นายกฯมอบ รมช.กลาโหม ลงพื้นที่จ.สงขลา เร่งรัดจัดการขบวนการค้ามนุษย์โรฮิงญา พร้อมกำชับทหารดูแลพยานที่รอดอย่างใกล้ชิด หวังเด็ดทั้งขบวนการ วอนประชาชนร่วมมือรัฐบาลกำจัดคนชั่วให้หมดจากแผ่นดิน ขณะที่ทูตอียูชื่นชมไทย เดินถูกทาง แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย เผยผู้บริหารระดับสูงของอียู จะเดินทางมาดูความคืบหน้าในการแก้ปัญหา 20-22 พ.ค.นี้
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์ การพบศพชาวโรฮิงญา ถูกฝังที่ชายแดนอย่างใกล้ชิด โดยท่านนายกฯ ได้มีบัญชามอบให้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ในวันนี้ (4พ.ค.) เพื่อติดตามความคืบหน้า และคลี่คลายคดี รวมทั้งเร่งระดมทุกหน่วยลงปฏิบัติหน้าที่ และทำงานด้านการข่าว เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นจากประเทศไทย
"ท่านนายกให้นโยบายว่า บุคคลใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ จะต้องได้รับการลงโทษอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะตำแหน่งใด และแรงงานที่ตกอยู่ในขบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นชนเชื้อชาติใด จากถิ่นฐานไหน เมื่อเข้ามาตกระกำลำบากบนแผ่นดินไทย รัฐบาลมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลทุกชีวิต ตามหลักมนุษยธรรม"
พล.ต.สรรเสริญกล่าวต่อว่า การที่ขบวนการนี้ สามารถนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาได้เป็นจำนวนมาก และกระทำการท้าทายกฎหมายอย่างอุกอาจเช่นนี้ เป็นไปได้สูงที่จะมีเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีอำนาจรวมถึงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันด้วย ซึ่งท่านนายกฯได้สั่งการเด็ดขาด ไปยังหน่วยปฏิบัติแล้วว่า ต้องดำเนินการโดยไม่ละเว้นแม้แต่รายเดียว
"สำหรับชาวโรฮิงญา อีกหนึ่งคนที่รอดชีวิต ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดูแลใกล้ชิด เพราะเชื่อว่าจะเป็นพยานปากสำคัญในการสาวไปถึงขบวนการทั้งหมด ทั้งนี้ ท่านนายกฯ ได้กำชับให้หน่วยทหารได้เข้าสนธิกำลังกัน ดูแลอารักขาเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และยังขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกคน ที่มีเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ได้โปรดร่วมมือกับรัฐบาลชุดนี้ ให้ข้อมูล ให้เบาะแส เพื่อร่วมกันจำกัดขบวนการทุจริต อำมหิตและเลือดเย็นเหล่านี้ให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดแล้ว รัฐบาลพร้อมเดินหน้าทุกรูปแบบ และหากจำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ร่วมด้วย ก็จะไม่ลังเลทั้งสิ้น หากประชาชนร่วมมือเคียงรัฐ มั่นใจว่าเราจะลุล่วงได้เร็วยิ่งขึ้น" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
***ทูตอียูชื่นชมประมงไทยเดินถูกทาง
วานนี้ (3 พ.ค.) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรมประมงได้รายงานว่า ในวันที่ 10-22 พ.ค.นี้ คณะทำงานของอียู จะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อดูความคืบหน้าและให้คำแนะนำกรณีการแก้ปัญหาประมงไอยูยู ก่อนที่ผู้บริหารระดับสูงจะมาติดตามความคืบหน้าในวันที่ 20-22 พ.ค.นี้ ซึ่งการที่ทูตอียูได้ชื่นชมการแก้ปัญหาของไทย เป็นการสะท้อนว่า ไทยเดินมาถูกทาง ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการแก้ไขปัญหาภาคประมงของไทย
สำหรับมาตรการที่ไทยดำเนินการแก้ปัญหาประมงไอยูยูไปแล้วได้แก่ การแก้ไข พ.ร.บ.ประมงใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อีก 2 เดือน ต่อจากนี้ และมีการออกกฎหมายลูก และกฎกระทรวง อุดช่องว่างในกฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติม อีกทั้ง มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือหรือ VMS ในเรือประมงขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป และการตั้งศูนย์แจ้งการเข้าออกของเรือประมง หรือ port in port out ซึ่งนำร่องไปแล้วใน 4 จังหวัดและ จะดำเนินการให้ครบ 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค นี้
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า จะเสนอ "แผนชาติ" ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมายในประเทศไทย เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ โดยจะนำความเห็นของคณะทำงานอียู ซึ่งจะเข้ามาติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาในประเทศไทยในสัปดาห์หน้ารวมไว้ด้วย เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยต่ออียู และนานาชาติ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ส่วนแผนปฏิบัติการที่จะต้องแสดงต่ออียูเพิ่มเติมนั้น จะครอบคลุมวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนชาติดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการดำเนินการเรื่องต่างๆ ก่อนหน้านี้ อาทิ การตั้งศูนย์ควบคุมการเข้าออกของเรือประมง และการติดอุปกรณ์ติดตามเรือ หรือ VMS นอกจากนี้ จะต้องเร่งออกกม.ลูก เพื่ออุดช่องโหว่ของ พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ เพื่อให้ทันกำหนดใน 2 เดือน.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์ การพบศพชาวโรฮิงญา ถูกฝังที่ชายแดนอย่างใกล้ชิด โดยท่านนายกฯ ได้มีบัญชามอบให้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ในวันนี้ (4พ.ค.) เพื่อติดตามความคืบหน้า และคลี่คลายคดี รวมทั้งเร่งระดมทุกหน่วยลงปฏิบัติหน้าที่ และทำงานด้านการข่าว เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นจากประเทศไทย
