สามารถจับตัวกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดมาดำเนินคดีให้ได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว ประกอบกับได้มีกลุ่มแนวร่วมต่างๆ ออกมาวางระเบิดปลอมในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดในเวลาต่อมา ก็ยิ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่กล้าเดินทางไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในแหล่งค้าขายหรือศูนย์กลางธุรกิจต่างๆ เพราะอาจรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและบุตรหลาน
ดังนั้น การวางระเบิดในครั้งนี้จึงไม่เพียงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการเดินทางของคนไทยส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ และตามเมืองต่างๆ เท่านั้น แต่ยังอาจทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความหวาดกลัวไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายแหล่งรายได้สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยให้เกิดความเสียหายไปด้วยนั่นเอง
ดังนั้น ถ้าตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ของไทยยังไม่สามารถจับกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว กรณีนี้ก็อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยทั้งระบบในระยะยาว เพราะชาวต่างชาติอาจขาดความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยของไทยและอาจไม่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีก ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยต้องสูญเสียรายได้สำคัญไป จนมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต้องลดต่ำลง นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจของไทยไม่เพียงจะไม่ขยายตัวหรือไม่เจริญเติบโตเท่านั้น แต่ยังอาจถดถอยลดต่ำลง
ผลกระทบจากการถดถอยทางเศรษฐกิจอาจทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่พอใจและไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจรัฐหรือรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งอาจกลายเป็นโอกาสหรือช่องทางให้กลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ นำมากล่าวหาและวิจารณ์การบริหารประเทศของรัฐบาลขณะนี้ในเชิงลบ ซึ่งอาจมีผลทำให้ประชาชนบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และอาจกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การบริหารประเทศไม่บรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้
สรุปแล้ว ศาลพระพรหม เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดที่จะวางระเบิด ด้วยเหตุผลดังนี้
(1) ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ซึ่งมีการจราจรที่ค่อนข้างแออัดทั้งวัน มีคน (โดยเฉพาะชาว Asian) มาเยี่ยมชมและมาไหว้พระพรหมเป็นจำนวนมากตลอดเวลาทุกวัน ทำให้ผู้วางระเบิดสามารถปะปนกับคนจำนวนมาก และสามารถเข้าไปวางระเบิดในพื้นที่เป้าหมายได้โดยไม่เป็นที่สังเกตของเจ้าหน้าที่ดูแลศาลพระพรหม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในบริเวณนั้น
(2) ติดถนนสองด้าน คือ ถนนสุขุมวิทกับถนนราชดำริ สามารถเข้าหรือออกจากพื้นที่เป้าหมายได้โดยใช้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ หรือรถ Taxi ทำให้การหลบหนีของกลุ่มผู้วางระเบิดเป็นไปได้โดยง่ายและสะดวกรวดเร็ว
(3) มีทางเดิน Sky Walk (ดูภาพที่ 5) ที่เชื่อมระหว่างสยาม สี่แยกราชประสงค์ ผ่านหน้าศาลพระพรหมต่อมาจนถึงสี่แยกชิดลม มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่สังเกตการณ์ จุดชนวนระเบิด หรือสั่งการบุคคลในทีมที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายให้ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นไปตามสถานการณ์ในขณะนั้นๆ
(4) การติดตามตัวกลุ่มผู้วางระเบิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความยากลำบาก เนื่องจากบริเวณโดยรอบสี่แยกใช้สัญญาณไฟ จึงทำให้มีรถมาจอดรอสัญญาณไฟเป็นจำนวนมากทำให้การจราจรติดขัดมากทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าก่อนเวลาทำงานตั้งแต่ 06.30 - 10.00 น. และช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 - 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถเดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว
จากเหตุผลและความเหมาะสมต่างๆ ดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลปัจจุบันตั้งใจที่จะเลือกศาลพระพรหมเป็นเป้าหมายเพื่อวางระเบิดสังหารกลุ่มคนชาติต่างๆ และยังมุ่งหวังที่จะทำลายองค์พระพรหมในครั้งนี้อีกด้วย
ภาพที่ 5 Sky Walk บริเวณสี่แยกราชประสงค์
