นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 4 มิ.ย.นี้ จะมีการสัมมนาร่วมกันระหว่าง สนช.-สปช. และครม. โดยมีวัถตุประสงค์เพื่อให้รัฐบาลได้แถลงในเรื่องต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมา ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาร่วมสัมมนาด้วยตนเอง โดยจะมีการเปิดให้สมาชิกได้สอบถามรัฐบาล หรือว่ารัฐบาลจะสอบถามสปช. หรือ สนช.ด้วย เพื่อให้การทำงานของแม่น้ำทั้ง 3 สาย ทำงานเป็นไปแนวทางเดียวกัน ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ ถือว่าไม่เป็นทางการ จึงไม่มีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ใดๆ แต่ก็ต้องมาดูเรื่องที่จะพูด หรือดูประเด็นที่ต้องมาแลกเปลี่ยนกัน
ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว คงไม่เกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่คงจะมีการสอบถามการทำงานของ สปช. และ สนช. มากกว่า
นายพรเพชร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ทาง สนช.ได้รับสำนวนถอดถอน อดีต 248 ส.ส. จากสำนวนถอดถอนกรณีที่กระทำความผิดรัฐธรรมนูญตาม 2550 เนื่องจากร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ตนได้มีคำสั่งให้รับสำนวนดังกล่าวไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้เปิดประชุมเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. จะต้องมีการส่งสำนวนคำร้องของ ป.ป.ช.ให้กับ สมาชิก สนช. และผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 248 คน รับทราบภายใน 15 วัน ก่อนเปิดประชุม ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว
สำหรับการพิจารณาในคดีดังกล่าว คาดว่าจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3-4 กลุ่ม อาทิ กลุ่มร่วมลงชื่อเสนอญัตติของแก้ไข กลุ่มลงมติในแต่ละวาระ หรือกลุ่มที่ลงชื่อ และลงมติทั้ง 3 วาระ เป็นต้น ซึ่งการต่อสู้ของ 248 คน จะใช้วิธีต่อสู้แบบเป็นกลุ่ม หรือจะต่อสู้แบบรายบุคคลก็ได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้ เพราะถือว่าเป็นสิทธิ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมด จะคล้ายกับสำนวนถอดถอนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว คงไม่เกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่คงจะมีการสอบถามการทำงานของ สปช. และ สนช. มากกว่า
นายพรเพชร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ทาง สนช.ได้รับสำนวนถอดถอน อดีต 248 ส.ส. จากสำนวนถอดถอนกรณีที่กระทำความผิดรัฐธรรมนูญตาม 2550 เนื่องจากร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ตนได้มีคำสั่งให้รับสำนวนดังกล่าวไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้เปิดประชุมเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. จะต้องมีการส่งสำนวนคำร้องของ ป.ป.ช.ให้กับ สมาชิก สนช. และผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 248 คน รับทราบภายใน 15 วัน ก่อนเปิดประชุม ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว
สำหรับการพิจารณาในคดีดังกล่าว คาดว่าจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3-4 กลุ่ม อาทิ กลุ่มร่วมลงชื่อเสนอญัตติของแก้ไข กลุ่มลงมติในแต่ละวาระ หรือกลุ่มที่ลงชื่อ และลงมติทั้ง 3 วาระ เป็นต้น ซึ่งการต่อสู้ของ 248 คน จะใช้วิธีต่อสู้แบบเป็นกลุ่ม หรือจะต่อสู้แบบรายบุคคลก็ได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้ เพราะถือว่าเป็นสิทธิ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมด จะคล้ายกับสำนวนถอดถอนที่ผ่านมา