00 ต้องยอมรับว่าสถานการณ์นับจากนี้จะเริ่มมีความเครียดกันมากขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ต้องได้คำตอบและเรียกร้องขอคำตอบไปพร้อมๆ กัน หลายเรื่องกำลังบรรจบกัน ยิ่งเป็นช่วงที่เดินเข้าสู่การปฏิรูป ที่บอกว่าต้องการรับฟังความคิดเห็น แต่เวลานี้กำลังจะกลายเป็นว่า "ถูกบังคับให้แสดงความเห็น" หรือไม่ก็ "ถูกบังคับให้ฟังความเห็น" หรือให้แสดงความเห็นในกรอบที่กำหนดเอาไว้ ห้ามออกนอกเส้นทางนี้ เป็นต้น ข้ออ้างที่ต่อไปนี้จะถูกนำมาใช้บ่อยก็คือ "อย่าสร้างความขัดแย้งเพิ่ม" เดี๋ยวประเทศเดินต่อไปไม่ได้ เป็นการทำลายความมั่นคง อะไรแบบนี้
00 ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็ต้องเข้าใจว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของการใช้อำนาจภายใต้คณะรัฐประหาร ในภาวะพิเศษ มันก็ย่อมถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอยู่แล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าชาวบ้านเขาจะยอมทนรับสภาพแบบนี้ไปได้นานแค่ไหนต่างหาก หรือไม่ก็ยังต้องการให้โอกาสคณะทหาร ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บริหารบ้านเมือง ในความหมาย "ปรองดอง" แบบนี้ต่อไปแค่ไหน
00 แม้ว่ายังไม่ถึงขั้นบานปลาย แต่เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศกับสื่อทั่วไปแล้ว ดูแล้ว "ไม่น่ารื่นรมย์" เอาเสียเลย กรณีที่เกิดขึ้นกับรายการ "เสียงประชาชน" ที่ไทยพีบีเอส เริ่มเป็นคำถามว่า ฝ่ายอำนาจรัฐมีความอดทนรับฟังเสียง "ที่ไม่เข้าหู" ได้มากแค่ไหน รวมไปถึงท่าทีกับสื่ออื่นๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ และที่เชื่อว่าบรรยากาศจะเริ่ม "ขึงตึง" กันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะหมดเวลาช่วงฮันนีมูนกันแล้ว ถึงเวลาต้องพูดความจริง ถูกใจ ไม่ถูกใจก็ถึงเวลาต้องพูดวิจารณ์ออกมาตรงๆ กันแล้ว ประกอบกับต้องเดินไปตามโรดแมปอย่างจริงจัง มันก็ย่อมไป "สะดุด" อะไรบางอย่างตามรายทางแบบเลี่ยงไม่ได้ และนั่นย่อมต้องเกิดความไม่พอใจเกิดขึ้นตามมา
00 อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆก็คือ การปฏิรูปพลังงาน ที่ทำท่าจะต้องกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายอำนาจรัฐ-บริษัทพลังงาน กับฝ่ายประชาชนอีกส่วนหนึ่ง ที่มองเห็นความไม่เป็นธรรม ถูกขูดรีด เป็นการกอบโกยทรัพยาการอยู่ฝ่ายเดียว การเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 กำลังจะเป็นปัญหาดังกล่าว และเชื่อว่าจะต้องมีเสียงคัดค้านมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด รสนา โตสิตระกูล สปช. ที่ต่อสู้เรื่องการปฏิรูปพลังานอย่างเป็นธรรม ได้ออกโรงเรียกร้องให้ยกเลิก เอ็มโอยู 44 เพื่อยับยั้งการอ้างสิทธิ์ของฝ่ายเขมร ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย และย้ำว่าการเปิดสัมปทาน รอบ 21
มีสองแปลงที่เกาะเกี่ยวอยู่กับพื้นที่ ที่เขมรอ้างสิทธิ์ด้วย และเกรงว่าเขาจะเสียอธิปไตย งานนี้ก็ต้องรอดูว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำอย่างไร แต่เชื่อว่าคงไม่ฟังหรอก เพราะก่อนหน้านี้ก็ยืนยันว่า ต้องเดินหน้าหาแหล่งพลังงาน แยกออกจากเรื่องดินแดน อ้างว่าหากรอให้ปัญหาดินแดนชัดเจนก็ไม่ทันการณ์ ทำนองอีกสิบชาติ ก็อาจไม่จบ !!
00 แม้จะพยายามหัวเราะกลบเกลื่อน พูดจาออกมาให้เป็นเรื่องขำๆ สำหรับ "หม่อมอุ๋ย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ รัฐบาล"ประยุทธ์ 1" เมื่อถูกสื่อแหย่ถามก่อนหน้านี้เรื่องการถูกปรับออก พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของรัฐบาล "ประยุทธ์ 2" ในราวต้นปีหน้าว่ากันว่าการเดินเครื่องในทีมเศรษฐกิจไม่ค่อยพร้อมเพรียง จึงทำให้ไม่ค่อยเห็นผลงาน หรือผลที่ออกมาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพคุ้มค่า ดูจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตแรกยังไม่กระเตื้องเลยแม้แต่น้อย หลายอย่างไม่เข้าเป้า ถ้าขืนยังเป็นแบบนี้ ปีหน้าที่คาดว่าจะโตพรวดพราดก็อาจจะเป็นแค่ราคาคุย แต่นั่นไม่เท่ากับการ "นับถอยหลัง" ของรัฐนาวา และทีมงานคสช. จะพลอยพังไปด้วย ดังนั้นเป็นไปได้ที่อาจมีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมใหม่ น่าจับตา !!
