ASTVผู้จัดการรายวัน - เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ สบช่องทำเลทองเยาวราช ทุ่ม 800 ล้านบาท ปรับโฉมอาคารสหธนาคาร เปิด “โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์” ขนาด 59 เตียง สนองความต้องการชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวจีน และชาวต่างชาติทั่วไป หวังใช้เป็นโมเดลรุกลงทุนเพิ่มในจีนตอนใต้ปี 59 หลังขยายสาขากัมพูชา เมียนมาร์ ลาว และมาเลเซีย หวังก้าวเป็น Medical Hub แห่งอาเซียน
นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการแพทย์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์กรุงเทพ เปิดเผยว่า เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้งบ 800 ล้านบาทในการลงทุน
“โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์” บนถนนเยาวราช โดยใช้อาคารเก่าของธนาคารสหธนาคาร บริเวณประตูเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2 อาคาร ความสูง 6 และ 8 ชั้น พร้อมที่จอดรถ 40 คัน เป้าหมายหลักเพื่อให้บริการชาวไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราชในเขตสัมพันธวงศ์และบริเวณใกล้เคียง รวมถึงชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวและทำงานในประเทศไทย ตลอดจนชาวต่างชาติทั่วไป
โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกด้านบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนย่านเยาวราชซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรเป็นจำนวนมากและมีกำลังซื้อสูง แต่มีโรงพยาบาลระดับมาตรฐานเพียงไม่กี่แห่งในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชาวจีน ทั้งในด้านบุคลากรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้อย่างชำนาญและมีความรู้ความ เข้าใจในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวจีน โดยขณะนี้มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วย 30 เตียงและจะสามารถเปิดให้บริการครบ 59 เตียงได้ภายในปี 2559
ทั้งยังเป็นการรองรับการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 และก้าวสู่การเป็น Medical Hub แห่งอาเซียนเพื่อให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานระดับสากล โดยจะใช้โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์เป็นโมเดลขยายการลงทุนไปยัง ประเทศจีนตอนใต้ภายในปี 2559 จากปัจจุบันที่ลงทุนในกัมพูชาแล้ว 2 แห่ง และอยู่
ระหว่างพิจารณาลงทุนเพิ่มในประเทศที่มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับประเทศไทยคือ เมียนมาร์ ลาว และมาเลเซีย
นอกจากนั้นยังลงทุนเพิ่มใน 6 แห่งคือ รพ.เปาโล เมโมเรียล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, รพ.สมิติเวช จ.ชลบุรี, รพ.กรุงเทพพัทยา จอมเทียน จ.ชลบุรี, รพ.กรุงเทพพัทยา จ.ระยอง, รพ.กรุงเทพ ภูเก็ต, และรพ.เมืองเพชรธนบุรี จ.เพชรบุรี รวมทั้งสิ้น 44 แห่ง มีเป้าหมายจะลงทุนครบ 50 แห่งภายในปี 2558 ส่งผลให้เป็นโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายสูงสุดเป็นลำดับ 4 ของโลกจากปัจจุบันลำดับที่ 5
ผลประกอบการปี 2557 คาดว่าจะเติบโต 12% โดยในปี 2558 จะใช้งบประมาณ 10% ของรายได้เพื่อปรับปรุงและลงทุนเพิ่มสัดส่วนเท่ากันคือ 50:50 โดยในต่างประเทศจะใช้เงินลงทุน 700-800 ล้านบาทสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็กจำนวน 50 เตียง ส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่จำนวน 100 เตียง ใช้งบประมาณ 1 พันล้านบาท ส่วนการลงทุนในประเทศมีนโยบายที่จะเน้นลงทุนในลักษณะศูนย์บริการโลว์คอสต์ ขยายช่องทางการเปิดให้บริการคลินิกทางการแพทย์ที่ให้บริการด้านห้องแล็บบริการทางการแพทย์และศูนย์เอ็กซเรย์ในระดับราคาประมาณ 1 พันบาท ซึ่งขณะนี้มีให้บริการแล้ว 3 แห่งย่านวัชรพล มีนบุรีและเอเชียทีค
