"วัชระ"ยื่นหนังสือถึง"บิ๊กตู่" จี้ฟัน "ผู้ว่าฯปากหมา" อ้างเพื่อนร่วมรุ่นนายกฯ ไม่พอ บอกเอา NGO ไปยิงทิ้ง ด้าน"บิ๊กป๊อก" ปัดสวะ ปมพ่อเมืองใต้กร่าง โบ้ยไปแจ้งความเอาผิดเอง ชี้เป็นคดีทางกม.ข่มขูเอาชีวิต พร้อมจับตาประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่ วันนี้(5ส.ค.) กฟผ.พร้อมรับกลุ่มค้านหากเดินทางมายื่นหนังสือ ย้ำต้องใช้เวลาพิจารณาคัดเลือกทั้งหมด 6 เดือน ยันก่อสร้างไม่ได้ถ้าไม่ผ่าน EHIA หรือรัฐไม่อนุมัติให้ดำเนินการ ขณะที่ส.อ.ท.หนุนให้ทุกฝ่ายมองอนาคต ด้าน เครือข่ายปกป้องกระบี่ รอดูท่าที กฟผ.เปิดซองประมูลสร้างโรงไฟฟ้า ในวันนี้ (5 ส.ค.) ยันยังไม่เคลื่อนไหวค้าน
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (4ส.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน (ฝั่งก.พ.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัย และพิจารณาโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ที่พูดถึงการแก้ปัญหาการเดินหน้าพัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างไม่เหมาะสม โดยมี นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายระสานมวลชนเป็นผู้รับเรื่อง
นายวัชระ กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าเป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ ได้พูดกลางที่ประชุมครูระดับจังหวัด ว่า " ถ้าให้รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในภาคใต้สำเร็จ โดยเฉพาะกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องจับ เอ็นจีโอ ที่นำชาวบ้านคัดค้านไปยิงให้ตายเสีย แล้วก็จะหมดปัญหา"
ซึ่งเรื่องนี้ ตนไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงใคร่ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าผู้ว่าราชการจังหวัดท่านนี้ เป็นใคร ได้กล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่ และการพูดของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเช่นนี้ ขัดต่อหลักการปฏิบัติราชการที่ดี ค่านิยม 12 ประการ รวมทั้งอาจเกิดกรณีน้ำผึ้งหยดเดียว ทำให้เกิดความขัดแย้งต่อไปได้ เนื่องจากจังหวัดดังกล่าว มีพื้นที่ติดกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
"ถ้ายังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ และความสงบสุขของพื้นที่ภาคใต้ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐบาลในที่สุด และประชาชนชาวใต้ ไม่เคยก้มหัวให้ความอยุติธรรม" นายวัชระ ระบุ
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ขอวิจารณ์ เพราะกรณีดังกล่าว ถ้าเขาระบุว่า ต้องไปยิงจริง ถือว่าเป็นคดีทางกฎหมาย เพราะไปข่มขู่ อย่าให้ตนพูดเลย ไม่กล้าพูด มันไม่ใช่เรื่อง
" มันลอยๆ กันมา ผมไม่รู้จะพูดยังไง เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตไม่พูดดีกว่า เดี๋ยวเอาไปเขียนเกี่ยวโยงผมอีก พยายามตอบทีไรก็เสร็จทุกที เอาเป็นว่า ถ้าคุณเป็นคนยื่นเรื่อง ก็ไปแจ้งความเอาผิดเขาสิ เพราะถือเป็นเรื่องของการข่มขู่ถึงชีวิต ควรเป็นไปตามกฎหมาย ผมไม่มีหน้าที่ไปตรวจสอบตรงนี้" รมว.มหาดไทย กล่าว
***สร้างโรงไฟฟ้าต้องผ่านEHIA
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า วันนี้(5ส.ค.) กฟผ.ยังคงดำเนินการเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นเอกสารได้ตั้งแต่เวลา 8.00 น.-10.00 น. หลังจากนั้นก็จะได้ข้อสรุปว่ามีผู้สนใจมายื่นได้กี่ราย อย่างไรก็ตามขั้นตอนการพิจารณาทางด้านเทคนิคนั้นก็จะใช้เวลาพิจารณา 3-4 เดือนหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาทางด้านราคาโดยรวมแล้วจะใช้เวลาขั้นตอนการคัดเลือก 6 เดือน