00 ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็ต้องเข้าใจว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของการใช้อำนาจภายใต้คณะรัฐประหาร ในภาวะพิเศษ มันก็ย่อมถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอยู่แล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าชาวบ้านเขาจะยอมทนรับสภาพแบบนี้ไปได้นานแค่ไหนต่างหาก หรือไม่ก็ยังต้องการให้โอกาสคณะทหาร ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บริหารบ้านเมือง ในความหมาย "ปรองดอง" แบบนี้ต่อไปแค่ไหน
00 แม้ว่ายังไม่ถึงขั้นบานปลาย แต่เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศกับสื่อทั่วไปแล้ว ดูแล้ว "ไม่น่ารื่นรมย์" เอาเสียเลย กรณีที่เกิดขึ้นกับรายการ "เสียงประชาชน" ที่ไทยพีบีเอส เริ่มเป็นคำถามว่า ฝ่ายอำนาจรัฐมีความอดทนรับฟังเสียง "ที่ไม่เข้าหู" ได้มากแค่ไหน รวมไปถึงท่าทีกับสื่ออื่นๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ และที่เชื่อว่าบรรยากาศจะเริ่ม "ขึงตึง" กันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะหมดเวลาช่วงฮันนีมูนกันแล้ว ถึงเวลาต้องพูดความจริง ถูกใจ ไม่ถูกใจก็ถึงเวลาต้องพูดวิจารณ์ออกมาตรงๆ กันแล้ว ประกอบกับต้องเดินไปตามโรดแมปอย่างจริงจัง มันก็ย่อมไป "สะดุด" อะไรบางอย่างตามรายทางแบบเลี่ยงไม่ได้ และนั่นย่อมต้องเกิดความไม่พอใจเกิดขึ้นตามมา
00 อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆก็คือ การปฏิรูปพลังงาน ที่ทำท่าจะต้องกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายอำนาจรัฐ-บริษัทพลังงาน กับฝ่ายประชาชนอีกส่วนหนึ่ง ที่มองเห็นความไม่เป็นธรรม ถูกขูดรีด เป็นการกอบโกยทรัพยาการอยู่ฝ่ายเดียว การเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 กำลังจะเป็นปัญหาดังกล่าว และเชื่อว่าจะต้องมีเสียงคัดค้านมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด รสนา โตสิตระกูล สปช. ที่ต่อสู้เรื่องการปฏิรูปพลังานอย่างเป็นธรรม ได้ออกโรงเรียกร้องให้ยกเลิก เอ็มโอยู 44 เพื่อยับยั้งการอ้างสิทธิ์ของฝ่ายเขมร ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย และย้ำว่าการเปิดสัมปทาน รอบ 21
มีสองแปลงที่เกาะเกี่ยวอยู่กับพื้นที่ ที่เขมรอ้างสิทธิ์ด้วย และเกรงว่าเขาจะเสียอธิปไตย งานนี้ก็ต้องรอดูว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำอย่างไร แต่เชื่อว่าคงไม่ฟังหรอก เพราะก่อนหน้านี้ก็ยืนยันว่า ต้องเดินหน้าหาแหล่งพลังงาน แยกออกจากเรื่องดินแดน อ้างว่าหากรอให้ปัญหาดินแดนชัดเจนก็ไม่ทันการณ์ ทำนองอีกสิบชาติ ก็อาจไม่จบ !!
00 แม้จะพยายามหัวเราะกลบเกลื่อน พูดจาออกมาให้เป็นเรื่องขำๆ สำหรับ "หม่อมอุ๋ย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ รัฐบาล"ประยุทธ์ 1" เมื่อถูกสื่อแหย่ถามก่อนหน้านี้เรื่องการถูกปรับออก พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของรัฐบาล "ประยุทธ์ 2" ในราวต้นปีหน้าว่ากันว่าการเดินเครื่องในทีมเศรษฐกิจไม่ค่อยพร้อมเพรียง จึงทำให้ไม่ค่อยเห็นผลงาน หรือผลที่ออกมาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพคุ้มค่า ดูจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตแรกยังไม่กระเตื้องเลยแม้แต่น้อย หลายอย่างไม่เข้าเป้า ถ้าขืนยังเป็นแบบนี้ ปีหน้าที่คาดว่าจะโตพรวดพราดก็อาจจะเป็นแค่ราคาคุย แต่นั่นไม่เท่ากับการ "นับถอยหลัง" ของรัฐนาวา และทีมงานคสช. จะพลอยพังไปด้วย ดังนั้นเป็นไปได้ที่อาจมีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมใหม่ น่าจับตา !!