อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
หัวใจของคำสอนทางพระพุทธศาสนาในวันมาฆบูชา คือ แก่นธรรมะในหลักธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักคิดและปฏิบัติ 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก คือการไม่ทำความชั่วทั้งปวง โดยเว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา และใจ
ประการที่สอง คือกระทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ
ประการที่สาม คือการรักษาจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส
เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ผู้เขียนขอรวบรวมมรดกธรรมะ ซึ่งพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้ฝากไว้ ให้เป็นหลักคิดและหลักดำเนินชีวิต อาทิ
ท่านพุทธทาสภิกขุ (2549: 135) กล่าวไว้ในหนังสือ 100 ปี พุทธทาส ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่พิมพ์เผยแพร่ไว้เป็นหนังสือที่ระลึกในงาน “ร้อยใจใฝ่ธรรม รำลึก 100 ปี ชาตกาลท่านพุทธทาส” หัวข้อมรดกที่ขอฝากไว้ เป็นมรดกธรรมที่ 2 คือ ปณิธาน 3 ประการ ที่ควรแก่ผู้เป็นพุทธทาสทุกคน ถือเป็นหลักในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่โลก คือ 1) พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตนๆ 2) พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม และ 3) พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
ท่านวรธัมม์ (2556: 475-476) กล่าวไว้ในหนังสือคุณ-ค่า พุทธศาสนา ในเรื่อง พุทธศาสนา ไม่เป็นทุกข์ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ความว่า เมื่อมีการถามปัญหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา ส่วนมากเราก็มีตอบไปตามคำถามนั้น พูดถึงธรรมหมวดต่างๆ การปฏิบัติธรรมมากมายหลายวิธี และผลต่างๆ ของการปฏิบัติธรรมมากมายไม่สิ้นสุด โดยเรามิได้คิดเฉลียวใจว่า อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่มาถึง ขณะนี้เท่านั้นเป็นโอกาสที่จะปฏิบัติพุทธศาสนาทั้งหมด โดยปฏิบัติเมื่อ:
ตา เห็นรูปอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์เกิดจากการเห็นนั้น
หู ได้ยินเสียงอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์เกิดจากการได้ยินนั้น
จมูก ได้กลิ่นใดแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้กลิ่นนั้น
ลิ้น ได้ลิ้มรสอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้ชิมนั้น
กาย ได้สัมผัสกับสิ่งที่มาสัมผัสกายแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้สัมผัสนั้น
ใจ ได้นึกคิดถึงสิ่งใดแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้นึกคิดนั้น
เท่านี้แหละ พุทธศาสนา นอกจากนี้ เป็นเรื่องของวิชาการหรือศาสตร์อย่างอื่นที่ไม่ใช่พุทธศาสนาแท้จริง
ในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง ผู้พยายามศึกษาและประพฤติตามหลักธรรมะในฐานะที่พึ่งทางจิตใจและให้สติปัญญา ขอฝากมรดกธรรมะเล็กๆ นี้ ไว้แด่ผู้สนใจใฝ่ธรรม เพื่อความดีงามแห่งชีวิต
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
หัวใจของคำสอนทางพระพุทธศาสนาในวันมาฆบูชา คือ แก่นธรรมะในหลักธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยหลักคิดและปฏิบัติ 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก คือการไม่ทำความชั่วทั้งปวง โดยเว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา และใจ
ประการที่สอง คือกระทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ
ประการที่สาม คือการรักษาจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส
เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ผู้เขียนขอรวบรวมมรดกธรรมะ ซึ่งพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้ฝากไว้ ให้เป็นหลักคิดและหลักดำเนินชีวิต อาทิ
ท่านพุทธทาสภิกขุ (2549: 135) กล่าวไว้ในหนังสือ 100 ปี พุทธทาส ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่พิมพ์เผยแพร่ไว้เป็นหนังสือที่ระลึกในงาน “ร้อยใจใฝ่ธรรม รำลึก 100 ปี ชาตกาลท่านพุทธทาส” หัวข้อมรดกที่ขอฝากไว้ เป็นมรดกธรรมที่ 2 คือ ปณิธาน 3 ประการ ที่ควรแก่ผู้เป็นพุทธทาสทุกคน ถือเป็นหลักในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่โลก คือ 1) พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตนๆ 2) พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม และ 3) พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
ท่านวรธัมม์ (2556: 475-476) กล่าวไว้ในหนังสือคุณ-ค่า พุทธศาสนา ในเรื่อง พุทธศาสนา ไม่เป็นทุกข์ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ความว่า เมื่อมีการถามปัญหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา ส่วนมากเราก็มีตอบไปตามคำถามนั้น พูดถึงธรรมหมวดต่างๆ การปฏิบัติธรรมมากมายหลายวิธี และผลต่างๆ ของการปฏิบัติธรรมมากมายไม่สิ้นสุด โดยเรามิได้คิดเฉลียวใจว่า อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่มาถึง ขณะนี้เท่านั้นเป็นโอกาสที่จะปฏิบัติพุทธศาสนาทั้งหมด โดยปฏิบัติเมื่อ:
ตา เห็นรูปอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์เกิดจากการเห็นนั้น
หู ได้ยินเสียงอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์เกิดจากการได้ยินนั้น
จมูก ได้กลิ่นใดแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้กลิ่นนั้น
ลิ้น ได้ลิ้มรสอะไรแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้ชิมนั้น
กาย ได้สัมผัสกับสิ่งที่มาสัมผัสกายแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้สัมผัสนั้น
ใจ ได้นึกคิดถึงสิ่งใดแล้ว ไม่เป็นทุกข์จากการได้นึกคิดนั้น
เท่านี้แหละ พุทธศาสนา นอกจากนี้ เป็นเรื่องของวิชาการหรือศาสตร์อย่างอื่นที่ไม่ใช่พุทธศาสนาแท้จริง
ในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง ผู้พยายามศึกษาและประพฤติตามหลักธรรมะในฐานะที่พึ่งทางจิตใจและให้สติปัญญา ขอฝากมรดกธรรมะเล็กๆ นี้ ไว้แด่ผู้สนใจใฝ่ธรรม เพื่อความดีงามแห่งชีวิต