"เพราะอายุเป็นแค่ตัวเลข อย่าปล่อยให้มันเป็นตัวถ่วงความสามารถของคุณ" ขึ้นต้นมาแบบนี้ แน่นอนว่าต้องมีอะไรเจ๋งๆ มาฝากนักปั่นแน่ๆ เพราะวันนี้ถึงทีทีมข่าวจะงัดกลวิธีเอาใจนักปั่นวัยเก๋าที่อยากขาแรงเหมือนหนุ่มๆ มาบอกกันแล้ว เชื่อเถอะ เดี๋ยวคุณจะรู้ว่า คนสูงวัยนี่แหละ สามารถพัฒนาการขี่ให้ดีขึ้นและเร็วขึ้นได้ ไม่ตกหล่นตามแรงอย่างน่าอัศจรรย์
ก่อนอื่นมาสตาร์ทกันที่ข้อเท็จจริงประการแรกก่อนเลยคือ การมีอายุสูงขึ้นย่อมทำให้ระดับความสามารถของคุณลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ และการขี่จักรยานก็ไม่อาจจะทำให้เรากลายเป็นคนหนุ่มสาวได้ตลอดไปเช่นกัน แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะไม่ว่าใครก็สามารถเรียนรู้ที่จะขี่จักรยานให้ดีขึ้น แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเทคนิค มาดูตัววัดศักยภาพกันก่อนนะ
คุณไปถึงจุดสูงสุดของคุณหรือยัง? และรู้หรือไม่ว่าขีดความสามารถสูงสุดในตัวของคุณ อยู่ที่ไหน
นักกีฬามืออาชีพทั้งหลายมักจะมีการฝึกที่เข้มข้นตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาวต้นๆ และความสามารถด้านการกีฬาจะถึงจุดสูงสุด ที่ราวๆ ช่วงอายุ 22-35 หลังจานั้นความสามารถจะลดลงตามอายุ เหล่านักกีฬาทุกคนจึงได้ผ่านจุดที่เขาสามารถดึงเอาศักยภาพสูงสุดออกมาได้แล้ว และเรียนรู้ได้ว่าศักยภาพของเขาอยู่ในระดับไหน มีมากน้อยเท่าไหร่ แต่สำหรับนักปั่นมือสมัครเล่นอย่างเราๆ ที่เข้ามาสู่วงการปั่นจักรยานเพียงไม่กี่ปี แน่นอนว่าจะไม่มีทางรู่ว่า ศักยภาพสูงสุดอยู่ในระดับใด ดังนั้นคุณยังมีห้องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ปั่นได้ดีขึ้นได้อีก
อะไรเป็นตัววัดว่าศักยภาพลดลงหรือเพิ่มขึ้น
การปั่นจักรยานถือว่าเป็นกีฬาแนวใช้ความอดทน โดยนักกายภาพได้ให้ 3 ปัจจัยหลักๆ ที่ใช้วัด ความอดทนทางศักยภาพไว้ ดังนี้
1. ความสามารถในการใช้ออกซิเจน ซึ่งเราสามารถผลิตพลังงานออกมาได้มากที่สุด ในช่วงการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถวัดค่าได้โดยการใช้ VO2 max หรือเครื่องวัดลมหายใจ
2. การเลี้ยงหรือประคอง ช่วงที่ร่างกายสามารถผลิตพลังงานออกมามากที่สุดในช่วงออกกำลังกาย ได้มากน้อยนานเท่าไร
3. ค่าประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของร่างกาย ตามความสัมพันธ์ของข้อที่หนึ่งและสอง นอกจากนี้การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ศักยภาพลดขีดจำกัดลงด้วย เพราะเมื่อแก่ตัวไป การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมวลกล้ามเนื้อที่หายมากก็มักจะเป็นประเภทที่ใช้ในการเคลื่อนไหวเร็วๆ หรือใช้ในการระเบิดสปินซ์ และนี่ คือสาเหตุว่าทำไมการตอบสนองของคนสูงวัยจึงช้าลง แต่สำหรับผู้ที่มีการฝึกซ่อมอย่างต่อเนื่อง อัตราการสูญเสียจะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย
