เครือข่ายภาค ปชช.ยื่น ป.ป.ช.ตรวจสอบ “เจ้าคุณเสนาะ” เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ปมเบิกจ่ายงบ 67 ล้านจัดงานศพ “สมเด็จเกี่ยว” ไม่โปร่งใส แนบหลักฐานผันเงินลงธุรกิจบ้านจัดสรรเครือญาติที่อยุธยา สังคมออนไลน์ถล่มรวยผิดวิสัยพระสงฆ์ แจกแจงมีธุรกิจนับพันล้าน เจ้าตัวรับธุรกิจเดิมของครอบครัว
วานนี้ (8 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถ.พิษณุโลก นายชัยธนพล ศรีจิวังษา ตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อพช.) ยื่นหนังสือถึง นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. เพื่อร้องเรียนกรณีที่ พระพรหมสุธี (เสนาะ ปัญญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และกรรมการเถรสมาคม มีพฤติกรรมส่อว่า ทุจริตต่องบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นงบประมาณจำนวน 67,550,000 บาท ที่รัฐบาลอนุมัติเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยมี นายนิพนธ์ ธรรมศรี ผอ.สำนักป้องกันการทุจริตภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน สำนักงาน ป.ป.ช.เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายชัยธนพล กล่าวว่า ตนยื่นหนังสือร้องเรียนครั้งนี้ พร้อมหลักฐานที่ส่อว่าจะเกิดการทุจริตในการใช้งบประมาณดังกล่าว เพราะพบว่า พระพรหมสุธี อาจจะนำงบฯ ดังกล่าวไปสนับสนุนธุรกิจเครือญาติ ในโครงการบ้านจัดสรรที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่ ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา จึงทำให้คณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ ต้องรับสภาพหนี้สินต่อบริษัทที่รับจัดงาน จึงขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน เพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป
โลกโซเชี่ยลแฉยับมีธุรกิจพันล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ พระพรหมสุธี ถูกโจมตีอย่างหนักถึงพฤติกรรมที่น่าเคลือบแคลงหลายอย่าง โดยมีข้อมูลตีแผ่ออกมาทางโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า "ตีแผ่ความจริง คนไร้คุณธรรม ไร้ความเป็นผู้นำ" ที่ระบุถึง ความร่ำรวยผิดปกติของ พระพรหมสุธี และ รัพย์สินอื่นๆ เช่น ธุรกิจสวนกล้วยไม้กว่า 300 ไร่ มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท, สวนมะยงชิด, ฟาร์มเพาะพันธุ์ไก่ชน, เพาะพันธุ์ปลากัด, เพาะพันธุ์นกเขา, ธุรกิจปล่อยเงินกู้, รวมถึงการเป็นเจ้าของรีสอร์ทหรู ธุรกิจบ้านจัดสรร รวมแล้วมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของเฟซบุ๊คดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดเป็นเอกสารกว่า จำนวน 19 หน้า
อย่างไรก็ตาม พระพรหมสุธี ยอมรับว่าธุรกิจที่ถูกอ้างถึงในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นธุรกิจของครอบครัวที่มีอยู่เดิม แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ขณะที่ทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ราคาแพงกว่า 20 คัน ได้มาโดยการบริจาคของลูกศิษย์ โดยส่วนใหญ่นำไปใช้ในกิจการของวัด พร้อมทั้งปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจรีสอร์ท หรือบ้านจัดสรร ตามที่ถูกกล่าวหา
มีปมขัดแย้งเงินบริจาคภูเขาทอง
ทั้งนี้ว่ากันว่าแฟนเพจ ว่า "ตีแผ่ความจริง คนไร้คุณธรรม ไร้ความเป็นผู้นำ" มีชนวนมาจากความขัดแย้งระหว่าง พระพรหมสุธี กับ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ เพราะ พระพรหมสิทธิ ไม่พอใจที่ถูก พระพรหมสุธี ปลดออกจากการทำหน้าดูแลบริหารจัดการเงินบริจาคในส่วนพื้นที่ภูเขาทองภายในวัดสระเกศฯ โดยกล่าวหาว่ามีการยักยอกเงินบริจาคและทรัพย์สินของวัด
ต่อมา พระพรหมสุธี ชี้แจงกรณีปลดพระพรหมสิทธิจากการทำหน้าดังกล่าวว่า เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานตามความเหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2557 โดยตั้งคณะกรรมการวัดขึ้นมาควบคุมเงินบริจาค หลังจากที่พบความผิดปกติในส่วนงานที่พระพรหมสิทธิดูแล
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ บอกด้วยว่า ก่อนหน้านี้ได้เข้าชี้แจงต่อพระผู้ใหญ่แล้ว และไม่คิดติดใจเอาความ พระพรหมสิทธิ หากพบว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องทรัพย์สินจริง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่า พระพรหมสุธี เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องการแทรกแซงกิจการภายในของวัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา ก่อนที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่สุธีร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธร จะมรณภาพเนื่องจากมีความเครียดจากการถูกกล่าวหาในความไม่โปร่งใสทางการเงินจากการบริหารวัดโสธรฯ หลัง พระราชมงคลวุฒาจารย์ มรณภาพ มหาเถรสมาคมก็ได้มอบหมายให้ พระพรหมสุธี มาทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส ระหว่างปี 2547 - 2552 รวมระยะเวลาครองวัด 5 ปีเต็ม
