เมื่อวานนี้ (18 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 117/2557 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยระบุรายละเอียด ว่า อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และ มาตรา 15 แห่ง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสปช. พ.ศ. 2557 คสช. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก สปช. ดังนี้
1. คณะกรรมการคัดเลือกสปช. ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน และปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ และผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และรองผู้บัญชาการทหารบก (รองผบ.ทบ.) พล.อ.จิระเดช โมกขะสมิต ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และผู้ช่วย ผบ.ทบ. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม และผู้ช่วย ผบ.ทบ. พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และหัวหน้าคณะทำงานเตรียมการปฎิรูป กระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ รอง ผบ.ทร. พล.อ.อ.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ รอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.อ.อุทิศ สุนทร หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายและสั่งการของผู้บังคับบัญชาในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ให้คณะกรรมการคัดเลือก สปช. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสปช. จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
2.2 พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสปช. จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน ตามมาตรา 4 (1) ถึง (11) แห่งพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสปช. พ.ศ.2557 เสนอตามจำนวนที่เห็นสมควร
2.3 นำรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 2.1 และ 2.2 แต่ต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน เสนอต่อหัวหน้าคสช. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงแต่งตั้งสปช.ต่อไป
สั่ง ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2557 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.
**คัดว่าที่สปช.11ด้าน 77 จว.ใกล้เสร็จ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ขณะนี้ในส่วนของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 ด้าน ได้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นสปช. ด้านละ 50 รายชื่อเสร็จสิ้นแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัดมี 60 จังหวัด ที่ดำเนินการสรรหาเสร็จแล้ว และผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหาได้ทยอยนำรายงานผลการคัดเลือกมาส่งยังสำนักงาน กกต. ด้วยตนเองแล้ว 27 จังหวัด ส่วนอีก 17 จังหวัด คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด จะทยอยประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลโดยในวันสุดท้าย ที่มีการนัดประชุมคือวันที่ 22 ก.ย.
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผลการสรรหาทั้ง 11 ด้าน และอีก 27 จังหวัด กกต.จะได้ทำเอกสารนำส่งมอบให้กับคสช. ภายในบ่ายวันที่ 18 ก.ย. หรืออย่างช้าคือ เช้าวันที่ 19 ก.ย. ขณะที่คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด ที่ยังไม่แล้วเสร็จอีก 17 จังหวัด ก็จะทยอยส่งในภายหลัง คาดว่าในวันที่ 23 ก.ย. ดำเนินการส่งรายชื่อผลการสรรหาในส่วนของจังหวัดให้ได้แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ นายภุชงค์ ระบุว่าด้วย ผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 2 ส่วน กกต.ได้รับการกำชับมาจาก คสช.ว่า ให้เป็นความลับ เพราะคสช. เกรงว่าหากมีการรั่วไหลของรายชื่อ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกออกไปก่อนอาจจะเกิดปัญหามีการวิ่งเต้น หรือมีความไม่เรียบร้อยเกิดขึ้น ซึ่งก็ได้กำชับไปยังผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดเช่นเดียวกัน และทุกจังหวัดก็พยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ เชื่อว่าทั้ง 77 จังหวัด จะดำเนินการอย่างรอบคอบ แต่หากมีอะไรเกิดขึ้น ก็คงต้องมีการสอบสวนกัน และเพื่อให้การรักษาความลับเป็นไปตามที่ คสช. ต้องการ ทางกกต.เมื่อได้รับรายงานผลการคัดเลือกแล้วก็จะไม่มีการเปิดซอง จะตรวจเพียงความเรียบร้อยของซองเอกสารว่ามีการชำรุดหรือไม่ หากพบว่าเรียบร้อย ก็จะนำส่งไปยัง คสช.เลย
เมื่อถามว่าหากคสช. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. ทั้ง 250 คนแล้ว จะมีการเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาทั้งในส่วนกลาง และระดับจังหวัดได้หรือไม่ นายภุชงค์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายของ คสช. ว่าจะให้เปิดเผยได้หรือไม่ กกต. คงไม่เกี่ยว
** สพม. ชงคสช. 4 แนวทางปฏิรูป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ( 19 ก.ย.) เวลา 11.00 น. สภาพัฒนาการเมือง โดยนายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง เตรียมแถลงข่าว ยื่น 4 ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ทางสภาพัฒนาการเมือง จะมีการเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ทั้งนี้ 4 ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปฯดังกล่าวจะประกอบไปด้วย
1. ต้องปฏิรูปมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิของกลุ่มคนระดับล่างและสิทธิของชุมชน ซึ่งต้องได้รับการรับรองโดยกฎหมาย ทั้งสนับสนุนให้มีการตราพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้สิทธิชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
2. ขยายมาตรการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ให้คนในสังคมไม่รู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบเนื่องจากความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม คนจนต้องได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะการเป็นเจ้าของที่ดิน และเข้าถึงบริการของรัฐที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพและสังคม โดยควรมีการปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายที่ดิน การปฏิรูประบบเกษตรกรรม การจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรมยั่งยืน ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
3. มีการขยายมาตรการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมโดยกระจายทรัพยากรจากผู้มั่งคั่งสู่ผู้ด้อยโอกาส และเสริมสร้างมาตรการเพื่อความเป็นธรรม เพื่อให้คนไทยไม่รู้ว่า อยู่ในสังคมที่ไม่เป็นธรรม หรือถูกเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างของสถานทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีแนวทางปฏิรูปเพื่อสร้างความเป็นธรรม อาทิ การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า จัดตั้งกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ปฏิรูประบบพลังงาน ตราพ.ร.บ.ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง ส่งเสริมระบบสหกรณ์ของกลุ่มคนยากจนให้เข้มแข็ง
4. ขยายมาตรการเพื่อให้คนไทยดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ คนทุกฐานะทางเศรษฐกิจต้องได้รับการเคารพในเรื่องดังกล่าว พร้อมต้องมีการส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าในสังคมประชาธิปไตย โดยแนวทางการดำเนินการ คือต้องมีการปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ ปฏิรูปกลไกขับเคลื่อนความเสมอภาคระหว่างเพศ ตราพ.ร.บ.ส่งเสริมครอบครัว สร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตและระบบสังคมที่เสริมสร้างสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวทางสภาพัฒนาการเมือง ฯได้มีการประมวลจากข้อเสนอ ข้อคิดจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการปฏิรูปเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สมัชชาปฎิรูประดับประเทศ รวมทั้งข้อเสนอข้อคิดเห็นของคณะกรรมการจัดทำแนวทางและส่งเสริม การปฏิรูปประเทศไทยของสภาพัฒนาการเมือง เพื่อที่จะสนับสนุนต่อการแก้ไขปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
1. คณะกรรมการคัดเลือกสปช. ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน และปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ และผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และรองผู้บัญชาการทหารบก (รองผบ.ทบ.) พล.อ.จิระเดช โมกขะสมิต ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และผู้ช่วย ผบ.ทบ. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม และผู้ช่วย ผบ.ทบ. พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และหัวหน้าคณะทำงานเตรียมการปฎิรูป กระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ รอง ผบ.ทร. พล.อ.อ.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ รอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.อ.อุทิศ สุนทร หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายและสั่งการของผู้บังคับบัญชาในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ให้คณะกรรมการคัดเลือก สปช. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสปช. จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
2.2 พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสปช. จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน ตามมาตรา 4 (1) ถึง (11) แห่งพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสปช. พ.ศ.2557 เสนอตามจำนวนที่เห็นสมควร
2.3 นำรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 2.1 และ 2.2 แต่ต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน เสนอต่อหัวหน้าคสช. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงแต่งตั้งสปช.ต่อไป
สั่ง ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2557 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.
**คัดว่าที่สปช.11ด้าน 77 จว.ใกล้เสร็จ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ขณะนี้ในส่วนของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 ด้าน ได้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นสปช. ด้านละ 50 รายชื่อเสร็จสิ้นแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัดมี 60 จังหวัด ที่ดำเนินการสรรหาเสร็จแล้ว และผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหาได้ทยอยนำรายงานผลการคัดเลือกมาส่งยังสำนักงาน กกต. ด้วยตนเองแล้ว 27 จังหวัด ส่วนอีก 17 จังหวัด คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด จะทยอยประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลโดยในวันสุดท้าย ที่มีการนัดประชุมคือวันที่ 22 ก.ย.