4. ทำไมต้องเลือกใช้วิธีการวางระเบิด (Bombing) ที่ศาลพระพรหมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558
การก่อเหตุร้ายมีหลายวิธี เช่น การวางเพลิง การใช้ยาพิษ การลอบยิงหรือลอบสังหาร การวางระเบิด การซุ่มโจมตี และการจัดกองกำลังเข้าโจมตี เป็นต้น จึงมีผู้อ่านหลายท่านสงสัยว่า แล้วทำไมกลุ่มก่อการร้ายส่วนใหญ่มักนิยมใช้วิธีการวางระเบิดมากกว่าที่จะใช้วิธีการก่อเหตุร้ายอื่น
สำหรับในเรื่องการเลือกใช้วิธีการก่อเหตุร้าย (หรือการก่อการร้าย) นี้ ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดคงจะคำนึงความยากง่าย ความสะดวกรวดเร็ว และขีดสามารถในการสร้างความเสียหายต่อกลุ่มคนและสังคมให้ได้มากที่สุดจึงได้เลือกใช้วิธีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม ดูการเปรียบเทียบวิธีการก่อเหตุร้ายแบบต่างๆ ในตารางที่ 1
จากตารางที่ 1 จะพบว่า การวางเพลิง จะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ง่าย และสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวคนเดียว แต่เป้าหมายส่วนใหญ่มักจะเป็นวัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นกลุ่มคน ในขณะที่การใช้กำลัง (หรือกองกำลัง) เข้าโจมตี จะต้องใช้ทั้งกำลังคนที่มีความชำนาญ และกำลังอาวุธเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาเตรียมการนาน
ส่วน การวางระเบิดจะใช้บุคคลดำเนินการไม่มาก สามารถปฏิบัติการได้โดยลำพังหรือโดยกลุ่มบุคคลจำนวนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมาก การประกอบวัตถุระเบิดก็ไม่ยาก (สามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ภายใน 2 - 4 สัปดาห์จาก Internet) สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้โดยง่าย และยังสามารถสร้างความเสียหายต่อเป้าหมายบุคคลและเป้าหมายที่เป็นวัตถุ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้อย่างรุนแรงพร้อมกันตามขนาดของวัตถุระเบิดที่ประกอบขึ้นมาสรุปแล้วในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า การวางระเบิดได้กลายมาเป็นทางเลือกยอดนิยมของกลุ่มก่อการร้ายหรือกลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาลในทุกภูมิภาคของโลกไปแล้ว
สำหรับการวางระเบิดในครั้งนี้คาดว่า น่าจะเป็นระเบิดที่ควบคุมการทำงานที่ใช้คลื่นวิทยุโดยใช้ Mobile Phone หรือใช้ Remote Sensing เพราะมีความแน่นอนกว่าระเบิดที่ควบคุมการทำงานโดยการตั้งเวลาและระเบิดที่ทำงานโดยเป้าหมายหรือตัวเหยื่อเอง ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้จากความไม่แน่นอนของอุปกรณ์ตั้งเวลา และตัวเป้าหมายเอง
5. การจัดกลุ่มบุคคลหรือการจัดทีมวางระเบิดที่ศาลพระพรหม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558
ในเรื่องนี้คาดว่า กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดศาลพระพรหมในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 นี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ (กลุ่ม) คือ
5.1 ระดับแรก คือ กลุ่มผู้นำหรือเจ้าของหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของร่วมขององค์กรธุรกิจการเมืองในประเทศ หรือ CEO ขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการก่อการร้ายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย (หรือในประเทศต่างๆ) อาจเปรียบได้กับกลุ่มเจ้าของทีมฟุตบอล ดังแสดงในภาพที่ 6 จะเป็นผู้จัดหาเงินทุนงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุนในการดำเนินการก่อการร้ายต่างๆ เช่น การวางระเบิด ที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ เป็นต้น
5.2 ระดับที่สอง คือ กลุ่มผู้สั่งการหรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจการเมืองในประเทศ หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการทีมฟุตบอล ดูภาพที่ 6 ประกอบ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งจะกำหนดเป้าหมาย รูปแบบการก่อการร้ายที่จะใช้ และจะมอบเป้าหมายและรูปแบบการก่อการร้ายให้ฝ่ายปฏิบัติการรับไปดำเนินการต่อไป
ภาพที่ 6 กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม
5.3 ระดับที่สาม คือ ฝ่ายปฏิบัติการ จะมีหน้าที่ในการดำเนินการก่อการร้ายตามเป้าหมาย และรูปแบบที่ได้รับมอบหมายมาจากผู้สั่งการในกลุ่มที่สอง โดยฝ่ายปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการประกอบระเบิด และวางระเบิดที่ศาลพระพรหมให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายมา สำหรับฝ่ายปฏิบัติการคงจะมีการจัดบุคลากรเป็นทีม มีจำนวนตั้งแต่ 2 - 10 คน โดยแบ่งหน้าที่กันดังนี้
