เมื่อเวลา 11.30 น. วานนี้ (3ส.ค.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ "พีมูฟ" นำโดยนายดิเรก กองเงิน ประธานสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เข้ายื่นหนังสือถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยผ่าน นายคณพล ตุ้ยสุวรรณ หัวหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน โดยระบุว่า ร่างดังกล่าวเป็นร่างฉบับรวมศูนย์อำนาจ สร้างความขัดแย้ง แยกวิถีชุมชนออกจากป่า เลิกแก้ไขปัญหาโดยการไล่จับคนจนด้วยกฎหมาย และนโยบายที่ล้าหลัง โดยก่อนหน้าที่จะเข้ายื่นหนังสือ กลุ่มพีมูฟได้จัดพิธีกรรมของชนเผ่า มอแกน มีการเผาพริก เผาเกลือ เผากะปิ และเผาเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อเป็นการสาปแช่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ให้มีผลบังคับใช้
นายดิเรก กล่าวว่า กลุ่มพีมูฟ ยืนยัน พ.ร.บ. ป่าชุมชนดังกล่าว ที่กำลังจะมีการพิจารณามีเนื้อหาที่ผูกขาดการบริหารจัดการ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ ยึดอำนาจบริหารจัดการเป็นของภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกทั้งเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ยังคงวนอยู่กับการรวมศูนย์อำนาจไว้ในระบบราชการ และแยกคนออกจากป่าอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับรัฐ ปัญหาชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาบุกรุกผืนดินบ้านเกิด และที่สำคัญคือ การลิดรอนสิทธิและขัดต่อหลัก สิทธิชุมชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 40 ปี 50 รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 และร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้บัญญัติ และระบุเรื่องสิทธิชุมชนไว้อย่างชัดเจน ทั้งชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ประเพณีวัฒนธรรม จารีตต่างๆ ในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาทรัพยากรของชุมชนตนเอง
"พีมูฟเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ หากยังยึดตามหลักที่กล่าวมา จึงเสนอให้ สปช. ยกเลิกการพิจารณา และถอดถอนร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ออกจากวาระการประชุม ซึ่งทางกลุ่มจะติดตาม และเดินหน้าคัดค้านจนถึงที่สุด และยืนยันเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาชาวบ้านต้องมีส่วนร่วม และอยู่บนความเป็นธรรม โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงสิทธิชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบการจัดการป่าของสังคมไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น" นายดิเรก กล่าว
นายดิเรก กล่าวว่า กลุ่มพีมูฟ ยืนยัน พ.ร.บ. ป่าชุมชนดังกล่าว ที่กำลังจะมีการพิจารณามีเนื้อหาที่ผูกขาดการบริหารจัดการ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ ยึดอำนาจบริหารจัดการเป็นของภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกทั้งเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ยังคงวนอยู่กับการรวมศูนย์อำนาจไว้ในระบบราชการ และแยกคนออกจากป่าอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับรัฐ ปัญหาชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาบุกรุกผืนดินบ้านเกิด และที่สำคัญคือ การลิดรอนสิทธิและขัดต่อหลัก สิทธิชุมชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 40 ปี 50 รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 และร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้บัญญัติ และระบุเรื่องสิทธิชุมชนไว้อย่างชัดเจน ทั้งชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ประเพณีวัฒนธรรม จารีตต่างๆ ในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาทรัพยากรของชุมชนตนเอง
"พีมูฟเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ หากยังยึดตามหลักที่กล่าวมา จึงเสนอให้ สปช. ยกเลิกการพิจารณา และถอดถอนร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ออกจากวาระการประชุม ซึ่งทางกลุ่มจะติดตาม และเดินหน้าคัดค้านจนถึงที่สุด และยืนยันเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาชาวบ้านต้องมีส่วนร่วม และอยู่บนความเป็นธรรม โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงสิทธิชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบการจัดการป่าของสังคมไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น" นายดิเรก กล่าว