ASTVผู้จัดการรายวัน – ซีพีเอฟชูโรงงานผลิตไส้กรอกที่หนองจอกต้นแบบการผลิตและการจัดเก็บอัตโนมัติแบบสมบูรณ์ ใช้เป็นต้นแบบโรงงานที่โคราชและจีน เผยปีนี้ตั้งเป้ายอดขายไส้กรอกโต 10%จากปีก่อนโตแค่ 6% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
นายชัยวัฒน์ ปรีดิศรีพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย )จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้นำระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่องมาใช้กับโรงงานผลิตไส้กรอกที่หนองจอก กรุงเทพฯ นับเป็นโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่ใช้ระบบดังกล่าว ทดแทนแรงงานคน และลดการผิดพลาดลง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างคลังสินค้าสำเร็จรูปอัตโนมัติ
ใช้เงินลงทุน 350 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากที่ได้สร้างคลังวัตถุดิบอัตโนมัติเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตอัตโนมัติแบบสมบูรณ์ ลดความผิดพลาดจากแรงงานคนและการปนเปื้อนอาหาร
ปัจจุบันโรงงานผลิตไส้กรอกที่หนองจอก มีกำลังการผลิต 5 พันตัน/เดือน แบ่งเป็นไลน์การผลิตแบบอัตโนมัติ 2 พันตัน/เดือน และไลน์การผลิตเดิมที่ใช้แรงงานคนจำนวนมาก อีก 3 พันตัน/เดือน ซึ่งต่อไปจะมีการปรับปรุงไลน์การผลิตเดิมให้มาเป็นระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปที่จังหวัดนครราชสีมา ก็จะนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัตินี้ไปใช้ด้วย เงินลงทุนรวม 2 พันล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559มีกำลังการผลิตไส้กรอก 2.5 พันตัน/เดือนรองรับความต้องการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปตลาดอาเซียน รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยืดอายุไส้กรอกด้วยการผ่านกระบวนการพลาสเจอร์ไรส์ด้วย
รวมทั้งไลน์การผลิตที่นครราชสีมายังมีความยืดหยุ่นการผลิตอาหารสำเร็จรูปมากกว่าโรงงานที่หนองจอกด้วย
นอกจากนี้โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปคอมเพล็กซ์ที่ชิงเต่า ประเทศจีนของกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็ได้มีการติดตั้งระบบการผลิตอัตโนมัติในไลน์การผลิตไส้กรอกด้วยเช่นกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไส้กรอกซีพีเติบโตขึ้น 10% จากปีก่อนที่โตเพียง 6% เนื่องจากเห็นว่าปีนี้ตลาดยังซึมต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งปกติตลาดไส้กรอกจะโตเฉลี่ยปีละ 10-15% ดังนั้นบริษัทหันมาเพิ่มนวัตกรรมสินค้าและทำแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันซีพีเอฟมีกำลังผลิตไส้กรอกอยู่ 6.5 หมื่นตัน/ปี จากปริมาณการผลิตไส้กรอกในไทยรวม 4 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 4.54 หมื่นล้านบาท โดยซีพีมีส่วนแบ่งการตลาดมากในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเกรด A และเกรดพรีเมียม
สำหรับตลาดส่งออกนั้นไทยยังไม่สามารถส่งออกไส้กรอกไปยังจีนได้ เนื่องจากมาตรการห้ามการนำเข้าเพื่อปกป้องตลาดภายในประเทศ ทำให้ซีพีต้องหันไปลงทุนตั้งโรงงานที่นั่นแทน ขณะเดียวกันก็ส่งออกไปยังตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น โดยอาศัยฐานการผลิตในไทย มีมูลค่าการส่งออกไม่มานัก โดยปีที่ผ่านมาส่งออกไปญี่ปุ่นโตขึ้น 4-5%
นายชัยวัฒน์ ปรีดิศรีพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย )จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้นำระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่องมาใช้กับโรงงานผลิตไส้กรอกที่หนองจอก กรุงเทพฯ นับเป็นโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่ใช้ระบบดังกล่าว ทดแทนแรงงานคน และลดการผิดพลาดลง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างคลังสินค้าสำเร็จรูปอัตโนมัติ
ใช้เงินลงทุน 350 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากที่ได้สร้างคลังวัตถุดิบอัตโนมัติเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตอัตโนมัติแบบสมบูรณ์ ลดความผิดพลาดจากแรงงานคนและการปนเปื้อนอาหาร
ปัจจุบันโรงงานผลิตไส้กรอกที่หนองจอก มีกำลังการผลิต 5 พันตัน/เดือน แบ่งเป็นไลน์การผลิตแบบอัตโนมัติ 2 พันตัน/เดือน และไลน์การผลิตเดิมที่ใช้แรงงานคนจำนวนมาก อีก 3 พันตัน/เดือน ซึ่งต่อไปจะมีการปรับปรุงไลน์การผลิตเดิมให้มาเป็นระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปที่จังหวัดนครราชสีมา ก็จะนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัตินี้ไปใช้ด้วย เงินลงทุนรวม 2 พันล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559มีกำลังการผลิตไส้กรอก 2.5 พันตัน/เดือนรองรับความต้องการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปตลาดอาเซียน รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยืดอายุไส้กรอกด้วยการผ่านกระบวนการพลาสเจอร์ไรส์ด้วย
รวมทั้งไลน์การผลิตที่นครราชสีมายังมีความยืดหยุ่นการผลิตอาหารสำเร็จรูปมากกว่าโรงงานที่หนองจอกด้วย
นอกจากนี้โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปคอมเพล็กซ์ที่ชิงเต่า ประเทศจีนของกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็ได้มีการติดตั้งระบบการผลิตอัตโนมัติในไลน์การผลิตไส้กรอกด้วยเช่นกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไส้กรอกซีพีเติบโตขึ้น 10% จากปีก่อนที่โตเพียง 6% เนื่องจากเห็นว่าปีนี้ตลาดยังซึมต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งปกติตลาดไส้กรอกจะโตเฉลี่ยปีละ 10-15% ดังนั้นบริษัทหันมาเพิ่มนวัตกรรมสินค้าและทำแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันซีพีเอฟมีกำลังผลิตไส้กรอกอยู่ 6.5 หมื่นตัน/ปี จากปริมาณการผลิตไส้กรอกในไทยรวม 4 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 4.54 หมื่นล้านบาท โดยซีพีมีส่วนแบ่งการตลาดมากในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเกรด A และเกรดพรีเมียม
สำหรับตลาดส่งออกนั้นไทยยังไม่สามารถส่งออกไส้กรอกไปยังจีนได้ เนื่องจากมาตรการห้ามการนำเข้าเพื่อปกป้องตลาดภายในประเทศ ทำให้ซีพีต้องหันไปลงทุนตั้งโรงงานที่นั่นแทน ขณะเดียวกันก็ส่งออกไปยังตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น โดยอาศัยฐานการผลิตในไทย มีมูลค่าการส่งออกไม่มานัก โดยปีที่ผ่านมาส่งออกไปญี่ปุ่นโตขึ้น 4-5%