(1) หัวหน้าทีม ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการสนาม และในบางกรณีถ้าไม่ได้ทำหน้าที่ในการประกอบระเบิดเอง ก็อาจทำหน้าที่ในการจุดชนวนระเบิดด้วยตนเองซึ่งคาดว่า ในขณะปฏิบัติการคงสังเกตการณ์อยู่บน Sky Walk เพื่อตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลในทีม
(2) ผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้หัวหน้าทีม 1- 2 คนคาดว่า อยู่บน Sky Walk และอยู่ไม่ห่างจากหัวหน้าทีมมากนัก เพื่อดูแลความปลอดภัยให้หัวหน้าทีม
(3) ผู้ประกอบระเบิด 1 คนอาจไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่เป้าหมายหรือบริเวณใกล้เคียง เพราะอาจเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายต่างๆ(เพราะอาจเคยเป็นตำรวจ หรือทหาร หรืออาจเป็นคนต่างชาติที่เคยปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัยในอดีต)
(4) ผู้วางระเบิด 1 คน (ผู้ต้องสงสัยตามที่ปรากฏเป็นข่าวในภาพที่ 7)
(5) ผู้ชี้เป้าหมายหรือกำหนดจุดให้ผู้วางระเบิด คอยดูต้นทาง และกำหนดพื้นที่เป้าหมาย (หรือบุคคลเป้าหมาย) ที่จะวางระเบิด และจะทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้วางระเบิดในกรณีที่เกิดความผิดพลาดใดๆ คาดว่ามี 1 - 2 คน
(6) ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้วางระเบิดในการหลบหนีออกจากพื้นที่เป้าหมาย อาจไปจอดรถรอผู้วางระเบิดในที่ใดที่หนึ่งที่ห่างจากพื้นที่เป้าหมายพอสมควร (ประมาณ 2-5 กม.จากพื้นที่เป้าหมาย) และไม่เป็นที่สังเกตของเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลโดยทั่วไปคาดว่ามี 1-2 คน
(7) ผู้ดูแลบ้านปลอดภัย (Safe House) เป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวของผู้วางระเบิด ก่อนที่จะหลบหนีไปยังสถานที่อื่นที่มีความปลอดภัยจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้าม คาดว่ามี 1-2 คน
ภาพที่ 7 ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดที่ศาลพระพรหม*
6. บทสรุป: ความคิดเห็นของผู้เขียนสำหรับตอนที่ 1
6.1 โดยสรุปแล้วคาดว่า การวางระเบิดศาลพระพรหมครั้งนี้คงเป็นการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้ร่วมทีมตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป สำหรับผู้ประกอบระเบิดคงได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีความชำนาญไม่น้อยทีเดียว
6.2 หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ควรนำเทปจากกล้อง CCTV บน Sky Walkและบันทึกเทปการสนทนาทางโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายในช่วงเวลา 17.30- 20.30 น. ของวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน เขตวัฒนา เขตบางรัก และเขตใกล้เคียงมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
6.3 ควรเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และพลเรือน รวมทั้งชาวต่างประเทศที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในการประกอบระเบิด และวางระเบิดทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยมาให้ความคิดเห็นในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการวางระเบิดในครั้งนี้
6.4 มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ ซิมโทรศัพท์ประเภทเติมเงินที่อาจนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของระเบิดนั้น แม้จะหมดกำหนดเวลาที่ผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนภายในกรกฎาคม 2558 นี้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้จนถึงในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้อยู่ คือ วันที่ 26 สิงหาคม 2558)
ท้ายบทความ
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ห่างหายจากผู้อ่านไปเสียนาน และสำหรับเรื่อง การวางระเบิดศาลพระพรหม ยังมีตอนต่อไปอีก จึงแจ้งมายังทุกท่านที่สนใจได้กรุณาติดตาม และแสดงความคิดเห็นได้เช่นเดิมที่ udomdee@gmail.com และสำหรับท่านใดที่ต้องการนำบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ของผู้เขียนไปเผยแพร่ต่อ ก็ขอความกรุณาได้โปรดแจ้งความประสงค์มายังผู้เขียนก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ด้วยเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะมีบางท่านนำบทความของผู้เขียนไปเผยแพร่ แต่ไม่ใส่ชื่อของผู้เขียนไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ เข้าใจผิดว่า ผู้เขียนไปลอกบทความของคนอื่นมา
สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อผู้เขียนได้ที่ FB : วีระศักดิ์ นาทะสิริ และที่ Email Address: weerasak.nathasiri@gmail.com
ขอบคุณครับ-วีระศักดิ์ นาทะสิริ 26 ส.ค. 58