ความขัดแย้งในประเด็นสำคัญที่ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสามารถถอดถอน 2 อดีตประธานสภาฯ ผู้ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ากระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 หลายบทหลายมาตราที่ยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่นั้น เกี่ยวข้องกับอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองคนสำคัญจำนวนมาก เพราะไม่เพียงแต่ 2 อดีตประธานสภาฯ เท่านั้น ยังจะมีสำนวนอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงตามมา แล้วยังมีสำนวนอดีต ส.ส.และ ส.ว.อีกนับร้อย การตัดสินใจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน 2 คดีแรกจึงมีความสำคัญยิ่ง
เพราะแม้ทั้งหมดจะพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ไปแล้วก็จริง แต่หากถูกถอดถอน จะมีโทษทางการเมืองพ่วงเข้ามาอีกหนึ่ง วุฒิสภาชุดปี 2551 – 2557 จึงวางบรรทัดฐานไว้ว่าแม้ผู้ถูกถอดถอนจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็จะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไป โทษทางการเมืองที่ว่านั้นก็คือ
“เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี”
ก็หมายความจะไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิเป็นรัฐมนตรี ไม่มีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนนักการเมืองที่โดนโทษนี้จากเหตุที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ที่โด่งดังมากก็คือกลุ่มที่สื่อมวลชนเรียกว่ากลุ่มบ้านเลขที่ 111 กับบ้านเลขที่ 109 ที่ประสบเคราะห์กรรมจากคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญในปี 2550 และ 2551 ที่บัดนี้พ้นระยะเวลาตัดสิทธิไปแล้วนั่นแหละ
แต่ที่สำคัญกว่าคือวันนี้โทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผล “ตลอดชีวิต” ไม่ใช่แค่ 5 ปี!
และมีแนวโน้มจะส่งผลย้อนหลังไปยังนักการเมืองกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ด้วย!!
เพราะผลของอนุมาตรา 4 หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าวงเล็บ 4 ในมาตรา 8, 20 และ 35 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เรื่องนี้ผมเคยบอกเล่าไว้ให้รับรู้กันแล้วตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ในช่วงต้นๆ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้ที่มีบทบัญญัติระบุลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ในมาตรา 8 (4) ว่า
“เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง”
ไม่เคยมีบทบัญญัติเช่นนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งขึ้นมาในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 หรือ 2540
ไม่ใช่แค่ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น ยังโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วยตามมาตรา 20 (4)
“ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8”
คำว่า “ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8” ก็หมายความรวมถึงมาตรา 8 (4) ด้วย
ผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นทันตาเห็นของมาตรา 8 (4) และมาตรา 20 (4) ก็คือทำให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งๆ ที่ได้ช่วยงาน คสช.ด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้น ก็เลยต้องแต่งตั้งท่านเป็น คสช.ในภายหลัง และยังได้ยินมาว่าเคยมีแนวความคิดที่จะให้นายพินิจ จารุสมบัติเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย ก็ต้องล้มเลิกไปเพราะขาดคุณสมบัติจาก 2 มาตรานี้
แม้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จะบังคับใช้ชั่วคราวก็จริง แต่แนวโน้มบทบัญญัตินี้จะตกทอดไปถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีกำหนดเสร็จภายในไม่เกิน 319 วันหลังจากวันที่ 21 ตุลาคม 2557 นี้
เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้อีกเช่นกันที่กำหนดกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอาไว้ถึง 10 ประการในมาตรา 35 ที่เรียกกันว่าบัญญัติ 10 ประการ ลองเปิดอ่านดูนะครับ หนักหนาสาหัสทั้งนั้น
