ASTVผู้จัดการรายวัน - “ไทยเบฟ” โชว์รายได้ปี 57 ทะลุ 1.6 แสนล้านบาทจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กว่า 85% เร่งเครื่องแผนงานวิสัยทัศน์ 2020 เพิ่มสัดส่วนรายได้เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 50% พร้อมรายได้รวม 3 แสนล้านบาท เตรียมส่งชาเขียวบุกเมืองลอดช่องผ่านเครือข่าย F&N แย้มไต๋พร้อมซื้อกิจการที่มีอนาคตและลงทุนใหม่ทุกจังหวะ โดยเฉพาะ “ไวน์” และ “น้ำแร่ธรรมชาติ”
นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ “กลุ่มไทยเบฟ” ได้ซื้อหุ้นจำนวน 28% ใน บริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (F&N) ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีความโดดเด่นทั้งผลิตภัณฑ์และการกระจายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน เมื่อปี 2555 ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยผลักดันให้สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นและมีมูลค่าตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ คิดเป็นจำนวนเงิน 19,209 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ณ วันที่ 31 มี.ค.58) ในปี 2557 “กลุ่มไทยเบฟ” มีรายได้รวม 162,040 ล้านบาท กำไรสุทธิ 21,433 ล้านบาท คิดเป็นรายได้จากการจำหน่ายในประเทศ 96% และต่างประเทศ 4% (กลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 1.2-1.5%) แบ่งเป็นรายได้จาก 4 สายธุรกิจคือ สุรา 64.6% เบียร์ 21.7% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 9.7% และอาหาร 4%
“ปัจจุบัน กลุ่มไทยเบฟ ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ชั้นนำรายหนึ่งของเอเชีย ทั้งยังมีศักยภาพครบทั้งด้านเงินลงทุน การบริหารธุรกิจ การกระจายสินค้า และอื่นๆ จึงมีความพร้อมที่จะขยายการลงทุนด้านการผลิต หรือแม้แต่การซื้อและควบรวมกิจการอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีโอกาสและอนาคต เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และความหลากหลายของสินค้า โดยขณะนี้กำลังเริ่มให้ความสนใจและศึกษาตลาดเครื่องดื่มประเภทไวน์และน้ำแร่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มประเภทสินค้าในพอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ” นายวิเชฐ กล่าวเสริม
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตลาดไวน์ของประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงกว่า 10% ด้วยมูลค่าสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณเกือบ 10 ล้านลิตรต่อปี เนื่องจากมีความหลากหลายในด้านผลิตภัณฑ์และราคา อีกทั้งยังไม่มีผู้นำตลาดที่ชัดเจน ประกอบกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะผู้หญิงหันมาดื่มไวน์มากขึ้น ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะไวน์ราคาถูกและราคาปานกลางตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ส่วน ตลาดน้ำแร่ธรรมชาติของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 18% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับน้ำดื่มธรรมดาพบว่ามีอัตราเติบโตต่ำกว่าถึง 5%
นายวิเชฐ กล่าวอีกว่า จากการกำหนดวิสัยทัศน์ 2020 ของ “กลุ่มไทยเบฟ” เมื่อปลายปี 2557 มีการตั้งเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ให้มีสัดส่วน 50% พร้อมเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็น 50% โดยจะให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนเป็นหลัก พร้อมกำหนดกลยุทธ์หลัก 5 ด้านคือการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ, ความหลากหลายของตลาดและผลิตภัณฑ์, ตราสินค้าที่โดดเด่น, การขายและการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง, และความเป็นมืออาชีพในการบริหารงาน
ตามวิสัยทัศน์ 2020 มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วงคือ ระยะแรกในปี 2558-2560 จะเน้นกลยุทธ์การจัดการด้านการกระจายสินค้าให้ครบทุกผลิตภัณฑ์และครอบคลุมทุกพื้นที่ ก่อนที่จะเป็นผู้นำตลาดในทุกผลิตภัณฑ์ภายในปี 2561-2563 พร้อมมีรายได้ขั้นต่ำ 3 แสนล้านบาท โดยในส่วนของสุราเน้นตลาดหลักคือไทย รองลงมาคือฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า ส่วนเบียร์เน้นตลาดหลักคือไทยและสิงคโปร์ ตลาดรองคือ พม่าและกัมพูชา ขณะที่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เน้นตลาดหลักคือไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนตลาดรองคือพม่า ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
“ปัจจุบันบริษัทฯ กำลังเร่งดำเนินงานด้านการตลาดเพื่อสร้างความชัดเจนให้ทุกๆ ผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเทศ เพื่อนำผลตอบรับของผู้บริโภคมากำหนดยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในการแข่งขัน โดยเฉพาะในส่วนของชาเขียวซึ่งถือว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงที่สุดจนอาจกล่าวว่าเป็นสงครามมวลชนที่จำเป็นต้องมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากที่ทำตลาดประเทศลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซียแล้ว จะเริ่มทำตลาดสิงคโปร์อย่างจริงจังผ่านเครือข่ายของ F&N ภายในปี 2558”
นายวิเชฐ กล่าวในตอนท้ายว่า บริษัทฯ มีนโยบายการทำตลาดในลักษณะ “เมืองล้อมป่า” ด้วยการใช้ประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เนื่องจากมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการผลิตซึ่งปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 31 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานผลิตสุรา 18 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 10 แห่ง ทั้งยังถือว่ามีระบบลอจิสติกส์และกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทยด้วยจำนวนจุดขายทั่วประเทศกว่า 4 แสนแห่ง พร้อมรถขนส่งสินค้ากว่า 7 พันคัน และตู้แช่เย็นมากกว่า 1 แสนตู้
นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ “กลุ่มไทยเบฟ” ได้ซื้อหุ้นจำนวน 28% ใน บริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (F&N) ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีความโดดเด่นทั้งผลิตภัณฑ์และการกระจายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน เมื่อปี 2555 ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยผลักดันให้สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นและมีมูลค่าตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ คิดเป็นจำนวนเงิน 19,209 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ณ วันที่ 31 มี.ค.58) ในปี 2557 “กลุ่มไทยเบฟ” มีรายได้รวม 162,040 ล้านบาท กำไรสุทธิ 21,433 ล้านบาท คิดเป็นรายได้จากการจำหน่ายในประเทศ 96% และต่างประเทศ 4% (กลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 1.2-1.5%) แบ่งเป็นรายได้จาก 4 สายธุรกิจคือ สุรา 64.6% เบียร์ 21.7% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 9.7% และอาหาร 4%
“ปัจจุบัน กลุ่มไทยเบฟ ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ชั้นนำรายหนึ่งของเอเชีย ทั้งยังมีศักยภาพครบทั้งด้านเงินลงทุน การบริหารธุรกิจ การกระจายสินค้า และอื่นๆ จึงมีความพร้อมที่จะขยายการลงทุนด้านการผลิต หรือแม้แต่การซื้อและควบรวมกิจการอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีโอกาสและอนาคต เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และความหลากหลายของสินค้า โดยขณะนี้กำลังเริ่มให้ความสนใจและศึกษาตลาดเครื่องดื่มประเภทไวน์และน้ำแร่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มประเภทสินค้าในพอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ” นายวิเชฐ กล่าวเสริม
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตลาดไวน์ของประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงกว่า 10% ด้วยมูลค่าสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณเกือบ 10 ล้านลิตรต่อปี เนื่องจากมีความหลากหลายในด้านผลิตภัณฑ์และราคา อีกทั้งยังไม่มีผู้นำตลาดที่ชัดเจน ประกอบกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะผู้หญิงหันมาดื่มไวน์มากขึ้น ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะไวน์ราคาถูกและราคาปานกลางตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ส่วน ตลาดน้ำแร่ธรรมชาติของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 18% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับน้ำดื่มธรรมดาพบว่ามีอัตราเติบโตต่ำกว่าถึง 5%
นายวิเชฐ กล่าวอีกว่า จากการกำหนดวิสัยทัศน์ 2020 ของ “กลุ่มไทยเบฟ” เมื่อปลายปี 2557 มีการตั้งเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ให้มีสัดส่วน 50% พร้อมเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็น 50% โดยจะให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนเป็นหลัก พร้อมกำหนดกลยุทธ์หลัก 5 ด้านคือการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ, ความหลากหลายของตลาดและผลิตภัณฑ์, ตราสินค้าที่โดดเด่น, การขายและการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง, และความเป็นมืออาชีพในการบริหารงาน
ตามวิสัยทัศน์ 2020 มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วงคือ ระยะแรกในปี 2558-2560 จะเน้นกลยุทธ์การจัดการด้านการกระจายสินค้าให้ครบทุกผลิตภัณฑ์และครอบคลุมทุกพื้นที่ ก่อนที่จะเป็นผู้นำตลาดในทุกผลิตภัณฑ์ภายในปี 2561-2563 พร้อมมีรายได้ขั้นต่ำ 3 แสนล้านบาท โดยในส่วนของสุราเน้นตลาดหลักคือไทย รองลงมาคือฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า ส่วนเบียร์เน้นตลาดหลักคือไทยและสิงคโปร์ ตลาดรองคือ พม่าและกัมพูชา ขณะที่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เน้นตลาดหลักคือไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนตลาดรองคือพม่า ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
“ปัจจุบันบริษัทฯ กำลังเร่งดำเนินงานด้านการตลาดเพื่อสร้างความชัดเจนให้ทุกๆ ผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเทศ เพื่อนำผลตอบรับของผู้บริโภคมากำหนดยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในการแข่งขัน โดยเฉพาะในส่วนของชาเขียวซึ่งถือว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงที่สุดจนอาจกล่าวว่าเป็นสงครามมวลชนที่จำเป็นต้องมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากที่ทำตลาดประเทศลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซียแล้ว จะเริ่มทำตลาดสิงคโปร์อย่างจริงจังผ่านเครือข่ายของ F&N ภายในปี 2558”
นายวิเชฐ กล่าวในตอนท้ายว่า บริษัทฯ มีนโยบายการทำตลาดในลักษณะ “เมืองล้อมป่า” ด้วยการใช้ประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เนื่องจากมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการผลิตซึ่งปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 31 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานผลิตสุรา 18 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 10 แห่ง ทั้งยังถือว่ามีระบบลอจิสติกส์และกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทยด้วยจำนวนจุดขายทั่วประเทศกว่า 4 แสนแห่ง พร้อมรถขนส่งสินค้ากว่า 7 พันคัน และตู้แช่เย็นมากกว่า 1 แสนตู้