ครม.ไฟเขียวสหรัฐฯใช้อู่ตะเภาเป็นสนามบินต่อระยะปฏิบัติการบรรเทาพิบัติภัยไทย-สหรัฐฯ เพื่อเนปาล 8-31 พ.ค. หน.ศูนย์ฯ ชี้ เครื่องบินลำเลียงสหรัฐฯ แวะเติมน้ำมัน-รอการประสานการบินจากเนปาล บินขึ้นลงวันละ 8-9 เที่ยวบิน ต่อวัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้สหรัฐอเมริกา สามารถใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อใช้เป็นสนามบินต่อระยะ ในการลำเลียงบรรทุกเครื่องอุปโภค บริโภค ช่วยเหลือชาวเนปาล จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวเนปาลได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อาคารสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 2.8 ล้านคน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในประเทศเนปาลโดยทางรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆอย่างทันท่วงที ในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย ได้จัดส่งกำลังพลลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการแพทย์ การฟื้นฟู การเยียวยา
สำหรับการอนุมัติให้ทางสหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และการสนับสนุนภาคพื้น เพื่อเป็นสนามบินต่อระยะในการปฏิบัติภารกิจเพื่อมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติที่ประเทศเนปาล พร้อมกับให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ไทย-สหรัฐฯ เพื่อเนปาล (Thai-US HADR Combined Coordination Center for Nepal ) ขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ระหว่างวันที่ 8-31 พ.ค. ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวมีหน้าที่ประสานและกำกับดูแลการปฏิบัติของฝ่ายสหรัฐฯ ให้เป็นไปตามข้อตกลง มีกำลังพลปฏิบัติงานร่วมกันฝ่ายละประมาณ 10 นาย ในส่วนขอฝ่ายไทยจัดกำลังพลจากกองบัญชาการกองทัพไทย (บก.สส.) กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) กองบัญชาการกองทัพเรื่อ (บก.ทร.) และกองบัญชาการกองทัพอากาศ ( บก.ทอ.) ไปร่วมกันปฏิบัติงาน โดยมีพล.ร.ต.ไกรศรี เกษร รองเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ
ด้าน พล.ร.ต.ไกรศรี กล่าวว่า ภารกิจที่ตนได้รับมอบหมายคือเป็นหัวหน้าศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติไทย-สหรัฐฯ เพื่อเนปาล ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมาโดยมีเครื่องบินลำเลียงของสหรัฐฯ มาลงวันละ 8-9 เที่ยวบินต่อวัน วัตถุประสงค์ที่ทางสหรัฐฯมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา คือการเติมน้ำมันเครื่องบินลำเลียง และเพื่อรอการประสานงานการบินจากประเทศเนปาล เนื่องจากการจราจรทางอากาศในประเทศเนปาลหนาแน่นมากไม่สามารถที่จะลงจอดได้ตามเวลาที่เครื่องบินบินไปถึงได้.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้สหรัฐอเมริกา สามารถใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อใช้เป็นสนามบินต่อระยะ ในการลำเลียงบรรทุกเครื่องอุปโภค บริโภค ช่วยเหลือชาวเนปาล จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวเนปาลได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อาคารสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 2.8 ล้านคน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในประเทศเนปาลโดยทางรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆอย่างทันท่วงที ในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย ได้จัดส่งกำลังพลลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการแพทย์ การฟื้นฟู การเยียวยา
สำหรับการอนุมัติให้ทางสหรัฐฯ ใช้สนามบินอู่ตะเภาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และการสนับสนุนภาคพื้น เพื่อเป็นสนามบินต่อระยะในการปฏิบัติภารกิจเพื่อมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติที่ประเทศเนปาล พร้อมกับให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ไทย-สหรัฐฯ เพื่อเนปาล (Thai-US HADR Combined Coordination Center for Nepal ) ขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ระหว่างวันที่ 8-31 พ.ค. ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวมีหน้าที่ประสานและกำกับดูแลการปฏิบัติของฝ่ายสหรัฐฯ ให้เป็นไปตามข้อตกลง มีกำลังพลปฏิบัติงานร่วมกันฝ่ายละประมาณ 10 นาย ในส่วนขอฝ่ายไทยจัดกำลังพลจากกองบัญชาการกองทัพไทย (บก.สส.) กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) กองบัญชาการกองทัพเรื่อ (บก.ทร.) และกองบัญชาการกองทัพอากาศ ( บก.ทอ.) ไปร่วมกันปฏิบัติงาน โดยมีพล.ร.ต.ไกรศรี เกษร รองเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ
ด้าน พล.ร.ต.ไกรศรี กล่าวว่า ภารกิจที่ตนได้รับมอบหมายคือเป็นหัวหน้าศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติไทย-สหรัฐฯ เพื่อเนปาล ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมาโดยมีเครื่องบินลำเลียงของสหรัฐฯ มาลงวันละ 8-9 เที่ยวบินต่อวัน วัตถุประสงค์ที่ทางสหรัฐฯมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา คือการเติมน้ำมันเครื่องบินลำเลียง และเพื่อรอการประสานงานการบินจากประเทศเนปาล เนื่องจากการจราจรทางอากาศในประเทศเนปาลหนาแน่นมากไม่สามารถที่จะลงจอดได้ตามเวลาที่เครื่องบินบินไปถึงได้.