โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม


สถานที่ตั้ง “วัดทองนพคุณ” ในอดีตและปัจจุบัน คือที่ที่เดียวกัน
“วัดทองนพคุณ” (วัดใน เพราะตั้งอยู่คุ้มใน) ตั้งอยู่ที่ถนนสุวรรณวงศ์ บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย
บ้านปะหลานในอดีตมีสองคุ้ม คือคุ้มในกับคุ้มนอก หรือมีสองหมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 (คุ้มนอก) กับหมู่ที่ 2 คือคุ้มใน
วัดทองนพคุณตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2384 มีชื่อว่า “วัดสระทอง” อยู่ติดกับสระน้ำ สระนั้นมีชื่อว่า “สระสิม” เพราะสิมหรือโบสถ์ หรืออุโบสถซึ่งสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำ
สระน้ำดังกล่าว หรือสระสิมเต็มไปด้วย “บัวทอง” จึงได้ชื่อว่า “วัดสระทอง” ในเบื้องแรก โดยมี พระสมุห์สด สิริปุญโญ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ต่อมาวัดสระทองได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดทองนพคุณ” และใช้นามอันเป็นมงคลนี้มาตราบเท่าปัจจุบัน
รายนามเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ...
1. พระสมุห์สด สิริปุญโญ พ.ศ. 2984-2440
2. พระครูจันทสีตลคุณ (จันดา จนฺทาโภ) พ.ศ. 2440-2492
3. พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสํโก) พ.ศ. 2492-2540
4. พระครูสุตธรรมมานุยุต (วิจิตรบรรจง วิริยธมฺโม) พ.ศ. 2540-2556
5. พระมหาวิสารท์ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดทัพป่าจิก รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย รักษาการเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2556-2557
6. พระมหาประกิต ฐิตญาโณ พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน
รายนามเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย...
1. พระครูจันทสีตลคุณ (จันดา จนฺทาโก) เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2440-2490
2. พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสํโก) เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2491-2540
3. พระครูโพธิคุณสถิต (ทองสุข สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดโพธิชัยนิมิต พ.ศ. 2541-2553
4. พระครูปริยัติพัฒโนดม เจ้าอาวาสวัดพยัคฆภูมิวราราม (วัดนอก) พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน
เนื่องจากวัดทองนพคุณเป็นวัดเก่าแก่ ปัจจุบันมีอายุ 174 ปี (2384-2558) เป็นรากเหง้าเหล่ากอ หรือมูลมังของเมืองของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งก่อนตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย 38 ปี (2422-2384)
เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองร้อยกว่าปี อีก 26 ปีในปี พ.ศ. 2584 ก็จะมีอายุครบ 200 ปี
เป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา!
เนื่องเพราะวัดแห่งนี้เริ่มต้นด้วยทอง คือ “สระทอง” และดำรงคงอยู่ด้วยทองจนกลายเป็น “ทองนพคุณ”
ใครก็ตามที่ตั้งชื่อวัดแห่งนี้เป็น “วัดทองนพคุณ” ผมขอคารวะ เพราะท่านมองลึกซึ้งถึงศักดิ์และศรี มีวิสัยทัศน์สายตายาวไกลจากทองธรรมดาเป็นทองคำเนื้อเก้า คือเป็นทองบริสุทธิ์ซึ่งหมายถึง “พุทธคุณเก้า” นั่นเอง
เป็นการมองและเห็นรากเหง้าเค้ามูลเดิมของเรา คือ “พระพุทธเจ้า” พระผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเทียบเปรียบได้ นั่นคือ “พุทธคุณ” พุทธคุณมีหลายอย่าง เช่น พุทธคุณ 9 พุทธคุณ 3 พุทธคุณ 2 เป็นต้น
พุทธคุณ 9 คือคุณของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
1. อรหํ เป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรไปแล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
2. สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ
4. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา
5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
7. สตฺถา เทวมนฺสสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผล คือทำให้ทรงเบิกบานด้วย
9. ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
พุทธคุณ 9 นี้เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็นนวรหคุณ หรือนวารหคุณ แปลว่า “คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ)
พุทธคุณ 2 ได้แก่...
1. อัตตหิตสมบัติ คือความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน หรือทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เองเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระปัญญา เป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้
2. ปรหิตปฏิบัติ คือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือทรงบำเพ็ญพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น พระคุณข้อนี้มุ่งเอา พระกรุณาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้าและความเป็นโลกนาถ คือเป็นที่พึ่งของชาวโลกได้
พุทธคุณ 9 ดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อลงแล้วเป็น 2 อย่างดังแสดงมานี้คือ ข้อ 1, 2, 3, 5 เป็นส่วนอัตตหิตสมบัติ ข้อ 6, 7 เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ ข้อ 4, 8, 9 เป็นทั้งอัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ
พุทธคุณ 9 ได้แก่...
1. ปัญญาคุณ-พระคุณคือพระปัญญา
2. วิสุทธิคุณ-พระคุษคือความบริสุทธิ์
3. กรุณาคุณ-พระคุณคือพระมหากรุณา
ในพระคุณ 3 นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี 2 คือ ปัญญา และกรุณา ส่วนวิสุทธิ์ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้ คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก
(ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
เมื่อรากเหง้าเค้ามูลเดิม หรือพ่อแม่ปู่ย่าตายายทวด (พ่อหรือแม่ของปู่ย่าตายาย) ของเราคือ พุทธคุณ ผู้มีพระคุณอันล้นพ้น เราก็ควรตอบแทนพระคุณท่าน ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามอย่างท่าน
โดยมี นพคุณ หรือพุทธคุณ เป็นสติคอยเตือนตนเอง และเตือนผู้อื่น
จะคิดจะพูดจะทำ หรือจะพัฒนาอะไร ก็ให้อยู่ในกรอบพุทธคุณ ถ้าออกนอกกรอบ หรือออกทะเลจนกลับบ้านไม่ถูก เราก็จะกลายเป็นผู้เนรคุณ หรืออกตัญญูทันที
นั่นแสดงว่า เราไม่สามารถตักเตือนตัวเองได้ ไม่สามารถสอนตัวเองได้ แล้วจะไปสอนคนอื่นชี้แนะคนอื่นได้อย่างไร?
ไปวัดมาวัด...นอกจากจะทำพิธีกรรม ตามทำนองคลองธรรมแล้ว จะต้องทำสิ่งที่เหนือกว่าด้วย นั่นคือ...วัดจิตวัดใจตัวเอง ศีลห้าทำได้กี่ข้อ พุทธคุณ ธรรมคุณ ทำได้กี่ข้อ มรรคมีองค์แปด ทำได้กี่ข้อ ฯลฯ จะต้องวัด ต้องทดสอบตัวเอง ทุกวันเวลา
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน-ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส-ความพินิจไม่มี แก่คนไร้ปัญญา
พุทธวจนะในธรรมบทคู่นี้ สรุปง่ายๆ ว่า... “คนมีปัญญามักชอบพินิจ คนไร้ปัญญาไม่ชอบพินิจ”
การพินิจพิจารณา ก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์เจาะลึกนั่นเอง
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด แสงสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดย่อมหายไป ณ ที่นั้น
วัด...ไม่ว่าเล็ก-กลาง-ใหญ่ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ย่อมเป็นศูนย์แสงสว่าง คอยส่องทางให้มวลมนุษยชาติไปสู่สันติภาพและสันติสุข
