เหตุผลย้าย “พงศ์พัฒน์-โกวิท” ตอนตี 4 ยังไม่ชัด คาดไม่สามารถนำหน่วยงานตอบสนองนโยบายรัฐได้ จับตา “ศรีวราห์” กลับบ้านเก่าผงาดเป็น ผบช.ก. ส่วนตำแหน่ง น.1 เตรียมยกให้ “นวยทนได้”
ภายหลังมีคำสั่งปลดพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.และพล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบช.ก. นอกจากสร้างความตกตะลึงแก่วงการตำรวจแล้วยังเป็นที่สนใจของผู้สื่อข่าวจำนวนมาก โดยตลอดทั้งวันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีสื่อมวลชนหลายแขนงมุ่งหน้ามารอการแถลงจาก พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ถึงเหตุผลที่แท้จริง รวมทั้งมีความพยายามแกะร่องรอยและปมต่างๆ อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าตลอดเวลา 4 ปี ในตำแหน่งผบช.ก.ของพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เขาคือนายตำรวจที่ได้รับสิทธิพิเศษ แม้จะเคยมีนักการเมืองบางยุคต้องการปรับเปลี่ยนขั้วอำนาจในหน่วยงานนี้ แต่ไม่เคยสำเร็จ กระทั่งความพยายามของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงพรรคเพื่อไทยบริหารประเทศยังต้องล่าถอยไป
รายงานข่าวแจ้งว่า คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 610/2557 เรื่องให้พล.ต.ท.พงศพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.กับพล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบช.ก.ไปปฏิบัติหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยขาดจากตำแหน่งเดิมนั้น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ตัดสินใจเมื่อตอน 04.00 น. เศษของวันที่ 12 พ.ย. จึงนับว่า ต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะไม่เคยมีคำสั่งในลักษณะนี้มาก่อน นอกจากเป็นกรณีพิเศษจนถึงพิเศษที่สุด
สำหรับเส้นทางของตำรวจทั้ง 2 นายเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 15 (ทบ.15) โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 31 (นรต.31)มีเพื่อนร่วมรุ่น คือ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน เป็นต้น
โดยพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ยังจบปริญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรสืบราชการลับจากมหาวิทยาลัยหน่วยสืบราชการลับสหรัฐอเมริกา หลักสูตรด้านการบริหารตำรวจ จากวิทยบาลัยตำรวจแคนนาดา เป็นต้น ประวัติการทำงานส่วนใหญ่เติบโตมาในสายกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เคยเป็นผู้กำกับ 1 กองปราบปราม (รับผิดชอบใน กทม.) และผู้กำกับ 2 กองปราบปราม (รับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร) รองผู้บังคับการกองปราบปราม รักษาการแทนผู้การกองปราบ เป็นผู้การกองปราบ ก่อนเลื่อนเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเพียง 6 เดือน แล้วขึ้นเป็นรักษาการณ์ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก่อนนั่งเต็มตัวเมื่อปี 2553 นับเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปีที่อยู่ในตำแหน่งทรงอิทธิพลที่สุดในองค์กรตำรวจ
มีรายงานว่า เหตุผลการย้ายแบบฟ้าผ่าครั้งนี้ แม้จะเป็นเรื่องเหนือความคาดเดา แต่เมื่อจับต้นชนปลายแล้วน่าจะมาจากการอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของ พล.ต.ท.พงศพัฒน์ นั่นเอง และเท่าที่ผ่านมา ผลงานต่างๆ ของหน่วยงานในสังกัด ไม่ว่าจะเป็นกองปราบปรามเอง หรือกองบังคับการอื่นๆ เช่น ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจน้ำ ตำรวจรถไฟ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดต่างๆ เช่นเกี่ยวกับความผิดทรัพยากรธรรมชาติ การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ยังตอบสนองความต้องการของนโยบายระดับชาติไม่ได้ อีกทั้งยังมีเหตุแทรกซ้อนจากบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับพ.ต.อ.-พ.ต.ต. ซึ่งพล.ต.ท.พงศพัฒน์ มอบหมายให้พล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบชก.เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำ และไม่สามารถประสานความลงตัวกับผู้บริหารระดับอื่นได้ จึงเป็นที่มาของคำสั่งย้ายด่วนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กับคำสั่งดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่จะยังงุนงง แต่ก็มีเสียงสนับสนุน โดยหวังว่าจะเป็นการเปิดประตูสู่การบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การนำของพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ดูเหมือนว่าอยู่ภายใต้กรอบความคิดของอดีต ผบช.ก.และพล.ต.ต.โกวิท ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทที่ไว้วางใจที่สุดเพียง 2 คน จึงถือเป็นศักราชใหม่มีแนวโน้มการทำงานที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการกระชับอำนาจของรัฐบาลทหาร กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างแท้จริง
ส่วนเก้าอี้ ผบช.ก. ที่มอบหมายให้พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร.รักษาการณ์ไปก่อนนั้น มีรายงานว่านายตำรวจที่มีความเหมาะสม และอยู่ในขั้วอำนาจขณะนี้ คือ พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพรหมณกุล ผบช.น. ซึ่งเติบโตมากับสายงานกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมาโดยตลอด อาจจะขยับเก้าอี้ไปทำหน้าที่แทนพร้อมกับพล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1ที่มีสิทธิ์เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนใหม่ได้เช่นกัน
