เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (9เม.ย.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับ นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าศูนย์บริการประชาชน เป็นตัวแทนรับเรื่องข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล ปี 58 และขอความคืบหน้าต่อมาตราการแก้ปัญหาของรัฐ ในข้อเรียกร้องดังกล่าว ในวันที่ 1 พ.ค. 58
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานในครั้งนี้ มี 4 ประการดังนี้ 1. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วย เสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วย การปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นเกราะป้องกันไม่ให้คนงานถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากรัฐบาล ยังไม่มีกลไกที่ดีพอในการแก้ปัญหา ซึ่งการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จึงเป็นส่วนช่วยให้รัฐแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน
2 . รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วย การพัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการขยายงาน อีกทั้งต้องยุติการแทรกแซงการบริหารงาน และปรับโครงสร้างการบริหารงายใหม่ ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
3. รัฐต้องวางมาตราการเข้มต่อการละเมิดสิทธิแรงงาน การคุกคาม และการเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน กรณีที่นายจ้างของสถานประกอบการบางแห่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
4. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน ซึ่งรัฐต้องทบทวน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย.54 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี 2557 และปี 2558 ทั้งนี้จะปรับโครงสร้างค่าจ้างของแรงงานทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยค่าจ้างที่ควรได้รับคือวันละ 360 บาท อีกทั้งรัฐต้องยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดด้วย
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานในครั้งนี้ มี 4 ประการดังนี้ 1. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วย เสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วย การปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นเกราะป้องกันไม่ให้คนงานถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากรัฐบาล ยังไม่มีกลไกที่ดีพอในการแก้ปัญหา ซึ่งการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ จึงเป็นส่วนช่วยให้รัฐแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน
2 . รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วย การพัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการขยายงาน อีกทั้งต้องยุติการแทรกแซงการบริหารงาน และปรับโครงสร้างการบริหารงายใหม่ ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
3. รัฐต้องวางมาตราการเข้มต่อการละเมิดสิทธิแรงงาน การคุกคาม และการเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน กรณีที่นายจ้างของสถานประกอบการบางแห่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
4. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน ซึ่งรัฐต้องทบทวน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย.54 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี 2557 และปี 2558 ทั้งนี้จะปรับโครงสร้างค่าจ้างของแรงงานทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยค่าจ้างที่ควรได้รับคือวันละ 360 บาท อีกทั้งรัฐต้องยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดด้วย