ความเดิมของความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ ท้ายบทความ : เรื่อง ขอหยุดพักชั่วคราว
หลังจากได้รับฟังข่าวการบุกโจมตีสำนักงานเทศบาลมะกรูด ทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่มีสมาธิ จึงขออนุญาตหยุดพัก (Time Out) และขอนำหัวข้อที่ 5 เรื่องข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอ้างอิงและความคิดเห็นของผู้เขียนไปไว้ในบทความครั้งหน้า อย่างไรก็ดีผู้เขียนหวังว่า ท่านนายกรัฐมนตรี ผบ.ทบ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศคงจะไม่แสดงความกระเหี้ยนกระหือรืออยากจะเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายอย่างเช่นรัฐบาลที่แล้วที่ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาแสดงและก็ไม่ควรหวังพึ่งวิธีการเจรจาแต่เพียงวิธีการเดียวเท่านั้น หรือเชื่อมั่นว่าการเจรจาเท่านั้นที่จะนำสันติสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
ผู้เขียนต้องขออภัยที่ใช้คำบางคำที่ไม่เหมาะสมคือ คำว่า “ความกระเหี้ยนกระหือรือ” โดยจะขอใช้คำว่า “อาการตื่นเต้น” แทน และขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ได้ทักท้วง มา ณ ที่นี้ด้วย
5. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ จชต.เชิงรุก (OffensiveStrategy)
5.1 การเพิ่มศักยภาพของประเทศเพื่อเพิ่มความรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นคนไทย
ในเรื่องนี้ขอให้ดูตัวอย่างบริเวณชายแดนระหว่างสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ซึ่งมักจะมีชาวเม็กซิกันปีนข้ามรั้วที่กั้นชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองเข้าไปในอเมริกา ดังตัวอย่างในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 จาก Business Insider(AFP2012): “Somebody Tried To Drive Over The US-Mexico Border Fence ” (www.businessinsider.com)
ความพยายามหลบหนีเข้าสหรัฐอเมริกาของชาวเม็กซิกันในรูปภาพที่ 1 เป็นเพียงหนึ่งในหลายพันหลายหมื่นความพยายาม ซึ่งนอกจากชาวเม็กซิกันแล้ว คนต่างชาติในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกก็พยายามหลบหนีเข้าไปทำงานและตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
จากกรณีตัวอย่างที่กล่าว ได้นำไปสู่คำถามที่ว่าทำไมคนเม็กซิกัน คนเอเชีย หรือแม้กระทั่งคนไทย จึงต้องการที่อพยพเข้าไปทำงานและตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา และทำไม Tiger Woods (ซึ่งมีแม่เป็นคนไทยและพ่อเป็นคนอเมริกัน) ไม่เลือกที่จะเป็นคนไทย แต่เลือกที่จะเป็นคนอเมริกัน หลายท่านคงคิดว่า เพราะมีพ่อเป็นชาวอเมริกัน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าTiger Woods ก็เหมือนกับมนุษย์ทุกคนที่ต้องการโอกาสที่จะดำรงชีวิตในสังคมที่ดีกว่า และมั่นคงปลอดภัยกว่า (มีรายได้ สวัสดิการที่ดีกว่าและที่สำคัญ คือ ความรู้สึกมีเกียรติที่ได้เป็นคนอเมริกัน) สังคมที่เป็นอยู่ในประเทศไทย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลและสังคมอเมริกันสามารถตอบสนองความต้องการของ Tiger Woods (Tiger Woods’ Needs) ได้มากกว่าที่รัฐบาลและสังคมไทยจะสนองตอบให้แก่ Tiger Woods นั่นเอง
นอกจากกรณีตัวอย่างที่กล่าวแล้ว ขอให้พิจารณากรณีตัวอย่างที่สองเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ
ภาพที่ 2 ชาวสกอต ที่ไม่ต้องการให้แยกเป็นประเทศอิสระจากสหราชอาณาจักร
ภาพที่ 3 ชาวScott ที่ต้องการแยกเป็นอิสระ (ภาพที่ 2-3 จาก BBC: News Scotland, “ Scottish Referendum: Scotland votes “No” to Independence”, 19 September 2014.)
กรณีตัวอย่างที่สอง (ในภาพที่ 2-3) เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2557 คือ มีการลงประชามติ (Referendum) ถามประชาชนชาวสกอต ว่าต้องการแยกตัวเป็นประเทศที่เป็นอิสระจากสหราชอาณาจักร หรือยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งในสหราชอาณาจักร (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) ผลปรากฏว่า ชาวสกอตส่วนใหญ่ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ (The margin of victory for the campaign - 55% to 45% - was greater by about 3% than that anticipated by the final opinion polls.- BBC: Scotland News, 19 September 2014) ออกเสียงแสดงประชามติว่า ไม่ต้องการให้แยก Scotland ออกเป็นอิสระ และยังต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ สหราชอาณาจักร อีกต่อไป โดยมีเสียงที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์
กรณีนี้ได้บ่งชี้ว่า การที่ชาวสกอตส่วนใหญ่ได้เลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลกก็คงเป็นเพราะชาวสกอตส่วนใหญ่ยังคงมีความรู้สึกและต้องการที่จะเป็นประชาชนของประเทศมหาอำนาจของโลก ซึ่งย่อมจะมีเกียรติและมีโอกาสที่ดีกว่าที่จะเป็นประชาชนของประเทศเล็กๆ (ถ้าแยกเป็นอิสระ) อย่างเช่น Scotland
จากการศึกษากรณีตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งสองกรณีได้ทำให้เราได้ทราบถึงปัจจัยสำคัญสองประการที่มีอิทธิพลต่อความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมของบุคคลซึ่งก็คือ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความเป็นมหาอำนาจของโลกของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ (UK) ได้สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจและความต้องการที่จะเป็นประชาชนของประเทศมหาอำนาจของโลก (โดยนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันที่ชื่อ A.H. Maslowได้เรียกความต้องการในด้านนี้ว่า เป็นความต้องการความรักและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม Love and Belonging Needs) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า คงจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของทั้ง Tiger Woods และชาวสกอตส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ถ้าเรานำเอากรณีตัวอย่างทั้งสองมาศึกษาเปรียบเทียบกับปัญหาความขัดแย้งและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ก็จะมีคำถามขึ้นว่า แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทุกคนที่เกิดหรือตั้งรกรากบนพื้นแผ่นดินของไทยมีความภาคภูมิใจที่จะเป็นคนไทย มีความรักชาติไทย และต้องการเป็นคนไทยมากกว่าที่จะต้องการเป็นคนชาติอื่นๆ คำตอบก็คือ เราต้องเพิ่มมูลค่าของประเทศไทยให้สูงขึ้น ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า ทฤษฎีการเพิ่มมูลค่าประเทศไทย Thailand Value Added นั่นก็คือการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านการทหารและการเมืองระหว่างประเทศเพื่อให้สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Assets) และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) คือ ประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จนสังคมโลกให้การยอมรับว่า ไทย คือ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของภูมิภาคเอเชีย
ความเป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและด้านการเมืองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อจิตใจและความรู้สึกของคนไทยทุกคน เนื่องจากคนไทยทุกคนจะมีความภาคภูมิใจและรู้สึกมีเกียรติที่ได้เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของประเทศไทย (Proud to be Thai) เช่นเดียวกับความรู้สึกของ Tiger Woods ที่มีต่อสหรัฐอเมริกา และความรู้สึกของชาวสกอตส่วนใหญ่ที่มีต่ออังกฤษหรือสหราชอาณาจักรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ในตัวอย่างที่ 3 จะแตกต่างจากสองตัวอย่างที่กล่าวมาคือ เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงกับรัฐบาลจีน โดยมีที่มาจากความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์และการนับถือศาสนาของชาวอุยกูร์กับชาวจีน ซึ่งแม้จีนจะได้พัฒนาประเทศจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารและทุ่มเทการลงทุนและพัฒนาซินเจียงจนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากแล้วก็ตาม แต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของซินเจียงและความเป็นมหาอำนาจของจีนก็ไม่ได้มีผลต่อจิตใจของชาวอุยกูร์แต่อย่างใด ชาวอุยกูร์ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องขอปกครองตนเอง และยังคงมุ่งที่จะขอแยกซินเจียงออกเป็นอิสระจากประเทศจีนอีกต่อไป
จึงสรุปได้ว่า แม้ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และความเป็นมหาอำนาจของประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกภาคภูมิใจในประเทศชาติก็จริงแต่ก็ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้ชาวอุยกูร์ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของจีนนั่นก็คือ ชาติพันธุ์และศาสนา โดยชาวอุยกูร์ (Uyghur) จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กและนับถืออิสลามแต่ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น (Han) และนับถือพุทธ ซึ่งเราควรนำกรณีนี้มาศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคใต้ให้ได้ผลยิ่งขึ้นต่อไป
5.2 การแยกมิตร แยกศัตรู (Identifying the Main Opposition Groups)
เนื่องจากมีผู้อ่านที่ใช้ชื่อว่า บุญเกิด ชาติมั่นคง (คาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้พบกับผู้เขียนบ่อยๆ ในที่ประชุม) ได้แสดงความเห็นท้ายบทความ(7) เรื่อง ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย (Endless Conflict)-I โดยมีข้อความดังนี้
“ขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า สถานการณ์ในภาคใต้ ไม่ใช่การก่อการร้าย ไม่ว่าจะมองในหลักคิดใด ไม่ใช่แม้การก่อความไม่สงบ ไม่ได้เข้าองค์ประกอบเลย อย่าใช้คำว่า ผู้ก่อการร้าย ผู้ก่อความไม่สงบ ทางการใช้คำว่า ผู้ก่อเหตุร้าย Perpetrators ละเลิกความคิดผิดๆ ที่เข้าทางฝ่ายตรงข้ามและต่างชาติได้แล้วครับ”
ผู้เขียนจำได้ว่า ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และตัวแทนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติได้เคยชี้แจงในระหว่างการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมาธิการทหารว่า ในปัจจุบันทางราชการจะใช้คำเรียกบุคคลที่ก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ว่า ผู้ก่อเหตุร้ายและใช้คำภาษาอังกฤษว่า Perpetrators (ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ผู้กระทำผิดตามกฎหมาย) แต่เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมใช้คำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย” ก็ได้รับคำตอบว่า ถ้าใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบ” จะไปเข้าทางฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ไม่ได้อธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนว่า จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบอย่างไร ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติในข้อไหน และจะไปเข้าทางฝ่ายตรงข้ามได้อย่างไร ตรงกันข้ามผู้เขียนเชื่อว่า การเรียกผู้ก่อเหตุร้ายแรงในพื้นที่ภาคใต้ว่า “ผู้ก่อการร้าย” กลับจะเป็นการโดดเดี่ยวและแบ่งแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากสังคมปกติในพื้นที่ให้เห็นเด่นชัดขึ้น โดยมีเหตุผลประกอบดังต่อไปนี้
5.2.1 คำว่า การก่อการร้าย (Terrorism) มีหน่วยงานที่สำคัญได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
ก. กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าหมายถึง “การใช้ความรุนแรงที่มีการวางแผนซึ่งไม่ถูกกฎหมาย หรือการคุกคามที่จะใช้ความรุนแรงที่ไม่ถูกกฎหมายเพื่อสร้างความสะพรึงกลัว โดยตั้งใจขู่เข็ญหรือทำให้รัฐบาลหรือสังคมเกิดความหวาดกลัว เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ของผู้ใช้ความรุนแรง”
ข. สำนักงานสืบสวนสอบสวนสหพันธรัฐ หรือ FBI (Federal Bureau of Investigation) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าหมายถึง“การใช้กำลังและความรุนแรงที่ไม่ถูกกฎหมายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อสร้างความหวาดกลัว หรือขู่เข็ญรัฐบาล ประชาชน หรือหน่วยงานใดๆ ให้สนองตอบต่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือทางสังคมของผู้ใช้ความรุนแรง”
ค. สหประชาชาติ ได้ให้ความหมายไว้ คือ “การกระทำที่ได้ตั้งใจหรือได้วางแผนไว้แล้ว เพื่อก่อให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัวโหดร้ายต่อสาธารณชน ต่อกลุ่มบุคคลหรือต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามความมุ่งหมายทางการเมืองซึ่งไม่สมควรยกโทษให้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม”
โดยสรุป การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง การกระทำที่ผิดกฎหมายโดยการใช้กำลังหรือข่มขู่ หรือคุกคามที่จะใช้ความรุนแรงโดยใช้อาวุธหรือไม่ได้ใช้อาวุธ เพื่อมุ่งทำลายความเป็นระเบียบของสังคม หรือทรัพย์สิน หรือชีวิตของประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพื่อสนองตอบความต้องการทางการเมืองหรือความต้องการใดๆ ของผู้ที่ใช้ความรุนแรง (ดูตัวอย่างในภาพที่ 4-5)
รูปภาพที่ 4 ลอบวางระเบิดเพื่อสังหารทหารขณะรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน*
ภาพที่ 5 นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลาง จ.ปัตตานี*
จากตัวอย่างในภาพที่ 4-5 จะพบว่า การกระทำของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงมีความสอดคล้องกับคำจำกัดความของการก่อการร้าย ที่กล่าวมาข้างต้นทุกประการ และถ้าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่เข้าองค์ประกอบของการก่อการร้าย ผู้เขียนก็ขอถามกระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติตรงๆ ว่า คำว่า การก่อการร้ายในความหมายของท่านเป็นอย่างไร และจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างจึงจะเข้าองค์ประกอบที่เป็นการก่อการร้ายตามความหมายของท่าน หรือท่านอาจรู้สึกกลัว ท่านเลยไม่กล้าใช้คำว่า การก่อการร้าย ก็ขอให้ท่านช่วยอธิบายเหตุผลต่างๆ ให้คนไทยทุกคนได้เข้าใจด้วย