“ ขั้นตอนการดำเนินงานก็จะเป็นไปตามกำหนดเดิมซึ่งการยื่นเอกสารก็ถึง 10 โมงเท่านั้นซึ่งหมายถึงภาวะปกติ แต่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติก็ต้องว่ากันอีกเรื่อง อย่างไรก็ตามกรณีที่มีข่าวว่าจะมีกลุ่มผู้คัดค้านเดินทางมายื่นหนังสือที่กฟผ.วันนี้เราเองก็เตรียมพร้อมสถานที่รองรับไว้แล้วและหากสนใจการเปิดประมูลก็พร้อมที่จะให้ส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตุการณ์”นายสหรัฐกล่าว
ทั้งนี้ กฟผ.ยืนยันว่าการดำเนินการประมูลครั้งนี้เพื่อทำควบคู่ไปกับการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(EHIA) เพื่อให้ระยะเวลาก่อสร้างเป็นไปตามกำหนด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งหาก EHIA ไม่ผ่านการก่อสร้างก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งในร่าง TOR ได้ระบุไว้ชัดเจนว่ากฟผ.สามารถยกเลิกก่อสร้างได้โดยเอกชนไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ด้วย 2 กรณีคือกรณี EHIA ไม่ผ่านและรัฐบาลไม่อนุมัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่ ในวันนี้เป็นการเลื่อนการเปิดประมูลมาแล้วจากเดิมกำหนดการไว้ที่ 22ก.ค.โดยในครั้งนั้นกฟผ.ระบุสาเหตุการเลื่อนว่า เป็นเพราะมีผู้ประกอบการเอกชนได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา และบางรายยังเตรียมเอกสารไม่พร้อม ซึ่งกฟผ.เห็นว่าการเปิดโอกาสให้แข่งขันกันมากก็ย่อมเป็นผลดีในการเลือกเทคโนโลยีที่ดีสุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า หากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถเกิดเพิ่มขึ้นได้ในไทย ก็จะทำให้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP 2015 )ต้องไปปรับใหม่ ซึ่งเดิมที่กำหนดไว้ให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นเพื่อลดการใช้ก๊าซฯที่ปัจจุบันสูงถึง 62%ให้ลดลงมา เพื่อลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงและถ่วงราคาค่าไฟไม่ให้แพงขึ้นมาก เพราะก๊าซฯอนาคตจะพึ่งพิงการนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงกว่าก๊าซฯที่ผลิตในไทยหรือต่อท่อตรงจากเพื่อนบ้านเช่น พม่า
ดังนั้นหากถ่านหินไม่เกิดค่าไฟก็จะแพงกว่าเดิมการปรับพีดีพีใหม่ก็หนีไม่พ้นการใช้ก๊าซฯกับซื้อไฟเพื่อนบ้านเพิ่ม กรณีแอลเอ็นจีการนำเข้าก็คงจะต้องให้ปตท.สร้างคลังเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างมหาศาลซึ่งเหล่านี้ก็จะย้อนกลับไปสู่ต้นทุนค่าไฟแพงที่เรียกเก็บกับประชาชน
***นายกฯบอกอย่ามาตีกันเลย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน ตอนนี้รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไข ขอร้องว่าอย่าเพิ่งมาตีกันเลย ถ้ามัวแต่ฟังว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะสร้างเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคต แต่อีกพวกก็เป็นห่วงว่าอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดตนขอยืนยันว่าถ้าไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรืออีเอชไอเอ ก็ทำไม่ได้ถึงจะประมูลไปแล้ว เพราะการประมูลที่ทำไปนั้นก็เพื่อให้มีการบริการต่อเนื่อง แต่ถ้ามันไม่ผ่าน มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
***ส.อ.ท.ชี้ค้านถ่านหินให้มองเพื่อนบ้าน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การคัดค้านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปัจจุบันต้องการให้ฝ่ายคัดค้าน รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆมีการประเมินผลทั้งบวกและลบในระยะยาวที่เป็นอนาคตเพื่อให้มีมุมมองที่รอบด้านเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญโดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าเพราะหากไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจก็จำเป็นจะต้องใช้พลังงาน
“ เวลานี้ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงถลุงเหล็กมีการคัดค้านมาก