ปัจจุบัน เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มีโรงพยาบาลระดับพรีเมี่ยม 40% ระดับกลาง 40% และ Low Cost 20% รวม 6.5 พันเตียง คาดว่าสิ้นปีจะเป็น 7 พันเตียง และขยายเป็น 8 พันเตียงในปี 2558 มีจำนวนแพทย์มากถึง 9 พันราย คิดเป็นแพทย์ประจำ 3 พันราย พร้อมพยาบาล 8 พันราย ให้บริการผู้ป่วยประมาณ 2 หมื่นคนต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนคนไทย 70% ต่างชาติ 30%
นายแพทย์ชาตรี กล่าวด้วยว่า ชาวต่างชาติที่มาใช้บริการมากที่สุดคือ ชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยและทำงานในประเทศไทย รองลงมาคือนักเดินทางจากประเทศเมียนมาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การ์ตา บังกลาเทศ และสแกนดิเนเวียน ตามลำดับ ขณะนี้เรามีโรงพยาบาลที่ให้บริการเฉพาะชาวต่างชาติโดยเฉพาะคือชาวญี่ปุ่นและอาหรับ และจะเปิดให้บริการเฉพาะชาวเมียนมาร์เพิ่มอีก การขยายการลงทุนและเพิ่มสาขาของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างต่อเนื่องมีวัตถุ ประสงค์หลักคือ การขยายการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนคนไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของ ประเทศก่อนที่จะเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนจาก ประเทศต่างๆ เดินทางเข้ามารับบริการมากขึ้น เนื่องจากแพทย์ไทยมีความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์ทุกแขนงมากที่สุดใน กลุ่มประเทศอาเซียน
“เราไม่มีนโยบายซื้อกิจการ หรือเทคโอเวอร์โรงพยาบาลเอกชนรายอื่นๆ อีกทั้งยังไม่ได้ถือเป็นการครองตลาดแต่อย่างใด เพราะหากนับจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยแล้ว เรามีสัดส่วนเพียง15-16% ของโรงพยาบาลเอกชนและมีเพียง 5 % เท่านั้นเมื่อนับรวมกับโรงพยาบาลรัฐ” นายแพทย์ชาตรี กล่าวในที่สุด
นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการแพทย์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์กรุงเทพ เปิดเผยว่า เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้งบ 800 ล้านบาทในการลงทุน
“โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์” บนถนนเยาวราช โดยใช้อาคารเก่าของธนาคารสหธนาคาร บริเวณประตูเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2 อาคาร ความสูง 6 และ 8 ชั้น พร้อมที่จอดรถ 40 คัน เป้าหมายหลักเพื่อให้บริการชาวไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราชในเขตสัมพันธวงศ์และบริเวณใกล้เคียง รวมถึงชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวและทำงานในประเทศไทย ตลอดจนชาวต่างชาติทั่วไป
โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกด้านบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนย่านเยาวราชซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรเป็นจำนวนมากและมีกำลังซื้อสูง แต่มีโรงพยาบาลระดับมาตรฐานเพียงไม่กี่แห่งในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชาวจีน ทั้งในด้านบุคลากรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้อย่างชำนาญและมีความรู้ความ เข้าใจในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวจีน โดยขณะนี้มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วย 30 เตียงและจะสามารถเปิดให้บริการครบ 59 เตียงได้ภายในปี 2559