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผลการสรรหาทั้ง 11 ด้าน และอีก 27 จังหวัด กกต.จะได้ทำเอกสารนำส่งมอบให้กับคสช. ภายในบ่ายวันที่ 18 ก.ย. หรืออย่างช้าคือ เช้าวันที่ 19 ก.ย. ขณะที่คณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด ที่ยังไม่แล้วเสร็จอีก 17 จังหวัด ก็จะทยอยส่งในภายหลัง คาดว่าในวันที่ 23 ก.ย. ดำเนินการส่งรายชื่อผลการสรรหาในส่วนของจังหวัดให้ได้แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ นายภุชงค์ ระบุว่าด้วย ผลการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 2 ส่วน กกต.ได้รับการกำชับมาจาก คสช.ว่า ให้เป็นความลับ เพราะคสช. เกรงว่าหากมีการรั่วไหลของรายชื่อ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกออกไปก่อนอาจจะเกิดปัญหามีการวิ่งเต้น หรือมีความไม่เรียบร้อยเกิดขึ้น ซึ่งก็ได้กำชับไปยังผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดเช่นเดียวกัน และทุกจังหวัดก็พยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ เชื่อว่าทั้ง 77 จังหวัด จะดำเนินการอย่างรอบคอบ แต่หากมีอะไรเกิดขึ้น ก็คงต้องมีการสอบสวนกัน และเพื่อให้การรักษาความลับเป็นไปตามที่ คสช. ต้องการ ทางกกต.เมื่อได้รับรายงานผลการคัดเลือกแล้วก็จะไม่มีการเปิดซอง จะตรวจเพียงความเรียบร้อยของซองเอกสารว่ามีการชำรุดหรือไม่ หากพบว่าเรียบร้อย ก็จะนำส่งไปยัง คสช.เลย
เมื่อถามว่าหากคสช. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. ทั้ง 250 คนแล้ว จะมีการเปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาทั้งในส่วนกลาง และระดับจังหวัดได้หรือไม่ นายภุชงค์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับนโยบายของ คสช. ว่าจะให้เปิดเผยได้หรือไม่ กกต. คงไม่เกี่ยว
** สพม. ชงคสช. 4 แนวทางปฏิรูป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ( 19 ก.ย.) เวลา 11.00 น. สภาพัฒนาการเมือง โดยนายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง เตรียมแถลงข่าว ยื่น 4 ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ทางสภาพัฒนาการเมือง จะมีการเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ทั้งนี้ 4 ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปฯดังกล่าวจะประกอบไปด้วย
1. ต้องปฏิรูปมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิของกลุ่มคนระดับล่างและสิทธิของชุมชน ซึ่งต้องได้รับการรับรองโดยกฎหมาย ทั้งสนับสนุนให้มีการตราพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้สิทธิชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
2. ขยายมาตรการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ให้คนในสังคมไม่รู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบเนื่องจากความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม คนจนต้องได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะการเป็นเจ้าของที่ดิน และเข้าถึงบริการของรัฐที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพและสังคม โดยควรมีการปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายที่ดิน การปฏิรูประบบเกษตรกรรม การจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรมยั่งยืน ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
3. มีการขยายมาตรการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมโดยกระจายทรัพยากรจากผู้มั่งคั่งสู่ผู้ด้อยโอกาส และเสริมสร้างมาตรการเพื่อความเป็นธรรม เพื่อให้คนไทยไม่รู้ว่า อยู่ในสังคมที่ไม่เป็นธรรม หรือถูกเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างของสถานทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีแนวทางปฏิรูปเพื่อสร้างความเป็นธรรม อาทิ การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า จัดตั้งกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ปฏิรูประบบพลังงาน ตราพ.ร.บ.ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง ส่งเสริมระบบสหกรณ์ของกลุ่มคนยากจนให้เข้มแข็ง
4. ขยายมาตรการเพื่อให้คนไทยดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ คนทุกฐานะทางเศรษฐกิจต้องได้รับการเคารพในเรื่องดังกล่าว พร้อมต้องมีการส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าในสังคมประชาธิปไตย โดยแนวทางการดำเนินการ คือต้องมีการปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ ปฏิรูปกลไกขับเคลื่อนความเสมอภาคระหว่างเพศ ตราพ.ร.บ.ส่งเสริมครอบครัว สร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตและระบบสังคมที่เสริมสร้างสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวทางสภาพัฒนาการเมือง ฯได้มีการประมวลจากข้อเสนอ ข้อคิดจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการปฏิรูปเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สมัชชาปฎิรูประดับประเทศ รวมทั้งข้อเสนอข้อคิดเห็นของคณะกรรมการจัดทำแนวทางและส่งเสริม การปฏิรูปประเทศไทยของสภาพัฒนาการเมือง เพื่อที่จะสนับสนุนต่อการแก้ไขปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป