วานนี้ (3 พ.ย.) นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง กล่าวถึง กรณีที่ นายดิเรก อิงคนินท์ ประธานศาลฎีกา ทำหนังสือถึง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อคัดค้านการแต่งตั้ง นายเมธี ครองแก้ว เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (กต.) เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้ามว่า จะมีการนำเอกสารข้อท้วงติงดังกล่าว เข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช. ในวันนี้ ( 4 พ.ย.) แต่ทั้งนี้เชื่อว่า การยื่นคัดค้านดังกล่าว คงไม่มีผลทำให้ สนช. ต้องทบทวนการแต่งตั้งนายเมธี เพราะ การแต่งตั้งดังกล่าวได้เสร็จสิ้นกระบวนการทางนิติบัญญัติแล้ว ขณะที่ระเบียบกต. ยังระบุไว้ด้วยว่า การขัดคุณสมบัติต้องเป็นคดีถึงที่สุด แต่กรณีนายเมธีนั้น คดียัง ไม่ถึงที่สุด จึงคิดว่าไม่น่ามีปัญหาในทางกฏหมาย ส่วนเรื่องความเหมาะสม ก็คงเป็นประเด็นที่ทางกต.จะพิจารณา หรือ นายเมธี จะใช้ดุลยพินิจเองว่าจะตัดสินอย่างไร
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง คำท้วงติงของนายดิเรก อิงคนินท์ ประธานศาลฎีกา ที่ระบุว่า นายกล้านรงค์ จันทิก สนช. ปกปิดข้อเท็จจริงในการแต่งตั้ง นายเมธี ครองแก้ว เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (กต.) ว่า ตนคงไม่ไปร้องยัง คณะกรรมาการจริยธรรมของ สนช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ จริยธรรม ของนายกล้านรงค์ ในกรณีดังกล่าว แต่มองว่าสมาชิกสนช. สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ไปต้องมีผู้ไปร้อง เพราะตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 12 ระบุไว้ชัดเจนว่า สมาชิกสนช. ผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อม เสียเกียรติศักดิ์ สมาชิก สนช.จํานวนไม่น้อยกว่า ยี่สิบห้าคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสนช. มีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพได้ ซึ่งหากพิจารณาจากคำท้วงติงของประมุขฝ่ายตุลาการ ก็ถือว่าเข้าข่ายตามมาตรา 12 อย่างชัดเจน
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง คำท้วงติงของนายดิเรก อิงคนินท์ ประธานศาลฎีกา ที่ระบุว่า นายกล้านรงค์ จันทิก สนช. ปกปิดข้อเท็จจริงในการแต่งตั้ง นายเมธี ครองแก้ว เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (กต.) ว่า ตนคงไม่ไปร้องยัง คณะกรรมาการจริยธรรมของ สนช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ จริยธรรม ของนายกล้านรงค์ ในกรณีดังกล่าว แต่มองว่าสมาชิกสนช. สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ไปต้องมีผู้ไปร้อง เพราะตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 12 ระบุไว้ชัดเจนว่า สมาชิกสนช. ผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อม เสียเกียรติศักดิ์ สมาชิก สนช.จํานวนไม่น้อยกว่า ยี่สิบห้าคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสนช. มีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพได้ ซึ่งหากพิจารณาจากคำท้วงติงของประมุขฝ่ายตุลาการ ก็ถือว่าเข้าข่ายตามมาตรา 12 อย่างชัดเจน