งานนมัสการ "รอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ" หรือ "พระบาทพลวง" ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า "เขาคิชฌกูฏ" ครอบคลุม อ.มะขาม และ อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศเป็นพิเศษ
เพราะ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว!!!
ประชาชนจากทั่วสารทิศนิยมเดินทางไปนมัสการพระบาทหลวง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต ต่างทยอยกันขึ้นไปนมัสการทั้งกลางวัน และกลางคืน ซึ่งที่ผ่านมา "หลวงพ่อเขียน" เจ้าอาวาสวัดกระทิง เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสเดินทางขึ้นไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทถึงบนยอดเขาคิชฌกูฏ
จากนั้นได้มีการจัดการจัดงานนมัสการพระบาทพลวงเป็นประจำทุกปี ในช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ประกอบกับหลวงพ่อเขียน ที่มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดในเรื่องศีลธรรม และสร้างคุณูปการต่อสังคมไว้มากมาย ศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศจึงแห่แหนกันมากราบนมัสการรอยพระบาทพลวง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ รายได้จากผู้มีจิตศรัทธาที่ได้บริจาคกันเป็นจำนวนมาก แต่ละปีมีถึงประมาณ 100 ล้านบาท
หลังจากวันที่ 28 เมษายน 2555 ที่หลวงพ่อเขียน ได้มรณภาพลงปัญหาก็ตามมาทันที โดยเฉพาะการจัดงานนมัสการรอยพระบาทพลวงที่จัดเป็นประจำทุกปี มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมจัดงาน ซึ่งมีปัญหาตามมามากมาย รวมทั้งเรื่องผลประโยชน์ ลุกลามจนถึงขึ้นมีการปลดเจ้าอาวาสวัดกระทิง ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจออกมาคัดค้านคำสั่ง เพราะเชื่อว่าสาเหตุเป็นเพราะมีกระแสข่าวว่า ทางวัดจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทในปี 2558
ล่าสุด คณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี ยื่นเรื่องร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อขอความช่วยเหลือ หลังจากเจ้าอาวาสวัดเขากระทิง อ้างสิทธิในการจัดงานดังกล่าว
พระครูพุทธบทบริบาล ประธานดำเนินการจัดงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท พร้อมด้วยผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่จำนวนหนึ่งยื่นเรื่องถึง พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อขอให้คณะสงฆ์บริหารพระพุทธบาท เป็นผู้จัดงานประเพณีเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา
โดยพระครูพุทธบทบริบาล กล่าวว่า เดิมคณะสงฆ์บริหารพระพุทธบาท ซึ่งรวมตัวกันมาจาก 9 วัดในพื้นที่ ร่วมกันจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทมาโดยตลอด ปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2558 แต่เมื่อพระครูธรรมสรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดกระทิง ซึ่งเป็นประธานการจัดงานมรณภาพลง ปรากฏว่า พระครูวิโรจน์ธรรมานุกูล เจ้าอาวาสวัดกระทิงรูปปัจจุบัน กลับอ้างสิทธิในการจัดงานเพียงวัดเดียว พร้อมกับให้สิทธิดังกล่าวแก่ทางสมาคมตำรวจ ที่มี พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช นายกสมาคมตำรวจ เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน
พระครูพุทธบทบริบาล กล่าวว่า ประชาชน และคณะสงฆ์เห็นว่า การจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาท ควรให้คณะสงฆ์เป็นผู้จัดงานเช่นเดิม เพราะแต่ละปีที่ผ่านมาก็ผ่านไปด้วยดีมาตลอด อีกทั้งหากแยกกันจัดงานจะทำให้กำหนดการจัดงานของทั้ง 2 ส่วนทับซ้อนกัน จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
