ปัจจุบันต้องยอมรับว่า 'นกปรอดหัวโขนหรือนกกรงหัวจุก' มีกลุ่มนิยมเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น ทำให้เวลานี้ตลาดนกปรอดหัวโขน มีมูลค่าเม็ดเงินสะพัดหลายสิบล้านบาทต่อปี ยิ่งใครมีนกสวยและเก่ง แข่งขันชนะเลิศย่อมเป็นที่หมายปองของนักเลงนกและเซียนนก ด้วยเหตุนี้เองทำให้นกปรอดหัวโขน กลายเป็นแหล่งทำรายได้ที่หลายต่อหลายคน ต่างก็ให้ความสนใจ เข้ามาเล่น มาเลี้ยงเพราะหลงเสน่ห์เสียงอันไพเราะและสีสันที่ที่สวยงามของนกปรอดหัวโขนนั้นเอง
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งผู้เลี้ยงต้องรู้อันดับแรกคือ ‘นกปรอดหัวโขน’ ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้นครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หากผู้ใดฝ่าฝืนโดยไม่มีใบแจ้งครอบครองจากกรมป่าไม้ จะมีความผิดมาตรา 19 และมาตรา20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีปับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประวัตินกปรอดหัวโขน มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนชื้น พบได้ตามประเทศโซนเอเชีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา สำหรับประเทศไทยพบนกชนิดนี้ได้ทุกภาคตั้งแต่ภาคเหนือไปจนถึงภาคใต้ นกปรอดหัวโขนเป็นนกที่มีชื่อเสียงดีในการแข่งขันการประกวดประชันเสียงกว่านกประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นนกที่มีเสียงอันไพเราะ และมีเสียงร้องที่หลากหลายกว่านกอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงด้วยเช่นกันว่า ผู้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่นกได้มากน้อยแค่ไหน
ลักษณะของนกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีจุกตั้งอยู่บนหัว ที่แก้มจะมีสีแดงสด 2 ข้าง หน้าอกสีขาว ลำตัวเรียวยาว หลังจะเป็นสีดำออกน้ำตาล นกปรอดหัวโขนเป็นนกออกหากินเป็นฝูง โดยจะอยู่รวมๆ กันประมาณ 10-20 ตัว อาหาร ชอบกินผลไม้รสหวาน บ้างก็กินจำพวกผักตามสวนของชาวนา
นกปรอดหัวโขน เป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศมาเลเซีย การแข่งขันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียงของนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนทางภาคใต้นิยมนำนกปรอดหัวโขน มาตีกันเหมือนกับกีฬาไก่ชน คือนำนกมาเปรียบขนาดให้ใกล้เคียงมากที่สุด แล้วจับใส่กรงที่มีขนาดใหญ่ ปล่อยให้นกทั้งสองตัว ไล่ตีกันภายในกรง จนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เกิดกีฬาชนิดนี้ขึ้นเพราะ นกปรอดหัวโขน มีนิสัยดุร้าย ห่วงถิ่นอาศัย ชอบไล่จิกตีกันในธรรมชาติอยู่แล้ว
เมื่อมีการนำนกปรอดหัวโขนมาตีกัน จึงเกิดการพนันขึ้นในเวลาต่อมา บางครั้งมีการนำนกไปแข่งที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น มาเลเซียเป็นต้น การแข่งขันนกปรอดหัวโขน เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ พ.ศ.2515 เพราะชาวจังหวัดสงขลา มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแข่งขันกันด้วยเสียง โดยเอาแบบมาจากนกเขาชวา
นกปรอดหัวโขนจึงมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลังมีจัดงานแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อพ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้นและได้ยกเลิกการแข่งขันนกปรอดหัวโขนแบบตีกัน ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2520 จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดงานรวมกลุ่มผู้เลี้ยง นกปรอดหัวโขน โดยจัดขึ้นเป็นชมรม ทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ มากมายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งผู้เลี้ยงต้องรู้อันดับแรกคือ ‘นกปรอดหัวโขน’ ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้นครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หากผู้ใดฝ่าฝืนโดยไม่มีใบแจ้งครอบครองจากกรมป่าไม้ จะมีความผิดมาตรา 19 และมาตรา20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีปับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประวัตินกปรอดหัวโขน มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนชื้น พบได้ตามประเทศโซนเอเชีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา สำหรับประเทศไทยพบนกชนิดนี้ได้ทุกภาคตั้งแต่ภาคเหนือไปจนถึงภาคใต้ นกปรอดหัวโขนเป็นนกที่มีชื่อเสียงดีในการแข่งขันการประกวดประชันเสียงกว่านกประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นนกที่มีเสียงอันไพเราะ และมีเสียงร้องที่หลากหลายกว่านกอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงด้วยเช่นกันว่า ผู้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่นกได้มากน้อยแค่ไหน
ลักษณะของนกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีจุกตั้งอยู่บนหัว ที่แก้มจะมีสีแดงสด 2 ข้าง หน้าอกสีขาว ลำตัวเรียวยาว หลังจะเป็นสีดำออกน้ำตาล นกปรอดหัวโขนเป็นนกออกหากินเป็นฝูง โดยจะอยู่รวมๆ กันประมาณ 10-20 ตัว อาหาร ชอบกินผลไม้รสหวาน บ้างก็กินจำพวกผักตามสวนของชาวนา
นกปรอดหัวโขน เป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศมาเลเซีย การแข่งขันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียงของนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนทางภาคใต้นิยมนำนกปรอดหัวโขน มาตีกันเหมือนกับกีฬาไก่ชน คือนำนกมาเปรียบขนาดให้ใกล้เคียงมากที่สุด แล้วจับใส่กรงที่มีขนาดใหญ่ ปล่อยให้นกทั้งสองตัว ไล่ตีกันภายในกรง จนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เกิดกีฬาชนิดนี้ขึ้นเพราะ นกปรอดหัวโขน มีนิสัยดุร้าย ห่วงถิ่นอาศัย ชอบไล่จิกตีกันในธรรมชาติอยู่แล้ว
เมื่อมีการนำนกปรอดหัวโขนมาตีกัน จึงเกิดการพนันขึ้นในเวลาต่อมา บางครั้งมีการนำนกไปแข่งที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น มาเลเซียเป็นต้น การแข่งขันนกปรอดหัวโขน เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ พ.ศ.2515 เพราะชาวจังหวัดสงขลา มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแข่งขันกันด้วยเสียง โดยเอาแบบมาจากนกเขาชวา
นกปรอดหัวโขนจึงมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลังมีจัดงานแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อพ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้นและได้ยกเลิกการแข่งขันนกปรอดหัวโขนแบบตีกัน ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2520 จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดงานรวมกลุ่มผู้เลี้ยง นกปรอดหัวโขน โดยจัดขึ้นเป็นชมรม ทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ มากมายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง