นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่า ก่อนจะมาถึงตน มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ที่มีเลขาธิการนายกฯ เป็นประธาน และมีอีกหลายคนที่จะไปช่วยกันยกร่างฯ ปล่อยให้คณะนี้เขาทำงานไป ซึ่งตนจะประสานสปช. ที่จะขอนำทีมไปคุยด้วย แต่ยังนึกรูปแบบไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร เพราะ สปช. มี 250 คน อาจจะคุยกับประธานกรรมาธิการ หรือคุยกับวิป คงยังไม่ลงรายละเอียดอะไรมาก จะบอกเพียงว่า ทำอย่างไรในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ อาจไม่มาก แต่ความจริงเราไม่ได้สนใจว่า สปช. จะพ้นไป สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจะมา ตรงนี้ไม่สำคัญ ต้องการให้ทราบความประสงค์ของรัฐบาล และหาแนวทางที่ สปช. แนะนำมาแล้วตั้งหลักกัน ยังไม่พูดเนื้อหา แต่จะพูดถึงวิธีการที่จะปฏิรูปด้านต่างๆ โดยพยายามเลือกด้านที่สำคัญ และเร่งด่วน สำหรับเวลาจำกัด 2-3 เรื่อง
เมื่อถามว่า เป็นแนวทางให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเดินตามแนวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรายังคิดรูปแบบไม่ออก แต่ตั้งใจอย่างนั้น แต่ก็ต้องเคารพรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เขาอาจกำหนดแนวทางปฏิรูปของเขาเองได้ แต่ทำอย่างไรที่จะมีกรอบไว้ก่อน นึกง่ายๆ เวลาเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนที่เท่าไหร่ รัฐบาลที่เข้ามาก็ปฏิบัติตามแผนนั้น ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทำแผนนั้น และมีโอกาสปรับแผน เราก็จะใช้รูปแบบนั้น อย่าถือว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนกำหนด ก็เหมือนเข้ามาทำตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ต้องถือว่ากรอบการปฏิรูปไม่ใช่กรอบของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เวลาแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ออกมา เราก็ไม่เคยนึกว่าเป็นของรัฐบาลนั้น เพราะมีการรับฟังความเห็นมากจนกระทั่งประเทศเป็นเจ้าของฉันใด การปฏิรูปก็เป็นฉันนั้น
ดังนั้น ที่ประชุมจึงพูดกันว่า ที่มาเป็นของ คสช. มาจากรัฐบาล สปช. และการรับฟังความเห็นตกผลึกแล้ว คล้ายๆ แผนของสภาพัฒน์ฯ ในเรื่องรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างฯได้บอกว่า ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติตามกฎหมายปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสมัยก่อนไม่เคยมีให้ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อมีต้องดึงตัวนี้ออกมาทำให้มันเกิดชัดว่า คืออะไร ซึ่งก็คือแผนความมั่นคง แผนการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และจะไม่ซ้ำซ้อนกับแผนพัฒนาประเทศ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อถามว่า เป็นแนวทางให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเดินตามแนวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรายังคิดรูปแบบไม่ออก แต่ตั้งใจอย่างนั้น แต่ก็ต้องเคารพรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เขาอาจกำหนดแนวทางปฏิรูปของเขาเองได้ แต่ทำอย่างไรที่จะมีกรอบไว้ก่อน นึกง่ายๆ เวลาเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนที่เท่าไหร่ รัฐบาลที่เข้ามาก็ปฏิบัติตามแผนนั้น ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทำแผนนั้น และมีโอกาสปรับแผน เราก็จะใช้รูปแบบนั้น อย่าถือว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนกำหนด ก็เหมือนเข้ามาทำตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ต้องถือว่ากรอบการปฏิรูปไม่ใช่กรอบของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เวลาแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ออกมา เราก็ไม่เคยนึกว่าเป็นของรัฐบาลนั้น เพราะมีการรับฟังความเห็นมากจนกระทั่งประเทศเป็นเจ้าของฉันใด การปฏิรูปก็เป็นฉันนั้น
ดังนั้น ที่ประชุมจึงพูดกันว่า ที่มาเป็นของ คสช. มาจากรัฐบาล สปช. และการรับฟังความเห็นตกผลึกแล้ว คล้ายๆ แผนของสภาพัฒน์ฯ ในเรื่องรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างฯได้บอกว่า ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติตามกฎหมายปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสมัยก่อนไม่เคยมีให้ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อมีต้องดึงตัวนี้ออกมาทำให้มันเกิดชัดว่า คืออะไร ซึ่งก็คือแผนความมั่นคง แผนการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และจะไม่ซ้ำซ้อนกับแผนพัฒนาประเทศ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