อีกทั้งสถานที่จัดงานดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ดังนั้น จะส่งเรื่องให้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ตาม จนถึงวันนี้ปัญหาการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ยังหาข้อสรุปไม่ได้ หลังคณะสงฆ์ และญาติโยมยังไม่สามารถตกลงข้อเสนอที่ผู้หวังดีเสนอมาได้ ซึ่งหากตกลงกันไม่ได้ทั้ง 2 ฝ่าย ทางจังหวัดอาจจะล้มเลิกไม่ให้มีการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เพื่อยุติปัญหา ทั้งที่เป็นงานประจำปีของจังหวัด และใกล้จะถึงวันงานแล้ว
โดยข้อคิดเห็นจากผู้หวังดีต้องการให้ปัญหานี้จบโดยเร็ว จึงได้เสนอในที่ประชุมโดยทางจังหวัดได้เรียกทั้ง 2 ฝ่ายมาประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งผู้หวังดีได้เสนอให้รายได้ที่ได้จากการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกมอบให้ทางวัดกระทิง 30% ส่วนที่ 2 มอบให้กองทุนอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 30% ส่วนที่ 3 คณะสงฆ์ 30% และส่วนที่ 4 มอบให้จังหวัด 10% ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เป็นทางออกสำหรับการยุติปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่ทางคณะสงฆ์ และญาติโยมก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่างฝ่ายต่างอ้างข้อเท็จจริงมาสู้กัน
หากปัญหานี้ไม่จบในเร็ววัน อาจเป็นไปได้ที่ทางจังหวัดจะล้มเลิกการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวงในปีนี้ เพื่อมาเริ่มทำความเข้าใจกันใหม่ถึงการจัดงานในปีหน้า
ทั้งที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในวงกว้างไปแล้วว่า เทศบาลตำบลพลวง ร่วมกับจังหวัดจันทบุรี เชิญชวนพุทธศาสนิกชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธพลวง เขาคิชฌกูฏ ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงวันที่ 19 มีนาคม
จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและน่าเศร้าใจของพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศที่ต่างเฝ้ารอเวลาที่จะได้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง และที่น่าเสียดายยิ่งกว่า คือ การมอง "ผลประโยชน์" อยู่เหนือ "ศรัทธา" ของ "พุทธศาสนิกชน" ที่ 1 ปีจะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้น !!!
เพราะ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว!!!
ประชาชนจากทั่วสารทิศนิยมเดินทางไปนมัสการพระบาทหลวง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต ต่างทยอยกันขึ้นไปนมัสการทั้งกลางวัน และกลางคืน ซึ่งที่ผ่านมา "หลวงพ่อเขียน" เจ้าอาวาสวัดกระทิง เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสเดินทางขึ้นไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทถึงบนยอดเขาคิชฌกูฏ
จากนั้นได้มีการจัดการจัดงานนมัสการพระบาทพลวงเป็นประจำทุกปี ในช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ประกอบกับหลวงพ่อเขียน ที่มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดในเรื่องศีลธรรม และสร้างคุณูปการต่อสังคมไว้มากมาย ศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศจึงแห่แหนกันมากราบนมัสการรอยพระบาทพลวง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ รายได้จากผู้มีจิตศรัทธาที่ได้บริจาคกันเป็นจำนวนมาก แต่ละปีมีถึงประมาณ 100 ล้านบาท
หลังจากวันที่ 28 เมษายน 2555 ที่หลวงพ่อเขียน ได้มรณภาพลงปัญหาก็ตามมาทันที โดยเฉพาะการจัดงานนมัสการรอยพระบาทพลวงที่จัดเป็นประจำทุกปี มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมจัดงาน ซึ่งมีปัญหาตามมามากมาย รวมทั้งเรื่องผลประโยชน์ ลุกลามจนถึงขึ้นมีการปลดเจ้าอาวาสวัดกระทิง ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจออกมาคัดค้านคำสั่ง เพราะเชื่อว่าสาเหตุเป็นเพราะมีกระแสข่าวว่า ทางวัดจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทในปี 2558
ล่าสุด คณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี ยื่นเรื่องร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อขอความช่วยเหลือ หลังจากเจ้าอาวาสวัดเขากระทิง อ้างสิทธิในการจัดงานดังกล่าว