เรื่องที่เรากำลังพูดถึงวันนี้อยู่อนุมาตรา 4 ของมาตรา 35 ครับ
มาตรา 35 (4) ระบุไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะต้องมี
“กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด”
เขียนไว้หนักแน่นแบบนี้ทำให้ยังมองไม่เห็นชัดเจนเลยว่าจะเป็นอื่นไปได้อย่างไร ที่มาตรา 8 (4) ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภาฯ ที่จะเชื่อมโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี “เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” จะไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2558
แม้ว่าจะพอมีความเป็นไปได้ที่ไม่จะเขียนบทบัญญัติให้ชัดเจนขึ้นไม่กวาดรวมผู้ที่เคยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทุกคน แต่จำแนกแยกแยะเฉพาะผู้ที่มีเจตนาทุจริตโดยตัวเองจริงๆ ไม่ใช่เพราะผลพวงจากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
วันนี้ก็ต้องคาดการณ์ความเป็นไปได้ไว้ก่อนว่าบทบัญญัติมาตรา 8 (4) และ 20 (4) จะตกทอดไปอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามนัยกรอบบังคับมาตรา 35 (4)
แค่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ถอดถอนใครอีกเลย นักการเมืองกลุ่ม 111 และ 109 ก็หมดสิทธิตลอดชีวิตกันหมดแล้ว
ยิ่งถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ถอดถอนเพิ่มอีก นักการเมืองก็จะโดนตัดสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย
ถึงต้องคัดค้านกันเต็มที่
อันที่จริงกรอบตามมาตรา 35 (4) ตรงคำว่า “คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย...” หากรวมถึงคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.และกกต.ด้วยแล้ว ยังจะตัดสิทธินักการเมืองไปได้อีกเป็นร้อยทีเดียว รวมทั้ง 2 อดีตประธานสภาฯ และอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนล่าสุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการถอดถอนในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเลยด้วยซ้ำ แต่ประเด็นนี้ไว้ว่ากันทีหลังให้มีรูปธรรมชัดเจนก่อนดีกว่า
ดังนั้นนอกจากคัดค้านอำนาจถอดถอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
จึงยังมีแนวโน้มสูงมากที่นักการเมืองกลุ่มใหญ่จะคัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามกรอบมาตรา 35
ไม่ต้องเป็นหมอดูก็รู้ได้ว่าการเมืองในช่วง 319 วันของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2557 ไปจะทวีความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2558 ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรร่างแรกปรากฏโฉม
เพราะแม้ทั้งหมดจะพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ไปแล้วก็จริง แต่หากถูกถอดถอน จะมีโทษทางการเมืองพ่วงเข้ามาอีกหนึ่ง วุฒิสภาชุดปี 2551 – 2557 จึงวางบรรทัดฐานไว้ว่าแม้ผู้ถูกถอดถอนจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็จะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไป โทษทางการเมืองที่ว่านั้นก็คือ
“เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี”
ก็หมายความจะไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีสิทธิเป็นรัฐมนตรี ไม่มีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนนักการเมืองที่โดนโทษนี้จากเหตุที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ ที่โด่งดังมากก็คือกลุ่มที่สื่อมวลชนเรียกว่ากลุ่มบ้านเลขที่ 111 กับบ้านเลขที่ 109 ที่ประสบเคราะห์กรรมจากคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญในปี 2550 และ 2551 ที่บัดนี้พ้นระยะเวลาตัดสิทธิไปแล้วนั่นแหละ
แต่ที่สำคัญกว่าคือวันนี้โทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผล “ตลอดชีวิต” ไม่ใช่แค่ 5 ปี!
และมีแนวโน้มจะส่งผลย้อนหลังไปยังนักการเมืองกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ด้วย!!