ต้องมีการประเมินว่าไทยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดในการผลักดันให้เกิดขึ้น อย่างเหล็กต้นน้ำเราไม่มี เรามีแต่กลางน้ำ ปลายน้ำ ควรมองผลได้เสียในอนาคต เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า ต้องประเมินทั้งบวกและลบมองให้รอบด้านไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจก็จำเป็นต้องใช้พลังงาน ก็จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าของไทยเองหรือไม่ อย่างลาว ก็มีทั้งถ่านหิน น้ำ เวียดนามก็กำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว หมดยุคมองเทคโนโลยีไม่ได้คุณภาพเพราะพัฒนาไปไกลแลว ทุกวันนี้ให้ลองมองดูหลายๆ ประเทศเขาก็ต่อสู้แย่งชิงหาแหล่งพลังงานซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศและเศรษฐกิจในอนาคต”นายสุพันธุ์กล่าว
***เครือข่ายปกป้องกระบี่รอดูท่าทีกฟผ.เปิดซองวันนี้
วานนี้ (4 ส.ค.) นายสมนึก กลดเสือ ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จ.กระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะเปิดให้มีการยื่นซองประมูลสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในวันนี้ (5 ส.ค.) ซึ่งในส่วนของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จะไม่การเคลื่อนไหวแต่อย่างใด เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีการทำข้อตกลง ใน 3 ประเด็น แล้วคือ 1.ให้มีการยกเลิกรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือขนถ่านหินบ้านคลองรั้ว
2.หยุดประมูล ทั้ง 2 โครงการโดยไม่มีกำหนด และ 3.ให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาข้อเสนอของเครือข่ายฯซึ่งในเบื้องต้นทาง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบและสั่งให้ระงับโครงการชั่วคราวไว้แล้ว ถึงแม้ว่าทาง กฟผ.จะดำเนินการต่อก็เชื่อว่าจะไม่มีผลทางกฎหมาย และทางกลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินในพื้นที่ ก็จะไม่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกันเข้าใจแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ก็จะรอดูท่าทีของ กฟผ.ว่าจะมีการเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป ซึ่งทางเครือข่ายก็พร้อมที่จะคัดค้านหากว่า กฟผ.ยังดื้อที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (4ส.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน (ฝั่งก.พ.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัย และพิจารณาโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ที่พูดถึงการแก้ปัญหาการเดินหน้าพัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างไม่เหมาะสม โดยมี นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายระสานมวลชนเป็นผู้รับเรื่อง
นายวัชระ กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าเป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ ได้พูดกลางที่ประชุมครูระดับจังหวัด ว่า " ถ้าให้รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในภาคใต้สำเร็จ โดยเฉพาะกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องจับ เอ็นจีโอ ที่นำชาวบ้านคัดค้านไปยิงให้ตายเสีย แล้วก็จะหมดปัญหา"
ซึ่งเรื่องนี้ ตนไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงใคร่ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าผู้ว่าราชการจังหวัดท่านนี้ เป็นใคร ได้กล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่ และการพูดของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเช่นนี้ ขัดต่อหลักการปฏิบัติราชการที่ดี ค่านิยม 12 ประการ รวมทั้งอาจเกิดกรณีน้ำผึ้งหยดเดียว ทำให้เกิดความขัดแย้งต่อไปได้ เนื่องจากจังหวัดดังกล่าว มีพื้นที่ติดกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