ในส่วนของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องอย่าลืมว่า ปัญหาภาคใต้ของไทยได้เริ่มต้นตั้งแต่เจ้าชายปรเมศวรอพยพหลบหนีมาจากเมืองปาเลมบัง (ที่อยู่บนเกาะสุมาตรา) มาขออนุญาตพระมหากษัตริย์ของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นซึ่งมีอำนาจปกครองดินแดนแหลมทองทั้งหมดไปจนถึงสิงคโปร์ในขณะนั้น โดยมาขอตั้งรกรากที่เมืองมะละกา บนแหลมทองประมาณปี 1451-1500 ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากจีนเลยคิดที่จะต่อต้านและทำลายอำนาจของไทยบนแหลมทอง (แหลมมะละกาหรือมาลายู) โดยพยายามรวบรวมเมืองต่างๆ เพื่อสร้างอาณาจักรขึ้นใหม่บนแหลมทองแต่ได้ถูกโปรตุเกสเข้ายึดครองในเวลาต่อมา (สรุปจาก Nilakanta Sastri,K.A.: Sri Vijaya-อ้างอิงจะอยู่ในตอนต่อไป)
ผู้เขียนขอสรุปว่า ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความมีจิตใจที่เมตตาและเอื้ออารีของคนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ได้ปล่อยให้เจ้าชายปรเมศวร ซึ่งเป็นชาวสุมาตรามาตั้งเมืองมะละกาบนแหลมทองที่อยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่า เจ้าชายปรเมศวรและชาวสุมาตราที่หนีตายอพยพเข้ามาพึ่งใบบุญจะสำนึกบุญคุณ และกลายเป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งเช่นคนต่างชาติอื่นๆ ที่ตั้งรกรากในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ผลกลับกลายเป็นตรงกันข้ามเพราะเจ้าชายปรเมศวรและชาวสุมาตราที่สืบทอดต่อมาไม่เพียงไม่นึกถึงบุญคุณและความมีน้ำใจของคนไทยเท่านั้น แต่ยังมุ่งที่จะทำลายอำนาจของราชอาณาจักรไทยให้หมดไปจากแหลมทองอีกด้วย ดังนั้นการที่ท่านทั้งหลายหวังว่าจะแก้ไขปัญหานี้ให้ยุติลงภายใน 1 ปี จึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากเป็นอย่างมาก เพราะรูปแบบการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่เคยใช้ได้ผลจะไม่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ได้อย่างเป็นผล จึงขอให้ท่านทั้งหลายที่มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหานี้ได้มีจิตใจที่มั่นคงเข้มแข็ง ห้ามใจอ่อนอย่างเด็ดขาด และจะต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติและการดำรงอยู่ของชาติไทยอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งปวง
5.2.2 การแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนหรือสังคมปกติ
การแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนหรือสังคมปกติ ดังที่แสดงในภาพที่ 6 ก็คือ คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมจึงต้องใช้คำว่า ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจเปรียบได้กับการแยกปลาสีดำ ออกจากฝูงปลาอื่นๆ (ปลาสีม่วงและปลาสีเขียว) นั่นเอง
ภาพที่ 6 การจัดแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชน
ในภาพที่ 6 ผู้เขียนได้จัดแบ่งกลุ่มก่อการร้ายเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้นำซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ ของกลุ่มก่อการร้าย และคาดว่าจะมีที่อยู่ในแถบสแกนดิเนเวีย และในยุโรปบางประเทศ กลุ่มที่สองคือ กลุ่มระดับสั่งการ ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนและให้การสนับสนุนการก่อการร้ายในพื้นที่ คาดว่าจะอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และสำหรับกลุ่มที่สามคือ กลุ่มระดับปฏิบัติการซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่สร้างแนวร่วมและจะเกาะติดในพื้นที่, ฝ่ายกองกำลังในระดับต่างๆ มีหน้าที่ในการดำเนินการก่อการร้ายในทุกรูปแบบและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งมีหน้าที่หาข่าว จัดหาเสบียงและอุปกรณ์ รวมทั้งให้การสนับสนุนทั้งหลายแก่ฝ่ายอื่นๆ
ในความคิดเห็นของผู้เขียน กลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มที่อยู่ในวงกลมสีแดง ควรจัดให้อยู่ในประเภทของกลุ่มก่อการร้าย (Terrorists) และควรจัดแยกออกจากประชาชนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งได้แก่ กลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม (สีม่วง) และกลุ่มประชาชนทั่วไป (สีน้ำเงิน) ส่วนคำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย (Perpetrators)” ควรใช้กับกลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม (สีม่วง) ที่ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาจะเหมาะสมกว่าควรให้ตำรวจรับผิดชอบในกลุ่มนี้ และขอให้ดูรูปภาพที่ 7 เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพที่ 7 การใช้มาตรการของรัฐตามลักษณะของแต่ละกลุ่ม
ในภาพที่ 7 การจัดแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนทั่วไปจะทำให้ฝ่ายรัฐสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง Identifying the main opposition groups and do the right thing (ผู้เขียนดัดแปลงมาจากSun Tzu : The highest form of generalship is to defeat the enemy’s plans; the next best is to keep the enemy’sforces divided;…www.artofwarsunzsu.com) ตัวอย่างเช่น รัฐไม่ควรใช้มาตรการทางทหารกับกลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม แต่ควรใช้มาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเข้มข้นกับกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นระดับผู้นำและระดับสั่งการ ซึ่งหมายความว่า สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายจะต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบนำเอาตัวผู้ก่อการร้ายระดับผู้นำและระดับสั่งการที่อยู่ในต่างประเทศ กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยให้จงได้ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ไห้กลุ่มอื่นๆได้กระทำการเอาเยี่ยงอย่าง และยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพในการต่อต้านการก่อการร้ายของไทยให้กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ (รวมทั้งผู้สนับสนุนในต่างประเทศ) ได้รับรู้ว่า เป็นเรื่องได้ไม่คุ้มเสียและอันตรายมากที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายในพื้นที่ของประเทศไทยในอนาคตเพราะจะต้องประสบกับความสูญเสียมากกว่าผลที่จะได้อย่างแน่นอน
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นแนวร่วม หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยจะต้องให้ความคุ้มครองอย่างสุดความสามารถ จะต้องจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ประชาชนทุกคนในพื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องจัดชุดป้องกันภัยของหมู่บ้านซึ่งควรประกอบด้วยทหาร ตำรวจ อาสาสมัครของกระทรวงมหาดไทย และชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านขึ้นมาทำหน้าที่ป้องกันและหยุดยั้งความเสียหายในขั้นต้นจากภัยที่มาจากการก่อการร้าย, จากการก่ออาชญากรรม และจากภัยธรรมชาติ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
นอกจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคล กลุ่มการเมือง และกลุ่มประเทศต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนต่อกลุ่มก่อการร้ายทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ในทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งหรือทำลายการสนับสนุนจากกลุ่มที่ให้การสนับสนุนและรวมทั้งองค์กรต่างๆดังกล่าวให้หมดสิ้นไปให้จงได้
5.3 สงครามที่กลุ่มก่อการร้ายไม่มีวันชนะ A war Terrorism cannot win.