มาดูแนวทางการฝึกซ่อมกันบ้างดีกว่า
1. พยายามรักษาระดับการหายใจ เพราะอัตราการหายใจของผู้ปั่น สามารถใช้บอกระดับความสามารถในการปั่นของเราได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาระดับการหายใจสูงสุดไว้ กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าเราเหนื่อยง่าย ก็ยิ่งต้องฝึกฝนให้ปอดของเราทนต่อภาวะความเหนื่อยหอบได้ ด้วยวิธีการฝึกแบบ “ถ้าปั่นในระยะไกล ควรมี 2-5 นาที ที่จะเร่งการปั่นให้ตัวเองรู้สึกหอบ เพื่อการกระตุ้นให้ร่างกายมีระดับความทนทานที่สูงขึ้น ควรทำแบบนี้บ่อยๆ
2. Strength training หรือการออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้อ เพื่อลดอัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อการฝึกกล้ามเนื้อจึงขาดไม่ได้ แนะนำให้ทำอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากจะช่วยในการเสริมสร้างและรักษากล้ามเนื้อแล้วยังช่วยในการรักษาระดับความหนาแน่นให้กระดูกด้วย เช่น สปริงยืด ยกดัมเบล เป็นต้น
3. Recovery พักผ่อน ฟื้นฟู การพักพื้นร่างกายก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการฝึกด้วย อาจจะทำได้ยากด้วยซ้ำสำหรับใครที่เสพติกการออกกำลังกายหนักๆ มิใช้เอาแต่ฝึกออกแรงเอาเหงื่ออย่างเดียว เพราะร่างกายต้องการเวลาในการซ่อมแซมและสร้างกล้ามเนื้อมาแทนที่ การพักพื้นยังช่วยรักษาระดับฮอร์โมนในสมดุลด้วย ผู้ที่มีอายุมากขึ้นต้องรู้จักฝึกหรือ Train smart ต้องบาลานซ์ทั้งเรื่องงาน การฝึก การกิน และการนอนหลับผักผ่อน
4. เลือกงานแข่ง ในเรื่องความเร็วเราไม่อาจจะแข่งกับเหล่าหนุ่มสาววัยรุ่นได้ แต่ในเรื่องความอึดไม่แน่นะ ถึงแม้ระดับความฟิตจะลดลงแต่ในเรื่องการรักษาความอึดให้คงเส้นคงวา และประสบการณ์ ถือว่ายังได้เปรียบ ดังนั้นลองเลือกงานแข่งที่ระยะทางไกลเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบในการแข่งกับวัยรุ่น ที่สำคัญคือ การเลือกงานแข่ง ระยะทางใกล้-ไกลต้องให้สัมพันธ์กับระดับการฝึก และประสบการณ์ของเราด้วย เพราะในปัจจุบันงานแข่งในระยะต่างๆ ได้มีการแบ่งกลุ่มอายุ เพื่อช่วยเพิ่มความสนุกในการแข่งขันให้มากขึ้น
5. Body composition คือส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ประกอบด้วย มวลกระดูก มวลไขมัน กล้ามเนื้อและน้ำเป็นต้น การดูเพียงน้ำหนักไม่อาจวิเคราะห์ถึงสุขภาพโดยรวมได้ บางทีการมีน้ำหนักมากอาจเป็นเพราะมีมวลกล้ามเนื้อเยอะ มิใช่มวลไขมันเยอะ ซึ่งการรักษาระดับมวลรวมร่างกายให้สมดุล จะช่วยในการรักษาระดับฟิเนสและสุขภาพให้คงที่ ช่วยให้คุณดึงศักยภาพได้ดี และคงที่มากขึ้น เริ่มต้นซะวันนี้ด้วยการควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ
บอกอย่างนี้ หลายคนอาจจะยังไม่เชื่อ เพราะงั้นตามมาดูนักปั่นมือโปรวัยเก๋าระดับพระกาฬกัน
ที่มา : Cyclingweekly.co.uk