อีสานโพล เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานประเมินสถานการณ์คอร์รัปชัน”ผลสำรวจพบว่า คนอีสานเห็นว่า ปัญหาคอร์รัปชันของไทย มีภาพลักษณ์ที่แย่ และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ แต่ต้องจำยอมรับสภาพ คาดงบประมาณลงทุน และจัดซื้อจัดจ้างของรัฐรั่วไหลมากกว่า 20% เสนอให้เป็นวาระแห่
อีสานโพล เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานประเมินสถานการณ์คอร์รัปชัน”ผลสำรวจพบว่า คนอีสานเห็นว่า ปัญหาคอร์รัปชันของไทย มีภาพลักษณ์ที่แย่ และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ แต่ต้องจำยอมรับสภาพ คาดงบประมาณลงทุน และจัดซื้อจัดจ้างของรัฐรั่วไหลมากกว่า 20% เสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ แม้จะเป็นเรื่องที่แก้ยาก อาจใช้เวลามากกกว่า 10 ปี
ทั้งนี้ การสำรวจความคิดเห็นของคนอีสาน เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์คอร์รัปชันของประเทศไทย โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-24 ส.ค. 57 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,060 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวอีสานว่า ปี 56 ภาพลักษณ์ความโปร่งใสไม่ทุจริตของประเทศไทย เป็นอันดับที่ 102 ของโลก และเป็นอันดับ 5 ของอาเซียน ท่านเห็นว่าอย่างไร พบว่าอันดับหนึ่ง ร้อยละ 39.9 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่แย่ รองลงมาร้อยละ 34.2 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 19.6 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่แย่มาก
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 57.1 เห็นว่า การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย เป็นเรื่องน่ารังเกียจ แต่ต้องจำยอม รองลงมา ร้อยละ 28.7 เห็นว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ และไม่จำยอม และอีกร้อยละ 14.2 เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ และรับได้
เมื่อสอบถามคิดเห็นเกี่ยวกับงบประมาณที่จะรั่วไหลเพราะการทุจริตคอร์รัปชัน โดยถามว่าท่านคิดว่าโดยเฉลี่ยงบลงทุนและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ 100 บาท จะรั่วไหลเพราะการทุจริตคอร์รัปชันประมาณกี่บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.7 เห็นว่า จะรั่วไหลประมาณ 11-20 บาท รองลงมาร้อยละ 23.7 เห็นว่า มากกว่า 40 บาท ร้อยละ 21.0 เห็นว่าจะรั่วไหลประมาณ 21-30 บาท ร้อยละ 17.6 เห็นว่าจะรั่วไหลประมาณ 31-40 บาท และอีกร้อยละ 5.0 เห็นว่าจะรั่วไหลน้อยกว่า 10 บาท นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างคนอีสานร้อยละ 62.3 เชื่อว่า งบลงทุนและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐจะมีการรั่วไหลมากกว่า 20%
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ควรเป็นวาระแห่งชาติหรือไม่ ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 77.1 เห็นว่าควรเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนอีกร้อยละ 22.9 เห็นว่า ไม่ควร เพราะมีปัญหาอื่นที่ต้องแก้ก่อน ส่วนการประเมินว่าประเทศไทยจะปฏิรูปแก้ปัญหาคอร์รัปชันให้เบาบางลงได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.5 เห็นว่า ไม่ได้แน่นอน รองลงมาร้อยละ 35.7 เห็นว่า ได้แต่ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี ร้อยละ 20.6 เห็นว่า ได้แต่ต้องใช้เวลานาน 5-10 ปี และอีกร้อยละ 6.1 เห็นว่าได้ และใช้เวลาภายใน 5 ปี
อีสานโพล เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานประเมินสถานการณ์คอร์รัปชัน”ผลสำรวจพบว่า คนอีสานเห็นว่า ปัญหาคอร์รัปชันของไทย มีภาพลักษณ์ที่แย่ และเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ แต่ต้องจำยอมรับสภาพ คาดงบประมาณลงทุน และจัดซื้อจัดจ้างของรัฐรั่วไหลมากกว่า 20% เสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ แม้จะเป็นเรื่องที่แก้ยาก อาจใช้เวลามากกกว่า 10 ปี
ทั้งนี้ การสำรวจความคิดเห็นของคนอีสาน เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์คอร์รัปชันของประเทศไทย โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-24 ส.ค. 57 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,060 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวอีสานว่า ปี 56 ภาพลักษณ์ความโปร่งใสไม่ทุจริตของประเทศไทย เป็นอันดับที่ 102 ของโลก และเป็นอันดับ 5 ของอาเซียน ท่านเห็นว่าอย่างไร พบว่าอันดับหนึ่ง ร้อยละ 39.9 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่แย่ รองลงมาร้อยละ 34.2 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 19.6 เห็นว่าเป็นภาพลักษณ์ที่แย่มาก
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 57.1 เห็นว่า การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย เป็นเรื่องน่ารังเกียจ แต่ต้องจำยอม รองลงมา ร้อยละ 28.7 เห็นว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจ และไม่จำยอม และอีกร้อยละ 14.2 เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ และรับได้
เมื่อสอบถามคิดเห็นเกี่ยวกับงบประมาณที่จะรั่วไหลเพราะการทุจริตคอร์รัปชัน โดยถามว่าท่านคิดว่าโดยเฉลี่ยงบลงทุนและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ 100 บาท จะรั่วไหลเพราะการทุจริตคอร์รัปชันประมาณกี่บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.7 เห็นว่า จะรั่วไหลประมาณ 11-20 บาท รองลงมาร้อยละ 23.7 เห็นว่า มากกว่า 40 บาท ร้อยละ 21.0 เห็นว่าจะรั่วไหลประมาณ 21-30 บาท ร้อยละ 17.6 เห็นว่าจะรั่วไหลประมาณ 31-40 บาท และอีกร้อยละ 5.0 เห็นว่าจะรั่วไหลน้อยกว่า 10 บาท นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างคนอีสานร้อยละ 62.3 เชื่อว่า งบลงทุนและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐจะมีการรั่วไหลมากกว่า 20%
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ควรเป็นวาระแห่งชาติหรือไม่ ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 77.1 เห็นว่าควรเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนอีกร้อยละ 22.9 เห็นว่า ไม่ควร เพราะมีปัญหาอื่นที่ต้องแก้ก่อน ส่วนการประเมินว่าประเทศไทยจะปฏิรูปแก้ปัญหาคอร์รัปชันให้เบาบางลงได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.5 เห็นว่า ไม่ได้แน่นอน รองลงมาร้อยละ 35.7 เห็นว่า ได้แต่ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี ร้อยละ 20.6 เห็นว่า ได้แต่ต้องใช้เวลานาน 5-10 ปี และอีกร้อยละ 6.1 เห็นว่าได้ และใช้เวลาภายใน 5 ปี