นายกฯนั่งหัวโต๊ะประชุมทีมศก.-เอกชน วันนี้ หารือมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ "พิชัย"แนะเอกชนชงข้อมูลแท้จริง ไม่ต้องไว้หน้าใคร
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (12 ม.ค.) เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช. และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ จะประชุมร่วมอย่างไม่เป็นทางการ กับตัวแทนภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุน สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เป็นต้น ที่บ้านเกษะโกมล
ทั้งนี้ เป็นการประชุมในกรอบของคสช. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถามถึงปัญหาในประเด็นด้านเศรษฐกิจและธุรกิจต่างๆ เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และอดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่าขอชื่นชมนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลงมาตรวจภาวะเศรษฐกิจด้วยตนเอง ตามที่ตนเรียกร้อง โดยจะประชุมร่วมกับเอกชน เพื่อให้ทราบข้อมูลทางเศรษฐกิจในวันนี้ ซึ่งจะได้ทราบว่าเศรษฐกิจฟื้นจริงหรือไม่ เป็นไปตามที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ บอกก่อนหน้านี้หรือไม่ เพื่อจะได้นำไปออกมาตรการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ถูกต้อง
"อยากให้เอกชนที่เข้าประชุมได้ให้ข้อมูลแก่พล.อ.ประยุทธ์และคณะ อย่างตรงไปตรงมาในทุกเรื่อง ทั้งผลกระทบทางการเมืองที่ไม่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ที่ทำให้โดนตัดสิทธิ จีเอสพี และไม่มีการเจรจาการค้า ซึ่งนอกจากยอดการส่งออกจะลดแล้ว ยังจะส่งผลกระทบไปสู่การลงทุน เพราะต่างประเทศได้หนีไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับสิทธิจีเอสพี จนทำให้ยอดส่งเสริมการลงทุนของไทยเหลือแค่ 7 แสนล้านบาทในปีที่แล้ว จากยอดกว่า 1 ล้านล้านในปี 2556 และผลกระทบจากกฎอัยการศึก ต่อการท่องเที่ยว ที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่มีฐานะไม่มา ซึ่งทำให้ยอดรายได้หายไปจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมาก อีกทั้งการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ"
นายพิชัย กล่าวด้วยว่า ขอสนับสนุนแนวคิดของ นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่จะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้ประทังชีวิตได้ เพราะปัจจุบันเกษตรกรลำบากมากจากราคาพืชผลที่ตกต่ำ ทั้งนี้อยากฝากเรื่องการปรับประเทศให้แข่งขันได้ เพราะหากไทยยังไม่ปรับตัว อาจจะเป็นประเทศที่ล้มเหลวได้ อีกทั้งการทำประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่ต้องได้การยอมรับจากประชาคมโลก.
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (12 ม.ค.) เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช. และ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ จะประชุมร่วมอย่างไม่เป็นทางการ กับตัวแทนภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุน สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เป็นต้น ที่บ้านเกษะโกมล
ทั้งนี้ เป็นการประชุมในกรอบของคสช. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถามถึงปัญหาในประเด็นด้านเศรษฐกิจและธุรกิจต่างๆ เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และอดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่าขอชื่นชมนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลงมาตรวจภาวะเศรษฐกิจด้วยตนเอง ตามที่ตนเรียกร้อง โดยจะประชุมร่วมกับเอกชน เพื่อให้ทราบข้อมูลทางเศรษฐกิจในวันนี้ ซึ่งจะได้ทราบว่าเศรษฐกิจฟื้นจริงหรือไม่ เป็นไปตามที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ บอกก่อนหน้านี้หรือไม่ เพื่อจะได้นำไปออกมาตรการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ถูกต้อง
"อยากให้เอกชนที่เข้าประชุมได้ให้ข้อมูลแก่พล.อ.ประยุทธ์และคณะ อย่างตรงไปตรงมาในทุกเรื่อง ทั้งผลกระทบทางการเมืองที่ไม่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ที่ทำให้โดนตัดสิทธิ จีเอสพี และไม่มีการเจรจาการค้า ซึ่งนอกจากยอดการส่งออกจะลดแล้ว ยังจะส่งผลกระทบไปสู่การลงทุน เพราะต่างประเทศได้หนีไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับสิทธิจีเอสพี จนทำให้ยอดส่งเสริมการลงทุนของไทยเหลือแค่ 7 แสนล้านบาทในปีที่แล้ว จากยอดกว่า 1 ล้านล้านในปี 2556 และผลกระทบจากกฎอัยการศึก ต่อการท่องเที่ยว ที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่มีฐานะไม่มา ซึ่งทำให้ยอดรายได้หายไปจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมาก อีกทั้งการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ"
นายพิชัย กล่าวด้วยว่า ขอสนับสนุนแนวคิดของ นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่จะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้ประทังชีวิตได้ เพราะปัจจุบันเกษตรกรลำบากมากจากราคาพืชผลที่ตกต่ำ ทั้งนี้อยากฝากเรื่องการปรับประเทศให้แข่งขันได้ เพราะหากไทยยังไม่ปรับตัว อาจจะเป็นประเทศที่ล้มเหลวได้ อีกทั้งการทำประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่ต้องได้การยอมรับจากประชาคมโลก.