"ถ้ายังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ และความสงบสุขของพื้นที่ภาคใต้ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐบาลในที่สุด และประชาชนชาวใต้ ไม่เคยก้มหัวให้ความอยุติธรรม" นายวัชระ ระบุ
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ขอวิจารณ์ เพราะกรณีดังกล่าว ถ้าเขาระบุว่า ต้องไปยิงจริง ถือว่าเป็นคดีทางกฎหมาย เพราะไปข่มขู่ อย่าให้ตนพูดเลย ไม่กล้าพูด มันไม่ใช่เรื่อง
" มันลอยๆ กันมา ผมไม่รู้จะพูดยังไง เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตไม่พูดดีกว่า เดี๋ยวเอาไปเขียนเกี่ยวโยงผมอีก พยายามตอบทีไรก็เสร็จทุกที เอาเป็นว่า ถ้าคุณเป็นคนยื่นเรื่อง ก็ไปแจ้งความเอาผิดเขาสิ เพราะถือเป็นเรื่องของการข่มขู่ถึงชีวิต ควรเป็นไปตามกฎหมาย ผมไม่มีหน้าที่ไปตรวจสอบตรงนี้" รมว.มหาดไทย กล่าว
***สร้างโรงไฟฟ้าต้องผ่านEHIA
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า วันนี้(5ส.ค.) กฟผ.ยังคงดำเนินการเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นเอกสารได้ตั้งแต่เวลา 8.00 น.-10.00 น. หลังจากนั้นก็จะได้ข้อสรุปว่ามีผู้สนใจมายื่นได้กี่ราย อย่างไรก็ตามขั้นตอนการพิจารณาทางด้านเทคนิคนั้นก็จะใช้เวลาพิจารณา 3-4 เดือนหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาทางด้านราคาโดยรวมแล้วจะใช้เวลาขั้นตอนการคัดเลือก 6 เดือน
“ ขั้นตอนการดำเนินงานก็จะเป็นไปตามกำหนดเดิมซึ่งการยื่นเอกสารก็ถึง 10 โมงเท่านั้นซึ่งหมายถึงภาวะปกติ แต่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติก็ต้องว่ากันอีกเรื่อง อย่างไรก็ตามกรณีที่มีข่าวว่าจะมีกลุ่มผู้คัดค้านเดินทางมายื่นหนังสือที่กฟผ.วันนี้เราเองก็เตรียมพร้อมสถานที่รองรับไว้แล้วและหากสนใจการเปิดประมูลก็พร้อมที่จะให้ส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตุการณ์”นายสหรัฐกล่าว
ทั้งนี้ กฟผ.ยืนยันว่าการดำเนินการประมูลครั้งนี้เพื่อทำควบคู่ไปกับการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(EHIA) เพื่อให้ระยะเวลาก่อสร้างเป็นไปตามกำหนด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งหาก EHIA ไม่ผ่านการก่อสร้างก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งในร่าง TOR ได้ระบุไว้ชัดเจนว่ากฟผ.สามารถยกเลิกก่อสร้างได้โดยเอกชนไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ด้วย 2 กรณีคือกรณี EHIA ไม่ผ่านและรัฐบาลไม่อนุมัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่ ในวันนี้เป็นการเลื่อนการเปิดประมูลมาแล้วจากเดิมกำหนดการไว้ที่ 22ก.ค.โดยในครั้งนั้นกฟผ.ระบุสาเหตุการเลื่อนว่า เป็นเพราะมีผู้ประกอบการเอกชนได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา และบางรายยังเตรียมเอกสารไม่พร้อม ซึ่งกฟผ.เห็นว่าการเปิดโอกาสให้แข่งขันกันมากก็ย่อมเป็นผลดีในการเลือกเทคโนโลยีที่ดีสุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า หากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถเกิดเพิ่มขึ้นได้ในไทย ก็จะทำให้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP 2015 )ต้องไปปรับใหม่ ซึ่งเดิมที่กำหนดไว้ให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นเพื่อลดการใช้ก๊าซฯที่ปัจจุบันสูงถึง 62%ให้ลดลงมา เพื่อลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงและถ่วงราคาค่าไฟไม่ให้แพงขึ้นมาก เพราะก๊าซฯอนาคตจะพึ่งพิงการนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงกว่าก๊าซฯที่ผลิตในไทยหรือต่อท่อตรงจากเพื่อนบ้านเช่น พม่า
ดังนั้นหากถ่านหินไม่เกิดค่าไฟก็จะแพงกว่าเดิมการปรับพีดีพีใหม่ก็หนีไม่พ้นการใช้ก๊าซฯกับซื้อไฟเพื่อนบ้านเพิ่ม กรณีแอลเอ็นจีการนำเข้าก็คงจะต้องให้ปตท.สร้างคลังเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนอย่างมหาศาลซึ่งเหล่านี้ก็จะย้อนกลับไปสู่ต้นทุนค่าไฟแพงที่เรียกเก็บกับประชาชน