"ท่านนายกให้นโยบายว่า บุคคลใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ จะต้องได้รับการลงโทษอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะตำแหน่งใด และแรงงานที่ตกอยู่ในขบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นชนเชื้อชาติใด จากถิ่นฐานไหน เมื่อเข้ามาตกระกำลำบากบนแผ่นดินไทย รัฐบาลมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลทุกชีวิต ตามหลักมนุษยธรรม"
พล.ต.สรรเสริญกล่าวต่อว่า การที่ขบวนการนี้ สามารถนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาได้เป็นจำนวนมาก และกระทำการท้าทายกฎหมายอย่างอุกอาจเช่นนี้ เป็นไปได้สูงที่จะมีเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีอำนาจรวมถึงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันด้วย ซึ่งท่านนายกฯได้สั่งการเด็ดขาด ไปยังหน่วยปฏิบัติแล้วว่า ต้องดำเนินการโดยไม่ละเว้นแม้แต่รายเดียว
"สำหรับชาวโรฮิงญา อีกหนึ่งคนที่รอดชีวิต ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดูแลใกล้ชิด เพราะเชื่อว่าจะเป็นพยานปากสำคัญในการสาวไปถึงขบวนการทั้งหมด ทั้งนี้ ท่านนายกฯ ได้กำชับให้หน่วยทหารได้เข้าสนธิกำลังกัน ดูแลอารักขาเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และยังขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกคน ที่มีเบาะแส หรือ พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ได้โปรดร่วมมือกับรัฐบาลชุดนี้ ให้ข้อมูล ให้เบาะแส เพื่อร่วมกันจำกัดขบวนการทุจริต อำมหิตและเลือดเย็นเหล่านี้ให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดแล้ว รัฐบาลพร้อมเดินหน้าทุกรูปแบบ และหากจำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ร่วมด้วย ก็จะไม่ลังเลทั้งสิ้น หากประชาชนร่วมมือเคียงรัฐ มั่นใจว่าเราจะลุล่วงได้เร็วยิ่งขึ้น" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
***ทูตอียูชื่นชมประมงไทยเดินถูกทาง
วานนี้ (3 พ.ค.) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรมประมงได้รายงานว่า ในวันที่ 10-22 พ.ค.นี้ คณะทำงานของอียู จะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อดูความคืบหน้าและให้คำแนะนำกรณีการแก้ปัญหาประมงไอยูยู ก่อนที่ผู้บริหารระดับสูงจะมาติดตามความคืบหน้าในวันที่ 20-22 พ.ค.นี้ ซึ่งการที่ทูตอียูได้ชื่นชมการแก้ปัญหาของไทย เป็นการสะท้อนว่า ไทยเดินมาถูกทาง ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการแก้ไขปัญหาภาคประมงของไทย
สำหรับมาตรการที่ไทยดำเนินการแก้ปัญหาประมงไอยูยูไปแล้วได้แก่ การแก้ไข พ.ร.บ.ประมงใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อีก 2 เดือน ต่อจากนี้ และมีการออกกฎหมายลูก และกฎกระทรวง อุดช่องว่างในกฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติม อีกทั้ง มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือหรือ VMS ในเรือประมงขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป และการตั้งศูนย์แจ้งการเข้าออกของเรือประมง หรือ port in port out ซึ่งนำร่องไปแล้วใน 4 จังหวัดและ จะดำเนินการให้ครบ 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค นี้
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า จะเสนอ "แผนชาติ" ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมายในประเทศไทย เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ โดยจะนำความเห็นของคณะทำงานอียู ซึ่งจะเข้ามาติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาในประเทศไทยในสัปดาห์หน้ารวมไว้ด้วย เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของประเทศไทยต่ออียู และนานาชาติ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ส่วนแผนปฏิบัติการที่จะต้องแสดงต่ออียูเพิ่มเติมนั้น จะครอบคลุมวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนชาติดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการดำเนินการเรื่องต่างๆ ก่อนหน้านี้ อาทิ การตั้งศูนย์ควบคุมการเข้าออกของเรือประมง และการติดอุปกรณ์ติดตามเรือ หรือ VMS นอกจากนี้ จะต้องเร่งออกกม.ลูก เพื่ออุดช่องโหว่ของ พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ เพื่อให้ทันกำหนดใน 2 เดือน.