วานนี้ (8 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถ.พิษณุโลก นายชัยธนพล ศรีจิวังษา ตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อพช.) ยื่นหนังสือถึง นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. เพื่อร้องเรียนกรณีที่ พระพรหมสุธี (เสนาะ ปัญญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และกรรมการเถรสมาคม มีพฤติกรรมส่อว่า ทุจริตต่องบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นงบประมาณจำนวน 67,550,000 บาท ที่รัฐบาลอนุมัติเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยมี นายนิพนธ์ ธรรมศรี ผอ.สำนักป้องกันการทุจริตภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน สำนักงาน ป.ป.ช.เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายชัยธนพล กล่าวว่า ตนยื่นหนังสือร้องเรียนครั้งนี้ พร้อมหลักฐานที่ส่อว่าจะเกิดการทุจริตในการใช้งบประมาณดังกล่าว เพราะพบว่า พระพรหมสุธี อาจจะนำงบฯ ดังกล่าวไปสนับสนุนธุรกิจเครือญาติ ในโครงการบ้านจัดสรรที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่ ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา จึงทำให้คณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ ต้องรับสภาพหนี้สินต่อบริษัทที่รับจัดงาน จึงขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน เพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป
โลกโซเชี่ยลแฉยับมีธุรกิจพันล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ พระพรหมสุธี ถูกโจมตีอย่างหนักถึงพฤติกรรมที่น่าเคลือบแคลงหลายอย่าง โดยมีข้อมูลตีแผ่ออกมาทางโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า "ตีแผ่ความจริง คนไร้คุณธรรม ไร้ความเป็นผู้นำ" ที่ระบุถึง ความร่ำรวยผิดปกติของ พระพรหมสุธี และ รัพย์สินอื่นๆ เช่น ธุรกิจสวนกล้วยไม้กว่า 300 ไร่ มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท, สวนมะยงชิด, ฟาร์มเพาะพันธุ์ไก่ชน, เพาะพันธุ์ปลากัด, เพาะพันธุ์นกเขา, ธุรกิจปล่อยเงินกู้, รวมถึงการเป็นเจ้าของรีสอร์ทหรู ธุรกิจบ้านจัดสรร รวมแล้วมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของเฟซบุ๊คดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดเป็นเอกสารกว่า จำนวน 19 หน้า
อย่างไรก็ตาม พระพรหมสุธี ยอมรับว่าธุรกิจที่ถูกอ้างถึงในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นธุรกิจของครอบครัวที่มีอยู่เดิม แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ขณะที่ทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ราคาแพงกว่า 20 คัน ได้มาโดยการบริจาคของลูกศิษย์ โดยส่วนใหญ่นำไปใช้ในกิจการของวัด พร้อมทั้งปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจรีสอร์ท หรือบ้านจัดสรร ตามที่ถูกกล่าวหา
มีปมขัดแย้งเงินบริจาคภูเขาทอง
ทั้งนี้ว่ากันว่าแฟนเพจ ว่า "ตีแผ่ความจริง คนไร้คุณธรรม ไร้ความเป็นผู้นำ" มีชนวนมาจากความขัดแย้งระหว่าง พระพรหมสุธี กับ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ เพราะ พระพรหมสิทธิ ไม่พอใจที่ถูก พระพรหมสุธี ปลดออกจากการทำหน้าดูแลบริหารจัดการเงินบริจาคในส่วนพื้นที่ภูเขาทองภายในวัดสระเกศฯ โดยกล่าวหาว่ามีการยักยอกเงินบริจาคและทรัพย์สินของวัด
ต่อมา พระพรหมสุธี ชี้แจงกรณีปลดพระพรหมสิทธิจากการทำหน้าดังกล่าวว่า เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานตามความเหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2557 โดยตั้งคณะกรรมการวัดขึ้นมาควบคุมเงินบริจาค หลังจากที่พบความผิดปกติในส่วนงานที่พระพรหมสิทธิดูแล
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ บอกด้วยว่า ก่อนหน้านี้ได้เข้าชี้แจงต่อพระผู้ใหญ่แล้ว และไม่คิดติดใจเอาความ พระพรหมสิทธิ หากพบว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องทรัพย์สินจริง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่า พระพรหมสุธี เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องการแทรกแซงกิจการภายในของวัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา ก่อนที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่สุธีร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธร จะมรณภาพเนื่องจากมีความเครียดจากการถูกกล่าวหาในความไม่โปร่งใสทางการเงินจากการบริหารวัดโสธรฯ หลัง พระราชมงคลวุฒาจารย์ มรณภาพ มหาเถรสมาคมก็ได้มอบหมายให้ พระพรหมสุธี มาทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส ระหว่างปี 2547 - 2552 รวมระยะเวลาครองวัด 5 ปีเต็ม