สำหรับวัดทองนพคุณ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ในอดีตกาลนานมาแล้ว สมัยผมเป็นเด็ก เห็นสิมหรือโบสถ์ ตั้งอยู่ในสระ มีบัวทองพ้นน้ำบานสะพรั่ง ดูเมื่อไร เจริญตาเจริญใจเมื่อนั้น ที่เผาผี (ฌาปนสถาน) อยู่บริเวณต้นโพธิ์ มีเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ มีสะพานข้ามหนองน้ำจากฝั่งวัดไปยังฝั่งต้นโพธิ์ ตรงนั้นน่ากลัวมาก ผู้คนผ่านไปมาต้องทำความเคารพ ใครใส่หมวกต้องถอดหมวก
ต่อมามีการสร้าง “หัวแจก” หรือศาลาขนาดใหญ่ และสิมหรืออุโบสถ เป็นถาวรวัตถุ มีอายุยืนยาวมากระทั่งทุกวันนี้
ศาลาขนาดใหญ่ รวมทั้งกุฏิสงฆ์สร้างจากไม้เนื้อดี คือไม้มะค่า เสากลมแต่ละต้นใหญ่มาก คนใหญ่โอบรอบพอดี
ไม้ที่นำมาสร้างวัดเหล่านี้ คุณยายทา คำทอง ซึ่งเป็นบุตรสาวของพระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัตติยะ-เดช) นำมาถวายวัด เป็นการทำบุญเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ เพื่ออุทิศบุญกุศลแด่คุณพ่อท้าวขัตติยะ-เดช เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ผู้วายชนม์
เมื่อผมไปวัด ผมชอบดูกุฏิและศาลา เพราะเสามันใหญ่จริงๆ ทึ่งและเกิดอัศจรรย์ใจ เสาแต่ละต้นทั้งใหญ่ทั้งยาวเอามาได้อย่างไร?
ต่อมาปลายสมัยเจ้าคณะอำเภอ พระครูพินิตพยัคฆภูมิ ศาลาใหญ่ถูกรื้อขยายไปถึงกุฏิใหญ่ของเจ้าคณะอำเภอ รวมถึงกุฏิเล็กๆ ของพระเณรด้วย แล้วสร้างใหม่ตามสมัยนิยม เป็นอาคารหรือเรือนไม้ผสมปูน และกลายมาเป็นเหล็กผสมปูน ดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้
ถ้า...รู้คุณค่าของเก่า ก็จะอนุรักษ์ของเก่าไว้ ศาลา กุฏิ สิม ในน้ำ ก็จะมีอายุร้อยปีขึ้นไปกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใครๆ ก็อยากมาชมของเก่าอายุ 100 ปีกลายเป็นของเก่ามีค่า เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง
ในทางตรงกันข้าม เมื่อไม่รู้คุณค่าของเก่า ไม่รักษาของเก่า ของเก่าคู่บ้านคู่เมืองก็หายไปแล้วสร้างของใหม่ขึ้นมาแทนเต็มบ้านเต็มเมือง มีใครที่ไหนเขาอยากจะมาดูของใหม่บ้าง
คนมาเที่ยวมาชมวัดร้อยปี ก็ไม่ประทับใจเท่าที่ควร สิ่งที่ดำรงอยู่ แม้ริ้วรอยของเก่าก็แทบไม่ปรากฏ ยังดีที่เหลืออุโบสถ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2449 กว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร เป็นโบสถ์เก่ารูปทรงศิลปะ หลังคาทรงไทย-มอญ อายุปัจจุบัน 109 ปีพอเชิดหน้าชูตาได้บ้าง
เรื่องมันเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
ปัจจุบัน (2558) วัดทองนพคุณ ได้พัฒนาด้านต่างๆ พอสังเขป ดังนี้...
1. วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นปี พ.ศ. 2529
2. ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์
3. สำนักเรียนพระปริยัติธรรม
4. สำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
5. หน่วยกำกับการงานพระธรรมทูตอำเภอ
6. ค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา
นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมา ยังเป็นสำนักงานที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย (ชั่วคราว) ในช่วงที่สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ และเป็นหน่วยสอบบาลีสนามหลวง เป็นลานวัด ลานใจ ลานกีฬา ต้านยาเสพติด เป็นต้น
มีโครงการหนึ่งที่โดนใจมากเกิดขึ้น ณ วัดแห่งนี้ นั่นคือ...
โครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้พาคณะนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ที่เข้าร่วมอบรมในโครงการอบรมอักษรโบราณ-อีสานสำหรับนิสิต แก่นิสิตอาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจซึ่งจัดอบรมอักษรโบราณ 2 ชนิดคือ อักษรธรรมอีสาน และอักษรไทยน้อย พร้อมทั้งได้พาออกภาคสนามเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับเอกสารใบลาน และเพื่อให้ได้เห็นสภาพจริงของใบลานที่เก็บอยู่ตามวัด และปฏิบัติการอนุรักษ์เบื้องต้น หลังจากได้อบรมภาคทฤษฎีจนครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว
โดยทางโครงการได้เลือกวัดทองนพคุณ บ้านปะหลาน ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ออกภาคสนาม วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2548
ทั้งนี้ ได้รับการต้อนรับจาก พระครูสุตธรรมานุยุต เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ ท่านให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติวัด ความเป็นมาของใบลานที่มีอยู่ในวัด ตลอดถึงการอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานด้านต่างๆ ของทางคณะ จนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอด 2 วันที่ทำกิจกรรม
โครงการนี้ เป็นการปลุกผู้คนสมัยนี้ให้ตื่นรู้ถึงภูมิปัญญารากเหง้าของตัวเอง แล้วรักษาไว้เพื่อการเรียนรู้ของลูกหลานเหลนโหลนต่อๆ ไป
กระบวนทัศน์เช่นนี้ จะทำให้รู้จักตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึงรักบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง รักประเทศชาติของตัวเอง
ขอขอบคุณ เจ้าของโครงการ และคณะผู้ออกภาคสนาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าทำในสิ่งถูกต้องดีงาม แม้จะทวนกระแสโลกบริโภคนิยม ก็มิหวั่นไหว ดั่งคำคมของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ว่า...
วิสัยบัณฑิตผู้ ทรงธรรม์
ไปเปลี่ยนไปแปรผัน ไปค้อม
ไปขึ้นไปลงหัน กลับกลอก
กายจิตวาทะพร้อม เพรียบด้วยสัตยา
สำหรับ “พระมหาประกิต ฐิตญาโณ” เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และรองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจของสงฆ์ และความสะอาดเป็นพิเศษ ทำให้วัดแห่งนี้มีความสะอาดมากจนสัมผัสได้
ความสะอาด หรือความสกปรก เป็นประตูหน้าต่างบานแรกที่แขกผู้มาเยือนจะต้องเจอะเจอ และรู้ถึงเจ้าของบ้านเป็นอย่างดี
สมแล้วที่ท่านได้รับโล่เกียรติคุณรางวัลดีเด่นหลายอย่างหลายประเภท จึงเป็นเครื่องการันตีผู้มีผลงาน “ใจประสานใจ” ระหว่างวัดกับบ้าน ระหว่างศาสนากับประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชม
ประวัติวัดทองนพคุณ ขอจบลงเพียงเท่านี้ และขอฝาก “บทกลอนสอนจิต”...คิดผิดก็มีทุกข์ คิดถูกก็พ้นทุกข์ ดังนี้...