พระครูพุทธบทบริบาล ประธานดำเนินการจัดงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท พร้อมด้วยผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่จำนวนหนึ่งยื่นเรื่องถึง พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อขอให้คณะสงฆ์บริหารพระพุทธบาท เป็นผู้จัดงานประเพณีเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา
โดยพระครูพุทธบทบริบาล กล่าวว่า เดิมคณะสงฆ์บริหารพระพุทธบาท ซึ่งรวมตัวกันมาจาก 9 วัดในพื้นที่ ร่วมกันจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทมาโดยตลอด ปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2558 แต่เมื่อพระครูธรรมสรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดกระทิง ซึ่งเป็นประธานการจัดงานมรณภาพลง ปรากฏว่า พระครูวิโรจน์ธรรมานุกูล เจ้าอาวาสวัดกระทิงรูปปัจจุบัน กลับอ้างสิทธิในการจัดงานเพียงวัดเดียว พร้อมกับให้สิทธิดังกล่าวแก่ทางสมาคมตำรวจ ที่มี พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช นายกสมาคมตำรวจ เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน
พระครูพุทธบทบริบาล กล่าวว่า ประชาชน และคณะสงฆ์เห็นว่า การจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาท ควรให้คณะสงฆ์เป็นผู้จัดงานเช่นเดิม เพราะแต่ละปีที่ผ่านมาก็ผ่านไปด้วยดีมาตลอด อีกทั้งหากแยกกันจัดงานจะทำให้กำหนดการจัดงานของทั้ง 2 ส่วนทับซ้อนกัน จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
อีกทั้งสถานที่จัดงานดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ดังนั้น จะส่งเรื่องให้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ตาม จนถึงวันนี้ปัญหาการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ยังหาข้อสรุปไม่ได้ หลังคณะสงฆ์ และญาติโยมยังไม่สามารถตกลงข้อเสนอที่ผู้หวังดีเสนอมาได้ ซึ่งหากตกลงกันไม่ได้ทั้ง 2 ฝ่าย ทางจังหวัดอาจจะล้มเลิกไม่ให้มีการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เพื่อยุติปัญหา ทั้งที่เป็นงานประจำปีของจังหวัด และใกล้จะถึงวันงานแล้ว
โดยข้อคิดเห็นจากผู้หวังดีต้องการให้ปัญหานี้จบโดยเร็ว จึงได้เสนอในที่ประชุมโดยทางจังหวัดได้เรียกทั้ง 2 ฝ่ายมาประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งผู้หวังดีได้เสนอให้รายได้ที่ได้จากการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกมอบให้ทางวัดกระทิง 30% ส่วนที่ 2 มอบให้กองทุนอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 30% ส่วนที่ 3 คณะสงฆ์ 30% และส่วนที่ 4 มอบให้จังหวัด 10% ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เป็นทางออกสำหรับการยุติปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่ทางคณะสงฆ์ และญาติโยมก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่างฝ่ายต่างอ้างข้อเท็จจริงมาสู้กัน
หากปัญหานี้ไม่จบในเร็ววัน อาจเป็นไปได้ที่ทางจังหวัดจะล้มเลิกการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวงในปีนี้ เพื่อมาเริ่มทำความเข้าใจกันใหม่ถึงการจัดงานในปีหน้า
ทั้งที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในวงกว้างไปแล้วว่า เทศบาลตำบลพลวง ร่วมกับจังหวัดจันทบุรี เชิญชวนพุทธศาสนิกชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธพลวง เขาคิชฌกูฏ ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงวันที่ 19 มีนาคม
จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและน่าเศร้าใจของพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศที่ต่างเฝ้ารอเวลาที่จะได้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง และที่น่าเสียดายยิ่งกว่า คือ การมอง "ผลประโยชน์" อยู่เหนือ "ศรัทธา" ของ "พุทธศาสนิกชน" ที่ 1 ปีจะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้น !!!