นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีการทำข้าวปลอมในจีนว่า ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า จีนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งที่ผ่านมามีการทำนมเด็กทารกปลอม จนเป็นข่าวใหญ่โต แต่กรณีการทำข้าวปลอม ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะไทยเป็นประเทศอู่ข้าว อู่น้ำ เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าว ดังนั้นปัญหาเรื่องนี้ทางไทยคงไม่ถึงกับต้องเฝ้าระวัง หรือตื่นตระหนกอะไร เพียงแต่ให้คนไทยรับรู้ว่า มีปัญหานี้เกิดขึ้นก็พอแล้ว
นพ.วรงค์ ยังกล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย หลังจากขออนุญาตคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางไปพักผ่อนที่ยุโรป ว่า ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ บริสุทธิ์ใจก็ต้องเข้าต่อสู้คดีการปล่อยปละละเลยจนเกิดปัญหาการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหา โดยต้องสู้คดีตามข้อเท็จจริง ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อสู้คดีโดยใช้มิติทางด้านการเมือง กล่าวหาว่า ป.ป.ช.เร่งรีบรวบรัดในการสอบสวนคดี ซึ่งไม่เป็นความจริง
"นอกจากนี้ ยังมีการขอเพิ่มพยานอีก 8 ปาก ให้อัยการสูงสุดไต่สวนเพิ่ม ทั้งๆ ที่ผ่านมาได้เคยยื่นให้ป.ป.ช.ไต่สวนเช่นกัน และถูกป.ป.ช. ปฏิเสธรับไต่สวนพยานเพิ่มมาแล้ว สิ่งเหล่านี้แสดงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีพฤติกรรมยื่นเพิ่มตลอด แบบไม่จบสิ้น ถ้าคิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ต้องแก้ในคดี หรือมีหลักฐานอะไรเพิ่ม ควรจะยื่นเรื่องทีเดียวปัญหาจะได้จบ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับใช้วิธียื่นคำร้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คนมองว่า ต้องการเตะถ่วงหรือไม่" น.พ.วรงค์ กล่าว
**พาณิชย์ตั้งสถาบันพัฒนาการค้าข้าว
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลการค้าและการตลาดเพื่อการพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์แบบเบ็ดเสร็จ โดยจะมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารสถาบัน ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นเบอร์หนึ่ง ในเรื่องข้าวในทุกๆด้านทั้งด้านการเพาะปลูก การผลิต และการตลาด
"สถานบันฯ จะเข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิต การสีแปร และการทำตลาดส่งออก โดยจะมีข้อมูลในทุกๆ ด้านอย่างครบวงจร เพื่อทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าว มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้าว และจะได้วางแผนการผลิต การทำตลาดได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ไทยเป็นเบอร์หนึ่ง ในเรื่องข้าวในทุกๆ ด้านตามที่ตั้งใจไว้โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการประสานงานกับกรมการข้าวในการจัดตั้ง เพื่อไม่ให้การทำงานซ้ำซ้อนกัน”น.ส.ชุติมา กล่าว
สำหรับงบประมาณในการจัดตั้ง จะใช้งบประมาณปี 2558 จำนวน 500 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดหาแหล่งเงินให้ และยังมีเงินจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 587 ล้านบาท โดยจะนำเงินในส่วนที่เก็บจากค่าธรรมเนียมการส่งออกข้าวไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) มาใช้
** เผยแผนช่วยชาวนาระยะยาว
น.ส.ชุติมากล่าวว่า การช่วยเหลือเกษตรกรในระยะยาว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น โดยได้มอบหมายให้กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ดี การใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยและสารเคมี ตามคำแนะนำรวมทั้งผลักดันให้เพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนหรือเสริมกับการใช้ปุ๋ยเคมีให้มากขึ้น แต่หากเป็นไปได้ ให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพราะแนวโน้มตลาดโลกมีความต้องการสูง และขายได้ราคาดี
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับเกษตรกร ให้มีการกำหนดเขตที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว (โซนนิ่ง) เพราะพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว ต้องผลักดันให้เกษตรกรไปปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นแทน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ทั้งนี้ คสช. ยังมีนโยบายในการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกด้วย โดยอยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน
น.ส.ชุติมากล่าวว่า ส่วนการจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งแล้ว ซึ่งจะเข้ามาดูแลในเรื่องปัจจัยการผลิตข้าวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตข้าวและดำรงชีพให้แก่ชาวนา รวมทั้งชดเชยรายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือกในภาวะราคาตกต่ำหรือด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสม
โดยเงินกองทุน จะมาจาก 2 ส่วน คือ 1.เก็บจากเงินภาษีของการส่งออกข้าว 0.75% ของมูลค่าการส่งออก หรือเก็บเงินสงเคราะห์เข้ากองทุน โดยเรียกเก็บจากผู้ส่งออกข้าวเป็นอัตราต่อตันแบบขั้นบันไดตามราคาส่งออกข้าว และ 2.เงินสมทบจากชาวนา โดยเก็บเงินชาวนาที่สมัครใจเป็นสมาชิกปีละ 1 ครั้ง ตามอัตราที่กำหนด และรัฐช่วยเงินสมทบของเงินสะสมที่สมาชิกจ่ายในแต่ละปี
นพ.วรงค์ ยังกล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย หลังจากขออนุญาตคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางไปพักผ่อนที่ยุโรป ว่า ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ บริสุทธิ์ใจก็ต้องเข้าต่อสู้คดีการปล่อยปละละเลยจนเกิดปัญหาการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหา โดยต้องสู้คดีตามข้อเท็จจริง ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อสู้คดีโดยใช้มิติทางด้านการเมือง กล่าวหาว่า ป.ป.ช.เร่งรีบรวบรัดในการสอบสวนคดี ซึ่งไม่เป็นความจริง
"นอกจากนี้ ยังมีการขอเพิ่มพยานอีก 8 ปาก ให้อัยการสูงสุดไต่สวนเพิ่ม ทั้งๆ ที่ผ่านมาได้เคยยื่นให้ป.ป.ช.ไต่สวนเช่นกัน และถูกป.ป.ช. ปฏิเสธรับไต่สวนพยานเพิ่มมาแล้ว สิ่งเหล่านี้แสดงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีพฤติกรรมยื่นเพิ่มตลอด แบบไม่จบสิ้น ถ้าคิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ต้องแก้ในคดี หรือมีหลักฐานอะไรเพิ่ม ควรจะยื่นเรื่องทีเดียวปัญหาจะได้จบ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับใช้วิธียื่นคำร้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คนมองว่า ต้องการเตะถ่วงหรือไม่" น.พ.วรงค์ กล่าว
**พาณิชย์ตั้งสถาบันพัฒนาการค้าข้าว
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ กำลังดำเนินการจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลการค้าและการตลาดเพื่อการพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์แบบเบ็ดเสร็จ โดยจะมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารสถาบัน ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นเบอร์หนึ่ง ในเรื่องข้าวในทุกๆด้านทั้งด้านการเพาะปลูก การผลิต และการตลาด
"สถานบันฯ จะเข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิต การสีแปร และการทำตลาดส่งออก โดยจะมีข้อมูลในทุกๆ ด้านอย่างครบวงจร เพื่อทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าว มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้าว และจะได้วางแผนการผลิต การทำตลาดได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ไทยเป็นเบอร์หนึ่ง ในเรื่องข้าวในทุกๆ ด้านตามที่ตั้งใจไว้โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการประสานงานกับกรมการข้าวในการจัดตั้ง เพื่อไม่ให้การทำงานซ้ำซ้อนกัน”น.ส.ชุติมา กล่าว
สำหรับงบประมาณในการจัดตั้ง จะใช้งบประมาณปี 2558 จำนวน 500 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดหาแหล่งเงินให้ และยังมีเงินจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 587 ล้านบาท โดยจะนำเงินในส่วนที่เก็บจากค่าธรรมเนียมการส่งออกข้าวไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) มาใช้
** เผยแผนช่วยชาวนาระยะยาว
น.ส.ชุติมากล่าวว่า การช่วยเหลือเกษตรกรในระยะยาว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น โดยได้มอบหมายให้กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ดี การใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยและสารเคมี ตามคำแนะนำรวมทั้งผลักดันให้เพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนหรือเสริมกับการใช้ปุ๋ยเคมีให้มากขึ้น แต่หากเป็นไปได้ ให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพราะแนวโน้มตลาดโลกมีความต้องการสูง และขายได้ราคาดี
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับเกษตรกร ให้มีการกำหนดเขตที่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว (โซนนิ่ง) เพราะพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว ต้องผลักดันให้เกษตรกรไปปลูกพืชเกษตรชนิดอื่นแทน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ทั้งนี้ คสช. ยังมีนโยบายในการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกด้วย โดยอยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน
น.ส.ชุติมากล่าวว่า ส่วนการจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งแล้ว ซึ่งจะเข้ามาดูแลในเรื่องปัจจัยการผลิตข้าวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตข้าวและดำรงชีพให้แก่ชาวนา รวมทั้งชดเชยรายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือกในภาวะราคาตกต่ำหรือด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสม
โดยเงินกองทุน จะมาจาก 2 ส่วน คือ 1.เก็บจากเงินภาษีของการส่งออกข้าว 0.75% ของมูลค่าการส่งออก หรือเก็บเงินสงเคราะห์เข้ากองทุน โดยเรียกเก็บจากผู้ส่งออกข้าวเป็นอัตราต่อตันแบบขั้นบันไดตามราคาส่งออกข้าว และ 2.เงินสมทบจากชาวนา โดยเก็บเงินชาวนาที่สมัครใจเป็นสมาชิกปีละ 1 ครั้ง ตามอัตราที่กำหนด และรัฐช่วยเงินสมทบของเงินสะสมที่สมาชิกจ่ายในแต่ละปี