“วัดทองนพคุณ
คือเก้าคุณอันยิ่งใหญ่
สืบสานรากเหง้าไทย
มั่นเกรียงไกรคุณธรรม
พุทธะผู้ตื่นรู้
บรมครูช่วยแนะนำ
มวลมนุษย์จึ่งเลิศล้ำ
เพราะมีธรรมประจำใจ”
สถานที่ตั้ง “วัดทองนพคุณ” ในอดีตและปัจจุบัน คือที่ที่เดียวกัน
“วัดทองนพคุณ” (วัดใน เพราะตั้งอยู่คุ้มใน) ตั้งอยู่ที่ถนนสุวรรณวงศ์ บ้านปะหลาน หมู่ที่ 2 ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย
บ้านปะหลานในอดีตมีสองคุ้ม คือคุ้มในกับคุ้มนอก หรือมีสองหมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 (คุ้มนอก) กับหมู่ที่ 2 คือคุ้มใน
วัดทองนพคุณตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2384 มีชื่อว่า “วัดสระทอง” อยู่ติดกับสระน้ำ สระนั้นมีชื่อว่า “สระสิม” เพราะสิมหรือโบสถ์ หรืออุโบสถซึ่งสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำ
สระน้ำดังกล่าว หรือสระสิมเต็มไปด้วย “บัวทอง” จึงได้ชื่อว่า “วัดสระทอง” ในเบื้องแรก โดยมี พระสมุห์สด สิริปุญโญ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ต่อมาวัดสระทองได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดทองนพคุณ” และใช้นามอันเป็นมงคลนี้มาตราบเท่าปัจจุบัน
รายนามเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ...
1. พระสมุห์สด สิริปุญโญ พ.ศ. 2984-2440
2. พระครูจันทสีตลคุณ (จันดา จนฺทาโภ) พ.ศ. 2440-2492
3. พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสํโก) พ.ศ. 2492-2540
4. พระครูสุตธรรมมานุยุต (วิจิตรบรรจง วิริยธมฺโม) พ.ศ. 2540-2556
5. พระมหาวิสารท์ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัดทัพป่าจิก รองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย รักษาการเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2556-2557
6. พระมหาประกิต ฐิตญาโณ พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน
รายนามเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย...
1. พระครูจันทสีตลคุณ (จันดา จนฺทาโก) เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2440-2490
2. พระครูพินิตพยัคฆภูมิ (อุดม อหิสํโก) เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. 2491-2540
3. พระครูโพธิคุณสถิต (ทองสุข สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดโพธิชัยนิมิต พ.ศ. 2541-2553
4. พระครูปริยัติพัฒโนดม เจ้าอาวาสวัดพยัคฆภูมิวราราม (วัดนอก) พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน
เนื่องจากวัดทองนพคุณเป็นวัดเก่าแก่ ปัจจุบันมีอายุ 174 ปี (2384-2558) เป็นรากเหง้าเหล่ากอ หรือมูลมังของเมืองของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ตั้งก่อนตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย 38 ปี (2422-2384)
เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองร้อยกว่าปี อีก 26 ปีในปี พ.ศ. 2584 ก็จะมีอายุครบ 200 ปี
เป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา!
เนื่องเพราะวัดแห่งนี้เริ่มต้นด้วยทอง คือ “สระทอง” และดำรงคงอยู่ด้วยทองจนกลายเป็น “ทองนพคุณ”
ใครก็ตามที่ตั้งชื่อวัดแห่งนี้เป็น “วัดทองนพคุณ” ผมขอคารวะ เพราะท่านมองลึกซึ้งถึงศักดิ์และศรี มีวิสัยทัศน์สายตายาวไกลจากทองธรรมดาเป็นทองคำเนื้อเก้า คือเป็นทองบริสุทธิ์ซึ่งหมายถึง “พุทธคุณเก้า” นั่นเอง
เป็นการมองและเห็นรากเหง้าเค้ามูลเดิมของเรา คือ “พระพุทธเจ้า” พระผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเทียบเปรียบได้ นั่นคือ “พุทธคุณ” พุทธคุณมีหลายอย่าง เช่น พุทธคุณ 9 พุทธคุณ 3 พุทธคุณ 2 เป็นต้น
พุทธคุณ 9 คือคุณของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
1. อรหํ เป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรไปแล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
2. สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ
4. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา
5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
7. สตฺถา เทวมนฺสสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผล คือทำให้ทรงเบิกบานด้วย
9. ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
พุทธคุณ 9 นี้เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็นนวรหคุณ หรือนวารหคุณ แปลว่า “คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ)
พุทธคุณ 2 ได้แก่...