ทั้งยังเป็นการรองรับการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 และก้าวสู่การเป็น Medical Hub แห่งอาเซียนเพื่อให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานระดับสากล โดยจะใช้โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์เป็นโมเดลขยายการลงทุนไปยัง ประเทศจีนตอนใต้ภายในปี 2559 จากปัจจุบันที่ลงทุนในกัมพูชาแล้ว 2 แห่ง และอยู่
ระหว่างพิจารณาลงทุนเพิ่มในประเทศที่มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับประเทศไทยคือ เมียนมาร์ ลาว และมาเลเซีย
นอกจากนั้นยังลงทุนเพิ่มใน 6 แห่งคือ รพ.เปาโล เมโมเรียล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, รพ.สมิติเวช จ.ชลบุรี, รพ.กรุงเทพพัทยา จอมเทียน จ.ชลบุรี, รพ.กรุงเทพพัทยา จ.ระยอง, รพ.กรุงเทพ ภูเก็ต, และรพ.เมืองเพชรธนบุรี จ.เพชรบุรี รวมทั้งสิ้น 44 แห่ง มีเป้าหมายจะลงทุนครบ 50 แห่งภายในปี 2558 ส่งผลให้เป็นโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายสูงสุดเป็นลำดับ 4 ของโลกจากปัจจุบันลำดับที่ 5
ผลประกอบการปี 2557 คาดว่าจะเติบโต 12% โดยในปี 2558 จะใช้งบประมาณ 10% ของรายได้เพื่อปรับปรุงและลงทุนเพิ่มสัดส่วนเท่ากันคือ 50:50 โดยในต่างประเทศจะใช้เงินลงทุน 700-800 ล้านบาทสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็กจำนวน 50 เตียง ส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่จำนวน 100 เตียง ใช้งบประมาณ 1 พันล้านบาท ส่วนการลงทุนในประเทศมีนโยบายที่จะเน้นลงทุนในลักษณะศูนย์บริการโลว์คอสต์ ขยายช่องทางการเปิดให้บริการคลินิกทางการแพทย์ที่ให้บริการด้านห้องแล็บบริการทางการแพทย์และศูนย์เอ็กซเรย์ในระดับราคาประมาณ 1 พันบาท ซึ่งขณะนี้มีให้บริการแล้ว 3 แห่งย่านวัชรพล มีนบุรีและเอเชียทีค
ปัจจุบัน เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มีโรงพยาบาลระดับพรีเมี่ยม 40% ระดับกลาง 40% และ Low Cost 20% รวม 6.5 พันเตียง คาดว่าสิ้นปีจะเป็น 7 พันเตียง และขยายเป็น 8 พันเตียงในปี 2558 มีจำนวนแพทย์มากถึง 9 พันราย คิดเป็นแพทย์ประจำ 3 พันราย พร้อมพยาบาล 8 พันราย ให้บริการผู้ป่วยประมาณ 2 หมื่นคนต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนคนไทย 70% ต่างชาติ 30%
นายแพทย์ชาตรี กล่าวด้วยว่า ชาวต่างชาติที่มาใช้บริการมากที่สุดคือ ชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยและทำงานในประเทศไทย รองลงมาคือนักเดินทางจากประเทศเมียนมาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การ์ตา บังกลาเทศ และสแกนดิเนเวียน ตามลำดับ ขณะนี้เรามีโรงพยาบาลที่ให้บริการเฉพาะชาวต่างชาติโดยเฉพาะคือชาวญี่ปุ่นและอาหรับ และจะเปิดให้บริการเฉพาะชาวเมียนมาร์เพิ่มอีก การขยายการลงทุนและเพิ่มสาขาของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างต่อเนื่องมีวัตถุ ประสงค์หลักคือ การขยายการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนคนไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของ ประเทศก่อนที่จะเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนจาก ประเทศต่างๆ เดินทางเข้ามารับบริการมากขึ้น เนื่องจากแพทย์ไทยมีความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์ทุกแขนงมากที่สุดใน กลุ่มประเทศอาเซียน
“เราไม่มีนโยบายซื้อกิจการ หรือเทคโอเวอร์โรงพยาบาลเอกชนรายอื่นๆ อีกทั้งยังไม่ได้ถือเป็นการครองตลาดแต่อย่างใด เพราะหากนับจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยแล้ว เรามีสัดส่วนเพียง15-16% ของโรงพยาบาลเอกชนและมีเพียง 5 % เท่านั้นเมื่อนับรวมกับโรงพยาบาลรัฐ” นายแพทย์ชาตรี กล่าวในที่สุด