โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
เรื่องราวของพระด้านลบ มีมาให้เห็นทุกยุคทุกสมัยที่เป็นข่าวนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นข่าว ดั่งภูเขาน้ำแข็งนั่นแล
ทำไมพระด้านลบ จึงดำรงคงอยู่ตลอดมา?
เหตุใหญ่ใจความนั้นอยู่ที่ เราชาวพุทธ “ไม่รู้เท่าทันพระ” ไม่รู้พระจริง พระปลอม เป็นอย่างไร? รู้เพียงผิวเผินว่า พระเป็นองค์ประกอบหนึ่งของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ทำพิธีโกนหัวห่มเหลืองก็เป็นพระแล้ว พระจึงเป็นที่เคารพบูชา เราควรทำบุญด้วย และเราก็จะได้บุญ เมื่อทำบุญกับพระ...ฯลฯ
การรู้เท่าทันพระ จะต้องมี “ปัญญา” ผู้มีปัญญาย่อมรู้จัก “พินิจพิจารณา” ต้องมี “แว่นขยายส่องพระ” ว่างั้นเถอะ
ในบทความนี้ จะเสนอหลักการดูพระหรือ “แว่นส่องพระ” เล็กๆ น้อยๆ พอสังเขป
1. มหาปเทสสี่ (ฝ่ายธรรมะ) หลักสำหรับเทียบว่าธรรมะคำสอนใดเป็นของพระพุทธเจ้า
หากมีใครกล่าวว่า
1. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัยเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
2.ในวัดหรือสำนักโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าสงฆ์ว่านี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
3. ในวัดหรือสำนักโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้-ผู้ชำนาญทรงธรรม ทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
4.ในวัดหรือสำนักโน้น มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นผู้รู้-ผู้ชำนาญทรงธรรม ทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เมื่อได้ฟังมาอย่างนี้ จงอย่าชื่นชม อย่าคัดค้าน แต่จงเรียงข้อความและถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตร เทียบเคียงดูในพระวินัย ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี่มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจำมาผิดแล้ว จงทิ้งเสียเถิด
(พระไตรปิฎก มหาปเทส 4 สัญเจตนิยวรรค 21/195)
2. หลักตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
1. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดย้อมใจ
2. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อออกจากทุกข์
3. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส
4. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความอยากน้อย (มักน้อย)
5. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
6. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
7. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อความเพียร
8. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า (แล้วพระพุทธองค์ทรงตรัสสิ่งที่ตรงกันข้ามว่าเป็นธรรมเป็นวินัย)
เพื่อความปลอดภัยให้นำหลักนี้ไปจับเทียบเคียง หากปรากฏว่าครูบาอาจารย์สำนักใด สอนให้เขาปฏิบัติธรรมแล้วเป็นไปเพื่อ 8 ประการดังกล่าว พึงรู้ว่านั่นสอนผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วพึงละการปฏิบัตินั้นเสีย แต่ถ้าสอนตรงกันข้ามนี้ พึงรู้ว่าสอนถูกหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงปฏิบัติตามเถิด
(พระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฎฐกนิบาต โคตรมีสูตร เล่มที่ 23/288)
3. แก่นแท้ของการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์ หรือการปฏิบัติธรรมนี้...
1. มิใช่มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกิ่งและใบของต้นไม้
2. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับสะเก็ดของต้นไม้
3. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับเปลือกของต้นไม้
4. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ (ปัญญา) เป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกระพี้ของต้นไม้
5. แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพราะเปรียบเท่ากับแก่นของต้นไม้
(พระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร เล่มที่ 12/373/352)
4. เป้าหมายของการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์หรือการปฏิบัติธรรมนี้...