***นายกฯบอกอย่ามาตีกันเลย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน ตอนนี้รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไข ขอร้องว่าอย่าเพิ่งมาตีกันเลย ถ้ามัวแต่ฟังว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะสร้างเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคต แต่อีกพวกก็เป็นห่วงว่าอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดตนขอยืนยันว่าถ้าไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรืออีเอชไอเอ ก็ทำไม่ได้ถึงจะประมูลไปแล้ว เพราะการประมูลที่ทำไปนั้นก็เพื่อให้มีการบริการต่อเนื่อง แต่ถ้ามันไม่ผ่าน มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
***ส.อ.ท.ชี้ค้านถ่านหินให้มองเพื่อนบ้าน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การคัดค้านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปัจจุบันต้องการให้ฝ่ายคัดค้าน รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆมีการประเมินผลทั้งบวกและลบในระยะยาวที่เป็นอนาคตเพื่อให้มีมุมมองที่รอบด้านเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญโดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าเพราะหากไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจก็จำเป็นจะต้องใช้พลังงาน
“ เวลานี้ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงถลุงเหล็กมีการคัดค้านมาก ต้องมีการประเมินว่าไทยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดในการผลักดันให้เกิดขึ้น อย่างเหล็กต้นน้ำเราไม่มี เรามีแต่กลางน้ำ ปลายน้ำ ควรมองผลได้เสียในอนาคต เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า ต้องประเมินทั้งบวกและลบมองให้รอบด้านไทยต้องการพัฒนาเศรษฐกิจก็จำเป็นต้องใช้พลังงาน ก็จำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าของไทยเองหรือไม่ อย่างลาว ก็มีทั้งถ่านหิน น้ำ เวียดนามก็กำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว หมดยุคมองเทคโนโลยีไม่ได้คุณภาพเพราะพัฒนาไปไกลแลว ทุกวันนี้ให้ลองมองดูหลายๆ ประเทศเขาก็ต่อสู้แย่งชิงหาแหล่งพลังงานซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศและเศรษฐกิจในอนาคต”นายสุพันธุ์กล่าว
***เครือข่ายปกป้องกระบี่รอดูท่าทีกฟผ.เปิดซองวันนี้
วานนี้ (4 ส.ค.) นายสมนึก กลดเสือ ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จ.กระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะเปิดให้มีการยื่นซองประมูลสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในวันนี้ (5 ส.ค.) ซึ่งในส่วนของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จะไม่การเคลื่อนไหวแต่อย่างใด เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีการทำข้อตกลง ใน 3 ประเด็น แล้วคือ 1.ให้มีการยกเลิกรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือขนถ่านหินบ้านคลองรั้ว
2.หยุดประมูล ทั้ง 2 โครงการโดยไม่มีกำหนด และ 3.ให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาข้อเสนอของเครือข่ายฯซึ่งในเบื้องต้นทาง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบและสั่งให้ระงับโครงการชั่วคราวไว้แล้ว ถึงแม้ว่าทาง กฟผ.จะดำเนินการต่อก็เชื่อว่าจะไม่มีผลทางกฎหมาย และทางกลุ่มเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินในพื้นที่ ก็จะไม่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกันเข้าใจแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ก็จะรอดูท่าทีของ กฟผ.ว่าจะมีการเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป ซึ่งทางเครือข่ายก็พร้อมที่จะคัดค้านหากว่า กฟผ.ยังดื้อที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่