1. อัตตหิตสมบัติ คือความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน หรือทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เองเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระปัญญา เป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้
2. ปรหิตปฏิบัติ คือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือทรงบำเพ็ญพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น พระคุณข้อนี้มุ่งเอา พระกรุณาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้าและความเป็นโลกนาถ คือเป็นที่พึ่งของชาวโลกได้
พุทธคุณ 9 ดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อลงแล้วเป็น 2 อย่างดังแสดงมานี้คือ ข้อ 1, 2, 3, 5 เป็นส่วนอัตตหิตสมบัติ ข้อ 6, 7 เป็นส่วนปรหิตปฏิบัติ ข้อ 4, 8, 9 เป็นทั้งอัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ
พุทธคุณ 9 ได้แก่...
1. ปัญญาคุณ-พระคุณคือพระปัญญา
2. วิสุทธิคุณ-พระคุษคือความบริสุทธิ์
3. กรุณาคุณ-พระคุณคือพระมหากรุณา
ในพระคุณ 3 นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี 2 คือ ปัญญา และกรุณา ส่วนวิสุทธิ์ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้ คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก
(ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยุตฺโต)
เมื่อรากเหง้าเค้ามูลเดิม หรือพ่อแม่ปู่ย่าตายายทวด (พ่อหรือแม่ของปู่ย่าตายาย) ของเราคือ พุทธคุณ ผู้มีพระคุณอันล้นพ้น เราก็ควรตอบแทนพระคุณท่าน ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามอย่างท่าน
โดยมี นพคุณ หรือพุทธคุณ เป็นสติคอยเตือนตนเอง และเตือนผู้อื่น
จะคิดจะพูดจะทำ หรือจะพัฒนาอะไร ก็ให้อยู่ในกรอบพุทธคุณ ถ้าออกนอกกรอบ หรือออกทะเลจนกลับบ้านไม่ถูก เราก็จะกลายเป็นผู้เนรคุณ หรืออกตัญญูทันที
นั่นแสดงว่า เราไม่สามารถตักเตือนตัวเองได้ ไม่สามารถสอนตัวเองได้ แล้วจะไปสอนคนอื่นชี้แนะคนอื่นได้อย่างไร?
ไปวัดมาวัด...นอกจากจะทำพิธีกรรม ตามทำนองคลองธรรมแล้ว จะต้องทำสิ่งที่เหนือกว่าด้วย นั่นคือ...วัดจิตวัดใจตัวเอง ศีลห้าทำได้กี่ข้อ พุทธคุณ ธรรมคุณ ทำได้กี่ข้อ มรรคมีองค์แปด ทำได้กี่ข้อ ฯลฯ จะต้องวัด ต้องทดสอบตัวเอง ทุกวันเวลา
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน-ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส-ความพินิจไม่มี แก่คนไร้ปัญญา
พุทธวจนะในธรรมบทคู่นี้ สรุปง่ายๆ ว่า... “คนมีปัญญามักชอบพินิจ คนไร้ปัญญาไม่ชอบพินิจ”
การพินิจพิจารณา ก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์เจาะลึกนั่นเอง
โอ...อมิตาพุทธ สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด แสงสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดย่อมหายไป ณ ที่นั้น