1. มิใช่หวังหลอกลวงให้คนมานับถือเคารพเรา (แต่ให้เคารพพระธรรม)
2. มิใช่หวังเรียกคนให้มาเป็นบริวาร (แต่ให้เป็นบริวารของพระธรรม)
3. มิใช่หวังให้เราได้ลาภสักการะเสียงสรรเสริญ (แต่ให้พระธรรมได้สักการะเสียงสรรเสริญ)
4. มิใช่หวังให้เราได้เป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นใหญ่ เป็นเจ้าลัทธิ เพื่อค้านหรือทำลายเจ้าลัทธิอื่นให้ล้มไป (แต่ให้พระธรรมเป็นใหญ่)
5. มิใช่หวังให้เราเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ (แต่ให้พระธรรมเป็นสิ่งวิเศษ)
แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อการสำรวม เพื่อการละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อนิพพาน คือดับทุกข์อุปาทานทั้งปวงโดยส่วนเดียวเท่านั้น (คือทำหน้าที่ ไม่หวังอะไร ไม่เป็นอะไร ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกไหนๆ โดยประการทั้งปวง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระธรรม)
(พระไตรปิฎก จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ 21/33/25)
หลักการดูพระ 4 ข้อ ก็พอจะรู้เท่าทัน พระจริงพระปลอม หรือพระดี พระไม่ดี ได้บ้าง เป็นยันต์กันผีไม่ให้ถูกพระหลอกจนหมดเนื้อหมดตัว
หลักธรรมดีๆ (4 ข้อดังกล่าว) ทำไมพระบางวัดไม่กล้าเปิดเผย ไม่กล้าสอน ไม่กล้าเน้นให้ญาติโยมได้รู้จัก ได้เข้าใจ และเข้าถึงจะได้เกิด “ปัญญา”
“ปญฺญาชีวํ ชีวิตมาหุ เสฏฐํ-ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด”
พระคือผู้ประเสริฐ ผู้งดงาม ย่อมปรารถนาให้ญาติโยมเป็นผู้ประเสริฐด้วย งดงามด้วยหรือพระคือผู้ปรารถนาให้ญาติโยมด้อยปัญญา โง่หลงอย่างนั้นหรือ? จึงได้มีปรากฏการณ์ที่ญาติโยมถูกพระหลอกเป็นกระแสมารไม่ขาดสาย
ท่านอาจารย์พุทธทาส อินฺทปญฺโญ ได้ไขข้อข้องใจนี้จนแจ้งจ่างป่าง ว่า...
“ความจริงที่คนไม่กล้าเปิดเผย เพราะเปิดเผยแล้ว ไม่ได้ลาภสักการะ ผู้ไม่กล้าเปิดเผยความจริง สักวันความจริงจะเผยตัวมันเอง สัจธรรมแท้ ย่อมทนทานต่อการพิสูจน์”
โอ...อมิตาพุทธ! (สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด)
สมีจากวัดต่างๆ จึงเรียงตัวล่ายส้ายออกมาให้ญาติโยมได้รู้เท่าทัน ได้รู้เช่นเห็นชาติถึงธาตุแท้ (ที่ทำลายศาสนา) แต่ละตัวตน
ตื่นรู้กันหรือยัง โยม?!
เรื่องราวของพระด้านลบ มีมาให้เห็นทุกยุคทุกสมัยที่เป็นข่าวนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นข่าว ดั่งภูเขาน้ำแข็งนั่นแล
ทำไมพระด้านลบ จึงดำรงคงอยู่ตลอดมา?
เหตุใหญ่ใจความนั้นอยู่ที่ เราชาวพุทธ “ไม่รู้เท่าทันพระ” ไม่รู้พระจริง พระปลอม เป็นอย่างไร? รู้เพียงผิวเผินว่า พระเป็นองค์ประกอบหนึ่งของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ทำพิธีโกนหัวห่มเหลืองก็เป็นพระแล้ว พระจึงเป็นที่เคารพบูชา เราควรทำบุญด้วย และเราก็จะได้บุญ เมื่อทำบุญกับพระ...ฯลฯ
การรู้เท่าทันพระ จะต้องมี “ปัญญา” ผู้มีปัญญาย่อมรู้จัก “พินิจพิจารณา” ต้องมี “แว่นขยายส่องพระ” ว่างั้นเถอะ
ในบทความนี้ จะเสนอหลักการดูพระหรือ “แว่นส่องพระ” เล็กๆ น้อยๆ พอสังเขป
1. มหาปเทสสี่ (ฝ่ายธรรมะ) หลักสำหรับเทียบว่าธรรมะคำสอนใดเป็นของพระพุทธเจ้า
หากมีใครกล่าวว่า
1. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัยเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
2.ในวัดหรือสำนักโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าสงฆ์ว่านี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
3. ในวัดหรือสำนักโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้-ผู้ชำนาญทรงธรรม ทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
4.ในวัดหรือสำนักโน้น มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นผู้รู้-ผู้ชำนาญทรงธรรม ทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาต่อหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี่เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เมื่อได้ฟังมาอย่างนี้ จงอย่าชื่นชม อย่าคัดค้าน แต่จงเรียงข้อความและถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตร เทียบเคียงดูในพระวินัย ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี่มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจำมาผิดแล้ว จงทิ้งเสียเถิด
(พระไตรปิฎก มหาปเทส 4 สัญเจตนิยวรรค 21/195)
2. หลักตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
1. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดย้อมใจ
2. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อออกจากทุกข์
3. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส
4. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความอยากน้อย (มักน้อย)
5. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
6. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
7. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อความเพียร
8. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า (แล้วพระพุทธองค์ทรงตรัสสิ่งที่ตรงกันข้ามว่าเป็นธรรมเป็นวินัย)
เพื่อความปลอดภัยให้นำหลักนี้ไปจับเทียบเคียง หากปรากฏว่าครูบาอาจารย์สำนักใด สอนให้เขาปฏิบัติธรรมแล้วเป็นไปเพื่อ 8 ประการดังกล่าว พึงรู้ว่านั่นสอนผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วพึงละการปฏิบัตินั้นเสีย แต่ถ้าสอนตรงกันข้ามนี้ พึงรู้ว่าสอนถูกหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงปฏิบัติตามเถิด
(พระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฎฐกนิบาต โคตรมีสูตร เล่มที่ 23/288)
3. แก่นแท้ของการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์ หรือการปฏิบัติธรรมนี้...