เราต้องทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจและยอมรับว่า พวกเขาไม่มีวันที่จะเอาชนะสงครามหรือเอาชนะฝ่ายรัฐได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ฝ่ายรัฐจะต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อให้กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มที่ให้การสนับสนุนได้รับรู้ว่า การต่อสู้โดยใช้อาวุธและความรุนแรงต่างๆ จะไม่มีวันที่จะชนะหรือประสบความสำเร็จได้เลย และจะต้องสื่อให้ผู้ที่ให้การสนับสนุนได้รับรู้ด้วย (Let them know and keep in their minds they cannot win this war.- W. Nathasiri)
ข้อเสนอแนะข้อนี้มาจากเรื่อง สามก๊กตอน ขงเบ้งรบกับเบ้งเฮ็ก โดยมีเรื่องย่อว่าขงเบ้งยกกองทัพมาปราบเบ้งเฮ็กที่เข้ามาตีเมืองเองเฉียง (ซึ่งปัจจุบันคือ เขตเป่าซานมณฑลยูนนาน-วิกิพีเดียไทย) โดยรบกันถึง 7 ครั้ง ในการรบ 6 ครั้งแรกขงเบ้งเป็นฝ่ายชนะ และได้ปล่อยเบ้งเฮ็กกลับไปทุกครั้ง ในการรบครั้งสุดท้ายขงเบ้งจับตัวเบ้งเฮ็กได้อีก จึงเชิญมาร่วมโต๊ะอาหาร และได้ปล่อยตัวเบ้งเฮ็กไปโดยไม่ได้ทำอันตรายใดๆ ทำให้เบ้งเฮ็กสำนึกในบุญคุณของขงเบ้งและรู้ว่า ไม่มีวันที่จะเอาชนะขงเบ้งได้ เพราะได้สูญเสียทหารฝีมือดีไปจนหมด จึงขอยอมแพ้และยอมอยู่ใต้อำนาจของจ๊กก๊กหรือฝ่ายเล่าปี่ ในที่สุดภัยคุกคามจากกองทัพเบ้งเฮ๊กที่อยู่ทางใต้ของจ๊กก๊กก็สิ้นสุดลง
สรุปแล้วการเอาชนะจิตใจเบ้งเฮ็กของขงเบ้งได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐจะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีกองทัพและหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถ้ามีการก่อการร้ายเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม ฝ่ายรัฐต้องพร้อมที่จะตอบโต้อย่างทันท่วงทีและทำให้ฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มก่อการร้ายประสบกับความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายก็กระทำเช่นเดียวกัน) เพราะความล้มเหลวและสูญเสียกำลังพลของฝ่ายตรงข้ามไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำลายกำลังขวัญและความเชื่อมั่นของฝ่ายตรงข้ามให้สูญสลายลงไปจนไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะต่อสู้หรือลอบทำร้ายฝ่ายรัฐได้อีกต่อไปในที่สุดก็จะยุติการใช้ความรุนแรงและจะกลับมาเจรจากับฝ่ายรัฐเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้ายังไม่สามารถทำให้ความรุนแรงที่มีการใช้อาวุธยุติลงได้ การเจรจาก็คงจะยังไม่มีผลใดๆ เพราะแต่ละฝ่ายยังหวังว่า กองกำลังของฝ่ายตนจะสามารถช่วงชิงความได้เปรียบไว้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามได้ต่อไป และเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้นขอให้ดูภาพที่ 8 ประกอบ
รูปภาพที่ 8 วงจรของความต้องการการก่อการร้าย
ในภาพที่ 8 ความสำเร็จของการก่อการร้ายจะทำให้ผู้ก่อการร้ายมีความภาคภูมิใจที่สามารถกระทำในสิ่งที่มุ่งหวังได้เป็นผลสำเร็จ และอาจได้รับการยกย่องจากสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายคนอื่นๆ ความรู้สึกภาคภูมิใจจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ก่อการร้ายมีความต้องการที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายเพิ่มขึ้น (ในภาพจะเห็นเส้นประสีแดงที่แสดงถึงผลสะท้อนกลับ Feedback คือ แรงกระตุ้น) แต่ถ้ากลุ่มก่อการร้ายประสบความล้มเหลวและสูญเสียกำลังพลในทุกครั้งที่ปฏิบัติการ ความล้มเหลวและสูญเสียอย่างต่อเนื่องดังกล่าวจะทำลายกำลังขวัญและความเชื่อมั่นของกลุ่มก่อการร้ายให้สูญสลายตามไปด้วยเช่นกัน
ท้ายบทความ :เรื่อง ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่างๆ
บทความเรื่องนี้ยังไม่จบ แต่ผู้เขียนต้องขออนุญาตหยุดพักและขอให้ทุกท่านได้ดูภาพต่อไปนี้ แล้วช่วยกรุณาพิจารณาว่า นี่เป็นการกระทำของผู้กระทำผิดกฎหมายธรรมดา(Perpetrators) หรือเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้าย (Terrorists) ที่โหดเหี้ยมผิดมนุษย์
รูปภาพที่ 9 การวางระเบิดลอบสังหาร รอง ผวจ.ยะลา
ผู้เขียนขอให้กระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ช่วยอธิบายเปรียบเทียบความหมายระหว่าง “ผู้ก่อเหตุร้าย” กับ “ผู้ก่อการร้าย” และผลดีผลเสียของการใช้คำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย” ให้ญาติพี่น้องของผู้ที่สูญเสีย และประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้เข้าใจด้วย
รูปภาพที่ 10 การซุ่มโจมตีและสังหาร พ.ต.ต.เนรมิต ชูโรจน์
พฤติกรรมอันตราย ความเอื้อเฟื้อที่เกินขอบเขต คดโกงรับของกำนัล อวดอ้างแต่ไม่รู้จริงคิดสั้นขาดวิสัยทัศน์ คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเล่นพรรคเล่นพวก ขี้เกลียด และขลาดกลัว ที่เคยเกิดขึ้นกับคนไทยกรุงศรีอยุธยาอาจกลับมาทำอันตรายคนไทยและประเทศชาติของเราได้อีก ถ้าท่านที่มีหน้าที่ยังมีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ได้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติในอนาคต
สำหรับบทความในแต่ละเรื่องที่มีหมายเลขระบุไว้ว่าเป็นเรื่องอะไรแล้ว ต่อไปนี้ผู้เขียนจะใส่ตัวเลขทศนิยมเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังค้นคว้าวิจัยได้ทราบว่า บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้เป็นตอนที่เท่าไรของเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เลข 7.2 จะหมายความว่า เป็นเรื่อง ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ตอนที่สอง เป็นต้น
หมายเหตุ : ถ้าท่านมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ กรุณาส่งมาที่udomdee@gmail.com
หลังจากได้รับฟังข่าวการบุกโจมตีสำนักงานเทศบาลมะกรูด ทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่มีสมาธิ จึงขออนุญาตหยุดพัก (Time Out) และขอนำหัวข้อที่ 5 เรื่องข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอ้างอิงและความคิดเห็นของผู้เขียนไปไว้ในบทความครั้งหน้า อย่างไรก็ดีผู้เขียนหวังว่า ท่านนายกรัฐมนตรี ผบ.ทบ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศคงจะไม่แสดงความกระเหี้ยนกระหือรืออยากจะเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายอย่างเช่นรัฐบาลที่แล้วที่ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาแสดงและก็ไม่ควรหวังพึ่งวิธีการเจรจาแต่เพียงวิธีการเดียวเท่านั้น หรือเชื่อมั่นว่าการเจรจาเท่านั้นที่จะนำสันติสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
ผู้เขียนต้องขออภัยที่ใช้คำบางคำที่ไม่เหมาะสมคือ คำว่า “ความกระเหี้ยนกระหือรือ” โดยจะขอใช้คำว่า “อาการตื่นเต้น” แทน และขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ได้ทักท้วง มา ณ ที่นี้ด้วย
5. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ จชต.เชิงรุก (OffensiveStrategy)
5.1 การเพิ่มศักยภาพของประเทศเพื่อเพิ่มความรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นคนไทย
ในเรื่องนี้ขอให้ดูตัวอย่างบริเวณชายแดนระหว่างสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ซึ่งมักจะมีชาวเม็กซิกันปีนข้ามรั้วที่กั้นชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองเข้าไปในอเมริกา ดังตัวอย่างในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 จาก Business Insider(AFP2012): “Somebody Tried To Drive Over The US-Mexico Border Fence ” (www.businessinsider.com)
ความพยายามหลบหนีเข้าสหรัฐอเมริกาของชาวเม็กซิกันในรูปภาพที่ 1 เป็นเพียงหนึ่งในหลายพันหลายหมื่นความพยายาม ซึ่งนอกจากชาวเม็กซิกันแล้ว คนต่างชาติในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกก็พยายามหลบหนีเข้าไปทำงานและตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
จากกรณีตัวอย่างที่กล่าว ได้นำไปสู่คำถามที่ว่าทำไมคนเม็กซิกัน คนเอเชีย หรือแม้กระทั่งคนไทย จึงต้องการที่อพยพเข้าไปทำงานและตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา และทำไม Tiger Woods (ซึ่งมีแม่เป็นคนไทยและพ่อเป็นคนอเมริกัน) ไม่เลือกที่จะเป็นคนไทย แต่เลือกที่จะเป็นคนอเมริกัน หลายท่านคงคิดว่า เพราะมีพ่อเป็นชาวอเมริกัน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าTiger Woods ก็เหมือนกับมนุษย์ทุกคนที่ต้องการโอกาสที่จะดำรงชีวิตในสังคมที่ดีกว่า และมั่นคงปลอดภัยกว่า (มีรายได้ สวัสดิการที่ดีกว่าและที่สำคัญ คือ ความรู้สึกมีเกียรติที่ได้เป็นคนอเมริกัน) สังคมที่เป็นอยู่ในประเทศไทย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลและสังคมอเมริกันสามารถตอบสนองความต้องการของ Tiger Woods (Tiger Woods’ Needs) ได้มากกว่าที่รัฐบาลและสังคมไทยจะสนองตอบให้แก่ Tiger Woods นั่นเอง
นอกจากกรณีตัวอย่างที่กล่าวแล้ว ขอให้พิจารณากรณีตัวอย่างที่สองเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ
ภาพที่ 2 ชาวสกอต ที่ไม่ต้องการให้แยกเป็นประเทศอิสระจากสหราชอาณาจักร
ภาพที่ 3 ชาวScott ที่ต้องการแยกเป็นอิสระ (ภาพที่ 2-3 จาก BBC: News Scotland, “ Scottish Referendum: Scotland votes “No” to Independence”, 19 September 2014.)
กรณีตัวอย่างที่สอง (ในภาพที่ 2-3) เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2557 คือ มีการลงประชามติ (Referendum) ถามประชาชนชาวสกอต ว่าต้องการแยกตัวเป็นประเทศที่เป็นอิสระจากสหราชอาณาจักร หรือยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งในสหราชอาณาจักร (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) ผลปรากฏว่า ชาวสกอตส่วนใหญ่ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ (The margin of victory for the campaign - 55% to 45% - was greater by about 3% than that anticipated by the final opinion polls.- BBC: Scotland News, 19 September 2014) ออกเสียงแสดงประชามติว่า ไม่ต้องการให้แยก Scotland ออกเป็นอิสระ และยังต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ สหราชอาณาจักร อีกต่อไป โดยมีเสียงที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์
กรณีนี้ได้บ่งชี้ว่า การที่ชาวสกอตส่วนใหญ่ได้เลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลกก็คงเป็นเพราะชาวสกอตส่วนใหญ่ยังคงมีความรู้สึกและต้องการที่จะเป็นประชาชนของประเทศมหาอำนาจของโลก ซึ่งย่อมจะมีเกียรติและมีโอกาสที่ดีกว่าที่จะเป็นประชาชนของประเทศเล็กๆ (ถ้าแยกเป็นอิสระ) อย่างเช่น Scotland
จากการศึกษากรณีตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งสองกรณีได้ทำให้เราได้ทราบถึงปัจจัยสำคัญสองประการที่มีอิทธิพลต่อความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมของบุคคลซึ่งก็คือ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความเป็นมหาอำนาจของโลกของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ (UK) ได้สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจและความต้องการที่จะเป็นประชาชนของประเทศมหาอำนาจของโลก (โดยนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันที่ชื่อ A.H. Maslowได้เรียกความต้องการในด้านนี้ว่า เป็นความต้องการความรักและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม Love and Belonging Needs) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า คงจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของทั้ง Tiger Woods และชาวสกอตส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ถ้าเรานำเอากรณีตัวอย่างทั้งสองมาศึกษาเปรียบเทียบกับปัญหาความขัดแย้งและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ก็จะมีคำถามขึ้นว่า แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทุกคนที่เกิดหรือตั้งรกรากบนพื้นแผ่นดินของไทยมีความภาคภูมิใจที่จะเป็นคนไทย มีความรักชาติไทย และต้องการเป็นคนไทยมากกว่าที่จะต้องการเป็นคนชาติอื่นๆ คำตอบก็คือ เราต้องเพิ่มมูลค่าของประเทศไทยให้สูงขึ้น ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า ทฤษฎีการเพิ่มมูลค่าประเทศไทย Thailand Value Added นั่นก็คือการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านการทหารและการเมืองระหว่างประเทศเพื่อให้สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Assets) และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) คือ ประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จนสังคมโลกให้การยอมรับว่า ไทย คือ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของภูมิภาคเอเชีย
ความเป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและด้านการเมืองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อจิตใจและความรู้สึกของคนไทยทุกคน เนื่องจากคนไทยทุกคนจะมีความภาคภูมิใจและรู้สึกมีเกียรติที่ได้เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของประเทศไทย (Proud to be Thai) เช่นเดียวกับความรู้สึกของ Tiger Woods ที่มีต่อสหรัฐอเมริกา และความรู้สึกของชาวสกอตส่วนใหญ่ที่มีต่ออังกฤษหรือสหราชอาณาจักรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ในตัวอย่างที่ 3 จะแตกต่างจากสองตัวอย่างที่กล่าวมาคือ เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงกับรัฐบาลจีน โดยมีที่มาจากความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์และการนับถือศาสนาของชาวอุยกูร์กับชาวจีน ซึ่งแม้จีนจะได้พัฒนาประเทศจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารและทุ่มเทการลงทุนและพัฒนาซินเจียงจนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากแล้วก็ตาม แต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของซินเจียงและความเป็นมหาอำนาจของจีนก็ไม่ได้มีผลต่อจิตใจของชาวอุยกูร์แต่อย่างใด ชาวอุยกูร์ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องขอปกครองตนเอง และยังคงมุ่งที่จะขอแยกซินเจียงออกเป็นอิสระจากประเทศจีนอีกต่อไป
