ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“ป.ป.ช. และคดีทุจริตคอร์รัปชัน”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-9 ม.ค. จากประชาชนทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอมาตรการในการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสม และสอดคล้องต่อสภาพปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการฟ้องร้องคดีทุจริตคอร์รัปชัน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านอัยการสูงสุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.60 ระบุว่า ป.ป.ช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น เพราะควรทำตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ทำให้คดีมีความหนักแน่น น่าเชื่อถือ และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รองลงมา ร้อยละ 34.72 ระบุว่า ป.ป.ช. ควรมีอำนาจฟ้องตรงได้โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด เพราะสามารถลดขั้นตอนต่างๆ ทำให้ดำเนินการพิจารณาคดีได้รวดเร็วขึ้น ร้อยละ 13.92 ระบุว่า ป.ป.ช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุด เว้นเสียแต่เกินกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็สามารถให้ป.ป.ช.ฟ้องโดยตรงเองได้ เพราะเป็นการให้เกียรติแก่อัยการสูงสุด และร้อยละ 9.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นต่อการกำหนดอายุความ คดีทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.24 ระบุว่า ไม่ควรมีการกำหนดอายุความ เพราะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ตลอดเวลา รองลงมา ร้อยละ 25.76 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความที่แน่นอน เพราะเป็นการกระตุ้นการทำงานการดำเนินจับตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย และไม่ทำให้เสียรูปคดี ขณะที่ ร้อยละ 14.08 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความ แต่จะยกเว้นการนับอายุคดีในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ทำการหลบหนี เพราะเป็นการป้องกันผู้ต้องหา หรือจำเลยหลบหนีคดี และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินของข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.20 ระบุว่า ข้าราชการทุกระดับควรต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน รองลงมา ร้อยละ 20.16 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะมีโอกาสที่จะกระทำการทุจริตเช่นเดียวกัน ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการเฉพาะระดับตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะการทุจริตคอร์รัปชันส่วนใหญ่เกิดจากข้าราชการระดับสูงขึ้นไป ร้อยละ 5.28 ระบุว่า ข้าราชการไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อข้อเสนอให้มีการโอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปเป็นหน่วยงานในสังกัด ป.ป.ช. พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน จะได้ช่วยกันทำงานให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขิ้น ขณะที่ ร้อยละ 34.00 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการจำกัดขอบเขตของกฎหมายมากเกินไป การทำงานในแต่ละส่วนเป็นคดีเฉพาะทาง และเป็นอิสะต่อกันอยู่แล้ว น่าจะมีความคล่องตัวมากกว่า และ ร้อยละ 10.16 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการฟ้องร้องคดีทุจริตคอร์รัปชัน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านอัยการสูงสุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.60 ระบุว่า ป.ป.ช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น เพราะควรทำตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ทำให้คดีมีความหนักแน่น น่าเชื่อถือ และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รองลงมา ร้อยละ 34.72 ระบุว่า ป.ป.ช. ควรมีอำนาจฟ้องตรงได้โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด เพราะสามารถลดขั้นตอนต่างๆ ทำให้ดำเนินการพิจารณาคดีได้รวดเร็วขึ้น ร้อยละ 13.92 ระบุว่า ป.ป.ช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุด เว้นเสียแต่เกินกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็สามารถให้ป.ป.ช.ฟ้องโดยตรงเองได้ เพราะเป็นการให้เกียรติแก่อัยการสูงสุด และร้อยละ 9.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นต่อการกำหนดอายุความ คดีทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.24 ระบุว่า ไม่ควรมีการกำหนดอายุความ เพราะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ตลอดเวลา รองลงมา ร้อยละ 25.76 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความที่แน่นอน เพราะเป็นการกระตุ้นการทำงานการดำเนินจับตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย และไม่ทำให้เสียรูปคดี ขณะที่ ร้อยละ 14.08 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความ แต่จะยกเว้นการนับอายุคดีในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ทำการหลบหนี เพราะเป็นการป้องกันผู้ต้องหา หรือจำเลยหลบหนีคดี และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินของข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.20 ระบุว่า ข้าราชการทุกระดับควรต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน รองลงมา ร้อยละ 20.16 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะมีโอกาสที่จะกระทำการทุจริตเช่นเดียวกัน ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการเฉพาะระดับตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะการทุจริตคอร์รัปชันส่วนใหญ่เกิดจากข้าราชการระดับสูงขึ้นไป ร้อยละ 5.28 ระบุว่า ข้าราชการไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อข้อเสนอให้มีการโอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปเป็นหน่วยงานในสังกัด ป.ป.ช. พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน จะได้ช่วยกันทำงานให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขิ้น ขณะที่ ร้อยละ 34.00 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการจำกัดขอบเขตของกฎหมายมากเกินไป การทำงานในแต่ละส่วนเป็นคดีเฉพาะทาง และเป็นอิสะต่อกันอยู่แล้ว น่าจะมีความคล่องตัวมากกว่า และ ร้อยละ 10.16 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