1. มิใช่มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกิ่งและใบของต้นไม้
2. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับสะเก็ดของต้นไม้
3. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับเปลือกของต้นไม้
4. มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ (ปัญญา) เป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกระพี้ของต้นไม้
5. แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพราะเปรียบเท่ากับแก่นของต้นไม้
(พระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร เล่มที่ 12/373/352)
4. เป้าหมายของการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย! การประพฤติพรหมจรรย์หรือการปฏิบัติธรรมนี้...
1. มิใช่หวังหลอกลวงให้คนมานับถือเคารพเรา (แต่ให้เคารพพระธรรม)
2. มิใช่หวังเรียกคนให้มาเป็นบริวาร (แต่ให้เป็นบริวารของพระธรรม)
3. มิใช่หวังให้เราได้ลาภสักการะเสียงสรรเสริญ (แต่ให้พระธรรมได้สักการะเสียงสรรเสริญ)
4. มิใช่หวังให้เราได้เป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นใหญ่ เป็นเจ้าลัทธิ เพื่อค้านหรือทำลายเจ้าลัทธิอื่นให้ล้มไป (แต่ให้พระธรรมเป็นใหญ่)
5. มิใช่หวังให้เราเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ (แต่ให้พระธรรมเป็นสิ่งวิเศษ)
แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อการสำรวม เพื่อการละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อนิพพาน คือดับทุกข์อุปาทานทั้งปวงโดยส่วนเดียวเท่านั้น (คือทำหน้าที่ ไม่หวังอะไร ไม่เป็นอะไร ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกไหนๆ โดยประการทั้งปวง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระธรรม)
(พระไตรปิฎก จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ 21/33/25)
หลักการดูพระ 4 ข้อ ก็พอจะรู้เท่าทัน พระจริงพระปลอม หรือพระดี พระไม่ดี ได้บ้าง เป็นยันต์กันผีไม่ให้ถูกพระหลอกจนหมดเนื้อหมดตัว
หลักธรรมดีๆ (4 ข้อดังกล่าว) ทำไมพระบางวัดไม่กล้าเปิดเผย ไม่กล้าสอน ไม่กล้าเน้นให้ญาติโยมได้รู้จัก ได้เข้าใจ และเข้าถึงจะได้เกิด “ปัญญา”
“ปญฺญาชีวํ ชีวิตมาหุ เสฏฐํ-ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด”
พระคือผู้ประเสริฐ ผู้งดงาม ย่อมปรารถนาให้ญาติโยมเป็นผู้ประเสริฐด้วย งดงามด้วยหรือพระคือผู้ปรารถนาให้ญาติโยมด้อยปัญญา โง่หลงอย่างนั้นหรือ? จึงได้มีปรากฏการณ์ที่ญาติโยมถูกพระหลอกเป็นกระแสมารไม่ขาดสาย
ท่านอาจารย์พุทธทาส อินฺทปญฺโญ ได้ไขข้อข้องใจนี้จนแจ้งจ่างป่าง ว่า...
“ความจริงที่คนไม่กล้าเปิดเผย เพราะเปิดเผยแล้ว ไม่ได้ลาภสักการะ ผู้ไม่กล้าเปิดเผยความจริง สักวันความจริงจะเผยตัวมันเอง สัจธรรมแท้ ย่อมทนทานต่อการพิสูจน์”
โอ...อมิตาพุทธ! (สติปัญญาเป็นแสงสว่างไม่มีที่สิ้นสุด)
สมีจากวัดต่างๆ จึงเรียงตัวล่ายส้ายออกมาให้ญาติโยมได้รู้เท่าทัน ได้รู้เช่นเห็นชาติถึงธาตุแท้ (ที่ทำลายศาสนา) แต่ละตัวตน
ตื่นรู้กันหรือยัง โยม?!