ภายหลังมีคำสั่งปลดพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.และพล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบช.ก. นอกจากสร้างความตกตะลึงแก่วงการตำรวจแล้วยังเป็นที่สนใจของผู้สื่อข่าวจำนวนมาก โดยตลอดทั้งวันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีสื่อมวลชนหลายแขนงมุ่งหน้ามารอการแถลงจาก พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ถึงเหตุผลที่แท้จริง รวมทั้งมีความพยายามแกะร่องรอยและปมต่างๆ อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าตลอดเวลา 4 ปี ในตำแหน่งผบช.ก.ของพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เขาคือนายตำรวจที่ได้รับสิทธิพิเศษ แม้จะเคยมีนักการเมืองบางยุคต้องการปรับเปลี่ยนขั้วอำนาจในหน่วยงานนี้ แต่ไม่เคยสำเร็จ กระทั่งความพยายามของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงพรรคเพื่อไทยบริหารประเทศยังต้องล่าถอยไป
รายงานข่าวแจ้งว่า คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 610/2557 เรื่องให้พล.ต.ท.พงศพัฒน์ ฉายาพันธ์ ผบช.ก.กับพล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบช.ก.ไปปฏิบัติหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยขาดจากตำแหน่งเดิมนั้น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร.ตัดสินใจเมื่อตอน 04.00 น. เศษของวันที่ 12 พ.ย. จึงนับว่า ต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะไม่เคยมีคำสั่งในลักษณะนี้มาก่อน นอกจากเป็นกรณีพิเศษจนถึงพิเศษที่สุด
สำหรับเส้นทางของตำรวจทั้ง 2 นายเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 15 (ทบ.15) โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 31 (นรต.31)มีเพื่อนร่วมรุ่น คือ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน เป็นต้น
โดยพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ยังจบปริญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรสืบราชการลับจากมหาวิทยาลัยหน่วยสืบราชการลับสหรัฐอเมริกา หลักสูตรด้านการบริหารตำรวจ จากวิทยบาลัยตำรวจแคนนาดา เป็นต้น ประวัติการทำงานส่วนใหญ่เติบโตมาในสายกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เคยเป็นผู้กำกับ 1 กองปราบปราม (รับผิดชอบใน กทม.) และผู้กำกับ 2 กองปราบปราม (รับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร) รองผู้บังคับการกองปราบปราม รักษาการแทนผู้การกองปราบ เป็นผู้การกองปราบ ก่อนเลื่อนเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเพียง 6 เดือน แล้วขึ้นเป็นรักษาการณ์ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก่อนนั่งเต็มตัวเมื่อปี 2553 นับเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปีที่อยู่ในตำแหน่งทรงอิทธิพลที่สุดในองค์กรตำรวจ
มีรายงานว่า เหตุผลการย้ายแบบฟ้าผ่าครั้งนี้ แม้จะเป็นเรื่องเหนือความคาดเดา แต่เมื่อจับต้นชนปลายแล้วน่าจะมาจากการอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของ พล.ต.ท.พงศพัฒน์ นั่นเอง และเท่าที่ผ่านมา ผลงานต่างๆ ของหน่วยงานในสังกัด ไม่ว่าจะเป็นกองปราบปรามเอง หรือกองบังคับการอื่นๆ เช่น ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจน้ำ ตำรวจรถไฟ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดต่างๆ เช่นเกี่ยวกับความผิดทรัพยากรธรรมชาติ การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ยังตอบสนองความต้องการของนโยบายระดับชาติไม่ได้ อีกทั้งยังมีเหตุแทรกซ้อนจากบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับพ.ต.อ.-พ.ต.ต. ซึ่งพล.ต.ท.พงศพัฒน์ มอบหมายให้พล.ต.ต.โกวิท วงศ์รุ่งโรจน์ รองผบชก.เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำ และไม่สามารถประสานความลงตัวกับผู้บริหารระดับอื่นได้ จึงเป็นที่มาของคำสั่งย้ายด่วนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กับคำสั่งดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่จะยังงุนงง แต่ก็มีเสียงสนับสนุน โดยหวังว่าจะเป็นการเปิดประตูสู่การบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การนำของพล.ต.ท.พงศพัฒน์ ดูเหมือนว่าอยู่ภายใต้กรอบความคิดของอดีต ผบช.ก.และพล.ต.ต.โกวิท ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทที่ไว้วางใจที่สุดเพียง 2 คน จึงถือเป็นศักราชใหม่มีแนวโน้มการทำงานที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการกระชับอำนาจของรัฐบาลทหาร กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างแท้จริง
ส่วนเก้าอี้ ผบช.ก. ที่มอบหมายให้พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร.รักษาการณ์ไปก่อนนั้น มีรายงานว่านายตำรวจที่มีความเหมาะสม และอยู่ในขั้วอำนาจขณะนี้ คือ พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพรหมณกุล ผบช.น. ซึ่งเติบโตมากับสายงานกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมาโดยตลอด อาจจะขยับเก้าอี้ไปทำหน้าที่แทนพร้อมกับพล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1ที่มีสิทธิ์เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนใหม่ได้เช่นกัน