วัด...ไม่ว่าเล็ก-กลาง-ใหญ่ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ย่อมเป็นศูนย์แสงสว่าง คอยส่องทางให้มวลมนุษยชาติไปสู่สันติภาพและสันติสุข
สำหรับวัดทองนพคุณ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ในอดีตกาลนานมาแล้ว สมัยผมเป็นเด็ก เห็นสิมหรือโบสถ์ ตั้งอยู่ในสระ มีบัวทองพ้นน้ำบานสะพรั่ง ดูเมื่อไร เจริญตาเจริญใจเมื่อนั้น ที่เผาผี (ฌาปนสถาน) อยู่บริเวณต้นโพธิ์ มีเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ มีสะพานข้ามหนองน้ำจากฝั่งวัดไปยังฝั่งต้นโพธิ์ ตรงนั้นน่ากลัวมาก ผู้คนผ่านไปมาต้องทำความเคารพ ใครใส่หมวกต้องถอดหมวก
ต่อมามีการสร้าง “หัวแจก” หรือศาลาขนาดใหญ่ และสิมหรืออุโบสถ เป็นถาวรวัตถุ มีอายุยืนยาวมากระทั่งทุกวันนี้
ศาลาขนาดใหญ่ รวมทั้งกุฏิสงฆ์สร้างจากไม้เนื้อดี คือไม้มะค่า เสากลมแต่ละต้นใหญ่มาก คนใหญ่โอบรอบพอดี
ไม้ที่นำมาสร้างวัดเหล่านี้ คุณยายทา คำทอง ซึ่งเป็นบุตรสาวของพระศรีสุวรรณวงศา (ท้าวขัตติยะ-เดช) นำมาถวายวัด เป็นการทำบุญเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ เพื่ออุทิศบุญกุศลแด่คุณพ่อท้าวขัตติยะ-เดช เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ผู้วายชนม์
เมื่อผมไปวัด ผมชอบดูกุฏิและศาลา เพราะเสามันใหญ่จริงๆ ทึ่งและเกิดอัศจรรย์ใจ เสาแต่ละต้นทั้งใหญ่ทั้งยาวเอามาได้อย่างไร?
ต่อมาปลายสมัยเจ้าคณะอำเภอ พระครูพินิตพยัคฆภูมิ ศาลาใหญ่ถูกรื้อขยายไปถึงกุฏิใหญ่ของเจ้าคณะอำเภอ รวมถึงกุฏิเล็กๆ ของพระเณรด้วย แล้วสร้างใหม่ตามสมัยนิยม เป็นอาคารหรือเรือนไม้ผสมปูน และกลายมาเป็นเหล็กผสมปูน ดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้
ถ้า...รู้คุณค่าของเก่า ก็จะอนุรักษ์ของเก่าไว้ ศาลา กุฏิ สิม ในน้ำ ก็จะมีอายุร้อยปีขึ้นไปกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใครๆ ก็อยากมาชมของเก่าอายุ 100 ปีกลายเป็นของเก่ามีค่า เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง
ในทางตรงกันข้าม เมื่อไม่รู้คุณค่าของเก่า ไม่รักษาของเก่า ของเก่าคู่บ้านคู่เมืองก็หายไปแล้วสร้างของใหม่ขึ้นมาแทนเต็มบ้านเต็มเมือง มีใครที่ไหนเขาอยากจะมาดูของใหม่บ้าง
คนมาเที่ยวมาชมวัดร้อยปี ก็ไม่ประทับใจเท่าที่ควร สิ่งที่ดำรงอยู่ แม้ริ้วรอยของเก่าก็แทบไม่ปรากฏ ยังดีที่เหลืออุโบสถ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2449 กว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร เป็นโบสถ์เก่ารูปทรงศิลปะ หลังคาทรงไทย-มอญ อายุปัจจุบัน 109 ปีพอเชิดหน้าชูตาได้บ้าง
เรื่องมันเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
ปัจจุบัน (2558) วัดทองนพคุณ ได้พัฒนาด้านต่างๆ พอสังเขป ดังนี้...
1. วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นปี พ.ศ. 2529
2. ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์
3. สำนักเรียนพระปริยัติธรรม
4. สำนักงานเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
5. หน่วยกำกับการงานพระธรรมทูตอำเภอ
6. ค่ายคุณธรรมเยาวชนจิตอาสา
นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมา ยังเป็นสำนักงานที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย (ชั่วคราว) ในช่วงที่สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ และเป็นหน่วยสอบบาลีสนามหลวง เป็นลานวัด ลานใจ ลานกีฬา ต้านยาเสพติด เป็นต้น
มีโครงการหนึ่งที่โดนใจมากเกิดขึ้น ณ วัดแห่งนี้ นั่นคือ...
โครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้พาคณะนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ที่เข้าร่วมอบรมในโครงการอบรมอักษรโบราณ-อีสานสำหรับนิสิต แก่นิสิตอาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจซึ่งจัดอบรมอักษรโบราณ 2 ชนิดคือ อักษรธรรมอีสาน และอักษรไทยน้อย พร้อมทั้งได้พาออกภาคสนามเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับเอกสารใบลาน และเพื่อให้ได้เห็นสภาพจริงของใบลานที่เก็บอยู่ตามวัด และปฏิบัติการอนุรักษ์เบื้องต้น หลังจากได้อบรมภาคทฤษฎีจนครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว
โดยทางโครงการได้เลือกวัดทองนพคุณ บ้านปะหลาน ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ออกภาคสนาม วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2548
ทั้งนี้ ได้รับการต้อนรับจาก พระครูสุตธรรมานุยุต เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ ท่านให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติวัด ความเป็นมาของใบลานที่มีอยู่ในวัด ตลอดถึงการอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานด้านต่างๆ ของทางคณะ จนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอด 2 วันที่ทำกิจกรรม
โครงการนี้ เป็นการปลุกผู้คนสมัยนี้ให้ตื่นรู้ถึงภูมิปัญญารากเหง้าของตัวเอง แล้วรักษาไว้เพื่อการเรียนรู้ของลูกหลานเหลนโหลนต่อๆ ไป
กระบวนทัศน์เช่นนี้ จะทำให้รู้จักตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึงรักบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง รักประเทศชาติของตัวเอง
ขอขอบคุณ เจ้าของโครงการ และคณะผู้ออกภาคสนาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าทำในสิ่งถูกต้องดีงาม แม้จะทวนกระแสโลกบริโภคนิยม ก็มิหวั่นไหว ดั่งคำคมของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ว่า...
วิสัยบัณฑิตผู้ ทรงธรรม์
ไปเปลี่ยนไปแปรผัน ไปค้อม
ไปขึ้นไปลงหัน กลับกลอก
กายจิตวาทะพร้อม เพรียบด้วยสัตยา
สำหรับ “พระมหาประกิต ฐิตญาโณ” เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และรองเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจของสงฆ์ และความสะอาดเป็นพิเศษ ทำให้วัดแห่งนี้มีความสะอาดมากจนสัมผัสได้
ความสะอาด หรือความสกปรก เป็นประตูหน้าต่างบานแรกที่แขกผู้มาเยือนจะต้องเจอะเจอ และรู้ถึงเจ้าของบ้านเป็นอย่างดี
สมแล้วที่ท่านได้รับโล่เกียรติคุณรางวัลดีเด่นหลายอย่างหลายประเภท จึงเป็นเครื่องการันตีผู้มีผลงาน “ใจประสานใจ” ระหว่างวัดกับบ้าน ระหว่างศาสนากับประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชม
ประวัติวัดทองนพคุณ ขอจบลงเพียงเท่านี้ และขอฝาก “บทกลอนสอนจิต”...คิดผิดก็มีทุกข์ คิดถูกก็พ้นทุกข์ ดังนี้...
“วัดทองนพคุณ
คือเก้าคุณอันยิ่งใหญ่
สืบสานรากเหง้าไทย
มั่นเกรียงไกรคุณธรรม
พุทธะผู้ตื่นรู้
บรมครูช่วยแนะนำ
มวลมนุษย์จึ่งเลิศล้ำ
เพราะมีธรรมประจำใจ”