ASTVผู้จัดการรายวัน – ธปท.ห่วงรัสเซียผิดนัดชำระหนี้กระทบเศรษฐกิจโลก เผยตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าเงินของรัสเซียกระทบเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ จับตาเข้าเดือน ม.ค.58 นักลงทุนจะปรับกลยุทธ์การลงทุนตลาดเกิดใหม่อย่างไร แต่มั่นใจเอเชียแกร่ง ตั้งแต่ปี 40 ประเทศในเอเชียหันพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศแทนการส่งออก
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาประเทศรัสเซียมีผลต่อความเชื่อมั่นตลาดเงินในเชิงเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศมากกว่าผลกระทบเศรษฐกิจโลก เพราะขนาดเศรษฐกิจรัสเซียไม่มากนัก 2%ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามหากปัญหาลุกลามหรือเกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ประเทศยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกหลายรอบผ่านมายังอัตราแลกเปลี่ยน ความเชื่อมั่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การลงทุนในประเทศเกิดใหม่ เป็นต้น
“ภาพแรกที่เห็นในการดูแลเสถียรภาพ คือ ปัญหารัสเซีย ถือเป็นปัญหาเฉพาะตัวเอง ผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยไม่ได้กังวลมากนัก ทางอ้อมผ่านการค้าขายและการท่องเที่ยวก็ไม่มากนัก ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกไปรัสเซียค่อนข้างน้อย 0.5%ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ไทยนำเข้าจากรัสเซีย 1.4%ของการนำเข้าทั้งหมด และมีนักท่องเที่ยวรัสเซียมายังไทย 6.6%ของปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งหมด อีกทั้งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกในตลาดจะกังวลตลาดเกิดใหม่ แต่ช่วงปลายปีธุรกรรมค่อนข้างบาง จึงต้องรอดูในช่วงเดือนม.ค.58 ว่านักลงทุนจะมีการกระจายการลงทุนและปรับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่างไร”
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเกิดความไม่มั่นใจเป็นเรื่องปกติที่ตลาดเกิดใหม่มีความผันผวน แต่เชื่อว่าภูมิภาคเอเชียมีพื้นฐานด้านเสถียรภาพเข้มแข็ง หรือประเทศน่าห่วงอย่างตุรกีและอาร์เจนตินาก็ไม่ได้มีปัญหาจากภาคสถาบันการเงิน แต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจมหภาคเป็นหลัก โดยตั้งแต่ปี 40 ประเทศในเอเชียมีการพึ่งพาการส่งออกน้อยลงมาก และหันไปพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางหลายประเทศในเอเชียย้ำเสมอว่าแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ เน้นดูแลอุปสงค์ในประเทศไม่ให้ผันผวน จึงไม่ใช้นโยบายการเงินดูแลการเคลื่อนย้ายทุน
โฆษกธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)ยังคงเป็นไปตามคาดการณ์ไว้เดิม โดย FED จะมีทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งรอการปรับขึ้นในปี 58 ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาไหน ขณะที่ BOJ นายกรัฐมนตรีคนเก่าก็ได้รับการเลือกตั้งกลับมาใหม่ แสดงว่านโยบายที่ทำมาเป็นที่ยอมรับและคาดว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
(QE)ยังคงดำเนินต่อไป
สำหรับผลกระทบการแลกเปลี่ยนเงินรูเบิลกับเงินบาทในช่วงนี้นั้น นายจิรเทพ กล่าวว่า จากฐานข้อมูลของธปท.พบว่าการประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงิน (Money Changer) สกุลเงินรูเบิลคิดเป็นเพียง 0.2%ของปริมาณธุรกรรมเงินตราต่างประเทศทั้งหมด และจากการสอบถามผู้ประกอบธุรกิจ Money Changer พบว่า ยังคงให้บริการรับแลกเงินรูเบิลตามปกติ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับซื้อรูเบิลจากลูกค้าและขายเงินรูเบิลให้กับธนาคารพาณิชย์ จึงไม่มีปัญหาเงินรูเบิลขาดตลาดและยังไม่พบปัญหาที่ธนาคารรับซื้อเงินรูเบิล
“การอ่อนค่าของเงินรูเบิล ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียมีจำนวนลดลงส่งผลต่อปริมาณการรับซื้อเงินรูเบิลจากลูกค้าลดลงเช่นกัน” นายจิรเทพกล่าว.
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาประเทศรัสเซียมีผลต่อความเชื่อมั่นตลาดเงินในเชิงเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศมากกว่าผลกระทบเศรษฐกิจโลก เพราะขนาดเศรษฐกิจรัสเซียไม่มากนัก 2%ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามหากปัญหาลุกลามหรือเกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ประเทศยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกหลายรอบผ่านมายังอัตราแลกเปลี่ยน ความเชื่อมั่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การลงทุนในประเทศเกิดใหม่ เป็นต้น
“ภาพแรกที่เห็นในการดูแลเสถียรภาพ คือ ปัญหารัสเซีย ถือเป็นปัญหาเฉพาะตัวเอง ผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยไม่ได้กังวลมากนัก ทางอ้อมผ่านการค้าขายและการท่องเที่ยวก็ไม่มากนัก ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกไปรัสเซียค่อนข้างน้อย 0.5%ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ไทยนำเข้าจากรัสเซีย 1.4%ของการนำเข้าทั้งหมด และมีนักท่องเที่ยวรัสเซียมายังไทย 6.6%ของปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งหมด อีกทั้งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกในตลาดจะกังวลตลาดเกิดใหม่ แต่ช่วงปลายปีธุรกรรมค่อนข้างบาง จึงต้องรอดูในช่วงเดือนม.ค.58 ว่านักลงทุนจะมีการกระจายการลงทุนและปรับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่างไร”
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเกิดความไม่มั่นใจเป็นเรื่องปกติที่ตลาดเกิดใหม่มีความผันผวน แต่เชื่อว่าภูมิภาคเอเชียมีพื้นฐานด้านเสถียรภาพเข้มแข็ง หรือประเทศน่าห่วงอย่างตุรกีและอาร์เจนตินาก็ไม่ได้มีปัญหาจากภาคสถาบันการเงิน แต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจมหภาคเป็นหลัก โดยตั้งแต่ปี 40 ประเทศในเอเชียมีการพึ่งพาการส่งออกน้อยลงมาก และหันไปพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางหลายประเทศในเอเชียย้ำเสมอว่าแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ เน้นดูแลอุปสงค์ในประเทศไม่ให้ผันผวน จึงไม่ใช้นโยบายการเงินดูแลการเคลื่อนย้ายทุน
โฆษกธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)ยังคงเป็นไปตามคาดการณ์ไว้เดิม โดย FED จะมีทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งรอการปรับขึ้นในปี 58 ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาไหน ขณะที่ BOJ นายกรัฐมนตรีคนเก่าก็ได้รับการเลือกตั้งกลับมาใหม่ แสดงว่านโยบายที่ทำมาเป็นที่ยอมรับและคาดว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
(QE)ยังคงดำเนินต่อไป
สำหรับผลกระทบการแลกเปลี่ยนเงินรูเบิลกับเงินบาทในช่วงนี้นั้น นายจิรเทพ กล่าวว่า จากฐานข้อมูลของธปท.พบว่าการประกอบธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงิน (Money Changer) สกุลเงินรูเบิลคิดเป็นเพียง 0.2%ของปริมาณธุรกรรมเงินตราต่างประเทศทั้งหมด และจากการสอบถามผู้ประกอบธุรกิจ Money Changer พบว่า ยังคงให้บริการรับแลกเงินรูเบิลตามปกติ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับซื้อรูเบิลจากลูกค้าและขายเงินรูเบิลให้กับธนาคารพาณิชย์ จึงไม่มีปัญหาเงินรูเบิลขาดตลาดและยังไม่พบปัญหาที่ธนาคารรับซื้อเงินรูเบิล
“การอ่อนค่าของเงินรูเบิล ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียมีจำนวนลดลงส่งผลต่อปริมาณการรับซื้อเงินรูเบิลจากลูกค้าลดลงเช่นกัน” นายจิรเทพกล่าว.