เพราะผลของอนุมาตรา 4 หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าวงเล็บ 4 ในมาตรา 8, 20 และ 35 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เรื่องนี้ผมเคยบอกเล่าไว้ให้รับรู้กันแล้วตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ในช่วงต้นๆ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้ที่มีบทบัญญัติระบุลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ในมาตรา 8 (4) ว่า
“เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง”
ไม่เคยมีบทบัญญัติเช่นนี้มาก่อนนับตั้งแต่มีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งขึ้นมาในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 หรือ 2540
ไม่ใช่แค่ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น ยังโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วยตามมาตรา 20 (4)
“ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8”
คำว่า “ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8” ก็หมายความรวมถึงมาตรา 8 (4) ด้วย
ผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นทันตาเห็นของมาตรา 8 (4) และมาตรา 20 (4) ก็คือทำให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งๆ ที่ได้ช่วยงาน คสช.ด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้น ก็เลยต้องแต่งตั้งท่านเป็น คสช.ในภายหลัง และยังได้ยินมาว่าเคยมีแนวความคิดที่จะให้นายพินิจ จารุสมบัติเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย ก็ต้องล้มเลิกไปเพราะขาดคุณสมบัติจาก 2 มาตรานี้
แม้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จะบังคับใช้ชั่วคราวก็จริง แต่แนวโน้มบทบัญญัตินี้จะตกทอดไปถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีกำหนดเสร็จภายในไม่เกิน 319 วันหลังจากวันที่ 21 ตุลาคม 2557 นี้
เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศนี้อีกเช่นกันที่กำหนดกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอาไว้ถึง 10 ประการในมาตรา 35 ที่เรียกกันว่าบัญญัติ 10 ประการ ลองเปิดอ่านดูนะครับ หนักหนาสาหัสทั้งนั้น
เรื่องที่เรากำลังพูดถึงวันนี้อยู่อนุมาตรา 4 ของมาตรา 35 ครับ
มาตรา 35 (4) ระบุไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะต้องมี
“กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด”
เขียนไว้หนักแน่นแบบนี้ทำให้ยังมองไม่เห็นชัดเจนเลยว่าจะเป็นอื่นไปได้อย่างไร ที่มาตรา 8 (4) ลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภาฯ ที่จะเชื่อมโยงไปเป็นลักษณะต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี “เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” จะไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2558
แม้ว่าจะพอมีความเป็นไปได้ที่ไม่จะเขียนบทบัญญัติให้ชัดเจนขึ้นไม่กวาดรวมผู้ที่เคยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทุกคน แต่จำแนกแยกแยะเฉพาะผู้ที่มีเจตนาทุจริตโดยตัวเองจริงๆ ไม่ใช่เพราะผลพวงจากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
วันนี้ก็ต้องคาดการณ์ความเป็นไปได้ไว้ก่อนว่าบทบัญญัติมาตรา 8 (4) และ 20 (4) จะตกทอดไปอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามนัยกรอบบังคับมาตรา 35 (4)
แค่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ถอดถอนใครอีกเลย นักการเมืองกลุ่ม 111 และ 109 ก็หมดสิทธิตลอดชีวิตกันหมดแล้ว
ยิ่งถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ถอดถอนเพิ่มอีก นักการเมืองก็จะโดนตัดสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย
ถึงต้องคัดค้านกันเต็มที่
อันที่จริงกรอบตามมาตรา 35 (4) ตรงคำว่า “คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย...” หากรวมถึงคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.และกกต.ด้วยแล้ว ยังจะตัดสิทธินักการเมืองไปได้อีกเป็นร้อยทีเดียว รวมทั้ง 2 อดีตประธานสภาฯ และอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนล่าสุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการถอดถอนในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเลยด้วยซ้ำ แต่ประเด็นนี้ไว้ว่ากันทีหลังให้มีรูปธรรมชัดเจนก่อนดีกว่า
ดังนั้นนอกจากคัดค้านอำนาจถอดถอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
จึงยังมีแนวโน้มสูงมากที่นักการเมืองกลุ่มใหญ่จะคัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามกรอบมาตรา 35
ไม่ต้องเป็นหมอดูก็รู้ได้ว่าการเมืองในช่วง 319 วันของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2557 ไปจะทวีความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2558 ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรร่างแรกปรากฏโฉม