พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า ตลอดคืน(16มิ.ย.) ที่ผ่านมา กองทัพบก ยังคงส่งทหารเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนักใน กทม. โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการอำนวยการจราจร ซ่อม และลากจูงรถเสีย พร้อมตรวจสอบพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กองพลที่ 1รักษาพระองค์ และกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 9 ได้เข้าตรวจสอบประตูระบายน้ำร่วมกับเจ้าหน้าที่ กทม.ในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และแจ้งเส้นทางมีฝนตกหนัก และน้ำท่วมขังให้กับประชาชนได้ทราบ
สำหรับการประชุมศูนย์ปฏิบัติ การกองทัพบก เมื่อเช้าวานนี้ (17มิ.ย.)ได้มีการรายงานสถานการณ์การช่วยเหลือประชาชนจากภาวะฝนตกหนักช่วงกลางคืนต่อเนื่องถึงเช้าใน กทม.ด้วย โดยเสนาธิการทหารบก ได้สั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยทหารที่รับผิดชอบดำรงการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ หากมีชุมชนใดที่อยู่ในเส้นทางสายรอง และได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากน้ำท่วมซ้ำซาก ประสบปัญหาในการเดินทาง ให้หน่วยพิจารณาจัดรถรับ-ส่ง อำนวยความสะดวกประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยเป็นเรื่องสำคัญในระดับชาติ ซึ่ง หัวหน้า คสช.มีความห่วงใยในความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มีบัญชาให้ กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกรับผิดชอบการวางแผนบริหารจัดการในภาพรวมของการเตรียมดูแลประชาชนในสถานการณ์อุทกภัย โดยขณะนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบกได้แปรสภาพเป็น "ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาอุทกภัย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (ศอกภ.คสช.) แล้ว มีภารกิจเร่งด่วนในขณะนี้ 2 ลักษณะ คือ การช่วยเหลือตามสถานการณ์ และ การจัดทำแผนการช่วยเหลือประชาชนหากเกิดอุทกภัยขนาดใหญ่ในภาพรวมของ ประเทศ ในลักษณะเดียวกันกับการเกิดอุทกภัยในปี 2554 โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ กระทรวงมหาดไทย กทม. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
นอกจากนี้ กองพลที่ 1รักษาพระองค์ และกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 9 ได้เข้าตรวจสอบประตูระบายน้ำร่วมกับเจ้าหน้าที่ กทม.ในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และแจ้งเส้นทางมีฝนตกหนัก และน้ำท่วมขังให้กับประชาชนได้ทราบ
สำหรับการประชุมศูนย์ปฏิบัติ การกองทัพบก เมื่อเช้าวานนี้ (17มิ.ย.)ได้มีการรายงานสถานการณ์การช่วยเหลือประชาชนจากภาวะฝนตกหนักช่วงกลางคืนต่อเนื่องถึงเช้าใน กทม.ด้วย โดยเสนาธิการทหารบก ได้สั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยทหารที่รับผิดชอบดำรงการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ หากมีชุมชนใดที่อยู่ในเส้นทางสายรอง และได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากน้ำท่วมซ้ำซาก ประสบปัญหาในการเดินทาง ให้หน่วยพิจารณาจัดรถรับ-ส่ง อำนวยความสะดวกประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยเป็นเรื่องสำคัญในระดับชาติ ซึ่ง หัวหน้า คสช.มีความห่วงใยในความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มีบัญชาให้ กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกรับผิดชอบการวางแผนบริหารจัดการในภาพรวมของการเตรียมดูแลประชาชนในสถานการณ์อุทกภัย โดยขณะนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบกได้แปรสภาพเป็น "ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาอุทกภัย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (ศอกภ.คสช.) แล้ว มีภารกิจเร่งด่วนในขณะนี้ 2 ลักษณะ คือ การช่วยเหลือตามสถานการณ์ และ การจัดทำแผนการช่วยเหลือประชาชนหากเกิดอุทกภัยขนาดใหญ่ในภาพรวมของ ประเทศ ในลักษณะเดียวกันกับการเกิดอุทกภัยในปี 2554 โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ กระทรวงมหาดไทย กทม. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์