เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย สร้างความฮือฮาครั้งใหญ่ เมื่อมีการเปิดเผยการเดินหน้าโครงการสร้างถนนความยาว 3,200 กิโลเมตร เชื่อมเมืองโมเรห์ ในรัฐมณีปุระของอินเดีย เข้ากับ “อำเภอแม่สอด” ในจังหวัดตากของไทย ชี้หากสร้างเสร็จจะมีผลให้การค้าขายภายในภูมิภาคขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์จากระดับปัจจุบัน
ตามรายงานในวันพุธ (1 ก.ค.) ของหนังสือพิมพ์ “อินเดียน เอ็กซ์เพรสส์” ของอินเดีย สืบเนื่องจากการที่บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, และเนปาล (เรียกย่อๆว่า BBIN ตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อประเทศเหล่านี้ในภาษาอังกฤษ) ได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเชื่อมโยงเครือข่ายถนนในวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปิดกว้างให้มีการลำเลียงขนส่งทั้งผู้โดยสาร บุคลากร และสินค้า ในระหว่าง 4 ประเทศเอเชียใต้เหล่านี้ อันจะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่โตเพิ่มขึ้นมากมายในย่านนี้
เมื่อนำข้อตกลงนี้มาเคียงคู่ประสานไปกับข้อเสนอเร่งรัดงานก่อสร้างทางหลวงความยาว 3,200 กิโลเมตร ระหว่างเมืองโมเรห์ในรัฐมณีปุระทางภาคตะวันออกของอินเดีย ผ่านเมืองมัณฑะเลย์ ของพม่า มาจนถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของไทย (เรียกย่อๆ ว่า ตามอักษรตัวแรกของชื่อ อินเดีย, พม่า, ไทย ว่า IMT) ก็ยิ่งเพิ่มพูนศักยภาพทำให้การค้าภายในภูมิภาคเอเชียใต้ขยายตัวเติบโตไปได้อีกร่วมๆ 60 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว อีกทั้งทำให้การค้าระหว่างเอเชียใต้กับโลกภายนอกพุ่งขึ้นกว่า 30% ทั้งนี้ตามการศึกษาประมาณการของรัฐบาลอินเดีย
สื่ออินเดียระบุว่า นายกรัฐมนตรีโมดี ที่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลแดนภารตะตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ถือเรื่องเครือข่ายถนน BBIN และทางหลวง IMT เป็นเรื่องที่ทรงความสำคัญลำดับต้นๆ อีกทั้งถือเป็น 2 ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของนโยบายการต่างประเทศ “Act East” ของรัฐบาลโมดี ที่พัฒนาต่อยอดมาจากนโยบาย “Look East” ซึ่งเน้นการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศในเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นสมาชิก “กลุ่มอาเซียน”
อินเดียน เอ็กซ์เพรสส์รายงานว่า อินเดีย พม่า และไทยนั้น ได้เห็นพ้องกันที่จะจัดทำข้อตกลงในลักษณะเดียวกับข้อตกลงเชื่อมโยงเครือข่ายถนนของทางเอเชียใต้ โดยที่ได้มีการจัดการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ไปแล้วที่เมืองบังกาลอร์ ของอินเดียในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และสามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับข้อความของร่างข้อตกลงฉบับนี้ด้วย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายอินเดียระบุว่า หากมีการดำเนินการตามข้อตกลงทางหลวง IMT แล้ว ก็จะทำให้อนุภูมิภาคอินเดีย สามารถที่จะเข้าถึงตลาดอาเซียนที่มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง “เครือข่ายเชื่อมโยงถนน อินเดีย-พม่า-ไทย จึงมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ เป็นเครือข่ายที่ออกแบบวางแผนขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในอาเซียนและในภูมิภาคเอเชียใต้” เจ้าหน้าที่ของกระทรวงถนน การขนส่งและทางหลวง (MoRTH) ของอินเดียระบุ
เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอกด้วยว่า ข้อตกลงนี้มีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการได้ในเร็ววันนี้ และเพื่อเป็นหลักหมายแสดงถึงวาระดังกล่าว ก็จะมีการจัดแข่งรถแรลลี่ขึ้นในช่วงก่อนเดือนมีนาคม 2016
รายงานข่าวของสื่ออินเดียระบุว่า ในปัจจุบันการเดินทางจากเมืองอิมผาล เมืองเอกของรัฐมณีปุระของอินเดีย มายังเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า อาจต้องใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน แต่หากถนนสายนี้แล้วเสร็จจะใช้เวลาเหลือเพียง “14 ชั่วโมง” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สื่ออินเดียไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเส้นทางที่ต่อจากมัณฑะเลย์มายังอำเภอแม่สอด
ตามรายงานในวันพุธ (1 ก.ค.) ของหนังสือพิมพ์ “อินเดียน เอ็กซ์เพรสส์” ของอินเดีย สืบเนื่องจากการที่บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, และเนปาล (เรียกย่อๆว่า BBIN ตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อประเทศเหล่านี้ในภาษาอังกฤษ) ได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเชื่อมโยงเครือข่ายถนนในวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปิดกว้างให้มีการลำเลียงขนส่งทั้งผู้โดยสาร บุคลากร และสินค้า ในระหว่าง 4 ประเทศเอเชียใต้เหล่านี้ อันจะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่โตเพิ่มขึ้นมากมายในย่านนี้
เมื่อนำข้อตกลงนี้มาเคียงคู่ประสานไปกับข้อเสนอเร่งรัดงานก่อสร้างทางหลวงความยาว 3,200 กิโลเมตร ระหว่างเมืองโมเรห์ในรัฐมณีปุระทางภาคตะวันออกของอินเดีย ผ่านเมืองมัณฑะเลย์ ของพม่า มาจนถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของไทย (เรียกย่อๆ ว่า ตามอักษรตัวแรกของชื่อ อินเดีย, พม่า, ไทย ว่า IMT) ก็ยิ่งเพิ่มพูนศักยภาพทำให้การค้าภายในภูมิภาคเอเชียใต้ขยายตัวเติบโตไปได้อีกร่วมๆ 60 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว อีกทั้งทำให้การค้าระหว่างเอเชียใต้กับโลกภายนอกพุ่งขึ้นกว่า 30% ทั้งนี้ตามการศึกษาประมาณการของรัฐบาลอินเดีย
สื่ออินเดียระบุว่า นายกรัฐมนตรีโมดี ที่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลแดนภารตะตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ถือเรื่องเครือข่ายถนน BBIN และทางหลวง IMT เป็นเรื่องที่ทรงความสำคัญลำดับต้นๆ อีกทั้งถือเป็น 2 ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของนโยบายการต่างประเทศ “Act East” ของรัฐบาลโมดี ที่พัฒนาต่อยอดมาจากนโยบาย “Look East” ซึ่งเน้นการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศในเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นสมาชิก “กลุ่มอาเซียน”
อินเดียน เอ็กซ์เพรสส์รายงานว่า อินเดีย พม่า และไทยนั้น ได้เห็นพ้องกันที่จะจัดทำข้อตกลงในลักษณะเดียวกับข้อตกลงเชื่อมโยงเครือข่ายถนนของทางเอเชียใต้ โดยที่ได้มีการจัดการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ไปแล้วที่เมืองบังกาลอร์ ของอินเดียในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และสามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับข้อความของร่างข้อตกลงฉบับนี้ด้วย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายอินเดียระบุว่า หากมีการดำเนินการตามข้อตกลงทางหลวง IMT แล้ว ก็จะทำให้อนุภูมิภาคอินเดีย สามารถที่จะเข้าถึงตลาดอาเซียนที่มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง “เครือข่ายเชื่อมโยงถนน อินเดีย-พม่า-ไทย จึงมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ เป็นเครือข่ายที่ออกแบบวางแผนขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในอาเซียนและในภูมิภาคเอเชียใต้” เจ้าหน้าที่ของกระทรวงถนน การขนส่งและทางหลวง (MoRTH) ของอินเดียระบุ
เจ้าหน้าที่ผู้นี้บอกด้วยว่า ข้อตกลงนี้มีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการได้ในเร็ววันนี้ และเพื่อเป็นหลักหมายแสดงถึงวาระดังกล่าว ก็จะมีการจัดแข่งรถแรลลี่ขึ้นในช่วงก่อนเดือนมีนาคม 2016
รายงานข่าวของสื่ออินเดียระบุว่า ในปัจจุบันการเดินทางจากเมืองอิมผาล เมืองเอกของรัฐมณีปุระของอินเดีย มายังเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า อาจต้องใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน แต่หากถนนสายนี้แล้วเสร็จจะใช้เวลาเหลือเพียง “14 ชั่วโมง” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สื่ออินเดียไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเส้นทางที่ต่อจากมัณฑะเลย์มายังอำเภอแม่สอด