ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”โชว์แผนรับมือถูกอียูตัดจีเอสพีสินค้า 6,200 รายการปี 58 หนุนเร่งเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูให้จบโดยเร็ว เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีที่ต่ำกว่าจีเอสพี พร้อมหาตลาดส่งออกให้สินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์ เน้นเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และอาหารแปรรูป และดันย้ายฐานการผลิตไปยังอาเซียนที่ยังคงได้จีเอสพีจากอียู โดยเฉพาะสิ่งทอ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำแผนรับมือการถูกสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้กับสินค้าไทยประมาณ 6,200 รายการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558 โดยจะผลักดันให้มีการเจรจาเปิดการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-อียู
ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เทียบเท่าหรือดีกว่าและถาวรกว่าการได้จีเอสพี
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน กรมฯ จะเร่งหาคู่ค้าในตลาดใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น อาเซียน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และอาหารแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าหลักๆ ที่ไทยส่งออกไปยังตลาดอียูมาก เพราะหากมีตลาดรองรับการส่งออกให้กับสินค้าเหล่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้
สำหรับสินค้าที่ยังต้องพึ่งพิงตลาดอียูเป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กรมฯ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีจากอียู เช่น กัมพูชา และลาว ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งการใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นฐานการผลิต
และยังได้สิทธิในการส่งออกไปยังตลาดอียูได้ด้วย
+++โดยผู้ประกอบการที่ต้องการออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ศูนย์ AEC Business Support Center ที่มีอยู่ในอาเซียน 9 แห่งรวม 8 ประเทศ และศูนย์ SMEs supply Chain & Sourcing Solution Center ที่จะคอยให้บริการข้อมูลกับผู้ประกอบการไทย
นางนันทวัลย์กล่าวว่า กลุ่มสินค้าสำคัญที่จะได้รับผลกระทบจากการถูกตัดจีเอสพี จากการตรวจสอบพบว่า ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผักผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป เนื้อสัตว์แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา ยานยนต์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และเครื่องดื่ม เพราะเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังตลาดอียู ซึ่งการถูกตัดจีเอสพี อาจทำให้คู่ค้าหันไปซื้อสินค้าจากคู่แข่งแทน
สำหรับคู่แข่งที่จะได้ประโยชน์จากการที่ไทยถูกตัดจีเอสพี คือ กลุ่มประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพี ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน เป็นต้น และกลุ่มประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิจีเอสพีแล้ว แต่ยังได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงเอฟทีเอกับอียู ได้แก่ มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
+++รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศระเบียบปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพี โดยจะตัดสิทธิจีเอสพีแก่ประเทศที่ถูกธนาคารโลกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงและรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2557 ที่ผ่านมา
และไทยเป็นหนึ่งในรายชื่อประเทศที่ถูกตัดจีเอสพี เนื่องจากไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงระหว่าง 3,946-12,195 เหรียญสหรัฐเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2554-56 โดยมีจีน เอกวาดอร์และมัลดีฟส์ ถูกระงับสิทธิด้วย แต่อียูได้ให้ระยะเวลาในการปรับตัวเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งก็คือปี 2557 และจะตัดสิทธิทั้งหมดตั้งแต่ 1 ม.ค.2558 เป็นต้นไป
/////////
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำแผนรับมือการถูกสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้กับสินค้าไทยประมาณ 6,200 รายการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558 โดยจะผลักดันให้มีการเจรจาเปิดการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-อียู
ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เทียบเท่าหรือดีกว่าและถาวรกว่าการได้จีเอสพี
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน กรมฯ จะเร่งหาคู่ค้าในตลาดใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น อาเซียน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และอาหารแปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าหลักๆ ที่ไทยส่งออกไปยังตลาดอียูมาก เพราะหากมีตลาดรองรับการส่งออกให้กับสินค้าเหล่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้
สำหรับสินค้าที่ยังต้องพึ่งพิงตลาดอียูเป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กรมฯ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีจากอียู เช่น กัมพูชา และลาว ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งการใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นฐานการผลิต
และยังได้สิทธิในการส่งออกไปยังตลาดอียูได้ด้วย
+++โดยผู้ประกอบการที่ต้องการออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ศูนย์ AEC Business Support Center ที่มีอยู่ในอาเซียน 9 แห่งรวม 8 ประเทศ และศูนย์ SMEs supply Chain & Sourcing Solution Center ที่จะคอยให้บริการข้อมูลกับผู้ประกอบการไทย
นางนันทวัลย์กล่าวว่า กลุ่มสินค้าสำคัญที่จะได้รับผลกระทบจากการถูกตัดจีเอสพี จากการตรวจสอบพบว่า ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผักผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป เนื้อสัตว์แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา ยานยนต์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และเครื่องดื่ม เพราะเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังตลาดอียู ซึ่งการถูกตัดจีเอสพี อาจทำให้คู่ค้าหันไปซื้อสินค้าจากคู่แข่งแทน
สำหรับคู่แข่งที่จะได้ประโยชน์จากการที่ไทยถูกตัดจีเอสพี คือ กลุ่มประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพี ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน เป็นต้น และกลุ่มประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิจีเอสพีแล้ว แต่ยังได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงเอฟทีเอกับอียู ได้แก่ มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
+++รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศระเบียบปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพี โดยจะตัดสิทธิจีเอสพีแก่ประเทศที่ถูกธนาคารโลกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงและรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2557 ที่ผ่านมา
และไทยเป็นหนึ่งในรายชื่อประเทศที่ถูกตัดจีเอสพี เนื่องจากไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงระหว่าง 3,946-12,195 เหรียญสหรัฐเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2554-56 โดยมีจีน เอกวาดอร์และมัลดีฟส์ ถูกระงับสิทธิด้วย แต่อียูได้ให้ระยะเวลาในการปรับตัวเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งก็คือปี 2557 และจะตัดสิทธิทั้งหมดตั้งแต่ 1 ม.ค.2558 เป็นต้นไป
/////////