จึงสรุปได้ว่า แม้ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และความเป็นมหาอำนาจของประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกภาคภูมิใจในประเทศชาติก็จริงแต่ก็ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้ชาวอุยกูร์ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของจีนนั่นก็คือ ชาติพันธุ์และศาสนา โดยชาวอุยกูร์ (Uyghur) จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กและนับถืออิสลามแต่ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น (Han) และนับถือพุทธ ซึ่งเราควรนำกรณีนี้มาศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคใต้ให้ได้ผลยิ่งขึ้นต่อไป
5.2 การแยกมิตร แยกศัตรู (Identifying the Main Opposition Groups)
เนื่องจากมีผู้อ่านที่ใช้ชื่อว่า บุญเกิด ชาติมั่นคง (คาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้พบกับผู้เขียนบ่อยๆ ในที่ประชุม) ได้แสดงความเห็นท้ายบทความ(7) เรื่อง ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย (Endless Conflict)-I โดยมีข้อความดังนี้
“ขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า สถานการณ์ในภาคใต้ ไม่ใช่การก่อการร้าย ไม่ว่าจะมองในหลักคิดใด ไม่ใช่แม้การก่อความไม่สงบ ไม่ได้เข้าองค์ประกอบเลย อย่าใช้คำว่า ผู้ก่อการร้าย ผู้ก่อความไม่สงบ ทางการใช้คำว่า ผู้ก่อเหตุร้าย Perpetrators ละเลิกความคิดผิดๆ ที่เข้าทางฝ่ายตรงข้ามและต่างชาติได้แล้วครับ”
ผู้เขียนจำได้ว่า ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และตัวแทนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติได้เคยชี้แจงในระหว่างการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมาธิการทหารว่า ในปัจจุบันทางราชการจะใช้คำเรียกบุคคลที่ก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ว่า ผู้ก่อเหตุร้ายและใช้คำภาษาอังกฤษว่า Perpetrators (ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ผู้กระทำผิดตามกฎหมาย) แต่เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมใช้คำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย” ก็ได้รับคำตอบว่า ถ้าใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบ” จะไปเข้าทางฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ไม่ได้อธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนว่า จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบอย่างไร ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติในข้อไหน และจะไปเข้าทางฝ่ายตรงข้ามได้อย่างไร ตรงกันข้ามผู้เขียนเชื่อว่า การเรียกผู้ก่อเหตุร้ายแรงในพื้นที่ภาคใต้ว่า “ผู้ก่อการร้าย” กลับจะเป็นการโดดเดี่ยวและแบ่งแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากสังคมปกติในพื้นที่ให้เห็นเด่นชัดขึ้น โดยมีเหตุผลประกอบดังต่อไปนี้
5.2.1 คำว่า การก่อการร้าย (Terrorism) มีหน่วยงานที่สำคัญได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
ก. กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าหมายถึง “การใช้ความรุนแรงที่มีการวางแผนซึ่งไม่ถูกกฎหมาย หรือการคุกคามที่จะใช้ความรุนแรงที่ไม่ถูกกฎหมายเพื่อสร้างความสะพรึงกลัว โดยตั้งใจขู่เข็ญหรือทำให้รัฐบาลหรือสังคมเกิดความหวาดกลัว เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ของผู้ใช้ความรุนแรง”
ข. สำนักงานสืบสวนสอบสวนสหพันธรัฐ หรือ FBI (Federal Bureau of Investigation) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าหมายถึง“การใช้กำลังและความรุนแรงที่ไม่ถูกกฎหมายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อสร้างความหวาดกลัว หรือขู่เข็ญรัฐบาล ประชาชน หรือหน่วยงานใดๆ ให้สนองตอบต่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือทางสังคมของผู้ใช้ความรุนแรง”
ค. สหประชาชาติ ได้ให้ความหมายไว้ คือ “การกระทำที่ได้ตั้งใจหรือได้วางแผนไว้แล้ว เพื่อก่อให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัวโหดร้ายต่อสาธารณชน ต่อกลุ่มบุคคลหรือต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามความมุ่งหมายทางการเมืองซึ่งไม่สมควรยกโทษให้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม”
โดยสรุป การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง การกระทำที่ผิดกฎหมายโดยการใช้กำลังหรือข่มขู่ หรือคุกคามที่จะใช้ความรุนแรงโดยใช้อาวุธหรือไม่ได้ใช้อาวุธ เพื่อมุ่งทำลายความเป็นระเบียบของสังคม หรือทรัพย์สิน หรือชีวิตของประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพื่อสนองตอบความต้องการทางการเมืองหรือความต้องการใดๆ ของผู้ที่ใช้ความรุนแรง (ดูตัวอย่างในภาพที่ 4-5)
รูปภาพที่ 4 ลอบวางระเบิดเพื่อสังหารทหารขณะรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน*
ภาพที่ 5 นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลาง จ.ปัตตานี*
จากตัวอย่างในภาพที่ 4-5 จะพบว่า การกระทำของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงมีความสอดคล้องกับคำจำกัดความของการก่อการร้าย ที่กล่าวมาข้างต้นทุกประการ และถ้าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่เข้าองค์ประกอบของการก่อการร้าย ผู้เขียนก็ขอถามกระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติตรงๆ ว่า คำว่า การก่อการร้ายในความหมายของท่านเป็นอย่างไร และจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างจึงจะเข้าองค์ประกอบที่เป็นการก่อการร้ายตามความหมายของท่าน หรือท่านอาจรู้สึกกลัว ท่านเลยไม่กล้าใช้คำว่า การก่อการร้าย ก็ขอให้ท่านช่วยอธิบายเหตุผลต่างๆ ให้คนไทยทุกคนได้เข้าใจด้วย
ในส่วนของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องอย่าลืมว่า ปัญหาภาคใต้ของไทยได้เริ่มต้นตั้งแต่เจ้าชายปรเมศวรอพยพหลบหนีมาจากเมืองปาเลมบัง (ที่อยู่บนเกาะสุมาตรา) มาขออนุญาตพระมหากษัตริย์ของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นซึ่งมีอำนาจปกครองดินแดนแหลมทองทั้งหมดไปจนถึงสิงคโปร์ในขณะนั้น โดยมาขอตั้งรกรากที่เมืองมะละกา บนแหลมทองประมาณปี 1451-1500 ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากจีนเลยคิดที่จะต่อต้านและทำลายอำนาจของไทยบนแหลมทอง (แหลมมะละกาหรือมาลายู) โดยพยายามรวบรวมเมืองต่างๆ เพื่อสร้างอาณาจักรขึ้นใหม่บนแหลมทองแต่ได้ถูกโปรตุเกสเข้ายึดครองในเวลาต่อมา (สรุปจาก Nilakanta Sastri,K.A.: Sri Vijaya-อ้างอิงจะอยู่ในตอนต่อไป)
ผู้เขียนขอสรุปว่า ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความมีจิตใจที่เมตตาและเอื้ออารีของคนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ได้ปล่อยให้เจ้าชายปรเมศวร ซึ่งเป็นชาวสุมาตรามาตั้งเมืองมะละกาบนแหลมทองที่อยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่า เจ้าชายปรเมศวรและชาวสุมาตราที่หนีตายอพยพเข้ามาพึ่งใบบุญจะสำนึกบุญคุณ และกลายเป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งเช่นคนต่างชาติอื่นๆ ที่ตั้งรกรากในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ผลกลับกลายเป็นตรงกันข้ามเพราะเจ้าชายปรเมศวรและชาวสุมาตราที่สืบทอดต่อมาไม่เพียงไม่นึกถึงบุญคุณและความมีน้ำใจของคนไทยเท่านั้น แต่ยังมุ่งที่จะทำลายอำนาจของราชอาณาจักรไทยให้หมดไปจากแหลมทองอีกด้วย ดังนั้นการที่ท่านทั้งหลายหวังว่าจะแก้ไขปัญหานี้ให้ยุติลงภายใน 1 ปี จึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากเป็นอย่างมาก เพราะรูปแบบการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่เคยใช้ได้ผลจะไม่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ได้อย่างเป็นผล จึงขอให้ท่านทั้งหลายที่มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหานี้ได้มีจิตใจที่มั่นคงเข้มแข็ง ห้ามใจอ่อนอย่างเด็ดขาด และจะต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติและการดำรงอยู่ของชาติไทยอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งปวง
5.2.2 การแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนหรือสังคมปกติ
การแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนหรือสังคมปกติ ดังที่แสดงในภาพที่ 6 ก็คือ คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมจึงต้องใช้คำว่า ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจเปรียบได้กับการแยกปลาสีดำ ออกจากฝูงปลาอื่นๆ (ปลาสีม่วงและปลาสีเขียว) นั่นเอง
ภาพที่ 6 การจัดแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชน
ในภาพที่ 6 ผู้เขียนได้จัดแบ่งกลุ่มก่อการร้ายเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้นำซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ ของกลุ่มก่อการร้าย และคาดว่าจะมีที่อยู่ในแถบสแกนดิเนเวีย และในยุโรปบางประเทศ กลุ่มที่สองคือ กลุ่มระดับสั่งการ ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนและให้การสนับสนุนการก่อการร้ายในพื้นที่ คาดว่าจะอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และสำหรับกลุ่มที่สามคือ กลุ่มระดับปฏิบัติการซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่สร้างแนวร่วมและจะเกาะติดในพื้นที่, ฝ่ายกองกำลังในระดับต่างๆ มีหน้าที่ในการดำเนินการก่อการร้ายในทุกรูปแบบและฝ่ายสนับสนุน ซึ่งมีหน้าที่หาข่าว จัดหาเสบียงและอุปกรณ์ รวมทั้งให้การสนับสนุนทั้งหลายแก่ฝ่ายอื่นๆ
ในความคิดเห็นของผู้เขียน กลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มที่อยู่ในวงกลมสีแดง ควรจัดให้อยู่ในประเภทของกลุ่มก่อการร้าย (Terrorists) และควรจัดแยกออกจากประชาชนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งได้แก่ กลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม (สีม่วง) และกลุ่มประชาชนทั่วไป (สีน้ำเงิน) ส่วนคำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย (Perpetrators)” ควรใช้กับกลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม (สีม่วง) ที่ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาจะเหมาะสมกว่าควรให้ตำรวจรับผิดชอบในกลุ่มนี้ และขอให้ดูรูปภาพที่ 7 เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพที่ 7 การใช้มาตรการของรัฐตามลักษณะของแต่ละกลุ่ม
ในภาพที่ 7 การจัดแยกกลุ่มก่อการร้ายออกจากกลุ่มประชาชนทั่วไปจะทำให้ฝ่ายรัฐสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง Identifying the main opposition groups and do the right thing (ผู้เขียนดัดแปลงมาจากSun Tzu : The highest form of generalship is to defeat the enemy’s plans; the next best is to keep the enemy’sforces divided;…www.artofwarsunzsu.com) ตัวอย่างเช่น รัฐไม่ควรใช้มาตรการทางทหารกับกลุ่มประชาชนที่เป็นแนวร่วม แต่ควรใช้มาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเข้มข้นกับกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นระดับผู้นำและระดับสั่งการ ซึ่งหมายความว่า สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายจะต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบนำเอาตัวผู้ก่อการร้ายระดับผู้นำและระดับสั่งการที่อยู่ในต่างประเทศ กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยให้จงได้ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ไห้กลุ่มอื่นๆได้กระทำการเอาเยี่ยงอย่าง และยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพในการต่อต้านการก่อการร้ายของไทยให้กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ (รวมทั้งผู้สนับสนุนในต่างประเทศ) ได้รับรู้ว่า เป็นเรื่องได้ไม่คุ้มเสียและอันตรายมากที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายในพื้นที่ของประเทศไทยในอนาคตเพราะจะต้องประสบกับความสูญเสียมากกว่าผลที่จะได้อย่างแน่นอน
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นแนวร่วม หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยจะต้องให้ความคุ้มครองอย่างสุดความสามารถ จะต้องจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ประชาชนทุกคนในพื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องจัดชุดป้องกันภัยของหมู่บ้านซึ่งควรประกอบด้วยทหาร ตำรวจ อาสาสมัครของกระทรวงมหาดไทย และชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านขึ้นมาทำหน้าที่ป้องกันและหยุดยั้งความเสียหายในขั้นต้นจากภัยที่มาจากการก่อการร้าย, จากการก่ออาชญากรรม และจากภัยธรรมชาติ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
นอกจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคล กลุ่มการเมือง และกลุ่มประเทศต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนต่อกลุ่มก่อการร้ายทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ในทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งหรือทำลายการสนับสนุนจากกลุ่มที่ให้การสนับสนุนและรวมทั้งองค์กรต่างๆดังกล่าวให้หมดสิ้นไปให้จงได้
5.3 สงครามที่กลุ่มก่อการร้ายไม่มีวันชนะ A war Terrorism cannot win.
เราต้องทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจและยอมรับว่า พวกเขาไม่มีวันที่จะเอาชนะสงครามหรือเอาชนะฝ่ายรัฐได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ฝ่ายรัฐจะต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อให้กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มที่ให้การสนับสนุนได้รับรู้ว่า การต่อสู้โดยใช้อาวุธและความรุนแรงต่างๆ จะไม่มีวันที่จะชนะหรือประสบความสำเร็จได้เลย และจะต้องสื่อให้ผู้ที่ให้การสนับสนุนได้รับรู้ด้วย (Let them know and keep in their minds they cannot win this war.- W. Nathasiri)
ข้อเสนอแนะข้อนี้มาจากเรื่อง สามก๊กตอน ขงเบ้งรบกับเบ้งเฮ็ก โดยมีเรื่องย่อว่าขงเบ้งยกกองทัพมาปราบเบ้งเฮ็กที่เข้ามาตีเมืองเองเฉียง (ซึ่งปัจจุบันคือ เขตเป่าซานมณฑลยูนนาน-วิกิพีเดียไทย) โดยรบกันถึง 7 ครั้ง ในการรบ 6 ครั้งแรกขงเบ้งเป็นฝ่ายชนะ และได้ปล่อยเบ้งเฮ็กกลับไปทุกครั้ง ในการรบครั้งสุดท้ายขงเบ้งจับตัวเบ้งเฮ็กได้อีก จึงเชิญมาร่วมโต๊ะอาหาร และได้ปล่อยตัวเบ้งเฮ็กไปโดยไม่ได้ทำอันตรายใดๆ ทำให้เบ้งเฮ็กสำนึกในบุญคุณของขงเบ้งและรู้ว่า ไม่มีวันที่จะเอาชนะขงเบ้งได้ เพราะได้สูญเสียทหารฝีมือดีไปจนหมด จึงขอยอมแพ้และยอมอยู่ใต้อำนาจของจ๊กก๊กหรือฝ่ายเล่าปี่ ในที่สุดภัยคุกคามจากกองทัพเบ้งเฮ๊กที่อยู่ทางใต้ของจ๊กก๊กก็สิ้นสุดลง
สรุปแล้วการเอาชนะจิตใจเบ้งเฮ็กของขงเบ้งได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐจะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีกองทัพและหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถ้ามีการก่อการร้ายเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม ฝ่ายรัฐต้องพร้อมที่จะตอบโต้อย่างทันท่วงทีและทำให้ฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มก่อการร้ายประสบกับความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายก็กระทำเช่นเดียวกัน) เพราะความล้มเหลวและสูญเสียกำลังพลของฝ่ายตรงข้ามไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำลายกำลังขวัญและความเชื่อมั่นของฝ่ายตรงข้ามให้สูญสลายลงไปจนไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะต่อสู้หรือลอบทำร้ายฝ่ายรัฐได้อีกต่อไปในที่สุดก็จะยุติการใช้ความรุนแรงและจะกลับมาเจรจากับฝ่ายรัฐเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้ายังไม่สามารถทำให้ความรุนแรงที่มีการใช้อาวุธยุติลงได้ การเจรจาก็คงจะยังไม่มีผลใดๆ เพราะแต่ละฝ่ายยังหวังว่า กองกำลังของฝ่ายตนจะสามารถช่วงชิงความได้เปรียบไว้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามได้ต่อไป และเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้นขอให้ดูภาพที่ 8 ประกอบ
รูปภาพที่ 8 วงจรของความต้องการการก่อการร้าย
ในภาพที่ 8 ความสำเร็จของการก่อการร้ายจะทำให้ผู้ก่อการร้ายมีความภาคภูมิใจที่สามารถกระทำในสิ่งที่มุ่งหวังได้เป็นผลสำเร็จ และอาจได้รับการยกย่องจากสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายคนอื่นๆ ความรู้สึกภาคภูมิใจจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ก่อการร้ายมีความต้องการที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายเพิ่มขึ้น (ในภาพจะเห็นเส้นประสีแดงที่แสดงถึงผลสะท้อนกลับ Feedback คือ แรงกระตุ้น) แต่ถ้ากลุ่มก่อการร้ายประสบความล้มเหลวและสูญเสียกำลังพลในทุกครั้งที่ปฏิบัติการ ความล้มเหลวและสูญเสียอย่างต่อเนื่องดังกล่าวจะทำลายกำลังขวัญและความเชื่อมั่นของกลุ่มก่อการร้ายให้สูญสลายตามไปด้วยเช่นกัน
ท้ายบทความ :เรื่อง ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่างๆ
บทความเรื่องนี้ยังไม่จบ แต่ผู้เขียนต้องขออนุญาตหยุดพักและขอให้ทุกท่านได้ดูภาพต่อไปนี้ แล้วช่วยกรุณาพิจารณาว่า นี่เป็นการกระทำของผู้กระทำผิดกฎหมายธรรมดา(Perpetrators) หรือเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้าย (Terrorists) ที่โหดเหี้ยมผิดมนุษย์
รูปภาพที่ 9 การวางระเบิดลอบสังหาร รอง ผวจ.ยะลา
ผู้เขียนขอให้กระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ช่วยอธิบายเปรียบเทียบความหมายระหว่าง “ผู้ก่อเหตุร้าย” กับ “ผู้ก่อการร้าย” และผลดีผลเสียของการใช้คำว่า “ผู้ก่อเหตุร้าย” ให้ญาติพี่น้องของผู้ที่สูญเสีย และประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้เข้าใจด้วย
รูปภาพที่ 10 การซุ่มโจมตีและสังหาร พ.ต.ต.เนรมิต ชูโรจน์
พฤติกรรมอันตราย ความเอื้อเฟื้อที่เกินขอบเขต คดโกงรับของกำนัล อวดอ้างแต่ไม่รู้จริงคิดสั้นขาดวิสัยทัศน์ คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเล่นพรรคเล่นพวก ขี้เกลียด และขลาดกลัว ที่เคยเกิดขึ้นกับคนไทยกรุงศรีอยุธยาอาจกลับมาทำอันตรายคนไทยและประเทศชาติของเราได้อีก ถ้าท่านที่มีหน้าที่ยังมีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ได้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติในอนาคต
สำหรับบทความในแต่ละเรื่องที่มีหมายเลขระบุไว้ว่าเป็นเรื่องอะไรแล้ว ต่อไปนี้ผู้เขียนจะใส่ตัวเลขทศนิยมเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังค้นคว้าวิจัยได้ทราบว่า บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้เป็นตอนที่เท่าไรของเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เลข 7.2 จะหมายความว่า เป็นเรื่อง ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ตอนที่สอง เป็นต้น
หมายเหตุ : ถ้าท่านมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ กรุณาส่งมาที่udomdee@gmail.com